Digital Photography  Audio & Video  Computer Accessories  Software Applications  Miscellaneous | Home                    
....

การประหยัดพลังงาน ในการใช้หลอด Fluorescent
(Energy Saving Article)

  การใช้หลอด Fluorescent หรือที่เรียกกันว่าหลอดนีออน เป็นแบบหลอดยาวๆ ที่นิยมใช้กันมานานมาก มีใช้กันแทบทุกบ้าน ใช้ตาม
สถานที่ทำงาน ห้องประชุม โรงงาน  ในสมัยก่อนจะเป็นหลอดโต
(T12) และมีรางทำด้วยไม้ หรือเป็นรางเหล็ก มีบัลลาสต์แบบแกนเหล็ก ติดอยู่
และมี
Starter  ต่อมา ได้มีหลอดแบบประหยัดพลังงาน หลอด Fluorescent มีขนาดเล็กลง  และเป็นแบบยาวๆ ที่เรียกว่าหลอดผอม (T8)
และก็มีหลอดผอมใหม่ คือหลอด
T5 ซึ่งประหยัดพลังงานได้มากขึ้น แต่หลอดผอมใหม่ มีขนาดของขั้วเล็กลง และความยาว ก็น้อยลง ดังนั้น
ถ้าจะนำไปใช้แทนหลอดแบบเดิม จะต้องมีอุปกรณ์อะแดปเตอร์
มาต่อ หรือใช้พวก Energy Saving Adapter   ซึ่งในบทความนี้ อธิบายวิธี
ประหยัดพลังงาน ถ้ามีชุดไฟ
Fluorescent แบบหลอดตรง ที่ใช้บัลลาสต์แบบแกนเหล็กอยู่ไม่ต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งชุดให้ยุ่งยาก เพียงแต่หา
อุปกรณ์
T5 Energy Saving Adapter หรือ อุปกรณ์ LeKise Retrofit T5 พร้อมหลอดแบบ T5 ขนาด 28 วัตต์ มาเปลี่ยน ท่านก็จะประหยัด
พลังงานได้
38 - 44 %
และคุ้มค่าการลงทุน และนอกจากนั้น ยังได้แนะนำการใช้บัลลาสต์ Electronics กับหลอดกลม (T9) ซึ่งจะประหยัด
พลังงานได้ 30%

 

T5 Energy Saving Adapter

อุปกรณ์อะแดปเตอร์ สำหรับใช้ ในการเปลี่ยนหลอด Fluorescent แบบ T8 มาเป็นหลอด T5(หลอดผอม) โดยใช้ชุด Fluorescent เก่า ที่มีบัลลาสต์แบบแกนเหล็ก เพื่อให้เกิดการประหยัดลังงาน ซึ่งผลการทดสอบ ปรากฎว่า ถ้าใช้หลอดแบบ T8 (ขนาด 36 วัตต์ ให้กำลังส่องสว่าง 2,700 Lumens) จะใช้ไฟฟ้า 52 วัตต์  แต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้หลอด T5 (ขนาด28 วัตต์ ให้กำลังส่องสว่าง 2,600 Lumens) จะใช้ไฟฟ้าเพียง 29 วัตต์  ประหยัดได้ถึง23 วัตต์ หรือ 44.2 %


รูปที่ 1  อุปกรณ์ Energy Saving Adapter

        
รูปที่ 2  แสดง Adapter ละ Starter

รูปที่ 3  ชุดอุปกรณ์ T5 Energy Saving Adapter
ติดต่อสอบถาม / สั่งซื้อ ได้ที่
บริษัท AML Energy  Co. Ltd.
725  เมืองทอง 2/2  ถนนพัฒนาการ 61  กรุงเทพ 10250

โทร
081 667 4343,  081 573 7116,  02 321 5805
โทรสาร   02 321 5907

E-mail : 
tnopubol@amlenergy.co.th
 

รูปที่ 4  บัลลาสต์แบบแกนเหล็ก ดั้งเดิม มีขั้วที่ต่อสายไฟง่าย
 

การใช้ Electronic Ballast กับหลอด Circular Fluorescent (T9)
 
