Digital Photography   Audio & Video   Computer Accessories   Software Applications | Miscellaneous | Home
....

Power Strip Improvement
การปรับปรุงรางปลั๊กไฟฟ้า

  รางปลั๊กไฟฟ้า (Power Strip) หรือปลั๊กต่อพ่วงแบบที่มี USB Ports ด้วย 2 ช่องและมีราคาถูกๆนั้นสามารถใช้จ่ายไฟฟ้าให้อุปกรณ์ต่างๆได้ แต่ควรเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าไม่มาก เช่น ไฟแสงสว่าง ตู้เย็น พัดลม ทีวี คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง แต่อาจจะไม่เหมาะสำหรับการใช้กับเตาไมโครเวฟ เตารีด หม้อต้มน้ำ เพราะสายไฟฟ้าที่ใช้ต่อกับ Socket Outlet มีขนาดเล็กและรางปลั๊กดังกล่าวไม่มีอุปกรณ์ป้องกันการใช้ไฟฟ้าเกินกำลังหรือป้องกันในกรณีเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งอาจเกิดอันตรายได้ บทความนี้แสดงการปรับปรุงรางปลั๊กราคาถูกๆให้มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น (หากประสงค์จะทำใช้เองหรือทำเป็นงานอดิเรก DIY)
  1. อุปกรณ์รางปลั๊กไฟที่นำมาทดสอบ : ใช้อุปกรณ์รางปลั๊กไฟที่มีราคาถูก ตามรูปที่ 1 (าคาอันละประมาณ 75 าท) มีช่องเสียบไฟ 220 V รวม 7 ช่องและมีช่อง USB อีก 2 ช่องและมีสวิตช์ เปิด ปิด 1อันแต่ไม่มีฟิวส์ป้องกันการใช้ไฟเกินพิกัด
 
 


รูปที่ 1 รางปลั๊กไฟฟ้าแบบ 7 Socket และ 2 USB Ports ที่ดัดแปลงแล้ว

 


รูปที่ 2 ภาพภายในรางปลั๊กไฟที่ยังไม่ได้ปรับปรุงซึ่งสายไฟฟ้าที่ใช้ต่อเชื่อมโยงมีขนาดค่อนข้างเล็ก

  2. การปรับปรุงความปลอดภัยโดยติดฟิวส์ภายใน : การปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยที่ง่ายที่สุดคือการติดฟิวส์เพิ่มไว้ภายในรางปลั๊กเนื่องจากมีพื้นที่จำกัดและใช้ฟิวส์ขนาด 10 A ตามรูปที่ 3
   
 


รูปที่ 3  การปรับปรุงโดยติดฟิวส์ขนาด 10 A ไว้ภายใน (แนะนำให้ใช้ Mini Circuit Breaker จะดีกว่า)

 

 

  3. การปรับปรุงความปลอดภัยโดยติด Mini Circuit Breaker ภายใน : การปรับปรุงในด้านความปลอดภัยที่ดีกว่าคือใช้ Mini Thermal Circuit Breaker ขนาด 10 A ติดไว้ภายในพร้อมทั้งเสริมขนาดสายไฟฟ้าโดยการต่อสายไฟฟ้าขนานกับสายเดิมสำหรับ Socket Outlet หมายเลข 1 และ 2 ตามรูปที่ 5
 
 
รูปที่ 4  การปรับปรุงโดยติด Mini Thermal Circuit Breaker ขนาด 10 A ไว้ภายใน
 
รูปที่ 5  การปรับปรุงโดยติด Mini Thermal Circuit Breaker ขนาด 10 A ไว้ภายใน
และเดินสายเพิ่มสำหรับ Socket Outlet No.1 และ No.2
 
รูปที่ 6  การปรับปรุงโดยติด Mini Thermal Circuit Breaker ขนาด 10 A ไว้ภายใน
เดินสายเพิ่มสำหรับ Socket Outlet No.1 และ No.2 และติด On-Off Switch สำหรับ USB Output
 




