Digital Photography   Audio & Video   Computer Accessories   Software Applications | Miscellaneous | Home
....

การป้องกันไฟดูดเมื่อใช้ตู้เย็น
(Refrigerator Safety)

 

การแก้ปัญหาไฟฟ้าดูดเมื่อจับตู้เย็น

 
 


ตู้เย็นเก่าๆหรือที่ผลิตไว้นานแล้วและยังมีสินค้าเหลืออยู่ในสต๊อค ส่วนมากจะใช้ปลั๊กไฟแบบ 2 ขา (ไม่มีขา Ground) และมักจะมีไฟฟ้ารั่วในปริมาณน้อยๆ ซึ่งถ้าตั้งตู้เย็นบนพื้นซิเมนต์ พื้นกระเบื้องหรือพื้นหินอ่อน หินแกรนิต เมื่อไปจับตู้อาจจะรู้สึกว่ามีไฟฟ้าดูดมากน้อยต่างๆกัน ถ้าไม่ได้ใส่รองเท้าที่เป็นยาง วิธีที่จะทดสอบว่าตู้เย็นมีไฟฟ้ารั่วหรือไม่นั้น อาจใช้อุปกรณ์ง่ายๆ เช่นไขควงทดสอบไฟ หรือแบบที่นิยมใช้กันมากคือ Non-Contact Voltage Detector แตะที่ตัวถังส่วนต่างๆของตู้เย็น ถ้ามีไฟติดขึ้นหรือ ตัว Non-Contact Voltage Detector ส่งเสียงเตือน ก็แสดงว่าส่วนนั้นมีความเสี่ยงหรือมีไฟรั่วได้

การแก้ปัญหาไฟดูดเมื่อจับตู้เย็น ทำได้โดยวิธีง่ายๆและก็เป็นวิธีที่ทำกันมานานแล้วคือการต่อสายดินจากตัวถังส่วนที่เป็นโลหะของตู้เย็นไปลง
Ground ถ้าระบบไฟฟ้าในบ้านเป็นแบบเก่าที่ไม่ได้เดินสาย Ground เอาไว้ คือมีแค่ 2 สาย ก็จะต้องเดินสาย Ground หรือสายดินจากตู้เย็นไปยังแท่ง Ground Rod ที่ตอกฝังลงไปในดิน แต่ปัจจุบันบ้านเรือนส่วนใหญ่มีการเดินระบบไฟฟ้าโดยมีสาย Ground ตามกฎของการไฟฟ้าแล้วและเต้ารับหรือ Socket Outlet ก็เป็นแบบ 3 ตา คือมีช่อง Line (L), Neutral (N) และ Ground (G) ดังนั้น สาย Ground ที่ต่อจากตู้เย็นจึงสามารถต่อเข้ากับสาย Ground ของระบบไฟฟ้าภายในบ้านเรือนได้ ซึ่งในกรณีที่มีไฟรั่ว กระแสไฟฟ้าก็จะไหลลงดินผ่านสาย Ground ทำให้ไฟไม่ดูดเมื่อไปจับตู้เย็น

วิธีต่อสายดินเข้ากับตู้เย็น

วิธีง่ายๆที่ไม่ต้องแกะฝาครอบด้านหลังของตู้เย็นออกเพื่อหาจุดต่อสายไฟ แสดงได้ตาม
รูปที่ 1 ซึ่งมีขั้นตอนการดัดแปลง ดังนี้

1)  ตัดหัวปลั๊กแบบ 2 ขา ของสายไฟตู้เย็นออกและเช็คสายไฟฟ้าที่ใช้ ซึ่งมักจะมีสายสีขาว (L) และสายสีดำ (N)

2)  นำปลั๊กหัวหล่อ 3 ขาพร้อมสาย PVC VCT 3 x 0.75 .มม. มาต่อสายสีน้ำตาล (L) เข้ากับสายสีขาวของตู้เย็น และสายสีน้ำเงิน (N) มาต่อเข้ากับสายสีดำของตู้เย็น ใช้เทปพันสายไฟให้เรียบร้อย ส่วนสายสีเขียว-เหลือง (สาย Ground) นั้นให้ต่อไปยึดกับตัวถังส่วนที่เป็นโลหะของตู้เย็น

