1. วัตถุประสงค์

ในอนาคต การใช้ Solar Cell
เพื่อผลิตไฟฟ้าจะได้รับความนิยมมากขึ้น ดังนั้น จึงได้ศึกษาและนำ
Solar Cell
และอุปกรณ์ต่างๆมาประกอบเป็นระบบ Solar Energy
ขนาดเล็กๆ เพื่อทดลองใช้งานผลิตไฟฟ้าแสงสว่างจ่ายให้หลอดไฟ
LED การทดลองนี้
เพื่อเป็นการศึกษาหาความรู้และก็ใช้งานจริงๆด้วย
โดยในขั้นแรกใช้แผง Solar Cell ขนาด
40 วัตต์ 1 แผง
แต่พบว่าให้พลังงานไฟฟ้าไม่เพียงพอกับการใช้งาน จึงได้เพิ่มแผง
Solar Cell ขนาด 40
วัตต์ อีก 1 แผง รวมเป็น 2
แผง
2. Solar Cell

Solar Cell หรือ Solar Panel
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า กระแสตรง
3.
ชุด
Solar Cell ขนาดเล็ก
(40 W) เพื่อผลิตไฟฟ้า

ชุด Solar Cell ขนาดเล็ก
ประกอบด้วยแผง
Solar Cell ขนาด
40 วัตต์ Solar Charge Controller
และแบตเตอรี่
ขนาด
45 Ah
ซึ่งมีรายละเอียดของอุปกรณ์ ดังนี้
3.1 แผง Solar
Cell ขนาด 40 วัตต์
ให้แรงดันไฟฟ้า 12 โวลต์ มีขนาด 67 x 42 x
2.5 ซ.ม.
และหนัก 3.25 กิโลกรัม
ด้านหลังมีสายไฟและขั้วสำหรับการต่อเชื่อม
(รูปที่ 1)

3.2 Solar Charge Controller
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมการชาร์จไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่
และควบคุมการจ่ายไฟฟ้าออกไปยัง Load
ตัว Controller นี้มีขนาดเล็ก
และใช้ต่อกับ Solar Cell Battery และ
Load (รูปที่ 3)

3.3 แบตเตอรี่ สำหรับใช้เก็บไฟฟ้าที่ผลิตออกมาจาก
Solar Cell มีขนาดความจุ
45 AH 12 Vเป็นแบบ
Deep Cycle Battery ซึ่งเหมาะสำหรับใช้กับ
Solar Cell
4.
การประกอบชุด
และการใช้งานระบบ
12 V

4.1 วางแผง
Solar Cell ณ ตำแหน่งที่ได้รับแสงแดดมากที่สุด
ต่อสายไฟฟ้าจากขั้วของแผง Solar Cell
ไปยังตัว Solar
Charge Controller
4.2
ต่อสายจากขั้วบวกและขั้วลบของแบตเตอรี่ไปยัง Solar
Charge Controller
4.3
ต่อ Load
เช่น หลอดไฟฟ้า LED
หรือ LED
Spotlight ที่ใช้แรงดันไฟฟ้า
12 V
เข้ากับ Solar
Charge Controller
4.4
ทำการตั้งค่าต่างๆ โดยใช้ปุ่ม Control
Button
เช่น เลือกชนิดของแบตเตอรี่ ว่าเป็นแบบ
Sealed Lead Acid Battery
หรือ แบบ Deep
Cycle
แล้วตั้งการควบคุม เปิด ปิดไฟ เช่น
ตั้งให้เปิดไฟฟ้าหลังพระอาทิตย์ตกไปแล้ว โดยเปิดนานได้ตั้งแต่
1
ถึง 15
ชั่วโมง โดยปกติ จะตั้งไว้ให้เปิดไฟ
จากประมาณ 18.30
น. จนถึง 05.30
น. รวม 11
ชั่วโมง
ก่อนใช้งานจริง
ควรจะทำการชาร์จแบตเตอรี่ให้มีไฟอยู่มากพอสมควรหรือมีไฟเต็ม
การชาร์จอาจทำโดยใช้ Solar Cell
หรือใช้ Battery
Charger
ช่วยในระยะแรก
5.
การต่อวงจรไฟฟ้า ระบบ
Solar Energy ขนาดเล็ก

