Digital Photography  Audio & Video  Computer Accessories  Software Applications  Miscellaneous | Home                    
....

การใช้ Energy Meter ช่วยประหยัดพลังงาน
(Energy Saving - Using Energy Meter)

  การใช้ไฟฟ้าโดยทั่วๆไป วัดหน่วยเป็นพลังงานไฟฟ้า หรือ กิโลวัตต์ - ชั่วโมง หรือ ยูนิต หรือ kWh ซึ่ง 1 kWh เท่ากับการใช้ไฟฟ้า 1,000 วัตต์ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง หรือ 200 วัตต์ เป็นเวลา 5 ชั่วโมง  ดังนั้น จำนวนหน่วยไฟฟ้าที่ใช้ จึงเป็นจำนวนพลังงานที่ใช้สะสม ซึ่งการไฟฟ้า จะคิดค่าไฟ โดยเก็บเงินเดือนละครั้ง และยิ่งใช้ไฟฟ้ามาก ค่าไฟฟ้าก็จะยิ่งแพงมากขึ้นตามอัตราค่าไฟฟ้าที่เราควรจะศึกษาเอาไว้ ว่าเป็นอัตราใด  การประหยัดค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนนั้น ก่อนอื่นต้องประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้า  โดยระมัดระวังการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมาก ได้แก่ครื่องปรับอากาศ  เตารีด  เครื่องทำน้ำอุ่น  นอกจากนั้นก็มี เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า ไฟฟ้าแสงสว่างที่ใช้หลอด Incandescent ที่มีกำลังวัตต์สูงๆ เช่น 60 - 100 วัตต์ พวกไฟ Down Light ที่ช้ไฟหลอดละ 25 - 40 วัตต์  เครื่องรับโทรทัศน์ที่กินไฟมากๆ เช่น 100 - 200 วัตต์ และเปิดครั้งละนานๆ ฯลฯ  
 
 


รูปที่ 1  การต่อวงจรเพื่อวัดการใช้ไฟฟ้าของกาต้มน้ำ


        
รูปที่ 2  การทดสอบการใช้ไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ

รูปที่ 3  การเดินสายไฟฟ้าต่อมิเตอร์เข้ากับเครื่องปรับอากาศ
คลิกดูภาพขยายของมิเตอร์

 
ประโยชน์ในการใช้งาน
ตัว
Energy Meter เองไม่ได้เป็นตัวประหยัดพลังงาน แต่เป็นเครื่องมือที่แสดงให้เห็นถึงขนาดและปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่เราใช้ เป็นการทำให้เกิดการรับรู้ หรือเกิด Awareness ในการใช้ไฟฟ้า และสามารถตรวจเช็คได้ตลอดเวลาว่า นับถึงวันนี้ เราใช้ไฟฟ้าไปแล้วเท่าไร คิดเป็นค่าไฟฟ้าเท่าไร ถ้าเราใช้ไฟฟ้ามากเกินไป ก็จะรู้ตัว และได้ลดการใช้ลง หรือพยายามประหยัดให้มากขึ้น

ผู้เขียนได้ติดตั้งเครื่อง
Tronics Meter เพื่อวัดการใช้ไฟฟ้ากับเครื่องปรับอากาศ เพื่อศึกษาดังนี้

1) ในการใช้งานทั่วๆไปประจำวัน เครื่องปรับอากาศขนาด 18,000 บีทียู จะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเท่าไรต่อเดือน และควรจะตั้งอุณหภูมิเท่าไร จึงจะได้ความสบายและประหยัดไฟฟ้า
2) ถ้าใช้พัดลมช่วยหมุนเวียนอากาศภายในห้อง พร้อมกับเปิดเครื่องปรับอากาศ จะสามารถปรับตั้งอุณหภูมิให้สูงขึ้นได้เท่าไรและจะประหยัดไฟฟ้าเท่าไร
3) ในอนาคตอันใกล้ ถ้ามีวิธีที่จะลดการใช้ไฟฟ้าที่เครื่องปรับอากาศลง โดยติดตั้งอุปกรณ์เสริมจะประหยัดค่าไฟฟ้าได้เท่าไร และจะคุ้มค่าหรือไม่
4) ถ้าเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศเป็นแบบ Inverter Type จะประหยัดค่าไฟฟ้าได้เท่าไร จะคุ้มหรือไม่ 

