|

1.
ระบบโซล่าร์รูฟทอปแบบ On
Grid
เป็นระบบผลิตไฟฟ้าจาก
Solar Panels
ที่ติดตั้งบนหลังคาซึ่งได้ไฟฟ้ากระแสตรงออกมาผ่าน
Solar Inverter
แปลงไฟฟ้าเป็นกระแสสลับและต่อเชื่อมเข้ากับระบบของการไฟฟ้าตลอดเวลา ระบบ
On Grid มีจุดเด่นคือจะมีแหล่งจ่ายไฟฟ้า 2
ทางคือจาก Solar Panels
ซึ่งผลิตไฟฟ้าได้ในเวลากลางวันเมื่อมีแสงแดด เช่น จากเวลา
7 น.
ถึง 17 น.
และจากระบบของการไฟฟ้า
ดังนั้นในเวลากลางวันก็จะใช้ไฟฟ้าจาก Solar Panels
ได้ หากผลิตได้เองไม่เพียงพอก็จะดึงไฟฟ้าจากระบบเข้ามาเสริม
หากผลิตได้มากกว่าการใช้ก็จะส่งไฟฟ้าขายคืนเข้าระบบได้
ถ้ามีสัญญาซื้อ-ขาย
กัน ส่วนในเวลากลางคืนก็จะเป็นการใช้ไฟฟ้าจากระบบทั้งหมด ระบบ On
Grid Solar Rooftop ที่นำมาเสนอในบทความนี้
เป็นแบบที่ขออนุญาตต่อสำนักงานเขต, ต่อคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
(กกพ.)
และการไฟฟ้า ตามระเบียบ
 |
|
|
2.
วัตถุประสงค์ของการติดตั้ง
2.1
เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า
:
บ้านตามตัวอย่างที่แสดงนี้ใช้ไฟฟ้าแบบ 1
เฟส มิเตอร์ขนาด 30 (100) A
โดยใช้ไฟเดือนละประมาณ 1,800 - 2,100 หน่วย
(kWh) คิดเป็นค่าไฟฟ้า 8,000 - 10,000
บาท/เดือน
โดยการใช้ไฟฟ้าจะมีมากในตอนกลางวันซึ่งอาจจะสูงกว่า 5
กิโลวัตต์ (kW) การติดตั้ง
Solar Rooftop นี้ตั้งเป้าไว้เพื่อต้องการประหยัดค่าไฟฟ้าลงเดือนละ
2,500 - 3,000 บาทหรือประมาณ
30%
2.2
เพื่อเดินสายไฟฟ้าไปใช้สำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV :
เพื่อเป็นการเตรียมไว้สำหรับกรณีที่มีรถไฟฟ้า EV
ในอนาคต จึงใช้โอกาสในการติดตั้งนี้
เพิ่มวงจรเดินสายไฟฟ้ากำลัง 230 V แบบ 1
เฟสจำนวน 2
วงจร จากห้องติดตั้ง Main Circuit Breakers
ข้ามไปยังบริเวณโรงรถเพื่อใช้สำหรับจ่ายไฟฟ้าให้กับ
Wall Charger ขนาด 7.2 กิโลวัตต์
(32 A) และเผื่อ Outlets
สำหรับใช้ไฟฟ้ากำลังได้ด้วย
เผื่อในกรณีที่มีงานซ่อมที่ต้องใช้เครื่องเชื่อมหรือใช้ไฟฟ้าสำหรับเตาไฟฟ้าสนาม
ฯลฯ
หมายเหตุ :
Updated @
17/12/2021
ในกรณีที่ต้องการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
EV ที่บ้านหรืออาคารโดยใช้ Wall Charger
นั้น กฟน.
ระบุว่ารถไฟฟ้าทั่วๆไปสามารถชาร์จไฟด้วยระบบ
1 เฟสได้
หากสายไฟฟ้าที่มีอยู่มีขนาดไม่เพียงพอก็สามารถขอให้โยงสายเพิ่มใหม่อีก
1 วงจรไปยังอุปกรณ์ป้องกันและ
Wall Charger ได้
โดยไม่มีการเพิ่มมิเตอร์
(คือ กฟน.
ยังไม่มีระเบียบการติดตั้งมิเตอร์เครื่องที่
2 ดังนั้นจะชาร์จรถไฟฟ้า
EV ด้วยระบบไฟฟ้า
3 เฟส ไม่ได้
(นอกจากบ้านหรืออาคารนั้นใช้ไฟระบบ
3 เฟส อยู่แล้ว
หรือขอเปลี่ยนระบบจาก
1 เฟสเป็น
3 เฟส)
รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้ที่นี่ ส่วน
กฟภ.
นั้น อนุญาตให้ติดตั้งมิเตอร์เครื่องที่
2 สำหรับการใช้ชาร์จรถไฟฟ้าได้ทั้งระบบ
1 เฟสและ
3 เฟส
โดยค่าไฟฟ้าคิดจากการใช้ไฟที่อ่านได้จากมิเตอร์เครื่องเดิมและจากมิเตอร์เครื่องที่
2 รวมกัน
และเนื่องจากการรวมจำนวนพลังงานไฟฟ้าเข้าด้วยกันนี้ทำให้การใช้ไฟฟ้าของบ้านมากขึ้น
จะเข้าไปสู่
Progressive Rate
ค่าไฟฟ้าต่อหน่วยที่ยิ่งใช้มาก ยิ่งแพง
|
|
|
3.
ขั้นตอนการวางแผนและติดตั้งอุปกรณ์
3.1
การวางแผน :
ขั้นแรกทำการสำรวจและ/หรือวัดการใช้ไฟฟ้าในอาคาร
ตรวจว่ามีการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอะไรบ้างในตอนกลางวันระหว่างเวลา
8.00 - 16.30 น. เช่น
การใช้เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า เครื่องปรับอากาศ หม้อหุงข้าว
เตาไมโครเวฟ เตารีด เป็นต้น นอกเหนือไปจากอุปกรณ์ที่ต้องใช้ไฟฟ้าเป็นประจำ
เช่น ตู้เย็นและไฟแสงสว่างบางส่วน
ทั้งนี้เพื่อคำนวณปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ในช่วงที่มีแดด
ขั้นตอนต่อไปคือหาพื้นที่ของหลังคาบ้านหรือสำนักงานที่จะใช้ติดตั้งแผง
Solar Panels
ได้ ซึ่งหลังคาควรจะต้องหันไปทางทิศใต้เพื่อรับแสงแดดให้ได้มากที่สุด
พื้นที่หลังคานั้นอาจอาศัยแบบแปลนการก่อสร้างอาคารและอาจใช้ภาพถ่ายจาก
Google Map
(รูปที่ 1)
ที่มองเห็นหลังคามาช่วยในการคำนวณคร่าวๆว่าจะติดตั้งแผ่น
Solar Panels ได้กี่แผ่น (อาจใช้แผ่น
440 W ซึ่งมีขนาด 104 x 210
ซม.)
ดังนั้นพอจะทราบได้ว่าจะติดตั้งกำลังผลิตได้กี่กิโลวัตต์ ทั้งนี้
กำลังผลิตที่เลือกควรเป็นไปตามขนาดมาตรฐานของ Solar
Inverter ด้วย เช่น 2, 3, 5, 10, 20 kW
เป็นต้น สำหรับสถิติการติดตั้ง Solar Rooftop
ในต่างประเทศโดยเฉลี่ย จะประมาณ 5 - 6.6 kW
ต่อครัวเรือน

