Digital Photography   Audio & Video   Computer Accessories   Software Applications | Miscellaneous | Home
....

เครื่องปรับอากาศแบบตั้งพื้น / แขวน ประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5
(Energy Saving Floor Type 24,000 Btu Air Conditioner)

  สำหรับบ้านหรือสำนักงานที่มีห้องขนาดใหญ่ ต้องการใช้เครื่องปรับอากาศขนาดประมาณ 24,000 Btu/hr และเป็นแบบตั้งพื้นหรือแขวนนั้น ในขณะที่เขียนบทความ (มิถุนายน 2554) ยังไม่พบเครื่องปรับอากาศแบบ Inverter ตามที่ต้องการ  ดังนั้นจึงได้พิจารณาเครื่องปรับอากาศแบบเดิมๆที่ประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ซึ่งได้เลือกยี่ห้อ Carrier รุ่น 38TSR0255F ที่มี EER (Energy Efficient Rating) 11.07  ับว่าดีพอที่จะนำมาติดตั้งแทนเครื่องเก่าที่ใช้งานมานานมากแล้ว
 
 

รูปที่ เครื่องปรับอากาศแบบตั้งพื้น / แขวน Carrier รุ่น 38TSR0255F
ขนาด 24,079 บีทียู/ชั่วโมง ประหยัดไฟเบอร์ 5

รูปที่
2  Compressor Unit มีพัดลมระบายความร้อนขนาดใหญ่
วางบนขาตั้งสูงจากพื้น
30 ซม.

รูปที่ 3  Condensing Unit

Specifications :   Link

  ความสามารถในการทำความเย็น  24,079 บีทียูต่อชั่วโมง  7,057 วัตต์
   • ค่าประสิทธิภาพ  C.O.P.  3.24   ค่า EER  11.07
   • Power Consumption  2,175 วัตต์
   • Operating Current :  Outdoor + Indoor Units  10.96 แอมแปร์
   • ปริมาณลมหมุนเวียน  (Indoor Air Circulation)  สูงสุด 800 ลูกบาศก์ฟุต/นาที
   • ขนาด Indoor Unit :  H x W x D  630 x 1310 x 245 มม.

   • ขนาด Outdoor Unit : H x W x D  890 x 900 x 320 มม.
 
Remote Control ทำอะไรได้บ้าง
Remote Control แบบไร้สาย ใช้ทำหน้าที่ดังนี้
1.  เปิด ปิด การทำงาน
2.  Operation Mode : ตั้งเครื่องปรับอากาศให้ทำงานได้ 3 แบบ คือ Fan, Cool, Dry
3.  ตั้งอุณหภูมิที่ต้องการได้จาก 21  - 30 องศา C โดยที่หน้าจอของรีโมทฯ จะแสดง    อุณหภูมิที่ตั้งไว้ให้ทราบ
4.  Turbo Button : ใช้ควบคุมให้พัดลมทำงานที่ความเร็วสูงสุด
5.  Clock Button : สามารถตั้งเวลาที่ตัวรีโมทฯ ได้
6.  Timer ON/OFF : สามารถตั้งเวลาทั้งเปิด/ปิด ได้24 ชั่วโมง
7.  Sleep Button : เมื่อเครื่องอยู่ในระบบให้ความเย็น ค่าอุณหภูมิที่ตั้งไว้ จะถูกปรับขึ้นไป 1 องศา C เมื่อครบ 1 ชั่วโมง
 


รูปที่ 4
  Sensor, Temperature,
Indicators


รูปที่ 5  Remote Control

 
ความเป็นมา

บทความนี้อธิบายถึงการเลือกติดตั้งเครื่องปรับอากาศใหม่ เพื่อเป็นการทดแทน (Replacement) เครื่องเก่า ที่ใช้งานมานาน ใกล้จะหมดอายุการใช้งาน และกินไฟมาก ซึ่งเครื่องรุ่นเก่าๆสมัยเกือบ 20 ปีมาแล้ว คงจะมีค่า EER ประมาณ 7 - 9 คือมีระดับการประหยัดไฟฟ้าปานกลาง ดังนั้น ถ้าจำเป็นจะต้องเปลี่ยน หรือ ซื้อเครื่องปรับอากาศใหม่ ก็ควรเลือกแบบที่ประหยัดไฟฟ้ามากที่สุด ซึ่งถ้ามีแบบ Inverter ก็จะประหยัดไฟฟ้าได้มาก แต่ถ้าไม่มี ก็ควรเลือกแบบที่ประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 และเช็คค่า EER ที่สูงกว่า 11.00

C.O.P. และ EER คืออะไร

ค่า C.O.P.

