Digital Photography   Audio & Video   Computer Accessories   Software Applications | Miscellaneous | Home
....

LED Thermometer & Temperature Control
(อุปกรณ์วัดและควบคุมอุณหภูมิ)
 

 

รูปที่ 1  Digital LED Thermometer

รูปที่ 1A  Digital LED Thermometer ใช้ประกอบกับ Power Meter เพื่อ
Monitor การใช้ไฟฟ้าและตรวจอุณหภูมิบริเวณคอมพิวเตอร์



รูปที่ 2  อุปกรณ์ LED Temperature Control

รูปที่
3 
การต่อวงจรไฟฟ้าเข้ากับ LED Temperature Control

รูปที่ 4
 
ภาพด้านหลัง LED Temperature Control

รูปที่
5 
การทดสอบ LED Temperature Control
 

 

1. Digital LED Thermometer

อุปกรณ์สำหรับวัดอุณหภูมิ หรือ Thermometer เป็นที่รู้จักกันดีและมีประโยชน์มาก เช่น ใช้วัดอุณหภูมิห้อง อุณหภูมิอุปกรณ์ไฟฟ้า อุณหภูมิของน้ำหรือตู้เลี้ยงปลา อุณหภูมิของ Freezer ตู้ทำความเย็น Cold Storage เป็นต้น ซึ่งจากการตรวจอุณหภูมินี้ ทำให้สามารถตั้งการทำความเย็นให้ได้พอเหมาะหรือไม่เย็นมากเกินความจำเป็น ทำให้ช่วยให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ด้วย

Digital LED Thermometer ที่นำมาทดลองใช้ แสดงไว้ตามรูปที่ 1 มีคุณลักษณะโดยย่อดังนี้

  Temperature sensor cable length: 2m.
Power input  220V AC
LED display color: red.
Connection:red,power in(positive) black,power in(negative).
Temperature Range:-40℃~110℃.
Working temperature:-10℃-60℃.
Size:69x33x32mm.
Refresh rate: 0.5ms/time.
Measurement accuracy: 0.1℃
Weight:46g.


รูปที่ 1B  การทดสอบวัดอุณหภูมิภายในช่อง Freezer ของตู้เย็น
 

อุปกรณ์สำหรับวัดอุณหภูมิ มีทั้งแบบที่ใช้ไฟ 220 V หรือแบบ 12 V และมีราคาถูก สามารถค้นหา สั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ต่างๆ
----------------------------------------------------------------------------------------------------
2. LED Temperature Control แบบที่ 1

อุปกรณ์สำหรับใช้ควบคุมอุณหภูมิมีใช้กันมากมาย เช่น Thermostat ควบคุมความเย็นของเครื่องปรับอากาศ เครื่องควบคุมอุณหภูมิของเครื่องใช้ที่มีการทำความร้อนต่างๆ

รูปที่
2  แสดงอุปกรณ์ LED Temperature Control แบบที่ทำมาเกือบครบและให้ผู้ใช้ประกอบเองเพียงเล็กน้อย ซึ่งทำให้ขายได้ในราคาถูก อันละประมาณ 200 บาท

รูปที่
3 แสดงการต่อวงจรไฟฟ้า ซึ่งจะใช้ Adapter Transformer 220/12 V ต่อไฟ 12 V เข้าเครื่อง และใช้ไฟ 220 V ต่อเข้าไปยังวงจรรีเลย์ (Relay) และต่อกับ Load เช่น ไฟฟ้าแสงสว่าง พัดลม เป็นต้น สำหรับวงจรที่ต่อกับ Load เราอาจใช้ระบบ 12 V ก็ได้

การใช้งานอย่างย่อ
ในการใช้งาน กดปุ่ม
SET นานประมาณ 5 วินาที จะมีคำว่า PO กะพริบขึ้น กดปุ่ม SET เพื่อแสดงการตั้งอุณหภูมิด้าน High แล้วกด ENT (Enter) จากนั้น กดปุ่ม SET และตั้งอุณหภูมิที่ต้องการ เช่น 32 C แล้วกด ENT จากนั้น เริ่มต้นใหม่ ทำแบบเดียวกันเพื่อตั้งอุณหภูมิด้านต่ำ (C หรือ Cold) ตามที่ต้องการ ตัวอย่างการใช้งานที่เห็นได้ง่าย เช่น ถ้าอุณหภูมิห้องสูงถึง 32 C ให้เปิดพัดลม และถ้าอุณหภูมิห้องลดลงมาเป็น 28 C ให้ปิดพัดลม

LED Temperature Control มีประโยชน์มาก และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ตามที่ต้องการ เช่น เปิดไฟ หรือ Alarm
เตือน เมื่ออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้ามีอุณหภูมิสูงเกินไป หรือใช้เปิด ปิด พัดลมระบายความร้อน ฯลฯ

3. LED Temperature Control แบบที่ 2

อุปกรณ์สำหรับใช้ควบคุมอุณหภูมิอีกแบบหนึ่งที่ได้นำมาทดลองใช้งาน เป็นแบบที่ต่อสายไฟและ Temperature Sensor มาให้แล้วและใช้งานได้ง่ายมาก เช่น ใช้สำหรับเปิด - ปิดไฟฟ้าที่จ่ายเข้าเครื่องใช้ต่างๆขนาดกระแสไม่เกิน 10 A (รูปที่ 6)

รูปที่ 6  อุปกรณ์ Temperature Controller แบบที่ 2


รูปที่ 7  อุปกรณ์ Temperature Controller แบบที่ 2 ต่อวงจรทดสอบง่ายๆ
 

การใช้งานอย่างย่อ

กดปุ่ม UP ค้างไว้จนไฟ LED กะพริบ จากนั้นกดปุ่ม UP เพื่อตั้งอุณหภูมิด้านสูง เช่น 32 C ต่อไป กดปุ่ม DOWN ค้างไว้จนไฟ LED กะพริบ แล้วกดปุ่ม DOWN เพื่อตั้งอุณหภูมิด้านต่ำ เช่น 25 C จากนั้นก็ใช้งานได้ทันที ซึ่งจากตัวอย่างการตั้งเพื่อควบคุมอุณหภูมินี้ รีเลย์จะทำงานเปิดสวิตช์เมื่ออุณหภูมิขึ้นสูงถึง 32 C และจะปิดสวิตช์เมื่ออุณหภูมิลดลงมาถึง 25 C
 

สำหรับ Temperature Controller แบบที่ 2 นี้ มีขายในเว็บไซต์หลายแห่งในประเทศไทย และมีให้เลือกมากมายในเว็บไซต์ของจีน

 

-------------------------------------------------------------------------------------------------

หมายเหตุ
ผู้เขียนไม่ได้ขายและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขายผลิตภัณฑ์ที่นำมาแสดงหรือทดสอบและเขียนอธิบายการใช้งานไว้ในเว็บไซต์นี้ ถ้าผู้ใดสนใจจะซื้อไปใช้ กรุณาค้นหาจากเว็บไซต์ต่างๆได้
 


จากวันที่ 25 มิ.. 2560
ปรับปรุงล่าสุด : 21 .. 2560