|
|
|
งานอดิเรก
Hobby 4 - รถยนต์
รถยนต์ส่วนตัวและการตกแต่ง
ผมเดินทางไปเรียนหนังสือ
ตั้งแต่เด็ก
จนถึงเรียนจบวิศวจุฬา
ก็ใช้รถโดยสารประจำทางมาโดยตลอด
แม้เมื่อเข้าทำงานรับราชการ
ก็ยังขึ้นรถเมล์อยู่
เพราะไม่มีเงินพอที่จะซื้อรถได้ จนกระทั่งกลับจาก
อเมริกา
มาทำงานรับราชการต่ออีกประมาณ 1
ปีกว่าๆ ก็เริ่มมีรถยนต์คันแรก และนับจนถึงวันนี้ (เม.ย.
2554)
เป็นเวลา 46 ปี ซื้อรถยนต์เอง 14
คัน ใช้รถยนต์ ประจำตำแหน่งที่ กฟผ. 1
คันและที่ชินวัตร 4 คัน

 |
|
รถยนต์คันแรก เป็นรถ Toyota 700
เครื่องยนต์สูบนอน 2 สูบ
แบบรถมอเตอร์ไซต์
ซึ่งโตโยต้า
คงจะออกแบบคล้ายๆกับ BMW 700
นั่งได้ 4 คน มีขนาดเล็ก
กินน้ำมันแค่ 25 กิโลเมตร
ต่อหนึ่งลิตร
ความเร็วสูงสุดคงจะประมาณ 120 -
130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ซึ่งผมได้ซื้อต่อมาอีกที
เจ้าของเดิมใช้มา 2 ปี
และผมไปผ่อนต่อกับ
บริษัทพิธานพาณิชย์อีก 3 ปี
รถคันนี้ ใช้งานมาก
พอควร แต่ไม่ได้แต่งอะไร
เพราะไม่มีเงิน และ
เพียงติดพัดลมแบบที่เป็น Blower
เท่านั้น |
รถยนต์คันที่
2
เป็นรถโตโยต้า Corolla 1100 cc. รุ่น 1968 (2511)
ประกอบจากประเทศญี่ปุ่น
ซื้อผ่อนส่งจากบริษัทพิธานพาณิชย์
เช่นกัน แต่ซื้อหลังจากที่ได้ลาออกจากราชการมาอยู่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ
ในปีเดียวกัน ซึ่งรถคันนี้ได้ใช้งานกว่า
10 ปี
และวิ่งไปประมาณ 120,000 ก.ม. |
|
 |
 |
|
รถยนต์คันที่
3 เป็นรถ Ford Cortina
L เครื่องยนต์
1600 cc. ซื้อโดยใช้สิทธิ์พนักงาน
กฟผ.ผ่อนส่งเป็นระยะ
เวลา 5 ปี
เป็นรถยนต์ขนาดกลางที่นั่งสบาย
ตัวถังแข็ง
แรง อัตราเร่งพอใช้ได้
แต่ลุยน้ำทีไร
เครื่องจะดับทุกที
รถยนต์ Ford คันนี้
ได้ตกแต่งหลายอย่าง เช่น
สมัยนั้น
นิยมหุ้มหลังคาด้วยหนัง
คนละสีกับรถ ติดแอร์ วิทยุ
ฟิล์มกรองแสง ใส่ล้อแมกซ์
ติดโครเมี่ยมกันสาดที่กระจก
ทั้ง 4 บาน เป็นต้น |
รถยนต์คันที่
4 เป็นรถ Mitsubishi
Galant Sigma เครื่องยนต์ 1600 cc.
ซื้อโดยใช้สิทธิ์พนักงาน
กฟผ.ผ่อนส่งต่อจากรถ Ford ที่ได้ผ่อนหมดไปแล้ว
รถคันนี้ดีมาก เครื่องเดินเรียบ
อัตราเร่งดีตัวถังแข็งแรง
รูปทรงสวยงามทันสมัยและได้ใช้งานอยู่นานมาก |
|
 |
 |
|
รถยนต์คันที่
5 เป็นรถ Mitsubishi
Lancer
เครื่องยนต์ 1400 cc.
เป็นรถที่ผมเห็นครั้งแรก
ที่สิงค์โปร์ รู้สึกชอบ
จึงได้ซื้อและเป็นครั้งแรกที่ซื้อ
ด้วยเงินสด โดยไม่ผ่อนส่ง รถ
Lancer 1400 cc.
กว้าง นั่งสบาย
แต่อัตราเร่งไม่ได้ดังใจ
ตัวถังบางลง
และบางครั้งคงจะบิด
มีเสียงดัง ดูไปดูมาแล้ว ไม่
่โก้หรูเท่าไร
จึงมีความคิดที่จะขายไป |
รถยนต์คันที่
6 เป็นรถ BMW 318i
(Big Bumper) เครื่องยนต์ 1800 cc.
เป็นรถในฝันของผมและของคนอีกเป็นจำนวนมาก ในสมัยนั้น
รถญี่ปุ่นราคาประมาณ 230,000 บาท แต่ BMW
318i ราคา 480,000 บาท ก่อนจะตัด
สินใจซื้อ
ต้องใช้เวลาคิดอยู่นานประมาณ 6 เดือน และแล้วก็ตัดสินใจนำรถ
Lancer 1400 ไปขายให้กับบริษัทที่ขาย BMW ให้ผมเองตกลงกันในทันทีแล้วก็ออกรถ
BMW
มาใช้เป็นรถที่มีอัตราเร่งดีมาก พวงมาลัยบังคับรถได้รวดเร็วและละเอียด
เป็นรถ 2 ประตู
แต่ก็กว้างพอสมควร รถคัน
นี้ผมชอบมาก
และใช้งานอยู่ประมาณ 4 ปี กว่าๆ ก็ขายไป
เนื่องจากวิ่งมาก และค่าซ่อมเริ่มจะสูง ประกอบกับได้มีรถ BMW
รุ่นใหม่ออกมา |
|

