Digital Photography   Audio & Video   Computer Accessories   Software Applications | Miscellaneous | Home
....

ค่าใช้จ่ายของรถยนต์ไฟฟ้า เทียบกับรถยนต์ Hybrid
(Expenses of Electric Vehicle vs. Hybrid ICE)


 

 
ผู้เขียนมีความสนใจในรถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้า หรือ Electric Vehicle (EV) หรือที่เรียกว่า Battery Electric Vehicle (BEV) ด้วยเห็นว่าการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนรถยนต์มีประสิทธิภาพสูงกว่าการใช้เครื่องยนต์ ICE (Internal Combustion Engine) มาก รถยนต์ไฟฟ้าช่วยลดมลภาวะ ลดโลกร้อน เสียงเงียบกว่า ใช้ชิ้นส่วนน้อยกว่า ค่าบำรุงรักษาก็น้อย อัตราการเร่งก็ดีมาก แต่มีข้อเสียอยู่หลายประการเหมือนกัน เช่น ราคารถยนต์ไฟฟ้าจะแพงกว่ารถยนต์ ICE มาก แบตเตอรี่มีราคาแพง และระยะทางที่วิ่งได้ต่อการชาร์จไฟเต็มที่ยังเป็นข้อกังวลของผู้ใช้ แม้ว่าจะวิ่งได้ถึง 400 - 500 กิโลเมตร ก็ตาม ยังต้องพึ่งสถานีชาร์จไฟที่ยังหายากหรือมีไม่เพียงพอ และการชาร์จไฟแต่ละครั้งใช้เวลานาน แม้ว่าปัญหาเหล่านี้กำลังมีการแก้ไข มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นก็ตาม

รถยนต์ไฟฟ้าที่น่าจะมีประโยชน์สำหรับคนที่ทำงานในเมือง คือเป็นรถขนาดเล็กขับไปทำงานแล้วกลับ วันละประมาณ
40 - 50 กิโลเมตร อยู่ในประเภท City Car ซึ่งสามารถทำการชาร์จไฟฟ้าที่บ้านได้ (ถ้าเป็นรถยนต์ขนาดเล็กมักจะมี Charger ติดตั้งมาให้ในตัวรถ แต่ถ้าแบตเตอรี่มีขนาดใหญ่ ส่วนมากจะต้องติดตั้ง Home EV Charging Station พิ่ม)ไม่ต้องไปพึ่งสถานีชาร์จที่อื่น อาจเหมาะที่จะเป็นรถคันที่ 2 และไม่ใช้เดินทางไกลนัก จนกว่าจะแน่ใจว่ามีการติดตั้งสถานีชาร์จไฟในต่างจังหวัดมากเพียงพอ ดังนั้น การนำรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาใช้จึงสามารถทำได้ทันที หากรถมีราคาไม่แพงมากนัก

ในปัจจุบันประเทศที่มีอากาศหนาว มีควันและหมอกมาก
(Smoke & Fog) เช่นที่ Los Angeles มีความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนให้คนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าให้มากที่สุด บางเมืองในประเทศจีนก็เช่นกัน ส่วนในยุโรป ก็มีที่อังกฤษ และในอนาคต บางประเทศจะให้เลิกการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ประเภท ICE (แต่เขาอาจย้ายเอาเครื่องจักร์ที่ใช้ผลิตรถยนต์ ICE และ Hybrid ไปไว้ยังประเทศอื่นที่ยังคงใช้รถประเภทดังกล่าวอยู่)

ปัญหาการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยยังมีอีก เช่น ค่าไฟฟ้าที่มีราคาค่อนข้างแพง และอาจจะแพงขึ้นเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากข้อจำกัดของแหล่งพลังงาน การไม่ยอมรับโรงไฟฟ้าถ่านหินนำเข้าของประชาชนบางส่วน ทำให้ต้องพึ่งพาไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ซึ่งมีจำนวนจำกัด ต้องพึ่งพาไฟฟ้าพลังน้ำจากลาว และหากต้องนำเข้า
Liquefied Natural Gas มาผลิตไฟฟ้า ค่าไฟจะยิ่งแพงมากขึ้นอีก การนำไฟฟ้ามาชาร์จแบตเตอรี่ของรถยนต์ จะต้องมี Supply ให้ได้ 10 - 30 A ซึ่งอาจจะลำบากหน่อย อาจต้องเดินสายไฟใหม่หรือเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้า และการไฟฟ้าจะขายไฟให้แบบ Off Peak ในอัตราเท่าไรสำหรับส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่ชาร์จไฟตามบ้าน อาคาร ที่แรงดันไฟฟ้า 220 วลท์ และข้อกำหนดเรื่องเวลา ซึ่งปกติ Off Peak จะใช้ได้ในเวลา 21.30 รือ 22.00 . นถึง 9.00 .มายความว่าผู้ที่จะชาร์จไฟเข้ารถไฟฟ้า อาจจะต้องรอเวลาในช่วง Off Peak จึงจะได้ไฟฟ้าที่มีราคาถูกลง และต้องมีการแยกมิเตอร์ติดภายนอกบ้านด้วยหรือเปลี่ยนมิเตอร์เดิมได้

สำหรับอัตราค่าไฟฟ้าของ กฟน.และ กฟภ. ในปัจจุบัน ถ้าขอใช้ไฟฟ้าแบบ Off Peak ค่าไฟฟ้าจะถูกลงมาก คือ 1.2246 บาท/kWh ตามตารางข้างล่างนี้

สำหรับการเสนอให้ใช้ไฟฟ้าส่วนหนึ่งจาก
Solar Roof ที่บ้านของตนเอง (ถ้าหลังคาบ้านแข็งแรงพอ) และไฟที่เหลือก็ให้ขายเข้า Grid ได้นั้น ไฟฟ้าจาก Solar Cell ะผลิตได้ในตอนกลางวันประมาณวันละ 5 - 6 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาที่รถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่ถูกขับออกไปทำงานแล้ว ดังนั้นจึงควรจะต้องให้มีการขายไฟฟ้าเข้า Grid ด้ และใช้ไฟฟ้าจาก Grid นช่วงเวลาอื่นมาชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแทน แต่เนื่องจากการลงทุนทำ Solar Roof ยังสูง ความคุ้มค่าจึงขึ้นอยู่กับอัตรารับซื้อไฟฟ้า

ในประเทศไทย ยังให้การสนับสนุนการผลิตรถยนต์
Hybrid และ Plug-in Hybrid อยู่มาก ซึ่งรถยนต์ประเภทนี้ก็คือรถที่ใช้น้ำมัน และมีส่วนปล่อยมลภาวะทำให้เกิด Air Pollution มากมายในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ รัฐมีมาตรการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าแต่คงเป็นแบบค่อยๆทำไป ดังนั้น รถยนต์ Hybrid และ Plug-In Hybrid จึงยังมีบทบาทในการแข่งขันกับรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยอยู่ได้อีกระยะหนึ่ง

ผู้เขียนเคยใช้รถยนต์
Hybrid มาแล้ว แต่ยังไม่เคยใช้รถยนต์ไฟฟ้า นอกจากจะหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ นำมาคำนวณเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของรถยนต์ Hybrid เที่ยบกับรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งตัวเลขบางตัวก็ต้องคาดคะเนเอาเอง เช่น ราคารถยนต์ไฟฟ้าขนาดกลาง 5 ที่นั่ง ค่าบำรุงรักษา เป็นต้น ผลการคำนวณแบบคาดคะเน ปรากฎว่า รถยนต์ Hybrid ยังมีความได้เปรียบรถยนต์ไฟฟ้าอยู่ ยิ่งแบบ Plug-In Hybrid ยิ่งน่าสนใจมาก นอกจากรัฐบาลจะให้การส่งเสริม สนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่านี้ เช่น เรื่องภาษี ภาษีแบตเตอรี่ เรื่องค่าไฟฟ้าที่ใช้ชาร์จรถไฟฟ้าสำหรับ Public Charging Station และอำนวยความสะดวกในการขอไฟ ขอมิเตอร์ ลดค่าบริการ ค่าธรรมเนียมลง ทำให้มันง่ายและน่าใช้ ส่งเสริมและให้การสนับสนุนการใช้ Solar Roof Top ยอมรับซื้อไฟฟ้าส่วนที่ผลิตได้เกินเข้าระบบ และรัฐควรมี Tax Credit หรือ Incentive ให้ส่วนลดกับผู้ที่จะซื้อรถยนต์ไฟฟ้า เพราะการใช้รถไฟฟ้าช่วยลด Air Pollution ทำให้รัฐประหยัดงบประมาณด้านสุขภาพ ฯลฯ ได้
 