C.O.P มาจาก คำว่า Coefficient of Performance  หรือ "ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง " ที่มาคือ Cooling Capacity (kW) / Power Input จะได้ C.O.P. ออกมา ยกตัวอย่าง แอร์ขนาด 18,500 บีทียูจะมี Cooling Capacity ประมาณ 5.15 kW/ Power Input 1.52 kW จะได้ C.O.P. 3.39 (แต่ถ้าเราต้องการทำเป็น E.E.R ให้คูณด้วย 3.412 เพราะ 1 Watt = 3.412 บีทียู ) จะได้ E.E.R 11.57  ซึ่งการกำหนดประหยัดไฟเบอร์ 5  นั้น จะต้อง ได้ EER. ไม่น้อยกว่า 11.0 ขึ้นไป แท้ที่จริง C.O.P ก็คือ EER นั่นเอง แต่การผลิตเครื่องปรับอากาศไปจำหน่ายต่างประเทศนั้น จะไม่ใช้ EER เนื่องจากต่างประเทศจะไม่รู้จัก ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 กำหนดใชเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น

ค่า EER

ค่า EER ย่อมาจาก Energy Efficiency Rating เป็นค่าประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ โดยจะหาได้จาก ขนาดของเครื่องปรับอากาศ (บีทียู ต่อ ชั่วโมง) หารด้วย กำลังไฟฟ้าที่เครื่องปรับอากาศใช้ (วัตต์) เช่น เครื่องปรับอากาศ ขนาด 11,700 บีทียูต่อชั่วโมง ใช้ไฟฟ้า 1,000 วัตต์ จะมีค่า EER = 11,700 หาร 1,000 = 11.7 เป็นต้น

หากเครื่องปรับอากาศมีค่า EER สูง จะมีความสามารถสูงขึ้น สามารถทำงานดูดความร้อนได้ในอัตรา (Btu/hr) ที่สูงขึ้น โดยใช้พลังงาน (วัตต์)เท่าเดิม หรือดูดความร้อนในอัตราเท่าเดิมโดยใช้พลังงานน้อยลง นั่นหมายถึง ยิ่งมีค่า EER สูง ยิ่งประสิทธิภาพในการใช้พลังงานสูง ค่า EER นี้ ถูกใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินฉลากพลังงานด้วย โดยที่เครื่องปรับอากาศที่จะได้ฉลาประหยัดไฟเบอร์ 5 ในประเทศไทย จะต้องมีค่า EER = 11.0 ขึ้นไป

ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5

สำหรับเครื่องปรับอากาศ ฉลากประหยัดไฟฟ้า กำหนดระดับประสิทธิภาพ ไว้ดังนี้
 
ระดับประสิทธิภาพ
อัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงาน (EER)
เบอร์ 5
มากกว่าหรือเท่ากับ 11.0
เบอร์ 4
มากกว่าหรือเท่ากับ 10.6 - น้อยกว่า 11.0
เบอร์ 3
มากกว่าหรือเท่ากับ 9.6 - น้อยกว่า 10.6

การติดตั้ง

การติดตั้ง Indoor / Fan Coil Unit นั้น ก็เหมือนกับการติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบตั้งพื้น / ขวน ทั่วๆไป สำหรับตัว Compressor หรือ Condensing Unit นั้น างไว้นอกห้อง แต่จำเป็นที่จะต้องทำขาตั้งให้แข็งแรง เพราะตัว Condensing Unitมีขนาดใหญ่และสูง มี Dimensions คือ สูง 89 ซม. กว้าง 90 ซม. และ ลึก 32 ซมน้ำหนัก 61 กิโลกรัม ภายในทางด้านซ้าย เป็นช่องโล่งๆ มีพัดลมใบพัดขนาดใหญ่ เพื่อให้ระบายความร้อนได้ดี ส่วนทางด้านขวา เป็น Compressor ละขั้วต่อวงจรไฟฟ้า (ามรูปที่ 7) ารติดตั้ง รวมทั้งการถอดเครื่องเก่าออก ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง
 