คลิกดูภาพขยาย
 |

 |
|
รถยนต์คันที่
7 เป็นรถ BMW 318i
เครื่องยนต์
1800 cc. แต่เป็นรุ่นใหม่กว่า BMW
คันแรก และ
มีขนาดโตขึ้นเล็กน้อย
ทำให้นั่งสบายขึ้น รถคันนี้ใน
ตอนที่ซื้อราคา 560,000 บาท ยังคงมี
2 ประตูเช่นกัน
อัตราเร่งอยู่ในเกณฑ์ดี
แต่ระบบเบรคไม่ดีเท่าคันแรก
อย่างไรก็ตาม ผมได้ใช้รถ BMW
คันนี้ จนกระทั่ง
ลาออกจาก กฟผ.ไปทำงานที่บริษัท
ชินวัตรคอม
พิวเตอร์ จำกัด ในปี พ.ศ. 2533
ก็ยังใช้รถ BMW
คันนี้
ในระหว่างที่รอรถยนต์ประจำตำแหน่ง
ที่
บริษัทสัญญาว่าจะจัดให้ |
รถยนต์คันที่
8 เป็นรถ Mitsubishi
Galant เครื่องยนต์ 2000 cc. เป็นรถ
ที่ซื้อให้ภรรยาใช้
หลังจากที่ผมลาออกจาก กฟผ.ได้เงินบำเน็จมาประมาณ
520,000 บาท ในครั้งแรกได้ไปจอง Corolla รุ่น 1600 เอาไว้ และต้องรอนาน เข้าเดือนที่ 6
ก็ยังไม่ได้รถ ครั้นโทรศัพท์ไปทวงถาม
ก็ไม่ได้รับคำตอบที่น่าพอใจ
แถมยังมีเสียงเซลล์รอดมาทำนองไม่ดี จึงยอมทิ้งมัดจำ
เพราะทางโตโยต้านนท์
ขณะนั้นไม่ยอมคืนมัดจำให้
ดังนั้น
จึงเปลี่ยนไปซื้อรถ Galant ราคา 725,000
บาท
แต่ก็ซื้อและได้ใช้งานมานานกว่า
12
ปี เป็นรถที่ดีมาก
และได้ขายไปเมื่อปี 2546 |
|

