Digital Photography   Audio & Video   Computer Accessories   Software Applications | Miscellaneous | Home
....

การหรี่ไฟ LED 220 V
(Dimming of 220 V LED Lights)

 
เนื่องจากในปัจจุบัน (.. 2563) ได้มีการผลิต LED Dimmer และ Dimmable LED Light อกมาขายมากขึ้น ดังนั้นจึงมีผู้ที่สนใจประสงค์จะติดตั้งอุปกรณ์สำหรับหรี่แสงไฟเพื่อใช้ในบ้านหรือสำนักงาน และบางรายก็อยากทราบข้อมูลและเทคนิคในการใช้งาน ผู้เขียนจึงได้ทำการทดสอบอุปกรณ์ที่มีขายทั่วไปมีราคาไม่แพงนักและได้เขียนบทความนี้เพิ่มขึ้น
 
1
. หลอดไฟ LED 220 V ที่ใช้สำหรับการหรี่ไฟ
แนะนำให้ใช้หลอดไฟ LED แบบที่หรี่ไฟได้ (Dimmable LED) เท่านั้น โดยทั่วๆไปสำหรับบ้านเรือนอยู่อาศัย คอนโดมิเนียมและสำนักงาน ส่วนใหญ่นิยมใช้หลอดไฟ LED 2 ประเภท ได้แก่
 
1.1  D
immable LED Bulb: ในปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ตามศูนย์การค้า ตามเว็บไซต์และสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น ยี่ห้อ Philips, Sylvania, Lamptan, EVE และแบบที่มีหรือไม่มียี่ห้อซึ่งส่วนใหญ่ผลิตมาจากประเทศจีน โดยมีขนาดที่นิยมใช้กันคือ 6, 9, 11 และ 15 วัตต์ มีให้เลือกเป็นแสงสีขาว (Daylight) ซึ่งมีอุณหภูมิแสง 6500 K, หรือแสง Cool White มีอุณหภูมิแสง 4000 K (จะหาได้ยาก) และแสงออกสีเหลืองๆหรือสีส้ม เรียกว่า Warm White มีอุณหภูมิแสง 3500 K รูปที่ 1 แสดงหลอดไฟ Dimmable LED Bulbs  ที่ราคาไม่แพงนัก

หมายเหตุ :
หลอดไฟ Dimmable LED 220 V ที่ไม่มียี่ห้อนั้นมีราคาถูกแต่คุณภาพไม่แน่นอน อาจจะไม่คงทน การหรี่ไฟอาจจะไม่ Smooth
หรือมีไฟกะพริบในบางช่วงได้
 
 


รูปที่ 1  Dimmable LED Bulbs

 
 

1.2  Dimmable LED Downlight : หลอดไฟประเภท Downlight เป็นที่นิยมใช้กันมากเดิมเป็นหลอด Halogen ซึ่งก็กินไฟมาก มีขนาดที่นิยมใช้กันคือ 25, 50 และ 100 W แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้หลอด LED แทนเป็นส่วนใหญ่แล้ว โดยสามารถเลือกใช้ขนาด 4, 5 และ 7 W ซึ่งมีแรงดันไฟฟ้าให้เลือกทั้ง 12 V และ 220 V ในกรณีที่ต้องการหรี่แสงก็ทำได้โดยเลือกใช้หลอด Downlight แบบ Dimmable และใช้ควบคู่กับ LED Dimmer

Dimmable LED Downlight 220 V ที่ใช้ขั้ว MR16 หรือ GU 5.1 นั้น ในขณะนี้ยังมีราคาแพงและมีให้เลือกน้อย รูปที่ 2 แสดงหลอดไฟฟ้า Downlight MR 16 ยี่ห้อ EVE และแบบที่ไม่ระบุยี่ห้อ ขนาด 7 W

 
 
รูปที่ 2
  Dimmable LED Downlight ขั้ว MR16 และ E14

 
 

2. LED Dimmer 220 V

อุปกรณ์หรี่ไฟ (Dimmer) ที่ออกแบบมาให้ใช้กับหลอดไฟ LED นั้นใช้หลักการแปลงคลื่นไฟฟ้าให้ปรับความถี่มากความถี่น้อยได้ โดยรูปของคลื่นไฟฟ้าจะเปลี่ยนไป ทำให้สายตามนุษย์มองเห็นเป็นแสงมีความสว่างมากหรือน้อย ดังนั้น LED Dimmer จึงแตกต่างไปจาก Dimmer สำหรับหลอดใส้ (Tungsten Filament Lamp) หรือหลอด Halogen

LED Dimmer 220 V อาจแบ่งออกได้ตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้

2.1  Wall Switch Type LED Dimmer : มีลักษณะและขนาดเท่ากับ Dimmer แบบที่ใช้กับหลอดใส้หรือหลอด Halogen สามารถติดในหน้ากาก เช่น หน้ากาก Panasonic โดยจะติดเดี่ยวหรือติดคู่กับสวิตช์หรือปลั๊กไฟก็ได้ รูปที่ 3 แสดง LED Dimmer ของ Fujiyama ติดในหน้ากากและใส่ในกล่องพลาสติก