ตัวอย่างการทดลองนำไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์มาใช้ที่บ้านของผู้เขียน
การทดลองครั้งแรกแสดงได้ตามการต่อวงจรไฟฟ้าในรูปที่
7
คือ ต่อสายไฟจากแผง Solar
Cell ขนาด 40
วัตต์ เข้ากับขั้วบวกและขั้วลบ ของ Solar
Charge Controller และต่อสายไฟไปเข้าแบตเตอรี่
สำหรับโหลดนั้น มีการต่อแยกกันเป็น 2
ชุด คือ
ชุดที่
1
ต่อหลอดไฟ LED Spotlight (Down Light)
ขนาด 4 วัตต์เข้าที่ตัว
Solar Charge Controller
เพื่อให้ควบคุมการเปิด - ปิดไฟ
ตามเวลาที่กำหนด เช่น เปิดไฟหลังพระอาทิตย์ตก (คือแสงน้อย
และใกล้จะมืด ประมาณเวลา 18.40 น.)
ไปนาน 5 ชั่วโมงแล้วปิด

ชุดที่
2
เดินสายไฟยาวประมาณ 20 เมตร
ลงไปยังชั้นล่างบริเวณสวนดอกไม้ เพื่อให้ความสว่างในเวลากลางคืน
โดยมีหลอด LED แยกกันเป็นดวงโคม
3 จุด มีขนาด 9
วัตต์ 5 วัตต์ และ
Spotlight (Down Light) 4 วัตต์ รวม
18 วัตต์ ซึ่งไฟชุดนี้ จะเปิดตลอดคืน
ควบคุมการเปิด - ปิด
อัตโนมัติโดยใช้
Photo Controls หรือ
Light Switch แบบ 12
V (รูปที่
8) ซึ่งจะเปิดสวิตช์เมื่อมีแสงน้อย
เช่นตอนใกล้จะมืดและปิดสวิตช์เมื่อมีแสงมาก เช่นในตอนเช้า


รูปที่
7
การต่อวงจรไฟฟ้า ระบบ
Solar Energy
 |

รูปที่
8
Photo Control (Light Switch)
12V 10A
 |
|
6.
ผลการทดลอง

6.1 การทดลองวัดพลังไฟฟ้าที่ชาร์จเข้าแบตเตอรี่

การวัดพลังงานไฟฟ้าที่ Solar Panel
จ่ายไปชาร์จแบตเตอรี่ ทำได้โดยใช้ Digital
Watt Meter ตามที่แสดงในรูปที่
9 ซึ่งหน้าจอจะแสดงค่า
กระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า Ampere-hour
(Ah) Watt-hour
(Wh)
โดยค่าพลังงาน Ah และ
Wh
เป็นค่าสะสม ดังนั้นในเวลา 1 วันก็จะทราบว่าชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ได้เท่าไร


รูปที่
9
การต่อมิเตอร์วัดพลังงานไฟฟ้าที่ชาร์จเข้าแบตเตอรี่
 |
ผลการทดลองวัดค่าพลังงานไฟฟ้าที่
Solar Panel
40 W
จำนวน 1
แผง
ชาร์จเข้าแบตเตอรี่ ณ
วันที่
19 ก.พ.
2559 เป็นดังนี้

เวลา |
Ampere-hour
สะสม |
Watt-hour
สะสม |
Wh
Increase |
9.00 |
0.52 |
5.20 |
- |
10.00 |
1.03 |
10.40 |
5.20 |
11.00 |
1.52 |
15.50 |
5.10 |
12.00 |
2.09 |
21.60 |
6.10 |
13.00 |
3.77 |
40.00 |
18.40 |
14.00 |
4.32 |
45.80 |
5.80 |
15.00 |
5.17 |
55.00 |
9.20 |
16.00 |
6.06 |
64.50 |
9.50 |
17.00 |
6.36 |
68.50 |
4.00 |
18.00 |
6.56 |
70.00 |
1.50 |
|
|
|
|
หมายเหตุ
:
กระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าแบตเตอรี่ไม่คงที่
ขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงอาทิตย์ ณ เวลาที่อ่านค่า
ระหว่างเวลา 12 - 13 น.วัดกระแสไฟฟ้าสูงสุดได้
1.72 A |
6.2 การทดลองจ่ายไฟฟ้า
(การทดลองครั้งที่ 2)