ขนาด 32 W

ฟแสงสว่างที่ใช้หลอด Fluorescent แบบวงกลม หรือ Circular Type นั้น  มีใช้กันเป็นจำนวนมาก เพราะใช้ได้กับโคมไฟฟ้าที่ออกแบบมาได้สวยงาม มีแบบต่างๆให้เลือกมาก เหมาะสำหรับใช้ภายในบ้าน โดยทั่วๆไป ก็ใช้หลอดขนาด 32 วัตต์ และใช้บัลลาสต์แบบแกนเหล็ก  ในปัจจุบัน (เมษายน 2554) มี Electronic Ballast สำหรับใช้กับหลอดดังกล่าวออกมาขาย ในราคาประมาณ 210 บาท การต่อกับหลอดก็ทำได้ง่ายไม่ต้องใช้ Starter

จากการทดลองของผู้เขียน เมื่อใช้ชุดของ Lamptan พบว่า ใช้ไฟฟ้า 33 - 34 วัตต์ ทางผู้ผลิตแจ้งว่าประหยัดไฟฟ้าได้ 30% ซึ่งคำนวนได้ประมาณ 14 วัตต์ ดังนั้น ถ้าเปิดวันละ 10 ชั่วโมง ก็จะคุ้มทุนค่าเปลี่ยนบัลลาสต์ จากแบบแกนเหล็ก มาเป็นแบบ Electronic ในเวลาประมาณ 1 ปีเศษๆ และยังเป็นการยืดอายุการใช้งานของหลอดออกไปได้อีก (>25%)

    
ชมวิดีโอ ที่ Post ขึ้น YouTube



รูปที่ 5  หลอด Circular Fluorescent ขนาด 32 W และ
Electronic Ballast


รูปที่ 6  ทดลองต่อไฟฟ้าเข้าที่ Electronic Ballast
ในการต่อไฟฟ้าเข้าที่ขั้ว ใช้ไขควงกดปุ่มสีแสดลง แล้วเสียบสายไฟเข้าไปตรงๆ
แล้วปล่อย สายไฟก็จะติดแน่น


รูปที่ 7  Electronic Ballast 32 W ของ Lamptan
 

การเปลี่ยนบัลลาสต์แบบแกนเหล็ก มาใช้ Electronic Ballast
กับหลอด Circular Fluorescent (T9)  ขนาด 32 W


รูปที่ 8  ชุดฟลูออเรสเซนต์กลม 32 W และ Electronic Ballast ของ LeKise
ทดสอบแล้ว ใช้ไฟฟ้าประมาณ  33 - 34 W


รูปที่ 9  การเปลี่ยนมาใช้ Electronic Ballast สามารถทำเองได้
โดยก่อนอื่นตัดไฟฟ้า แล้วถอดเอาบัลลาสต์แกนเหล็กและ Starter ออก
จากนั้นติดบัลลาสต์ Electronic เข้าแทน ต่อสายไฟฟ้าเข้าที่บัลลาสต์
 เสียบขั้วหลอดและติดหลอดเข้ากับขาที่ล็อค ก็เสร็จ
 (ดูภาพใหญ่)

 

LeKise Retrofit T5
 

อุปกรณ์อะแดปเตอร์ สำหรับใช้เสียบแทนหลอด Fluorescent แบบ T8 มาเป็นชุด LeKise Retrofit T5 คือใช้หลอดผอม ในภาพใช้กับชุดเก่าที่มีบัลลาสต์แบบแกนเหล็กเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน ผลการทดสอบปรากฎว่าถ้าใช้หลอดแบบ T8 (ขนาด 36 วัตต์ ให้กำลังส่องสว่าง 2,700 Lumens) จะใช้ไฟฟ้า 52 วัตต์  แต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้หลอด T5 (ขนาด28 วัตต์ ให้กำลังส่องสว่าง 2,600 Lumens) จะใช้ไฟฟ้า 32 วัตต์  ประหยัดได้ 20 วัตต์ หรือ 38.5 %

 

