Digital Photography  Audio & Video  Computer Accessories  Software Applications  Miscellaneous | Home               
..

การต่อสัญญาณเคเบิ้ลทีวีดาวเทียม โดยใช้ Set-Top Box HD - S200S
TrueVisions HD Plus

 

รูปที่ 1  HD STB (Set - Top Box) HD - S200S
 
รูปที่
2  ขั้วต่อต่างๆทางด้านหลัง (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)
ตัวอย่างการต่อรับสัญญาณ TrueVisions โดยใช้ HD - Set Top Box

การต่อวงจรรับสัญญาณเคเบิ้ลทีวีดาวเทียมที่แสดงไว้ข้างล่างนี้ เป็นระบบที่ยุ่งยากเป็นพิเศษ ของผู้เขียน ที่เกิดจากการที่มีอุปกรณ์เครื่องเล่นหลายอย่าง ส่วนหนึ่งเป็นของเก่าที่ยังใช้ได้ดี ได้แก่
Panasonic DVD Recorder และ Sony DVD Recorder VRD-MC5 และอุปกรณ์ใหม่ ได้แก่ Denon AVR - 1911 Amplifier และ BD/DVD Player รวมทั้ง HD Media Player ด้วย แต่เดิมนั้น ตัว Set Top Box ใช้มาตั้งแต่สมัยเป็น UBC มีขั้วต่อ S-Video และ AV Out ให้ จึงใช้ประโยชน์จาก S-Video ซึ่งดีกว่าการใช้สาย AV และมีการต่อสาย Component ไปเข้าที่เครื่องโทรทัศน์ ทำให้ได้ภาพที่คมชัดดีเป็นที่น่าพอใจ  แต่  STB รุ่นใหม่ ไม่มี S-Video out และไม่มี RF Out ดังนั้นจึงได้ใช้ประโยชน์เครื่อง Data Video VP - 299 Audio Distribution Amplifier ใหม่ โดยต่อด้วยสาย AV แทนสาย S - Video ตามที่แสดงไว้ในรูปที่ 3  อาจมีคนสงสัยว่าทำไมจึงต่อโทรทัศน์ 2 เครื่อง คำอธิบายก็คือ TV1 เป็นเครื่องโทรทัศน์ Full HD ขนาดใหญ่ ส่วนมากใช้ดูข่าวบางช่วง รายการสารคดีและดูภาพยนตร์ร่วมกับชุดโฮมเธียเตอร์ ส่วน TV2 เป็นโทรทัศน์ขนาดเล็กที่ใช้เปิดดูรายการต่างๆแบบที่ดูกันนานๆครั้งละหลายชั่วโมงจะใช้เครื่องเล็กเพื่อเป็นการประหยัดค่าไฟฟ้าและประหยัดค่าซ่อมด้วย
 


รูปที่ 3 ตัวอย่างที่ให้แนวคิดในการต่อวงจรระบบ TV และโฮมเธียเตอร์

   
รูปที่ 4 แสดง Set Top Box, AV Distribution Amplifier และ Wireless AV Transmitter
(คลิกที่รูปภาพเพื่อดูภาพใหญ๋)

อธิบายการต่อวงจรในรูปที่ 3 เพิ่มเติม :
เนื่องจากะต้องมีการกระจายสัญญาณ AV จากกล่องรับสัญญาณ Set Top Box ออกไปถึง 3 ชุด พบว่าการใช้ AV Distribution Amplifier (DataVideo VP-299) ทำให้การต่อง่ายขึ้นและได้สัญญาณที่ดี เปิดดูภาพบนจอโทรทัศน์ขนาดใหญ่ในขณะที่ไม่มีภาพ (คือจอเกือบจะมืด) พบว่าไม่มี Noise หรือการรบกวนห้เห็นเลย  ต่างจากการใช้ตัวแยกสัญญาณ แบบถูกๆ ราคาอันละ 15 บาท ก็แยกสัญญาณ AV ได้ แต่มี Noise มองเห็นเป็นเส้นเล็กๆในแนวนอน ซึ่งในการใช้งานทั่วๆไปก็พอยอมรับได้

รูปที่ 5 ตัวแยกสัญญาณ Audio และ Video แบบต่อเข้า 1 ออก 2 เมื่อนำมาต่อกันตามรูป จะได้ เข้า 1 ออก 3 ได้ทดลองใช้งานจริงแล้ว ได้ผลดี มี Noise ให้เห็นบ้าง แต่ไม่มากนัก