รูปที่ 7  การทดสอบและใช้งาน
 

 

3. Mini Thermal Circuit Breaker : เป็นอุปกรณ์ป้องกันการใช้ไฟฟ้าเกินพิกัดและการลัดวงจรที่มีขนาดเล็ก ราคาถูก (อันละประมาณ 20 บาท) และใช้ได้ดีกับรางปลั๊กไฟ ตามที่แสดงในรูปที่ 8 ซึ่งนิยมใช้กันคือ แบบที่ 1 (Type A) เป็น Thermal Circuit Breaker ที่ติดตั้งได้ง่าย ในกรณีที่มีการใช้ไฟฟ้าเกินพิกัดหรือถ้าเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ปุ่มสีแดงจะกระเด้งยื่นออกมาและสามารถกดเพื่อ Reset กลับไปใช้ใหม่ได้ สำหรับแบบที่ 2 หรือ Type B นั้นทำมาในรูปสวิตช์ สามารถใช้เปิด ปิดได้และ Reset ได้

 
รูปที่ 8  Mini Thermal Circuit Breaker Overload Protection Switch
 

4. Power Strip แบบอื่นๆ ที่นำมาปรับปรุง: รางปลั๊กไฟฟ้าตามรูปที่ 9  มีราคาถูก (130 บาท) ออกแบบมาดี มีสวิตช์แยกแต่ละช่อง รวมทั้งช่อง USB ด้วยซึ่งทำให้เปิดใช้เมื่อต้องการและเป็นการยืดอายุการใช้งานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ แต่รางปลั๊กนี้ไม่มี Mini Thermal Overload Circuit Breaker ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยจึงควรติด Circuit Breaker ขนาด 10 A ซึ่งต้องติดไว้ภายในเพราะพื้นที่จำกัด (รูปที่ 11)

 
รูปที่ 9  รางปลั๊กไฟฟ้าแบบ Socket Outlet 3 ช่องและ USB Ports 2 ช่อง
 
รูปที่ 10  ภายในรางปลั๊กไฟฟ้า (จากที่ผลิตขาย)
 
รูปที่ 11  การติด Mini Thermal Circuit Breaker ขนาด 10 A เอาไว้ภายใน
 
รูปที่ 12  การใช้งานโดยติด DC Ammeter เพื่อวัดกระแสไฟชาร์จ ซึ่งกระแสจะลดลงเกือบเป็นศูนย์เมื่อชาร์จเต็ม
 

5. ปรับปรุงรางปลั๊กเพื่อป้องกัน Surge: การปรับปรุงทำโดยการต่ออุปกรณ์ที่เรียกว่า Varistor ข้าที่สายไฟขั้ว L ละ N องรางปลั๊ก ตามรูปที่ 13 - 15 ซึ่งได้ใช้ Varistor เบอร์ 20D431K หรือ 20D471K ต่อขนานกับขั้วไฟของ Socket Outlet (รางปลั๊กทั่วๆไปที่มี Surge Protection ใช้ Varistor เบอร์ 14D431K ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าและ Absorb Energy - Joules ได้น้อยกว่า)

 
รูปที่ 13  การติด Varistor ในรางปลั๊กไฟฟ้าเพื่อป้องกัน Surge โดยใช้ Varistor เบอร์ 20D431K


รูปที่ 14  การปรับปรุงโดยติด Circuit Breaker ในรางปลั๊กไฟฟ้าเพื่อป้องกันการใช้ไฟฟ้าเกินกำลังและติด Varistor เพื่อป้องกัน Surge


รูปที่ 15  การปรับปรุงโดยติด Circuit Breaker ในรางปลั๊กไฟฟ้าเพื่อป้องกันการใช้ไฟฟ้าเกินกำลังและติด Varistor เพื่อป้องกัน Surge