ตารางที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายรถยนต์ประภท Hybrid ขนาดความจุเครื่องยนต์ประมาณ 2000 cc. กับรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) ซึ่ง Assume ราคารถยนต์ไฟฟ้าแพงกว่ารถยนต์ Hybrid เพียง 35 % (ในปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้า ยังมีราคาแพงมาก) ส่วนค่าไฟฟ้าใช้ทั้งแบบปกติและแบบ Off Peak โดยเทียบระยะเวลาการใช้งาน 12 ปี ผลคร่าวๆปรากฎว่ารถยนต์ไฟฟ้าน่าจะสู้กับรถยนต์ Hybrid ได้ ถ้าใช้ค่าไฟฟ้าแบบ Off Peak แต่ในความเป็นจริง คงต้องมีการไปชาร์จไฟฟ้าตาม Charging Station ต่างๆ ด้วย ซึ่งอัตราค่าไฟฟ้าจะสูงกว่าอัตรา Off Peak และยังมีค่าลงทุนของผู้ให้บริการอีกด้วย

ในกรณีที่คำนวณโดยถือว่าใช้รถไปจนต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า
Hybrid มีขนาดเล็กประมาณ 7 - 10 kWh แต่แบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้ามีขนาด 60 - 85 kWh ดังนั้น ถ้าเปลี่ยนทั้งชุดราคาจะแพงมาก

 
 

ตารางที่ 1  เปรียบเทียบค่าใช้จ่าย รถยนต์ Hybrid เทียบกับรถยนต์ไฟฟ้า (BEV)
 

 
 

รถยนต์ Hybrid

รถยนต์ไฟฟ้า (BEV)

1   ราคารถยนต์นั่งขนาดกลาง 1,700,000
บาท
2   Fuel Consumption เฉลี่ย (กม./ลิตร) 16
3   ราคาน้ำมัน (บาท/ลิตร) 28.50
4   ค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิง (บาท/กม.) 1.781
5   Assume ระยะทางที่วิ่ง ปีละ (กม.) 1,500 x 12 18,000
6   Assume การใช้งาน (ปี) 12
7   รวมระยะทาง (กม.) 216,000
8   รวมค่าน้ำมัน (บาท) 384,696
9   ค่าบำรุงรักษา น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ อะไหล่ ระบบ Hybrid ฯลฯ 400,000
10   ค่าเปลี่ยนแบตเตอรี่ 100,000
11   รวมค่าใช้จ่ายในการใช้งาน 12 ปี (ไม่รวมค่าเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่) 2,484,696
12   รวมค่าใช้จ่ายในการใช้งาน 12 ปี (รวมค่าเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่) 2,584,696
       

 

1   ราคารถยนต์ไฟฟ้าขนาดกลาง  2,300,000
บาท
 2,300,000
บาท
2   อัตราการใช้ไฟฟ้าต่อกิโลเมตร (kWh)ที่รถยนต์เมื่อเปิดแอร์ตลอด ** 0.25 0.25
3   ค่าไฟฟ้า (บาท/kWh) 4.50 1.2246
4   ค่าใช้จ่าย ค่าไฟฟ้าที่วัดหน่วย kWhCharger (บาท/กม.) 1.3275 0.3613
5   Assume ระยะทางที่วิ่ง ปีละ (กม.) 1,500 x 12 18,000 18,000
6   Assume การใช้งาน (ปี) 12 12
7   รวมระยะทาง (กม.) 216,000 216,000
8   รวมค่าไฟฟ้า (บาท) 286,740
(อัตราปกติ)
78,040
(อัตรา Off-Peak)
9   ค่าบำรุงรักษา 150,000 150,000
10   ค่าเปลี่ยนแบตเตอรี่ 450,000 450,000
11   รวมค่าใช้จ่ายในการใช้งาน 12 ปี (ไม่รวมค่าเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่) 2,786,740 2,578,040
12   รวมค่าใช้จ่ายในการใช้งาน 12 ปี (รวมค่าเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่) 3,156,740 2,978,040
         