อนึ่งในการต่อตามรูปที่ 3 นั้น ผู้เขียนได้ใช้สาย Video อย่างดี แยกต่างหากจากสายสัญญาณเสียง เพื่อให้ได้ภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้


TV 1:  
รับสัญญาณโทรทัศน์แบบ HD และ SD จาก Set Top Box TrueVisions HDPlus โดยผ่านสาย HDMI หรือเลือกรับสัญญาณโทรทัศน์ผ่าน Panasonic DVD Recorder โดยใช้สาย Component Video (576i) ซึ่งจะสามารถบันทึกรายการโทรทัศน์ไปด้วยก็ได้  ในการใช้งาน ถ้าดูโปรแกรม HD ผู้เขียนจะเลือกรับสัญญาณผ่านสาย HDMI แต่ถ้าดูรายการ SD จะเลือกดูผ่านเครื่อง Panasonic DVD Recorder และผ่านสาย Component Video พบว่าได้ภาพที่ชัดกว่า

TV 2 : รับสัญญาณโทรทัศน์แบบ HD และ SD จาก Set Top Box TrueVisions HDPlus โดยผ่านสาย Component Video และสัญญาณเสียงผ่านสาย AV 

Wireless TV Transmitter :
ส่งสัญญาณโทรทัศน์ไปยังเครื่องรับ (Receiver) ที่ตั้งอยู่ชั้นล่าง
...............................................................................................................

References :

1. การรับสัญญาณเคเบิ้ลทีวีระบบใยแก้วนำแสง

2. True HD Plus ข้อมูลทางเทคนิค


3. สายสัญญาณ ออดิโอ วิดีโอ และ Splitter แบบต่างๆ













 

 
   
จากการที่ทาง TrueVisions ได้ให้บริการเคเบิ้ลทีวีแบบที่มีความละเอียดสูง หรือ HD (High Definition) ควบคู่กับระบบเดิมแบบ Standard Definition นั้น ได้มีการนำกล่องรับสัญญาณระบบจานดาวเทียมและระบบเคเบิ้ล (Set-Top Box หรือ STB) มาใช้แทนกล่องรับสัญญาณรุ่นเก่า โดยได้มีการทะยอยเปลี่ยนให้กับสมาชิก  STB รุ่นที่ใช้รับสัญญาณระบบจานดาวเทียม เป็นรุ่น HD - S200S มีขนาดเล็กลงและมีพอร์ตต่อสายสัญญาณได้หลายแบบ ทำให้ผู้ใช้บริการมีทางเลือกมากขึ้น เช่น เลือกรับชมโทรทัศน์ระบบธรรมดาหรือระบบ HD เลือกใช้บริการ Video on Demand ต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต และที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือระบบ PVR (Private Video Recording) สามารถบอกรับบริการเพิ่ม เพื่อบันทึกรายการโทรทัศน์ลงในฮาร์ดดิสก์ที่ต่อพ่วงเข้ากับ STB ได้
 
การต่ออุปกรณ์พ่วงเข้ากับขั้วต่อต่างๆ

1.  การต่อเข้ากับโทรทัศน์ ทำได้ 3 แบบ คือ
     1.1  ต่อด้วยสาย HDMI (High Definition Multimedia Interface) ซึ่งให้มาด้วย สายมีความยาว 1.50 เมตร ต่อเข้ากับขั้ว HDMI In ของโทรทัศน์ ซึ่งโทรทัศน์จอแบน รุ่นใหม่ๆจะมีขั้วต่อ HDMI อยู่แล้ว  การต่อสายนี้เพียง 1 เส้น ใช้ได้ทั้งสัญญาณภาพและสัญญาณเสียง เป็นการต่อที่ง่ายมาก
     1.2  ต่อด้วยสาย Component  ใช้สายที่มีขั้วต่อสีแดง ขียว และน้ำเงิน (RGB) ต่อเข้ากับขั้ว Component Out ของกล่องรับสัญญาณ และปลายสายอีกข้างหนึ่งต่อเข้ากับขั้ว Component In ของเครื่องโทรทัศน์  ในกรณีที่โทรทัศน์ไม่มีขั้วต่อ HDMI ให้ต่อโดยใช้สาย Component แทน
     1.3  ต่อด้วยสาย Composite หรือที่เรียกว่าสาย AV ซึ่งจะมีขั้วสีเหลือง สำหรับวิดีโอ ขั้วสีแดง และขาว สำหรับเสียง  การต่อด้วยสาย Composite นี้ จะรับชมรายการโทรทัศน์ได้ แต่ได้ความละเอียดเพียงแค่ Standard Definition เท่านั้น