รูปที่ 16  รางปลั๊กไฟฟ้าที่ปรับปรุงแล้วโดยได้ย้ายสายไฟเข้ามาไว้ตรงมุม


รูปที่ 17  รางปลั๊กไฟฟ้าที่ปรับปรุงแล้ว แสดง Circuit Breaker และสายไฟเข้า
 


รูปที่ 18  รางปลั๊กไฟฟ้าที่ปรับปรุงแล้วอีกอันหนึ่งที่สมบูรณ์ยิ่งขี้น
 

รูปที่ 18 แสดงรางปลั๊กไฟฟ้าที่ได้ปรับปรุงให้สมบูรณ์มากที่สุดโดย  1) ติด Mini Thermal Circuit Breaker 250 V 10 A  2) ติด Varistor เบอร์ 20D431K เพื่อป้องกัน Surge  3) เปลี่ยนสายไฟฟ้าไปยังปลั๊กจากขนาด 2 x 0.5 .มม. เป็นขนาด 2 x 1 .มม.  4) เดินสายไฟฟ้าขนานกับสายเดิมเพื่อให้รองรับกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้นโดยสายไม่ร้อน
 

 

6. ทดสอบการใช้งาน : การทดสอบทำโดยใช้รางปลั๊กที่ปรับปรุงแล้ว เช่นเดียวกับที่แสดงไว้ในรูปที่ 18 ซึ่งมีการเดินสายไฟเพิ่มระหว่าง Socket Outlets เพื่อให้แน่ใจว่าจะใช้กับกระแสไฟฟ้าได้ 10 - 14 A โดยสายไม่ร้อนจัด สำหรับสายเคเบิลที่ต่อออกไปยังเต้าเสียบนั้น ใช้ขนาด 2 x 1 .มม.หรืออาจจะใช้สายขนาด 2 x 1.5 .มม. ก็ได้ ดังนั้น รางปลั๊กนี้จะใช้ได้กับโหลดรวมประมาณ 2,500 - 2,700 W รูปที่ 19 แสดงเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ในการทดสอบ โดยใช้เตาอบขนาดเล็ก 800 W กาต้มน้ำขนาด 1,000 W และขนาด 750 W รวมเป็นโหลด 2,550 W หรือ 11 A สามารถจ่ายโหลดได้ดี แต่เนื่องจาก Mini Thermal Circuit Breaker ที่ใช้มีขนาด 10 A ดังนั้นเมื่อใช้งานไประยะหนึ่งก็จะตัดไฟ  รูปที่ 20 แสดงการวัดกระแสและกำลังไฟฟ้าที่จ่ายออกจากรางปลั๊ก

หมายเหตุ
: ในกรณีที่ตู้ไฟของบ้านใช้ Branch Circuit Breaker ขนาด 10 A นั้น เมื่อนำรางปลั๊กไปต่อเข้าที่ Wall Outlet ก็ไม่ควรจะใช้ไฟฟ้าเกิน 10 A เพราะจะทำให้ Branch Circuit Breaker ทำการตัดไฟ ซึ่งอาจจะตัดไฟก่อนที่ Mini Thermal Circuit Breaker ของรางปลั๊กจะทำงานก็ได้

 
รูปที่ 19  ทดสอบการใช้งานรางปลั๊กที่ปรับปรุงแล้วกับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
 
รูปที่ 20  รางปลั๊กไฟฟ้าที่ปรับปรุงแล้วรองรับการใช้งานโดยต่อโหลดได้ประมาณ 12 A หรือ 2,700 วัตต์
   
 
รูปที่ 19  Electrical Characteristics ของ Varistor เบอร์ 20D391K, 20D431K และ 20D471K
 

References :

1. ซ่อมฟิวส์ป้องกันโอเวอร์โหลด VDO Youtube

2. Thermal Circuit Breaker Overload Protection, VDO Youtube

  
....................................................................................................................................................................................................................................................

จากวันที่  30 .. 2563
ปรับปรุงล่าสุด : 1 เม.. 2563