เป็นการทดลองที่จะต้องใช้เวลาพอสมควรจึงจะได้ข้อมูลมากพอ

Reference
รายละเอียดของ Tronics Multifunction Meter ดูได้จากเว็บไซต์
www.tronics-serve.com  

สถานที่จำหน่าย ระบุไว้ว่าที่ร้านอมร อิเล็กทรอนิกส์ 3 สาขา ดูได้จากเว็บไซต์ข้างบน แต่ควรโทรไปถามก่อน เพราะบางทีไม่มีของ

หมายเหตุ :
ได้สอบถามไปที่ Tronics Meter แล้ว มิเตอร์รุ่นนี้ ใช้ไฟได้ถึง 50 แอมแปร์ Nominal Current 15A (50A Max.) และมีระบุไว้ในคู่มือการใช้งาน 
 
 
Hi - Tech Energy Meter
ผู้เขียนได้เคยใช้ kWh Meter ละ Clamp On Ammeter วัดพลังงานไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆนานมาแล้ว และเมื่อกลางเดือนธันวาคม 2553 ก็ได้ไปพบ Energy Meter ที่น่าสนใจ คือ Tronics Meter Multifunction Series T-10 ซึ่งใช้งานได้ในโหมดต่างๆ ดังนี้

1) โหมดกำลังไฟฟ้า (Watt) : ใช้วัดกำลังไฟฟ้า (วัตต์) ในการใช้ไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดและแสดงผลเป็นตัวเลขแบบ Real Time ต่อเนื่องตลอดเวลา (1) นรูปที่ 1
2)
หมดอัตราสิ้นเปลืองไฟฟ้า (Baht/kWh) : เป็นการแสดงค่าความสิ้นเปลืองไฟฟ้าถ้าใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าคงที่นาน 1 ชั่วโมง โดยไม่มีการเปิด - ปิด อุปกรณ์ใดเพิ่มเติม ค่าที่อ่านได้ คือจำนวนเงินคร่าวๆที่ต้องจ่ายเป็นค่าไฟฟ้าในการใช้งานนาน 1 ชั่วโมง ซึ่งเครื่องจะคำนวนจากอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่เราตั้งค่าไว้คูณกับจำนวนกิโลวัตต์ที่ใช้  เช่น ตั้งค่าไฟฟ้าเฉลี่ย รวมทั้งค่า Ft ฯลฯ เอาไว้หน่วยละ 4 บาท เป็นต้น  (ดูจากบิลค่าไฟฟ้า แล้วหารด้วยจำนวนหน่วยที่ใช้)
3) โหมดเงินค่าไฟฟ้าเดือนนี้ :  เป็นการแสดงจำนวนเงินค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่าย (โดยประมาณ) นับจากเที่ยงคืนของวันที่ 1 เดือนนี้เป็นต้นมา  เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจค่าไฟฟ้าและต้องการควบคุมการใช้ไฟฟ้า และอาจเปรียบเทียบกับเดือนก่อน
4
) โหมดยูนิตเดือนนี้ : เป็นการแสดงจำนวนหน่วยไฟฟ้า ยูนิต หรือ kWh ที่ใช้นับจากเที่ยงคืนของวันที่ 1 เดือนนี้ เป็นต้นมา เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจค่าไฟฟ้าและต้องการควบคุมการใช้ไฟฟ้า และอาจเปรียบเทียบกับเดือนก่อน

วิดีโอแสดงการใช้
Energy Meter   
ดูวิดีโอที่ Post ขึ้น YouTube (6 .. 2554)
 