ได้ทดลองจ่ายฟ้าโดยผ่าน Light
Switch
ซึ่งควบคุมโดยแสงสว่างเปิดไฟฟ้าจากเวลาประมาณ 18.30
น.
ไปจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้นประมาณ 6.30
น. ไฟก็จะดับ รวมวันละ
12 ชั่วโมง
โดยต่อหลอดไฟ LED 4
หลอด ขนาด 3,
3, 3
และ 4
วัตต์ รวมเป็น 13
วัตต์ ซึ่งถ้าคำนวนแบบตรงๆ จะใช้พลังงานไฟฟ้า
14 x 12 =
156 Wh
แต่เนื่องจากมีความสูญเสียในสายไฟและมี Voltage
Drop
ดังนั้นพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ควรจะประมาณวันละ 140
Wh
การวัดพลังงานไฟฟ่ที่จ่ายจากแบตเตอรี่ไปยังโหลด
แสดงในรูปที่ 10
ซึ่งได้ทดลองวัดค่าจริงแล้วได้ผลใกล้เคียงกับการคำนวน


รูปที่
10
วงจรการวัดพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายจากแบตเตอรี่ไปยังโหลด |

จากการวัดค่าพลังงานไฟฟ้าที่ได้จาก
Solar Cell
และพลังงานไฟฟ้าที่ต้องการจ่ายไฟให้หลอด
LED
ดังกล่าว พบว่า จำเป็นจะต้องเพิ่มแผง
Solar Cell
ขนาด 40
วัตต์ อีก 1
แผง โดยนำมาต่อขนานกัน
เพื่อผลิตไฟฟ้าให้ได้วันละประมาณ 140
- 160 Wh

7.
ชุด
Solar Cell ขนาด
80 W เพื่อผลิตไฟฟ้า

เพื่อให้ผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์ได้มากขึ้น จึงได้เพิ่มแผง
Solar Cell อีก 1 แผง
นำมาต่อขนานกับแผงเดิม รวมเป็น 40 x 2 = 80
วัตต์ (รูปที่ 2)
ทำให้สามารถชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ได้มากขึ้นเป็นเกือบ 2
เท่าของระบบเดิม
จากการทดลองพบว่าสามารถชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ได้วันละประมาณ
120 - 158 Wh และในการใช้งาน
ควรรอให้มีการชาร์ชไฟเข้าแบตเตอรี่จนเต็มก่อน
หรือวัดแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ให้ได้ 11.5 - 12
โวลท์ขึ้นไป
(15 ก.พ.
2561)
จากการทดลองหลายๆครั้ง ขณะนี้ผู้เขียนสรุปว่า
พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากแผง Solar Cells
ที่ติดตั้งตามระเบียงบ้านนั้น จะผลิตไฟฟ้าได้ ตามสูตร
ดังนี้
พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้
(Wh) = ขนาดวัตต์ของแผง
Solar Cells รวมกัน
x 5 ชั่วโมง
x 0.40
หมายเหตุ
:
1) อาจเกิดพลังงานไฟฟ้าสูญเสียในสายไฟจาก
Solar Cells มายัง
Solar Charger
2) แสงแดดมีความเข้มเปลี่ยนแปลงไป เช่น มีเมฆมาบัง
หรือมุมของดวงอาทิตยเปลี่ยนไป
3) ถ้าปรับมุมให้แผง
Solar Cell ตั้งฉากกับดวงอาทิตย์ จะได้พลังงานมากขึ้นอีก
(8-9%)
แต่การทำมุมตั้งฉากกับดวงอาทิตย์ ทำได้ไม่ตลอดเวลา

รูปที่
11
การต่อวงจรไฟฟ้า ระบบ
Solar Energy 80 W
 |

รูปที่
12
ค่ากระแส แรงดันไฟฟ้า Wh
ที่วัดได้จาก Energy Meter
(25/2/59 เวลา 17.00
น.)
|
สถิติไฟฟ้าที่ชาร์จเข้าแบตเตอรี่
(ใช้
Solar Panel 40 W x
2 = 80 W)

วันที่ |
Watt-hour |
Ampere-hour |
หมายเหตุ |
25/2/59 |
157.2 |
12.70 |
เป็นวันที่มีแดดดี |
26/2/59 |
158.5 |
12.80 |
เป็นวันที่มีแดดดี |
|
|
|
|
|
|