3)  เสียบปลั๊ก 3 ขา เข้ากับเต้ารับแล้วทดสอบโดยใช้ไขควงทดสอบไฟฟ้าหรือ Non-Contact Voltage Detector แตะที่ส่วนต่างๆของตู้เย็น ถ้าไม่มีไฟติดขึ้นมาหรือไม่มีการส่งเสียงเตือน ก็แสดงว่าปลอดภัยจากไฟรั่วไฟดูด (ความจริงถ้ามีไฟรั่ว ไฟก็ยังรั่วอยู่ แต่กระแสไฟฟ้าจะไหลลงดินไปตลอดเวลา จึงไม่เกิด Potential Difference หรือความต่างศักย์ทางไฟฟ้า หรือมีแรงดันไฟฟ้าที่จะดูดเราได้ ซึ่งกระแสไฟฟ้ารั่วนี้ ถ้ามีปริมาณไม่มากก็อาจยอมรับได้ แต่ก็มีการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าไปบ้าง แต่ถ้ากระแสไฟฟ้ารั่วมีปริมาณมากขึ้น ก็ควรป้องกันโดยใช้ Leakage Circuit Breaker ทำการตัดไฟ และหาวิธีแก้ไขสาเหตุของไฟรั่วมาก ต่อไป
 

 
 
รูปที่ 1 การต่อสาย Ground ตู้เย็นเพื่อป้องกันไฟฟ้าดูด
 
 
 

การติดตั้ง Leakage Circuit Breaker

 
 


เพื่อเพิ่มความปลอดภัยจากไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าดูด หรือในกรณีที่สาย
Ground หลุด จึงนิยมใช้ Leakage Circuit Breaker ต่อเพิ่มเข้าไปในวงจร ตามรูปที่ 2 ซึ่งอุปกรณ์นี้จะตัดไฟ
้ามีกระแสไฟรั่ว 23 - 30 มิลลิแอมแปร์
 

 
 
รูปที่ 2  การใช้ Leakage Circuit Breaker และการต่อสาย Ground
(สาย L และ N จะต่อเข้าที่ตัว RCBO ส่วนสาย Ground จะต่อตรงไปที่ปลั๊กไฟ)
 
 

หมายเหตุ :

การต่อสาย Ground กับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าตามตัวอย่างในบทความนี้ สามารถใช้ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ถ้าไม่มีระบบปลั๊กไฟแบบ 3 ขา และมีตัวถังหรือบางส่วนของตัวถังเป็นโลหะที่จับต้องได้ สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีตัวถังทำด้วยพลาสติก พีวีซี นั้น จะป้องกันไฟฟ้าดูดได้อยู่แล้ว สายไฟฟ้าที่ใช้จึงมีเพียง 2 ขา อนึ่ง บางประเทศในยุโรปใช้ปลั๊กไฟ 2 ขา เพราะออกแบบอุปกรณ์ไฟฟ้าโดยยึดหลัก Double Insulated (Class II)
 

 
 


บทความอื่นๆที่น่าสนใจ 
(Other Interesting Articles) :

1. แก้ไขไฟรั่ว ไฟดูดของตู้เย็นด้วยการเปลี่ยนสายและปลั๊กหัวกราวด์

2. Small Safety Consumer Unit (จากบทความใน www.somkiet.com )
 

 
 

หมายเหตุ :   วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์ในการใช้งานอุปกรณ์ Safety Consumer Unit  ผู้เขียนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีผลประโยชน์กับการโฆษณาหรือการขายอุปกรณ์ต่างๆที่แสดงไว้

 


จากวันที่  14 .. 2564
ปรับปรุงล่าสุด :  23  ..2564