รูปที่ 1
การหาพื้นที่ของหลังคาจาก Google Map |
3.2
ตัวอย่างการติดตั้งอุปกรณ์
Solar Rooftop 5.28 kW :
การติดตั้ง
Solar Rooftop ตามตัวอย่างที่แสดงนี้ (รูปที่
2 - 6) ใช้แผ่น
Solar Panels แบบ Half - Cut
แผ่นละ 440 W จำนวน 12
แผ่น รวมกำลังผลิตสูงสุด (kWpeak) 5.28 kW
โดยมีรายละเอียดของ Solar Panel และ
Solar Inverter ดังนี้
Solar Panel Longi :
Maximum Power 440 W ต่อแผ่น, Open
Circuit Voltage 48.9 V, Voltage at Maximum Power 41.1 V,
Current at Maximum Power 10.71 A,
Module Efficiency 20.2 %
Inverter ABB :
Rated Output Power 5,000 W, Maximum Power Point 2,
Maximum Input Current 30.5 A, Input Voltage 90 - 580
V, Maximum Input Power 6,250 W,
With Data Logging, Rated Efficiency 97 %, Dimensions
175 x 418 x 553 mm, Weight 15 kg.
3.3
การติดตั้งอุปกรณ์
:
การติดตั้งระบบ
Solar Rooftop ใช้เวลาประมาณ
3 วันครึ่งและการติดตั้งเดินสายไฟฟ้าไปยังบริเวณโรงรถ
ซึ่งสายมีความยาวประมาณ 40 เมตร 2
วงจร รวม 80 เมตร นั้นใช้เวลาอีก
1 วันครึ่ง รวมเป็น 5 วัน
จากนั้นเป็นการทดสอบระบบและแนะนำการใช้งาน การเปิดดูข้อมูลต่างๆจาก
Application บนโทรศัพท์มือถือ
Solar Rooftop
นี้ได้เริ่มทำการทดสอบการทำงานเบื้องต้นตั้งแต่วันที่
30 ม.ค. 2564
|
|
|