หมายเหตุ :  ถ้าท่านมีสาย Component  และ/หรือ สาย AV อยู่แล้ว ทดลองต่อจากกล่องรับสัญญาณไปเข้าโทรทัศน์ดู แล้วใช้รีโมทของโทรทัศน์เลือก Input Source เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของภาพได้ว่าถ้าดูรายการแบบ SD ควรจะใช้ Input Source แบบใด แต่ถ้าดูรายการแบบ HD ก็แน่นอนว่าควรเลือก HDMI

2การต่อเข้ากับเครื่องเสียง
ควรต่อโดยใช้สาย Optical ถ้าเครื่องเสียงมีขั้วต่อแบบ Optical In

3. 
การต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้บริการ Video on Demand และ Applications อื่นๆ

4.
  การต่อเข้ากับฮาร์ดดิสก์ e-SATA เพื่อใช้บริการ PVR (Private Video Recording ทำให้สามารถอัดรายการโทรทัศน์ลงในฮาร์ดดิสก์ขนาด 500 GB ที่ต่อพ่วงเข้ากับกล่อง STB ได้ทั้งแบบ SD และ HD โดยท่านจะต้องซื้อฮาร์ดดิสก์จาก TrueVisions และเสียค่าบริการเพิ่มเป็นรายเดือน 

หมายเหตุ
:  จากการสอบถามช่างที่มาติดตั้ง STB ทราบว่า ถ้านำฮาร์ดดิสก์อื่นๆที่ไม่ใช่ของ True าต่อพ่วง จะไม่สามารถใช้งานได้  และผู้เขียนยังเข้าใจเอาเองอีกว่า คงจะอัดรายการได้ และต้องเปิดดูที่เครื่องนั้นเท่านั้น คงจะไม่สามารถบันทึกรายการที่อัดไว้ ลงแผ่น DVD ได้  เพื่อเป็นการป้องกันทางลิขสิทธ์


การบันทึกรายการโทรทัศน์โดยเครื่อง DVD Recorder

หากท่านมีเครื่อง
DVD Recorder อยู่แล้ว เช่น Panasonic DVD Recorder หรือแบบ Multi Function DVD Recorder ก็สามารถบันทึกรายการโทรทัศน์ลงฮาร์ดดิสก์ หรือลงแผ่น DVD ได้ โดยต่อสายสัญณาณภาพและเสียงแบบ Component Video หรือแบบ Composite Video ก็ได้   รูปที่ 6 แสดงการบันทึกรายการโทรทัศน์โดยใช้เครื่อง Multi Function DVD Recorder ลงแผ่น DVD


รูปที่ 6  การบันทึกรายการโทรทัศน์ลงแผ่น DVD

การปรับปรุงความคมชัดของภาพและการบันทึกรายการโทรทัศน์โดยใช้ Panasonic DVD Recorder


รูปที่ 7  การบันทึกรายการโทรทัศน์ลงฮาร์ดดิสก์ หรือลงแผ่น DVD

การทดลองต่อสายสัญญาณจากกล่อง HD - S200S ไปยังเครื่อง Panasonic DVD Recorder แล้วต่อสายสัญญาณ Component Video Out และ Audio Out ไปยังโทรทัศน์ ทำให้สามารถบันทึกรายการโทรทัศน์ได้และสัญญาณภาพที่ออกไปยังโทรทัศน์ที่ต่อโดยใช้สายแบบ Component นั้น ทำให้ได้ภาพที่คมชัดขึ้นอีกเล็กน้อย แต่ก็ดูดีขึ้น (576i)  เมื่อเทียบกับภาพที่ได้จากการใช้สาย HDMI ที่ให้มา สำหรับรับชมรายการแบบ Standard Definition 

ผู้เขียนได้พยายามปรับปรุงคุณภาพของภาพต่อไปโดยเปลี่ยนสาย AV เฉพาะเส้นที่เป็นสายวิดีโอ (สีเหลือง) มาใช้สายอย่างดีของ Monster ที่มีอยู่แล้ว พบว่าได้ภาพที่ดีขึ้นอีกเล็กน้อย จากนั้นก็พยายามปรับภาพของโทรทัศน์ โดยเข้าเมนูไปที่ Settings -> Picture แล้วปรับภาพทดลองดูใหม่รวมทั้งตั้ง Light Sensor ให้เป็น Off  ผลปรากฎว่า ได้ภาพที่ดีขึ้น
 

