1. Motion Sensor Switch

อุปกรณ์ตรวจจับความเคลื่อนไหว มีประโยชน์มาก
เราเคยรู้จักกันในการใช้ตรวจว่ามีคนเข้ามาในบริเวณที่ตรวจเช็คหรือไม่
ใช้กับระบบสัญญาณกันขโมย หรือแจ้งกรณีมีผู้บุกรุก สำหรับบทความนี้
จะเน้นเรื่องการใช้อุปกรณ์ตรวจจับความเคลื่อนไหวเพื่อประหยัดพลังงาน
นั่นคือ การใช้ Motion Sensor ทำการเปิด
- ปิด ไฟ นั่นเอง
ตัวอย่างการใช้งานที่พบมากๆคือ
เมื่อมีคนเข้ามาใกล้อุปกรณ์จะตรวจจังความเคลื่อนไหวได้และเปิดไฟ
และเมื่อคนเดินออกไปจากบริเวณนั้น ก็จะปิดไฟให้ในเวลาประมาณ
25 วินาที ถึง 1 นาที
(Time Delayed)
ดังนั้นจึงมีประโยชน์มากในการใช้สำหรับ ไฟทางเดิน ไฟบันได
ไฟในตู้เสื้อผ้า ไฟในห้องน้ำ ฯลฯ ทำให้ประหยัดไฟฟ้าได้
และไม่ต้องคอยเปิด - ปิดสวิตช์ไฟ
หรือเปิดไฟแล้ว ลืมปิด เป็นต้น
2.
Motion Sensor Switch แบบต่างๆ

รูปที่
1 เป็น
Motion Sensor Switch แบบที่ใช้แบตเตอรี่
(ถ่านไฟฉาย)
ขนาด
AA จำนวน
4 ก้อน
เพื่อจะได้ไม่ต้องเดินสายไฟฟ้าให้ยุ่งยาก ตัวเครื่องยาว
30 ซม.
เหมาะสำหรับใช้บริเวณทางเดิน บันได
ตู้เก็บเสื้อผ้า
รูปที่
2 เป็น
Motion Sensor Switch แบบที่ใช้แบตเตอรี่
(ถ่านไฟฉาย)
ขนาด
AAA จำนวน
4 ก้อน
เพื่อจะได้ไม่ต้องเดินสายไฟฟ้าให้ยุ่งยาก ตัวเครื่องยาว
18 ซม.
เหมาะสำหรับใช้บริเวณทางเดิน บันได
ตู้เก็บเสื้อผ้า
รูปที่
3 เป็น
Motion Sensor Switch แบบที่ใช้ติดข้างฝา
(Wall Type) แทนสวิตช์ไฟฟ้า
ทำหน้าที่ตรวจจับความเคลื่อนไหว และเปิดไฟฟ้าเมื่อมีคนเข้ามาใกล้
และเมื่อคนผ่านไปแล้ว ก็จะปิดไฟ
รูปที่
4 เป็น
Motion Sensor Switch แบบที่มีหลอด
LED อยู่ภายใน และใช้ต่อตรงกับไฟฟ้า
220 โวลท์ ได้ ตัวอุปกรณ์มีความยาว
40 ซม.
รูปที่ 5
เป็น
Motion Sensor Switch แบบที่ใช้ติดข้างฝา
(Wall Type) หรือติดเพดาน
(Ceiling Type) เพื่อตรวจจับความเคลื่อนไหว
เพื่อเปิด
- ปิดไฟฟ้า
เช่นเดียวกัน แบบนี้สามารถใส่หลอดไฟแบบ
LED หรือแบบธรรมดาเข้าไปที่แท่นเครื่อง
หรือต่อสายออกไปยังหลอดไฟภายนอก และยังสามารถปรับเวลา
Time Delay และปรับระดับแสงได้
รูปที่ 6
เป็น
Motion Sensor Switch แบบที่ใช้ติดข้างฝา
(Wall Type) หรือติดเพดาน
(Ceiling Type) เพื่อตรวจจับความเคลื่อนไหว
เพื่อเปิด
- ปิดไฟฟ้า
เหมือนแบบที่แสดงในรูปที่
5
รูปที่ 7
เป็นหลอดไฟ
LED ที่มี
Motion Sensor
ติดอยู่ในตัว ทำให้สะดวกในการใช้ตรวจจับความเคลื่อนไหว
3.
การทดลองใช้งาน

3.1
ผู้เขียนได้ทดลองใช้
Motion Sensor Switch แบบมีไฟ
LED และใช้แบตเตอรี่
AA 4 ก้อน ตามรูปที่
1
ซึ่งมีความยาว 30 ซม.
ได้นำมาติดที่บริเวณบันไดทางขึ้น - ลง
ที่บ้าน (รูปที่ 8)โดยตัวอุปกรณ์มีปุ่มหมุนสำหรับปรับความสว่าง
เพื่อควบคุมจะให้ไฟติด หรือไม่ติดในตอนกลางวันได้ เพราะตอนกลางวัน
บริเวณบันไดมีแสงสว่างมากพอ ไม่ต้องเปิดไฟ LED
ทำให้ประหยัดไฟจากแบตเตอรี่ได้

3.2
ผู้เขียนได้ทดลองใช้
Motion Sensor Switch แบบติดผนัง
ตามรูปที่
3 โดยต่อเข้ากับหลอดนีออน
LED ขนาด 8 วัตต์ โดยติดที่บริเวณกระจกในห้องน้ำ
(ตามรูปที่ 11) ซึ่งเวลาเดินเข้าไป
ไฟก็จะติด ทำให้สะดวกในการใช้งาน และเมื่อออกไปจากห้องน้ำ ประมาณ
25 วินาที ไฟก็จะดับ
เป็นผลให้ช่วยประหยัดพลังงานได้
โดยไม่ต้องห่วงว่าจะลืมเปิดไฟทิ้งไว้


รูปที่
11
Motion Sensor Switch
ติดตั้งที่กระจกห้องน้ำ |
เนื่องจากอุปกรณ์ในรูปที่ 3
ไม่มีปุ่มให้ปรับแสงและ Delay Time
ดังนั้น การเพิ่มความไว หรือ Sensitivity
ในการตรวจจับความเคลื่อนไหว จะทำได้โดยอย่าให้แสงมาตกลงที่ตัว Sensor
มากนัก
3.3 สำหรับ
Motion Sensor Switch ตามรูปที่
5
นั้น ออกแบบให้ใส่หลอดไฟที่ตัวเครื่องได้
ทำให้ไม่ต้องเดินสายไฟเพิ่ม ดังนั้นการติดตั้งจึงสะดวก รูปที่
12 แสดงการติดตั้งที่บริเวณมินิบาร์
ระบบทำงานได้ดีมาก


รูปที่
12
Motion Sensor Switch
ติดตั้งที่มินิบาร์ |
|