Digital Photography  Audio & Video  Computer Accessories  Software Applications  Miscellaneous | Home                    
 

Electronic Blood Pressure Monitor
(เครื่องวัดความดันโลหิต ระบบบลูทูธ)
บทความที่จัดทำขึ้นใหม่ (22 ..  2564)

 

 
  เครื่องวัดความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ (Electronic Blood Pressure Monitor) ที่น่าสนใจอีกเครื่องหนึ่งคือ Jumper JPD - HA121 ที่สามารถเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือทั้ง iOS และ Android ด้วยระบบ Bluetooth ส่งข้อมูลความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ จากหน้าจอ LCD ของเครื่องไปแสดงที่โทรศัพท์มือถือและเก็บสถิติข้อมูลเอาไว้ เรียกดูย้อนหลังได้ พร้อมทั้งมีกราฟแสดงความดัน ซึ่งใช้งานได้ 2 Users แต่ละ User เก็บข้อมูลได้ 99 ชุด หรือจะลบข้อมูลบางรายการออกไปก็ได้
 
 
รูปที่ 101 ชุดเครื่องวัดความดัน Electronic Blood Pressure Monitor
 
 
 
รูปที่ 102  ตัวอย่างการเรียกดูข้อมูลความดันและอัตราการเต้นของหัวใจ
 
 
 
รูปที่ 103  ปุ่มควบคุม
 
 
 
รูปที่ 104  Port Mini USB สำหรับต่อ Power Supply ภายนอก
 
 
 
รูปที่ 105  Battery Tray สำหรับใส่แบตเตอรี่ AA จำนวน 4 ก้อน
 
 
 

การใช้งานในกรณีที่เชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือ

1)  Download App. ชื่อ Jumper Health เข้ามาไว้ในโทรศัพท์มือถือ
2)  เปิด App. Jumper Health แล้วกด Register ทาง App. จะให้ใส่ E-mail Address แล้วจะส่ง Verification Code มาให้ทางอีเมล จากนั้นก็ใส่ Code ลงไปแล้วส่งกลับ ถ้าลงทะเบียนสำเร็จ ก็จะให้เราใส่ข้อมูล เช่น ชื่อ เพศ วัน เดือน ปี เกิด ส่วนสูง เสร็จแล้วก็ใช้ App. ได้ (หมายเหตุ : มีบางกรณีที่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ตั้งค่า Font ตัวโตเอาไว้ ทำให้ App. นี้แสดงหน้าลงทะเบียนมีข้อความทับซ้อนกัน และทำให้ลงทะเบียนไม่สำเร็จ วิธีแก้คือ ให้ตั้งค่า Font ให้เล็กลงก่อน หรือเปลี่ยน Resolution ของหน้าจอ แล้วจึงเปิด App. เพื่อลงทะเบียน)
3) 
ในการใช้งาน เราสามารถตั้งชื่อ User หลัก และ User คนต่อไปได้ เมื่อจะวัดความดัน ให้เลือกว่าจะวัดของ User คนใด จากนั้นเชื่อมต่อระบบ Bluetooth แล้วกดปุ่มวัดความดัน คือปุ่ม Power
4) 
ในการดูข้อมูลที่โทรศัพท์มือถือ มีรายละเอียดตามรูปที่ 106 คือ กดที่ ... (
1) จะปรากฎ (2), (3) และ (4) ซึ่ง (2) คือเลือก User (3) คือดูข้อมูลย้อนหลัง และ (4) คือ Settings ส่วน (5) นั้นคือดูข้อมูลที่เป็นกราฟ ซึ่งเขาเรียกว่า Tendency Chart
 

 
 
รูปที่ 106  ข้อมูลบนโทรศัพท์มือถือ
 
 
 

Note :
1.  เครื่องวัดความดันมาตรฐานจะมีความละเอียดในการวัด < 0.8 mmHg
2
เครื่องวัดความดันแบบวัดที่ต้นแขนที่แสดงในบทความนี้ส่วนมากจะมีความละเอียด (Accuracy) ังนี้  วัดความดันโลหิต  Accuracy +/-  3 mmHg   วัดอัตราการเต้นของหัวใจ  Accuracy  +/-  5% องค่าที่อ่านได้
3เครื่องวัดความดันแบบที่วัดที่ข้อมือ มีขนาดเล็ก พกพาสะดวก ส่วนมากจะมีความละเอียดน้อยกว่าแบบวัดที่ต้นแขน ความคลาดเคลื่อนของเครื่องทั้ง 2 แบบอาจจะ 5 %

 
     
 

บทความเดิม

 
....