หมายเหตุ
: LED Dimmer ี่ห้อ BEWON  BW-300MK ับ FUJIYAMA หมือนกันและทำมาจากโรงงานเดียวกัน


รูปที่ 3  LED Dimmer แบบติดในหน้ากากฝังในผนังหรือติดในกล่อง

2.2  LED Dimmer Switch แบบฝังในผนังหรือติดลอย - ขนาดใหญ่ :  LED Dimmer แบบนี้มีทั้งใช้ฝังในผนังและติดลอย มีแบบต่างๆให้เลือกมากขึ้น ส่วนมากผลิตในประเทศจีน รูปที่ 4 สดง LED Dimmer Switch ี่ห้อ Haco ละแบบที่ไม่ระบุยี่ห้อ ซึ่งใช้งานในการหรี่แสงไฟได้ดี จากการทดลอง LED Dimmer ยี่ห้อ Haco สามารถใช้หรี่ไฟหลอด LED Dimmable Filament Lamp E14 ได้เป็นอย่างดีด้วย (Updated 21/11/2563)


รูปที่ 4  LED Dimmer Switch ยี่ห้อ Haco และแบบที่ไม่ระบุยี่ห้อ



2.3  LED Dimmer แบบที่ใช้กับโคมไฟตั้งโต๊ะหรือตั้งพื้น : ป็น Dimmer นาดเล็กที่ใช้หรี่แสงไฟสำหรับโคมไฟตั้งโต๊ะ (Table Lamp) รือโคมไฟตั้งพื้น ตามรูปที่ 5


รูปที่ 5  LED Dimmer สำหรับโคมไฟ (บางทีเรียกว่า Dimmer แบบกลางทาง)

 
 

3. หลักการติดตั้งใช้งาน

3.1  Rating ของ LED Dimmer : Dimmer ที่ใช้กับหลอดใส้หรือหลอด Halogen ซึ่งกินไฟมาก จะมี Rating 300 - 600 W แต่เมื่อผู้ผลิตทำ LED Dimmer ออกมาขาย ส่วนใหญ่ก็ยังระบุ Rating ไว้ 300 W หรือมากกว่า แต่เนื่องจากหลอดไฟ LED กินไฟน้อยมาก ดังนั้นจึงมีผู้ให้ความเห็นกันว่า Rating ของ LED Dimmer น่าจะหมายถึง Equivalent Rating ของ Dimmer แบบเดิม เช่น 300 W หารด้วย 8 ถึง 10 ก็จะได้ 37.5 - 30 W หมายความว่า LED Dimmer 300 W นั้น ควรจะใช้กับหลอดไฟ LED ขนาด 9 W ได้ 4 หลอด

3.2
  การใช้หลอดไฟ LED หลายยี่ห้อในวงจรหรี่ไฟเดียวกัน : โดยหลักการควรจะใช้หลอดไฟ LED ยี่ห้อเดียวกันและวัตต์เท่ากันในวงจรหรี่ไฟวงจรหนึ่งๆ แต่ถ้าหลอดเกิดเสียและมีการเปลี่ยนโดยนำหลอดยี่ห้ออื่นมาเปลี่ยนแทน แสงสว่างที่ได้อาจไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละยี่ห้อ และเมื่อหรี่แสงไฟไปจนแสงน้อยที่สุด อาจมีบางหลอดติด บางหลอดดับ และอาจเกิดไฟกะพริบขึ้นในบางช่วงของการหรี่ไฟได้


รูปที่
6 แสดงการทดลอง
ช้ LED Dimmer ี่ห้อ Fujiyama ำการหรี่แสงไฟหลอด Lamptan 9 W Daylight ับหลอด EVE Downlight MR16 นาด 7 W สง Warm White รากฎว่าสามารถหรี่ ลดหรือเพิ่มแสงไฟได้ดีทั้ง 2 ลอดโดยไม่มีไฟกะพริบ

 
 



รูปที่ 6  การทดลองใช้ LED Dimmer หรี่แสงไฟ หลอดต่างชนิดกัน

 
  4. การทดสอบ

สิ่งที่น่าสนใจคือการหรี่แสงไฟของหลอด LED และหลอด Downlight นั้น ทำได้ดีแค่ไหน การหรี่ระดับแสงสว่างน้อยที่สุดแค่ไหน และปรับความสว่างได้ราบเรียบหรือไม่ และจะต้องไม่มีไฟกะพริบ การทดสอบของผู้เขียนทำภายใต้ข้อจำกัดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่หาซื้อได้ในขณะนั้น