จากประสบการณ์ที่ไม่ดีกับเซลล์ของโตโยต้า
ในขณะนั้น
ทำให้คิดถูกแล้วที่ซื้อ Galant
และได้เลิกสนใจรถโตโยต้ามานานถึง
16 ปี!
|

|
|
รถยนต์คันที่
9
รถ Benz 230 E
ซึ่งผมซื้อมือสองมาในราคา 1,400,000 บาท โดยเอา
BMW
318i ไปขาย
ด้วยเหตุผลที่ว่าสมควรจะขยับขึ้นไปใช้
รถ Benz เสียที
ซึ่งก็เป็นรถที่ดีมาก นั่งสบาย
อัตรา
เร่งดีพอสมควร
และได้ตกแต่งเล็กน้อย
ติดเครื่องเสียง
เพิ่มเติมขึ้น
(ปกติรถเบนซ์ภายนอกจะไม่ต้องแต่งเลย
นอกจากเปลี่ยนล้อแมกซ์)
|
รถยนต์คันที่ 10
รถ Benz 220 E
ซึ่งผมซื้อมาจากบริษัทชินวัตรฯ
ตามสิทธิ์ของผู้บริหาร
ที่ทำงานมานานและได้ใช้รถยนต์ประจำตำแหน่งคันนั้นมาครบ
5 ปีแล้ว
รถยนต์คันนี้
ใช้งานมาแล้วกว่า
11
ปีและได้ดูแลเป็นอย่างดี
เดิมเป็นเกียร์ระบบ Manual
ต่อมาเมื่อปี 2542
ได้ไปเปลี่ยนเป็นเกียร์ออโต้
และยังใช้ได้ดีมาก
ต่อมาในเดือนกันยายน
2549 ได้
ขายให้กับญาติไป
(รายละเอียดของรถเบนซ์
220E ดูได้ที่นี่)
.............................................................................................................................
รถยนต์คันที่ 11
รถ Benz E200
Compressor รุ่น Elegant ตากลม สีทอง
ซื้อเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2544
จากเบนซ์ราชครู ในราคา 3,600,000 บาท
เป็นรถที่มีอัตราเร่งดีมาก นั่งสบาย
และหรูหรา
รถคันนี้ได้ติดตั้งเครื่องเสียงครบชุด
และยังใช้อยู่ จนถึงปัจจุบันนี้เป็นเวลา 21 ปีกว่าแล้ว
อย่างไรก็ตาม
ได้เขียนบทความเปรียบเทียบกับรุ่นใหม่ล่าสุด
คือ
Mercedse Benz E 250 CGI BlueEfficiency ไว้
คลิกอ่านได้ที่นี่
หมายเหตุ
: ปัจจุบันรถยนต์คันนี้
ยังคงใช้งานเป็นประจำและรถอยู่ในสภาพดี เป็นเวลากว่า
21
ปีแล้ว
|

Benz E200
Compressor รุ่น Elegant
|
|
Benz E200 อายุการใช้งานมา 21
ปีกว่า |
รถยนต์คันที่ 12
รถ BMW 3 Series 2005 รุ่น
320i
SE (Special Edition)
ซึ่งสั่งซื้อในงาน Bangkok International Motor
Show 2005 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2548 และได้ออกรถเมื่อวันที่ 15
กรกฎาคม 2548 ในราคา 2,800,000 บาท
เป็นรถรุ่นนี้ สีนี้คันแรก!และได้ ขายไปแล้ว
หลังจากใช้มาประมาณ
4
ปี
 
รถ BMW ใหม่ ถ่ายเมื่อวันที่ 17
กรกฎาคม 2548
(ยังไม่ได้ติดฟิล์มกันความร้อน)
หมายเหตุ :
รถยนต์ประจำตำแหน่ง
ที่กลุ่มชินวัตร
คือ
1) Volvo 740 ใช้งานอยู่ 1 ปี ในตำแหน่ง
Vice President Broadcasting
2) BMW 520i ใช้งานอยู่ 1 ปี ในตำแหน่ง
Executive Vice President - Operation
3) Mercedes Benz 220 E ใช้งานอยู่ 5 ปี
ในตำแหน่ง President SC ASSET Group
4) Mercedes Benz 230 E รุ่น New Eyes (ตากลม)
ใช้งานอยู่ 3 ปี ในตำแหน่ง Executive Director |
|