Digital Photography   Audio & Video   Computer Accessories   Software Applications | Home
....

การใช้ Digital Timer
(Energy Saving by Using Digital Timer)
 

 

Digital Timer - New Update (23 Nov. 2019)

 
  เครื่องตั้งเวลาเปิด - ปิด หรือ Weekly Digital Timer ขนาดเล็กน่าใช้มากอีกรุ่นหนึ่งคือ SINOTIMER Model : TM-619H-2 ตามรูป AA ซึ่งใช้กับไฟฟ้า 220 V ขนาดกระแสไม่เกิน 10 A เครื่องรุ่นนี้มีฝาพลาสติกปิดด้านหน้าเพื่อป้องกันฝุ่นและการไปกดปุ่มต่างๆที่ได้ตั้งค่าไว้ และมีแบบที่ขายพร้อมสาย 4 เส้นสำหรับต่อขั้วไฟเข้าและไฟออกด้วย สำหรับราคา ณ พ.. 2562 อันละประมาณ 178 - 208 บาท (รวมค่าส่ง)
 
 


รูป AA  Digital Timer ขนาดเล็ก SINO TIMER Model : TM-619H-2

 
  ตัวอย่างการใช้งาน : ใช้เปิด-ปิด ไฟฟ้าแสงสว่าง เช่น ไฟหน้าบ้าน ไฟหลังบ้าน ไฟโรงรถ ไฟห้องนอน ไฟบันได ไฟตกแต่งบริเวณสวน เป็นต้น นอกจากนั้นยังใช้ เปิด-ปิด Electric Valve สำหรับรดน้ำต้นไม้โดยอัตโนมัติ  
 

......................................................................................................................

 
 


Digital Timer - Update
(10 June 2018)

 
  เครื่องตั้งเวลาเปิด - ปิด หรือ Weekly Digital Timer ขนาดเล็กที่เหมาะสำหรับการติดตั้งบนผิวราบ เช่น ฝา ผนัง หรือ Panel Board รวมทั้งใช้กับตู้ไฟสำหรับระบบ Solar Power เพื่อเปิด ปิดไฟฟ้าแสงสว่างหรือปั๊มน้ำ โดยใช้กระแสไฟฟ้าไม่เกิน 16 A แสดงได้ตามรูป A และ B อุปกรณ์นี้มีขนาด 6 x 6 x 3 ซม. มีขั้วสำหรับต่อสายไฟเข้า (Input) 2 สาย และสายไฟออก.(Output) 2 สาย รูป C แสดงขั้นตอนในการทำสาย Female Plug และการต่อเข้าตัวอุปกรณ์
 
 


รูป A  Digital Timer ขนาดเล็ก.ติดผนังหรือ Panel Board

 
 


รูป B  การต่อสายไฟเข้า-ออก.และการติดตั้งใช้งาน

 
 


รูป C  การทำขั้วสายโดยบัดกรีสายไฟเข้ากับ Female Plug ขนาด 6.3 มม.
และต่อเข้าตัวอุปกรณ์
Digital Timer พันเทปที่แต่ละขั้วแล้วพันเทปหุ้มขั้วไฟฟ้าทั้งหมด

 
 


รูป D  การต่อ Digital Timer โดยใช้สายสำเร็จรูปที่หุ้มฉนวน (Updated @ 14/8/2018)

 
     
  ข้อแนะนำในการตั้งเวลา เปิด - ปิด  (29/6/2018)

1.
ตั้งเวลาแบบ 24 ชั่วโมง หรือแบบ AM-PM โดยกดปุ่ม Clock ค้างไว้ 3 วินาฑี
2. ตั้งเวลา (Time) โดยกดปุ่ม Clock และกดปุ่ม Hour แล้วกดปุ่ม Minute จากนั้นกดปุ่ม Clock และกดปุ่ม Week เพื่อเลือกวัน (Mo - Su)
3.
ตั้งเวลาเปิดครั้งที่ 1 โดยกดปุ่ม Program จะขึ้น 1 ON ปล่อยปุ่ม และกดปุ่ม Hour เพื่อตั้งชั่วโมง จากนั้นกดปุ่ม Minute เพื่อตั้ง นาฑี แล้วกดปุ่ม Week เพื่อเลือกวันโดยกดจนปรากฎครบทุกวันของสัปดาห์ (ถ้าต้องการให้ทำงานทุกวัน)
4.
ตั้งเวลาปิดครั้งที่ 1 กดปุ่ม Program จะปรากฎ 1 OFF แล้วทำตามขั้นตอนในข้อ 3
5.
ถ้าต้องการตั้งเวลา เปิด ปิด ครั้งที่ 2, 3 ... ก็ทำซ้ำตาขั้นตอนในข้อ 3 และ 4
6.
เมื่อตั้งเสร็จแล้ว กดปุ่ม Clock เพื่อแสดงเวลานาฬิกา
7. การให้โปรแกรมทำงานอัตโนมัติ กดปุ่ม Manual จนปรากฎคำว่า AUTO
 