การใช้เครื่องวัดความดันโลหิต ระบบอัตโนมัติ
Automatic Blood Pressure Monitor

  การวัดความดันโลหิต (Blood Pressure Monitoring)  

เมื่อเราไปพบแพทย์ ก่อนที่จะเข้าห้องแพทย์ พยาบาล จะให้ทำการชั่งน้ำหนัก และวัดขั้นพื้นฐาน 2 อย่าง คือ วัดความดันโลหิต และอมปรอทวัดอุณหภูมิ  การวัดความดันโลหิตนั้น มีทั้งเครื่องมือรุ่นเก่า และแบบ Automatic Blood Pressure Measurement ซึ่งเป็นระบบดิจิตอล ถ้าไปพบแพทย์ครั้งละหลายท่าน แต่ละท่านก็มักจะวัดความดันใหม่ด้วยตนเอง มีทั้งแบบให้นั่งแล้ววัด กับแบบที่ให้นอนบนเตียง แล้ววัด และบางท่านก็กล่าวว่า แบบที่นอนวัดนั้น ให้ค่าที่ถูกต้องมากกว่า แต่เข้าใจว่า คงต้องการให้จุดที่วัดความดันโลหิตนั้น อยู่ในระดับหัวใจ  แต่ในทัศนะของผู้เขียน ที่มีความรู้ทางด้านนี้น้อย คิดว่า ค่าความดันโลหิตนั้น แกว่งไปมาได้ คือขึ้นๆลงๆในช่วงหนึ่ง และการวัดค่า ก็คงจะได้ค่าที่อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยพอใช้ได้ ถ้าวัดหลายครั้ง แต่ละครั้งก็มักจะไม่ค่อยเท่ากัน แต่ก็ใกล้เคียงกัน

ความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตจะเป็นแรงผลักดันให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย ดังนั้นเราควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับความดันโลหิต และรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งและตีบ เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดงทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือด หัวใจคนเราเต้น 60-80 ครั้งต่อนาที ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัวและลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับท่า ความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับ แต่ไม่ควรเกิน 140/90 หากสูงกว่านี้แสดงว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง ดังนั้นการป้องกันความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันอัตราการตายจากโรคหัวใจ และโรคอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของทุกท่านเนื่องจากไม่มีอาการเตือนดังนั้น การจะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องวัดความดันโลหิต

 
 
รูปที่ 1  เครื่องวัดความดันโลหิต
 
 
รูปที่ 2  ชุดเครื่องวัดความดันโลหิต พร้อมกระเป๋า และ AC Adapter
 
 
รูปที่ 3  การสวมแขนเข้าไปที่ปลอกแขน ขั้นแรก
 
 
รูปที่ 4  การสวมแขนเข้าไปที่ปลอกแขน ขั้นสุดท้าย
 
 

ข้อมูลเกี่ยวกับความดันโลหิต

ค่าความดันโลหิต (Blood Pressure) คือค่าที่แสดงความดันของโลหิตในร่างกายมี 2 ค่า คือค่าบน (Systolic Pressure) และค่าล่าง (Diastolic Pressure) มีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรปรอท ค่าบน คือค่าความดันที่อยู่ในหลอดเลือดแดง ขณะที่หัวใจสูบฉีดเลือดอย่างเต็มที่  หลังจากนั้น กล้ามเนื้อหัวใจจะผ่อนคลายชั่วครู่ ให้ค่าแรงดันมีกำลังอ่อนลงที่สุด ซึ่งค่าที่ได้ก็คือ ค่าล่าง นั่นเอง
 