สรุปผลการใช้งาน

1.  กล่องรับสัญญาณ HD - S200S นั้นมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา การติดตั้งรับสัญญาณโทรทัศน์จานดาวเทียมนั้น บางบ้านก็ทำได้ง่ายภายในเวลาประมาณ 30 นาที แต่บางบ้านก็ใช้เวลาปรับแต่งนานกว่า 1 ชั่วโมง เนื่องจากปัญหาระบบเดิม อาจจะรับสัญญาณได้อ่อนไป หรือแรงไป และอาจมีปัญหาจากการเดินสาย หรือปัญหาจากตัว LNB (Low Noise Blockdown Converter) หรือ หัวรับสัญญาณดาวเทียม

2.  เมื่อใช้งานไปนานๆ กล่อง STB ด้านล่าง จะร้อนมาก แต่ก็ได้มีการทำช่องระบายความร้อนเอาไว้ทุกด้าน คงจะช่วยให้เครื่องทนทานได้ แต่ถ้าติดตั้งในที่ที่ระบายอากาศได้ยาก ก็ควรมีพัดลมระบายความร้อนช่วย

3.  ผลการรับชมรายการโทรทัศน์โดยต่อด้วยสาย HDMI ปรากฎว่า ถ้าชมรายการ HD ภาพจะชัดเจนดีตามแบบของ HD แต่จะเทียบเท่าการดูภาพยนตร์จากแผ่น Blu-ray หรือไม่นั้น คงจะต้องดูกันต่อไปนานๆ แต่เท่าที่ดูมาในระยะสั้นๆ พบว่าความชัดเจนใช้ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาพยนตร์ต้นฉบับด้วย ซึ่งเราต้องยอมรับว่า เคเบิ้ลทีวี จะมีการฉายหนังตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้นจึงมีหนังเก่าๆจำนวนมากและฉายวนไปวนมา ซึ่งถ้าเป็นนักดูหนังแล้ว เราอาจจะเคยดูมาแล้วเป็นส่วนใหญ่

4.  ในการรับชมรายการโทรทัศน์ตามปกติด้วยระบบ SD นั้น พบว่าความคมชัดยังไม่ดีนัก เมื่อเทียบกับระบบเดิมที่ผู้เขียนเคยใช้อยู่ (ดูรูปที่ 8 ในบทความของ Link นี้) และสีก็แปลกๆ ต้องปรับที่เครื่องรับโทรทัศน์หลายครั้ง แต่ก็ยังไม่ดีเท่าเดิม  จากการทดลองตามรูปที่ 7 สามารถปรับปรุงความคมชัดของภาพขึ้นมาได้อีกเล็กน้อยและภาพก็มีสีที่ดีขึ้น  และสามารถบันทึกรายการโทรทัศน์โดยใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่เดิมได้ ในการบันทึกรายการนั้น ถ้าบันทึกจากช่องที่ส่งแบบ HD แม้ว่าจะบันทึกมาเป็น SD แต่ก็ได้คุณภาพที่ดีพอสมควร

หมายเหตุ
:

1.  เรื่องการเปลี่ยนกล่องรับสัญญาณตัวใหม่แล้วภาพเมื่อดูในระบบ SD ไม่ชัดเท่าของเดิมนั้น ได้มีผู้เขียนกระทู้ไว้หลายแห่งด้วยกัน  จึงควรมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นและนำรุ่นใหม่ที่ดีกว่าเปลี่ยนให้สมาชิกต่อไป ทั้งนี้ รวมทั้งสาย HDMI ก็ควรใช้แบบที่มีคุณภาพดีขึ้นด้วย

2ากการทดลองเปลี่ยนสาย HDMI ากสายเดิมที่ให้มากับกล่องรับสัญญาณ เป็นสายที่มีคุณภาพสูงขึ้น เช่น สาย HDMI High Performance Metal Chrome
รากฎว่า ภาพมีความชัดเจนขึ้นเล็กน้อย


วันที่ 8 เม.. 2555
ปรับปรุงล่าสุด : 25 เม.. 2555