 
 

บทความเดิม ปี 2556

 
  บทความเกี่ยวกับนาฬิกาตั้งเวลาแบบดิจิตอล (Digital Timer) นั้น ผู้เขียนได้เขียนไว้ครั้งแรกชื่อเรื่อง การใช้ Weekly Electronic Timer มื่อวันที่ 17 กราคม 2554  ลังจากนั้นมีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ดังกล่าวเพิ่มขึ้นเพื่อความสะดวกและเป็นการช่วยประหยัดพลังงาน จึงได้หาซื้อมาเพิ่ม และได้พบอุปกรณ์ Toshino Digital Timer รุ่น TS-EB1 ซึ่งมีราคาแพงกว่า แต่มีขั้วเสียบหรือขาปลั๊กที่ดี มีขั้ว Ground ละมีการใช้งานที่ง่ายขึ้น ดังนั้นในบทความนี้จะเน้นการใช้งานของอุปกรณ์ชิ้นนี้  

รูปที่ 1  Toshino Digital Timer รุ่น TS-EB1(โตชิโน)

รูปที่ 2   เปรียบเทียบ Digital Timer ที่หาซื้อได้ง่าย

รูปที่ 3 Toshino Digital Timer รุ่น TS-EB1 แสดงรายละเอียดต่างๆ

รูปที่ 4  Toshino Digital Timer เมื่อเสียบเข้ากับปลั๊กไฟ

รูปที่ 5  ด้านหลังของ Toshino Digital Timer
 
ประโยชน์ในการใช้งาน
ใช้เปิด ปิดไฟฟ้าสำหรับไฟแสงสว่างบริเวณหน้าบ้าน โรงรถ ไฟสนาม ไฟทางเดิน ไฟป้ายร้าน ไฟฟ้า ป้ายโฆษณา ใช้เปิด ปิดพัดลม ใช้ควบคู่กับ Solenoid Valve พื่อเปิด ปิดน้ำสำหรับใช้รดต้นไม้ เปิด ปิดปั้มน้ำ เป็นต้น ซึ่งสะดวกและช่วยให้ประหยัดพลังงานได้


รูปที่ 6  การต่อ Digital Timer กับ Solenoid Valve

 

คุณสมบัติ
1. มีระบบดิจิตอลที่สามารถตั้งเวลาเปิด - ปิดการทำงานได้ 8 ระดับ
2. มีฟิวส์ป้องกันการใช้กระแสไฟฟ้าเกินพิกัด (15 A)
3. ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้สูงสุด 3,600 วัตต์
4. มีแบตเตอรี่สำรอง Ni-Mh ใช้งานจ่ายไฟฟ้าสำรองให้กับเครื่องได้ประมาณ 1,000 ชั่วโมง
5. มีขากราวน์และสามารถหมุนถอดออกได้
6. ตั้งเวลาได้ละเอียดถึงวินาที

รายละเอียดหน้าจอและปุ่มต่างๆ
(รูปที่ 3)
1. แถบบนสุดของหน้าจอ LCD จะแสดงวันต่างๆของสัปดาห์ เช่น SA = Saturday (
1)
2. แถบกลางของจอ LCD แสดงเวลา (
2)
3. แถบล่างของจอ LCD แสดงการควบคุมการทำงาน ON  AUTO  OFF (
3)
4. ปุ่ม R (Reset) (
4)
5. ไฟ Indicator Light (
5)


การเตรียมก่อนใช้งาน
1. เสียบเครื่อง Timer เข้ากับเต้าเสียบ 220 V  เพื่อ Charge แบตเตอรี่ ที่ใช้เป็น Memory Back Up ทิ้งไว้นาน 12 ชั่วโมง
2. จากนั้นทำการ Clear ข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง โดยใช้ปลายดินสอหรือปากกา กดที่ปุ่ม R (
4) จากนั้น Timer ก็พร้อมที่จะถูกตั้งค่าเพื่อใช้งาน

การตั้งเวลา
นาฬิกา
1. กดปุ่ม CLOCK ค้างไว้ ขณะเดียวกันให้กดปุ่ม WEEK เพื่อตั้งวันที่เป็นปัจจุบัน หลังจากนั้นให้กดปุ่ม HOUR, MINUTE หรือ SEC เพื่อตั้งเวลาปัจจุบัน
2. ปล่อยปุ่มทั้งสอง เวลาจะถูกตั้งทันที
3. ถ้าตั้งเวลาผิด ให้เริ่มทำตามขั้นตอนที่ 1-2 ใหม่