4.1  ความราบเรียบในการหรี่แสงไฟ : สรุปได้ดังนี้
1)  LED Dimmer Fujiyama
สามารถใช้หรี่ไฟกับหลอด Dimmable LED Bulb ที่นำมาทดสอบได้ดี จะมีบางยี่ห้อที่เกิดไฟกะพริบบ้างที่ระดับแรงดันไฟฟ้าคร่อมหลอดประมาณ 140 - 160 V
2)  LED Dimmer Haco
สามารถใช้หรี่ไฟกับหลอด Dimmable LED Bulb ทุกยี่ห้อที่นำมาทดสอบได้ดี มีความราบเรียบในการปรับความสว่างได้ดี
3)  LED Dimmer Fujiyama สามารถหรี่แสงไฟ หลอด Dimmable LED Downlight ยี่ห้อ EVE ขั้ว MR16 ได้ดีตลอดย่านโดยไม่มีไฟกะพริบ

4.2  การทดสอบหรี่แสงไฟโดยต่อหลอดจำนวน 6 หลอด : ารทดสอบทำโดยใช้ LED Dimmer ี่ห้อ Fujiyama ่อกับวงจรไฟฟ้าที่มีหลอด Dimmable LED ำนวน 6 ลอดคละยี่ห้อกัน ได้แก่ Sylvania 11 W, Sylvania 6 W 2 ลอด, EVE 9W, Lamptan 9 W, ละ HI-TEK 10 W วมทั้งหมด 51 W ามารถหรี่ เพิ่มหรือลดแสงไฟได้ตลอดย่าน โดยราบเรียบไม่มีไฟกะพริบ (ูปที่ 7)




รูปที่ 7  การทดสอบหรี่แสงไฟโดยใช้หลอด Dimmable LED จำนวน 6 หลอดคละกัน

4.3  การทดสอบหรี่แสงไฟโดยต่อหลอด LED 4 หลอดและหลอดใส้ 2 หลอด :  เนื่องจาก Dimmer ที่ใช้ระบุว่าใช้ได้ทั้งหลอดใส้และหลอด LED ดังนั้นจึงได้ทำการทดลองต่อหลอดทั้ง 2 ชนิดคละกัน ทำการหรี่แสงไฟหรือเร่งความสว่างได้อย่างราบเรียบ ไม่มีไฟกะพริบ


รูปที่ 8  การทดสอบหรี่แสงไฟโดยใช้หลอด Dimmable LED จำนวน 4 หลอดคละกันและหลอดใส้จำนวน 2 หลอด


รูปที่ 9  ำลังไฟฟ้าที่ใช้สูงสุด 158.3 W และเมื่อหรี่แสงไฟต่ำสุดใช้กำลังไฟฟ้า 16.17 W หรือ 10.21%

4.4  การประหยัดพลังงาน : นกรณีที่ไม่ต้องการแสงสว่างมากนัก หรือต้องการหรี่ไฟเพื่อให้มีบรรยากาศ การหรี่ไฟลงก็จะทำให้ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยลงตามสัดส่วน

4.5  ความสูญเสีย (Loss) ในตัว LED Dimmer : ารต่ออุปกรณ์ LED Dimmer พื่อใช้หรี่ไฟนั้น มีความสูญเสียเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากการวัดค่าพบว่ามีความสูญเสียประมาณ 5 - 7 % ท่านั้น
 

 
 

5. สรุป

การหรี่แสงไฟสำหรับหลอดไฟ LED แรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์นั้น ควรจะต้องใช้อุปกรณ์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ คือหลอดต้องเป็นแบบ Dimmable และตัวหรี่ไฟ ก็ต้องเป็นแบบ LED Dimmer นอกจากนั้นการทดสอบพบว่า อุปกรณ์ Dimmer ราคาถูกๆนั้นอาจจะใช้ได้ดีกับหลอดบางยี่ห้อ แต่ใช้ได้ไม่ดีนักกับหลอดบางยี่ห้อโดยมีไฟกะพริบในบางช่วงของการหรี่ไฟ แต่ถ้า LED Dimmer มีคุณภาพดี ก็จะใช้กับหลอด LED Bulb แบบที่หรี่ไฟได้เป็นอย่างดี

ประเด็นที่พบในขณะนี้คือ LED Dimmer ยังมีราคาแพงและมีให้เลือกไม่มาก สำหรับหลอด Dimmable LED Bulb นั้น เริ่มมีขายมากขึ้นและราคาไม่แพงนัก ส่วนหลอด Dimmable Downlight นั้นยังมีให้เลือกน้อยและราคาแพง ยกเว้นจะใช้อุปกรณ์ที่ไม่ระบุยี่ห้อ ก็หาซื้อได้ในราคาที่ถูกลง แต่คุณภาพไม่แน่นอน

 
 


 
  References
 

http://www.somkiet.com/Miscellaneous/LedDimmer.htm
 

 
 

หมายเหตุ :  วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์ในการใช้งานอุปกรณ์หรี่ไฟและหลอดไฟ LED ผู้เขียนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีผลประโยชน์กับการโฆษณาหรือการขายอุปกรณ์ต่างๆที่แสดงไว้

 


จากวันที่  3 .. 2563
ปรับปรุงล่าสุด 21 .. 2563