รูปที่
2
การประกอบนั่งร้านและการยกแผ่น Solar Panel
ขึ้นไปบนหลังคาบ้าน


รูปที่ 3
การประกอบเฟรมและการเริ่มติดตั้งแผ่น Solar
Panels แถวบน 4 แผ่น แถวล่าง
8 แผ่น


รูปที่ 4
Solar Panels จำนวน
12 แผ่น ที่ติดตั้งเสร็จแล้ว
 |
|
|

รูปที่ 5 ห้อง Inverter, AC & DC Board, Consumer
Unit
และการเชื่อมโยงกับระบบเดิม


รูปที่ 6 Simplified
Connection Diagram ของระบบ Solar Rooftop
พร้อมทั้ง
Meters ต่างๆที่ติดตั้งเพิ่มขึ้นเอง


รูปที่ 7 House
Energy Meter ขนาดเล็ก

 |
|
|
3.4
วิธีการ Operate ระบบ
(ดูรูปที่ 6 และ 7 ประกอบ)
:
กด
Circuit Breaker 32 A ที่ตู้
Consumer Unit ให้ ON
(C.B. หมายเลข 1 ในรูปที่
6)
ไฟฟ้าจากระบบของการไฟฟ้าจะเข้าไปที่ Inverter
ซึ่ง Inverter จะทำการตรวจเช็คและขนานระบบ
(Synchronize) ไฟฟ้าจาก
Solar Rooftop เข้ากับระบบของการไฟฟ้าซึ่งอาจจะใช้เวลาประมาณ
2 นาที ก็จะมีการจ่ายไฟฟ้าจาก
Solar Rooftop ไปยังโหลดได้
และถ้ามีการติดตั้ง Energy Meter เพิ่มขึ้น
จะสังเกตเห็นได้ว่าเมื่อการจ่ายไฟจาก Solar Rooftop
ออกมาได้แล้ว ค่ากระแสไฟฟ้าและกำลังไฟฟ้าจะแสดงขึ้นทันที