การตั้งโปรแกรมเวลา
เปิด ปิด
ทำตามขั้นตอนดังนี้
1. ดปุ่ม SETUP 1 รั้ง เพื่อตั้งเวลาที่จะให้เริ่มทำงาน หน้าจอจะแสดง 1_ON
2.
ดปุ่ม WEEK พื่อตั้งวันที่ต้องการ เช่น ถ้าต้องการทุกวัน ก็ต้องกดไปจนพบ SU MO TU WE TH FR SA
3.
ดปุ่ม HOUR พื่อตั้งชั่วโมง และกดปุ่ม MINUTE พื่อตั้งนาที เป็นเวลาที่เริ่มทำงาน
4. ดปุ่ม SETUP 1 รั้งเพื่อตั้งเวลาที่จะให้หยุดทำงาน หน้าจอจะแสดง 1_OFF
5.
ดปุ่ม WEEK, HOUR ละ MINUTE พื่อตั้งวันและเวลาหยุดทำงาน
6. ดปุ่ม SETUP อีก1 รั้งเมื่อเสร็จสิ้นการตั้งค่าหยุดการทำงาน
7. ถ้าต้องการตั้งเวลา เปิด ปิด ครั้งที่ 2, 3, .... ก็ให้เริ่มทวนการทำใหม่ตามข้อ 1 ถึง 6
8.
ลังจากเสร็จสิ้นการตั้งเวลาที่ต้องการทั้งหมดแล้ว กดปุ่ม CLOCK พื่อให้ตัว TIMER ทำงาน แล้วกดปุ่ม MODE นปรากฎคำว่า AUTO OFF ก็หมายถึงว่า เมื่อถึงเวลาที่ต้องการเครื่องก็จะเปิดและทำงานต่อไปเรื่อยๆตามโปรแกรม

ตัวอย่าง
: ตั้งเวลาเปิด - ปิด ไฟฟ้าประจำวัน ให้เปิดเวลา 18.30 . และปิดเวลา 05.45 .
วิธีทำ
:
1. กดปุ่ม SETUP หน้าจอจะแสดง 1_ON
2.
กดปุ่ม WEEK จนกระทั่งหน้าจอแสดง "MO,TU,WE,TH,FR,SA,SU"
3.
กดปุ่ม HOUR จนหน้าจอแสดงเวลา 18.00
4.
กดปุ่ม MINUTE จนหน้าจอแสดง 18.30
5.
กดปุ่ม SETUP อีกครั้ง หน้าจอจะแสดง 1_OFF เพื่อตั้งเวลาหยุดการทำงาน
6. ทำซ้ำขั้นตอนที่ 3 และ 4 จนกระทั่งหน้าจอแสดงเวลา 5.45
7.
กดปุ่ม CLOCK แล้วกดปุ่ม MODE จนปรากฎ AUTO OFF ก็เสร็จสิ้นการตั้งเวลาและเครื่องพร้อมที่จะทำงานต่อไป


หมายเหตุ
: ก่อนที่จะตั้งเวลาโปรแกรม เปิด ปิด ใหม่ ควรลบเวลาของเดิมออกให้หมดก่อนโดยใช้ปุ่ม Reset (
4

การต่อโหลด

ต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า (Load) เข้าที่ (
6) โดยใช้ไฟฟ้าได้ไม่เกิน 15 แอมแปร์ หรือ 3,600 วัตต์

Specifications
Voltage : 220-240 VAC 50 Hz
Max.Load : 3,600W
Min. Setting Time : 1 Sec
Operating Temperature : -10 to +40C
Accuracy : +/-1 Minute per month
Battery Backup :  Ni-Mh 1.2V > 1000 hours

การเสียบอุปกรณ์ Digital Timer นี้ทิ้งไว้ จะกินไฟฟ้าน้อยมาก เพียง 2 วัตต์


รูปที่ 7  การใช้ไฟฟ้าของ Digital Timer = 2 w.

 

สถานที่จำหน่าย

มีจำหน่ายที่ศูนย์การค้าชั้นนำ ราคา 650 บาท  (แบบเก่าราคา 290 บาท)
........................................................................................

หมายเหตุ :

บทความนี้ไม่ใช่เป็นการโฆษณสินค้า แต่เป็นการเผยแพร่ประสบการณ์ในการใช้งาน เนื่องจากได้มีผู้สนใจติดต่อสอบถามมาเรื่อยๆ เกี่ยวกับการใช้ Digital Timer รวมกับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น Solenoid Valve
















 



 

จากวันที่ 24 มี.. 2556
ปรับปรุงล่าสุด : 17 .. 2561, 23 .. 2562