รูปที่ 10  อุปกรณ์ LeKise Retrofit T5
 

รูปที่ 11  อุปกรณ์ LeKise Retrofit T5
 

รูปที่ 12  อุปกรณ์ LeKise Retrofit T5
 

หลอด T8 และ Electronic Ballast
 

รูปที่ 13  รางนีออนสำเร็จรูป ที่ใช้ Electronic Ballast และหลอด T8
 

รูปที่ 14  ป้ายอุปกรณ์รางนีออนสำเร็จรูป ใช้ Electronic Ballast
 
 
หลอด T5 และ Electronic Ballast และ Adapter
 

ในกรณีที่ท่านมีชุดไฟ Fluorescent แบบที่ใช้หลอด T8 ขนาด 36 W และใช้ Electronic Ballast อยู่แล้ว แต่ถ้าประสงค์จะเปลี่ยนไปใช้หลอด T5 ก็ทำได้โดยซื้ออะแดปเตอร์ มาเสียบเข้าที่หลอด T5 ก็จะใช้ได้  แต่ทางที่ดี หลอดแบบไหน ก็ควรใช้รางและ Electronic Ballast ที่ออกแบบมาควบคู่กัน จะ Match กันได้ดี และจะประหยัดพลังงานได้

 

รูปที่ 15  การใช้ Adapter เพื่อเสียบหลอด T5 เข้ากับรางของหลอด T8
 

รูปที่ 16  ภายใน Electronic Ballast ของหลอด T8  36 W
แบบนี้ ถ้าบัลลาสต์เสีย ก็จะหาเปลี่ยนไม่ได้ ควรลองเทียบกับแบบที่
สามารถเปลี่ยนบัลลาสต์ได้ เช่น
Lamptan Superset V.1
 

รูปที่ 17  Adapter สำหรับหลอด T5
 
ชุดหลอด Fluorescent T5 ขนาด 14 W
 

ผู้ที่ต้องการใช้ชุดหลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาดเล็ก ประหยัดพลังงาน ควรพิจารณาชุด Lamptan Setronic ใช้หลอด T5 ขนาด 14 วัตต์ มีวงจรบัลลาสต์ Electronic ที่ขั้ว ชุดนี้บางมาก และติดตั้งได้ง่าย เช่นใช้ในห้องน้ำ ในตู้โชว์ ฯลฯ แต่ผู้เขียนได้นำมาใช้ติดกับโต๊ะคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นไฟส่อง Keyboard  การติดก็ใช้เทปกาวแบบ2 หน้า เพราะชุดนี้มีน้ำหนักเบา จากการทดสอบ พบว่าใช้ไฟฟ้าเพียง 16 วัตต์

 

รูปที่ 18  ชุดไฟ Fluorescent Lamptan Setronic T5  14 W
 

รูปที่ 19  การใช้เป็นไฟส่องสว่างให้กับ Keyboard
 

หลอด Fluorescent แบบต่างๆ



อ่านรายละเอียด ได้ที่นี่  

References :