 
ทดสอบการใช้งาน

1) ทดสอบการใช้ไฟฟ้าของกาต้มน้ำขนาดเล็ก
รูปที่ 1 แสดงการต่อวงจรเพื่อทดสอบการใช้ไฟฟ้าของกาต้มน้ำ (Kettle) ซึ่งแล้วแต่ขนาดความจุ ซึ่งที่ตัวกาจะบอกมาเป็นวัตต์ และก็ทดสอบได้ใกล้เคียงกัน แต่การใช้ให้ประหยัดพลังงานนั้น ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่ใช้ต้มจนเดือด ถ้าใส่น้ำมากเกินความจำเป็น ก็จะสิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้น

2) ทดสอบการใช้ไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ 18,000 บีทียู สำหรับห้องนอน
การทดสอบได้ทำในกลางเดือนมกราคม 2554 ดยต่อเครื่องปรับอากาศแบบ Split Type 18,000 บีทียู ที่ใช้งานมานานกว่า 10 ปีแล้วเข้ากับ Tronics Meter (รูปที่ 3) โดยมี Circuit Breaker ติดตั้งไว้ในวงจรไฟฟ้าและเปิดเครื่องปรับอากาศ  กำลังและพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ วัดได้ เป็นดังนี้

    
2.1  เมื่อเครื่องปรับอากาศและคอมเพรสเซอร์เริ่มเดินใหม่ๆ กำลังไฟฟ้าอาจจะขึ้นสูงถึงประมาณ 3,800 วัตต์ และหลังจากเครื่องเดินไปได้ระยะหนึ่ง กำลังไฟฟ้าที่ใช้ประมาณ 1,560 ถึง 1,650 วัตต์ หรือคำนวนเป็นกระแสไฟฟ้า ประมาณ 8.5 ถึง 9 แอมแปร์  (ตามหลัก ถ้าเริ่ม Start มอเตอร์ ในเสี้ยววินาทีแรก จะเกิดกระแส Transient Inrush Current พุ่งสูงขึ้นไปมาก ผู้เขียนสังเกตเห็นตัวเลขวัตต์ พุ่งขึ้นไปถึง 3,800 วัตต์ ในพริบตา และลดลงอย่างรวดเร็ว เป็นสิ่งที่ภาษาชาวบ้าน เรียกว่า ไฟกระชาก ซึ่งก็ไม่ได้เป็นปัญหาอะไร)

    
2.2
 เมื่อคอมเพรสเซอร์หยุดเดิน แต่พัดลมยังทำงานตามปกติ จะใช้ไฟฟ้าประมาณ 40 ถึง 45 วัตต์

      
                
         รูปที่ 4  กราฟแสดงการใช้ไฟฟ้าของเตรื่องปรับอากาศ

จากการทดสอบ ระยะเวลาที่คอมเพรสเซอร์ทำงาน จะเป็นประมาณ
62 % ของเวลาทั้งหมดแต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิภายนอก อุณหภูมิที่ตั้ง และการเปิด - ปิดประตูห้องเข้า ออก บ่อยแค่ไหน แต่สำหรับห้องนอน ก็คงขึ้นอยู่กับ Ambient Temperature และอุณหภูมิที่เราตั้งถ้าตั้งอุณหภูมิที่ต้องการไว้ต่ำ เครื่องก็จะทำงานมาก คือคอมเพรสเซอร์ก็จะเดินนานขึ้น ทำให้ใช้ไฟฟ้ามากขึ้น แต่ถ้าตั้งอุณหภูมิไว้สูงขึ้น คอมเพรสเซอร์ก็จะทำงานเป็นช่วงสั้นๆ และอาจ Start บ่อยขึ้น ดังนั้น ก็อาจทำให้ Capacitor ที่ช่วยในการ Start เสียเร็ว ก็ได้  การใช้จึงควรตั้งอุณหภูมิที่พอเหมาะ เช่นระหว่าง 25 ถึง 26 องศาเซลเซียส