 
 
หมายเหตุ
:
**
อัตราการใช้ไฟฟ้า ต่อกิโลเมตร คำนวณ มาจากอะไร?
1รถยนต์ไฟฟ้า (BEV) เช่น Tesla Model S มีการใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ 1 kWh วิ่งได้ประมาณ 5 - 5.6 กิโลเมตร
2.  Tesla Model P85 ชาร์จไฟเต็ม วิ่งโดยไม่เปิดแอร์ ได้ 595 กม. แต่ถ้าเปิดแอร์ตลอด วิ่งได้ 494 กม. หรือระยะทางลดลงไป 17% เมื่อวิ่งทางไกล ด้วยความเร็วประมาณ 90 กม./ชม. แต่ถ้าวิ่งในเมือง รถติด ใช้แอร์มาก ระยะทางที่ลดลง อาจจะ 20 - 40 % ก็ได้ ดังนั้น Assume ใช้ระยะทางลดลง 20% ในการตำนวณ
3.  Tesla Model P85 ไม่เปิดแอร์ 1 kWh วิ่งได้ประมาณ 5 กม.
4 การศึกษาข้อมูลเครื่องชาร์จพบว่า มีความสูญเสีย Loss ในตัว Charger ในตัวแบตเตอรี่ ระบบระบายความร้อนของแบตเตอรี่ และในสายไฟ รวมกันประมาณ 17 - 20% ในที่นี้ใช้ 18 % ซึ่งหมายความว่าค่าไฟฟ้าที่จ่าย เราต้องรวมจ่ายค่า Loss 18 %  (Loss รวมดังกล่าว 18 % ถือว่าสูง จะต้องศึกษาหาข้อมูลต่อไป)

ดังนั้น ค่าไฟฟ้าจึงคิดจากอัตราการใช้ไฟฟ้าของรถยนต์ BEV วิ่งได้ 5 x 0.8 = 4 กม.ใช้ไฟจากแบตเตอรี่ 1 kWh หรือใช้ไฟจากสถานีชาร์จ 1.20 kWh คิดเป็นเงินค่าไฟ (ถ้าใช้อัตราปกติ) = 1.18 x 4.50 = 5.31 บาท หรือ 1.3275 บาท/กม. และถ้าใช้อัตรา Off Peak = 0.3613 บาท/กม.

ผิดถูกประการใด ท่านผู้รู้แสดงความคิดเห็นได้ครับ
---------------------------------------------------------------------------------
 
  Additional Data :
1. Charging Efficiency :

"After four years with my Roadster my results are as follows: of the energy taken from the grid, 78% is used to propel the car (245 kW/Mile), 5% is used up by the car while it is sitting idle (17 kW/Mile), 16% is lost inside the car during charging (54 kW/Mile) and
1% is lost getting from the grid to the car (3 kW/Mile). So the charging efficiency of my Roadster is 271 kW / 328 kW = 83%."

"I charged yesterday at a ChargePoint location. The total drawn was 6.250 Kw and energy into the car showed 5.081 from their information. That gives an efficiency of 81%."

ผู้เขียนได้ทดลองชาร์จแบตเตอรี่ 12 V แบบที่ใช้กับรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ แล้ววัดค่าต่างๆ พบว่ามีความสูญเสียในตัว Charger ประมาณ
20 - 25 %


2. EV Battery Cost :
ราคาแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าได้ลดลงมาเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ราคาประมาณ
US. $ 215/kWh และในระยะ 5 - 10 ปี คงจะลดลงมาเป็นประมาณ US.$ 190/kWh ถ้าสมมติว่ารถไฟฟ้าใช้แบตเตอรี่ความจุ 75 kWh ราคาก็ = 215 x 75 x 36 = 580,500 บาท หรือประมาณ 1 ใน 3 ของราคารถยนต์ไฟฟ้า
 
     
 

 
วันที่ 30 เม.. 2560
ปรับปรุงล่าสุด : 4 .. 2560