รูปที่ 6  Fan Coil Unit



รูปที่ 7  Condensing Unit
แสดงส่วนของ
Compressor


การใช้งาน

พบว่าเครื่องทำความเย็นได้รวดเร็ว พัดลมให้ลมได้ 3 ระดับ ระดับ Medium ก็ให้ลมแรง เมื่อเปิดใช้งานในห้องที่มีขนาดกว้าง  โดยตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 26 องศา C ก็นับว่าเย็นเพียงพอ และสังเกตการทำงานของ Compressor พบว่า เมื่อเครื่องทำความเย็นไปได้ระยะหนึ่ง Compressor ก็จะหยุดทำงาน ซึ่งเป็นการทำงานตามปกติ ยิ่งถ้าทำความเย็นได้ตามที่ต้องการ และ Compressor เดินน้อยที่สุด ก็จะยิ่งประหยัดไฟฟ้าได้มาก



References :

1.  Carrier Air Condition Catalog

2.
 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ กฟผ.

3. 
เครื่องปรับอากาศประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5

4.  รายการเครื่องปรับอากาศ ประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ยี่ห้อต่างๆ

5.  ร้านที่จำหน่ายและติดตั้ง Good Deal BKK


...........................................
หมายเหตุ : 

1.  คำว่า "กินไฟ" ในที่นี้ หมายถึง ใช้พลังงานไฟฟ้า (kWh หรือ ยูนิต) เป็นจำนวนมาก    
2.  บทความนี้เสนอเรื่องทางวิชาการ และความรู้ทั่วไป ไม่ใช่การโฆษณาสินค้า
 

 

การใช้ไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ 24,000 Btu   UPDATED (8 มิ.. 2564)

 
การเช็คว่าเครื่องปรับอากาศขนาด 24,000 Btu  ใช้ไฟฟ้ามากเท่าไรนั้น ทำได้โดยการต่อ Energy Meter เข้ากับวงจรของ Circuit Breaker โดยใช้
Current Transformer (C.T.) คล้องเข้ากับสาย Line ที่ออกมาจาก Circuit Breaker ส่วนสายที่ต่อกับไฟเพื่อนำแรงดันไฟฟ้ามาเข้ามิเตอร์นั้น ใช้จากปล๊กไฟที่อยู่ใกล้ๆกัน

ผลการทดสอพบว่า เครื่องปรับอากาศขนาด 24,000 Btu มื่Compressor เดินเต็มที่จะกินไฟประมาณ 2,000 - 2,070 วัตต์ โดยมีกระแสไฟฟ้าประมาณ 9.2 - 9.5 A ซึ่งมากกว่าเครื่องปรับอากาศขนาด 18,500 Btu ประมาณ 33% สำหรับการใช้เครื่องปรับอากาศขนาด 24,000 Btu ในห้องขนาดใหญ่ที่เปิดโล่ง เช่นห้องโถงของบ้าน อาจจะทำให้เครื่องต้องทำงานหนักและ Compressor จะเดินนานกว่าปกติ ดังนั้น จึงทำให้ใช้ไฟฟ้ามากขึ้นด้วย วิธีที่จะประหยัดพลังงานได้คือ 1) เปิดใช้เมื่อจำเป็น  2) เปิดพัดลมช่วยระบายความเย็น  3) ปิดประตูที่เกี่ยวข้องในห้องเสมอ
 
 


รูปที่ การต่อ C.T. คล้องสายไฟที่เข้าเครื่องปรับอากาศ
 

 


รูปที่ 9  การใช้ไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ 24,000 Btu วัดค่าต่างๆได้จาก Energy Meter
 


วันที่ 1 .. 2554
ปรับปรุงล่าสุด : 8 มิ.ยใ. 2564