 
  ค่าความดันโลหิต
ระดับ ค่าบน
(Systolic)
ค่าล่าง
(Diastolic)
คำแนะนำ
  ความดันโลหิตต่ำ <100 <60 ปรึกษาแพทย์
  ความดันโลหิตปกติ <130 <85 เช็คด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ
  ความดันโลหิตสูงเล็กน้อย 130 - 139 85 - 89 ปรึกษาแพทย์
  ความดันโลหิตสูง 140 - 159 90 - 99 รีบพบแพทย์
  ความดันโลหิตสูงมาก 160 - 179 100 - 109 รีบพบแพทย์
  ความดันโลหิตสูงมากอันตราย >180 >110 รีบพบแพทย์โดยด่วน
         
 
 

เครื่องวัดความดันโลหิตระบบอัตโนมัติ

ในปัจจุบัน มีเครื่องวัดความดันโลหิตระบบอัตโนมัติ ที่สามารถซื้อไปใช้ตามบ้านได้เอง และมีราคาไม่แพง การใช้งานก็ง่าย  ช่วยเป็นการเช็คตรวจสอบสภาพร่างกายเบื้องต้น ถ้าค่าความดันโลหิตที่วัดได้ ผิดปกติจะได้รีบไปปรึกษาแพทย์เครื่องวัดที่แสดงในเว็บเพจนี้ มีความละเอียด (Accuracy) ังนี้
วัดความดันโลหิต 
Accuracy +/-  3 mmHg
ัดอัตราการเต้นของหัวใจ  Accuracy  +/-  5% องค่าที่อ่านได้

วิดีโอแสดงการใช้เครื่องวัดความดันโลหิต ระบบอัตโนมัติ
ชมวิดีโอที่
Post ขึ้น YouTube



ข้อแนะนำทั่วไปในการใช้เครื่องวัดความดันโลหิต

1. เตรียมร่างกายให้อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ผ่อนคลาย ก่อนทำการวัด
2. วัดความดันโลหิตที่แขนซ้าย ซึ่งอยู่ใกล้หัวใจ โดยให้จุดที่รับสัญญาณ อยู่ใน
ระดับหัวใจ
3. สวมปลอกแขนที่บริเวณต้นแขน ให้จุดรับสัญญาณอยู่ตรงกลางท้องแขนด้านใน
เหนือข้อพับประมาณ
2 - 3 ซม.
4. ติดเทปที่ปลอกแขนให้พอดีกับขนาดแขน ไม่แน่น หรือหลวมจนเกินไป
5. หงายต้นแขนขึ้น แล้ววางแขนบนโต๊ะให้รู้สึกสบาย โดยปลอกแขนจะอยู่ในระดับ
เดียวกับหัวใจ
6. การวัดความดันโลหิต อาจจะวัดวันละหลายครั้ง จะได้ผลดีกว่าการวัดครั้งเดียว
และควรพักประมาณ
5 นาที ก่อนจะวัดครั้งที่ 2


ความดันโลหิตสูงปลอม
(White Coat Hypertension)

ภาวะนี้คือ เมื่อวัดความดันโลหิตที่บ้าน ความดันจะปกติ แต่เมื่อไปพบแพทย์ วัดความดันโลหิต จะมีความดันสูง  ทางการแพทย์เรียกว่า White Coat Hypertension หมายถึง เป็นโรคความดันโลหิตสูงปลอม เกิดจากผู้ป่วยตื่นเต้น กังวล เวลามาพบแพทย์ หรือพยาบาล (โดยไม่รู้ตัว) คำว่า White Coat หมายถึงชุดสีขาว ซึ่งก็คือชุดของแพทย์ พยาบาล ที่มีสีขาวนั่นเอง

 
     
     
 

References
1. เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ ยี่ห้อต่างๆ
2. โรคความดันโลหิตสูง
3. ความดันโลหิตสูง
4. คู่มือการทดสอบเครื่องวัดความดันโลหิต

 


จากวันที่ 24 เมษายน 2554
ปรับปรุงล่าสุด : 23 ..2564