1. Electronic Ballast และการต่อ

2. Electronic Ballast :  EconoWatd | Philips | T5 / T8 | Lamptan | ...
3. หลอด T5 / T8 | ...
 
สรุป
1. หลอดฟลูออเรสเซนต์แบบตรง รุ่นใหม่ อาจจะมีอายุการใช้งานได้ถึง 20,000 ชั่งโมง
2. หลอดฟลูออเรสเซนต์แบบกลม 32 W จะมีอายุการใช้งานได้ 10,000 - 13,000 ชั่วโมง
3. บัลลาสต์แบบแกนเหล็ก จะมี Loss ประมาณ 10 - 14 วัตต์ มีอายุการใช้งานนาน ขึ้นอยู่กับชั่วโมงการใช้ต่อวัน ถ้าใช้วันละ 10 ชั่วโมง อาจจะใช้งานได้นานถึง 15 ปี แต่เมื่อใช้ไปนานๆ ฉนวนและขดลวด รวมทั้งขั้วต่อสายไฟ อาจจะหมดสภาพ กรอบ แตกได้ ดังนั้นจึงควรตรวจเช็คดูด้วย ถ้าใช้งานมานานเกิน 10 ปีแล้ว
4. บัลลาสต์แบบ Electronic กินไฟน้อย คือมี Loss ประมาณ 1 - 2 วัตต์ ไม่ต้องใช้ Starter แสงสว่างจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ไม่กระพริบ เปิดแล้วติดทันที แต่อายุการใช้งาน คงจะสั้นกว่าบัลลาสต์แบบแกนเหล็ก และเหมาะสำหรับใช้ภายใน (Indoor) แต่เนื่องจากประหยัดพลังงานได้ 30% และเมื่อใช้ร่วมกับหลอดแบบ T5 ก็ยิ่งประหยัดพลังงานได้มากขึ้นอีกถึงประมาณ 40% ดังนั้น จึงเกิดความคุ้มทุนในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี
5
. สำหรับสถานที่ที่ได้ติดตั้งไฟแสงสว่างโดยใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ และใช้บัลลาสต์แบบแกนเหล็กไว้แล้วเป็นจำนวนมาก ยังไม่อยากเปลี่ยนชนิดของบัลลาสต์ ท่านก็สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าลงได้ เพียงแต่เปลี่ยนหลอดที่ใช้อยู่เดิม มาเป็นหลอดผอม T5 ตามที่แสดงไว้ข้างต้นก็จะประหยัดพลังงานได้ 38 - 44% (ดูตารางเปรียบเทียบข้างล่างนี้)

หมายเหตุ : ราคา ณ วันที่ 8 เมษายน 2554
ลอดผอม T8 นาด 36 W าคา 45 าท  หลอดผอม T5 นาด 28 W าคา 85 - 120 าท ชุด LeKise Retrofit วมหลอดผอม T5 นาด 28 W าคา 400 าท ชุดรางนีออนยาว Philiset ร้อมบาลลาสท์แกนเหล็ก (ม่รวมหลอด) าคา 310 าท ชุดฟลูออเรสเซนต์กลม 32 W ของ LeKise พร้อม Electronic Ballast ราคา 275 บาท
 



 
 

พลังงานไฟฟ้าที่ประหยัดได้และความคุ้มทุน (Payback Period)
ในกรณีที่ใช้หลอด T8  เทียบกับหลอด T5

คำนวนโดยใช้สมมติฐาน คือ ใช้งานวันละ 10 ชั่วโมง ค่าไฟฟ้าหน่วยละ 4 บาท ความส่องสว่างที่ได้จากหลอด T8 และ T5 เท่าๆกัน

  Case

รายละเอียด

ไฟฟ้าที่ใช้ (วัตต์) ไฟฟ้าที่ประหยัด (วัตต์) พลังงานไฟฟ้า
ที่ประหยัดต่อปี
(kWh)
จำนวนเงิน
ที่ประหยัดต่อปี
(บาท)
ความคุ้มทุน (ปี)  
  1 หลอด T8 ขนาด 36 วัตต์ ใช้บัลลาสต์
แบบแกนเหล็ก เป็นชุดรางนีออนของ
Philiset
52 Reference Reference Reference Reference  
  2 หลอด T5 ขนาด 28 วัตต์ ใช้บัลลาสต์
แบบแกนเหล็ก เป็นชุดรางนีออนของ
Philiset
ใช้อุปกรณ์ T5 Energy Saving Adapter
29 23 (44.2%) 83.95 335.8 1.34  
  3 หลอด T5 ขนาด 28 วัตต์ ใช้บัลลาสต์
แบบแกนเหล็ก เป็นชุดรางนีออนของ
Philiset
ใช้อุปกรณ์ LeKise Retrofit T5
32 20 (38.5%) 73.00 292.0 1.37  
 

4

หลอด T8 ขนาด 36 วัตต์ ใช้ Electronic
Ballast
เป็นชุดรางนีออนของ
ECONO-WATD
 
38 14 (26.9%) 51.10 204.4 ประมาณ 2 ปี  



จากวันที่ 9 เมษายน 2554
Update
ล่าสุด :15 - 16  เม.. 2554