     2.3
พลังงานไฟฟ้าที่ใช้
         
ทดสอบในเต้นเดือนมกราคม 2554 ซึ่งอากาศค่อนข้างเย็น  เป็นการใช้สำหรับห้องนอนขนาดกลาง ตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 25 องศา  เปิดประมาณ 6.5  ชั่วโมง ใช้ไฟฟ้าวันละประมาณ 3 น่วย คิดเป็นค่าไฟฟ้าวันละ12 บาท
            การทดสอบเดียวกัน แต่ตั้งอุณหภูมิต่ำลงเป็น
24 องศา เปิดแอร์ประมาณ 6 ชั่วโมง ปรากฎว่าสิ้นเปลืองไฟฟ้ามากขึ้นเป็นประมาณ 4 หน่วย  อย่างน้อย การทดสอบนี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่าถ้าต้องการประหยัดไฟฟ้า ควรตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 25 องศา ซึ่งให้ความสบาย (Comfort) เพียงพอ

3) ทดสอบการใช้ไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ 18,000 บีทียู สำหรับห้องทำงาน
ได้ต่อเครื่องปรับอากาศแบบ Mitsubishi Split Type 18,000 บีทียู  เข้ากับ Tronics Meter (รูปที่ 3) โดยมี Circuit Breaker ติดตั้งไว้ในวงจรไฟฟ้า และทดลองเดินเครื่องปรับอากาศ  กำลังและพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ วัดได้ เป็นดังนี้

     3.1  เมื่อเครื่องปรับอากาศและคอมเพรสเซอร์เริ่มเดินใหม่ กำลังไฟฟ้าที่เกิดจาก Transient Current อาจจะสูงขึ้นไปถึง 3,600 วัตต์ในชั่วเสี้ยววินาที และลดลงมาอยู่ในระดับ 1,350 วัตต์ ซึ่งจะเห็นได้ว่า เครื่องปรับอากาศห้องทำงาน ซึ่งใหม่กว่า กินไฟน้อยกว่าเครื่องเก่า ประมาณ 200 วัตต์
     3.2  เมื่อคอมเพรสเซอร์หยุดเดิน แต่พัดลมยังทำงานตามปกติ จะใช้ไฟฟ้าประมาณ 28 - 36 วัตต์
     3.3  เนื่องจากห้องทำงานมีกระจกบานใหญ่ตลอดแนว ลงถึงพื้น 2 ด้าน ดังนั้นในตอนบ่าย จึงค่อนข้างจะร้อน แม้จะติดม่านแล้วก็ตาม ดังนั้น การประหยัดไฟฟ้าจากการใช้เครื่องปรับอากาศ จึงทำได้ผลดีโดยใช้พัดลมตั้งโต๊ะขนาด 12 นิ้ว เปิดแรงเต็มที่ (กินไฟ 44 วัตต์) เปิดให้ส่ายไปมา โดยทำมุมแหงนขึ้นและพยายามไม่ให้ลมปะทะตัวโดยตรง เพื่อหมุนเวียนอากาศภายในห้อง แล้วทดลองตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้สูงขึ้น เช่น ที่ 27 และ 28 องศา เทียบกัน พบว่าในบางเวลา เช่นในตอนเที่ยงๆ จะสามารถตั้งอุณหภูมิได้ถึง 28 องศา โดยคอมเพรสเซอร์ เดินครั้งละประมาณ 6 - 7 นาที แล้วหยุดไปประมาณ 3 นาที ก็จะเดินใหม่ แต่ถ้าตั้งอุณหภูมิต่ำลง เช่น 27 หรือ 26 องศา คอมเพรสเซอร์จะเดินครั้งละนานมากอาจจะถึง 15 นาที หรือในบางกรณีแทบจะเดินโดยไม่หยุด  จากการทดลองนี้ พอสรุปได้ว่าสามารถใช้พัดลมธรรมดาร่วมกับเครื่องปรับอากาศ ทำให้เกิดการประหยัดพลังงานขึ้น โดยมีหลักว่า มีความเย็นพอสบายๆ (Comfort Cool) ไม่ต้องให้เย็นมากนัก
 
 





        


จากวันที่ 1 .. 2554
Latest Update :17
.. 2557