ในกรณีที่มีการใช้ไฟฟ้าหรือมีโหลด (Load)
มากกว่าที่ Solar Rooftop ผลิตได้
ก็จะดึงไฟฟ้าจากระบบของการไฟฟ้าเข้ามาเพิ่ม หรือถ้าในตอนที่
Solar Rooftop ผลิตไฟฟ้าไม่ได้ เช่น
ตอนกลางคืน ก็จะดึงไฟฟ้าจากระบบเข้ามาใช้แต่เพียงอย่างเดียว
แต่ถ้าในตอนกลางวันที่ Solar Rooftop
ผลิตไฟได้มากกว่าความต้องการใช้
ก็จะมีไฟฟ้าส่วนที่เกินไหลย้อนกลับเข้าไปในระบบของการไฟฟ้า
ซึ่งหากใช้มิเตอร์แบบที่มีจานหมุน (มีราคาถูกและใช้กันทั่วไป)
มิเตอร์ก็จะหมุนกลับและตัวเลขหน่วยไฟฟ้าที่ใช้ก็จะลดลง
เสมือนเป็นการขายไฟฟ้ากลับคืนให้การไฟฟ้าโดยอัตโนมัติหรือถึงขนาดทำให้ค่าไฟฟ้าลดลงมากหรือเป็นศูนย์
ซึ่งผิดระเบียบ เพราะไม่ได้ทำสัญญา ซื้อ
- ขาย กัน การติดตั้ง
Solar Rooftop แบบ On Grid
จะต้องขอนุญาตการติดตั้งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการไฟฟ้าจะทำการเปลี่ยนมิเตอร์วัดหน่วยพลังงาน
(kWh Meter) ใหม่ จากแบบจานหมุนเป็นแบบดิจิตอล
ที่จะไม่บันทึกหน่วยไฟฟ้าที่เกิดจากไฟฟ้าไหลย้อนกลับเข้าระบบของการไฟฟ้า
(ในขณะนี้ผู้เขียนยังเข้าใจว่า
แม้จะติดมิเตอร์แบบดิจิตอลแล้ว ก็ยังมีไฟฟ้าจาก Solar
Rooftop ไหลย้อนกลับไปเข้าระบบของการไฟฟ้าได้เหมือนเดิม
เพราะระบบยังเชื่อมต่อและ Synchronize กันอยู่
เพียงแต่มิเตอร์ไม่รับรู้หรือไม่บันทึกหักลบกับหน่วยไฟฟ้าที่ใช้
ในกรณีของการติดตั้งที่ไม่มีสัญญา ซื้อ -
ขาย ไฟฟ้ากัน)
อนึ่ง ได้มี
Inverter
บางรุ่นที่สามารถควบคุมการจ่ายไฟฟ้าไม่ให้ไหลย้อนกลับสู่ระบบของการไฟฟ้า
(Zero Export Controller) ได้โดยการติด
C.T. เพื่อตรวจวัดสัญญาณที่โหลด
หรือที่จุดเชื่อมต่อ แต่การทำแบบนี้ จะทำให้
Solar Rooftop ผลิตไฟฟ้าได้น้อยลง
ในกรณีตัวอย่างที่แสดงในรูปที่
6
และ 7
จะเห็นว่าได้มีการติดตั้ง Digital
Power Meter
ขนาดเล็กไว้ใช้วัดหน่วยไฟฟ้า (kWh)
ที่ใช้ภายในบ้านทั้งหมดเพื่อวิเคราะห์การใช้ไฟฟ้า
โดยได้ติดตั้งเอาไว้ก่อนหน้าที่จะมีการติดตั้งระบบ Solar
Rooftop
ซึ่งมิเตอร์ดังกล่าวรองรับกระแสไฟฟ้าของโหลดได้มากถึง 100
A
โดยใช้ C.T. (Current
Transformer)
ต่อเข้ากับสายเมนที่เข้า Main
C.B. Board
และจากการทดสอบพบว่าค่า kWh
ที่วัดได้จากมิเตอร์ของการไฟฟ้าและจากมิเตอร์ภายในบ้านถือว่ามีค่าตรงกัน
(คลาดเคลื่อนต่างกันน้อยมาก ประมาณ <1 %)
Bi - Directional Wi - Fi Energy Meter :
การวิเคราะห์วัดจำนวนพลังงานไฟฟ้าที่ไหลเข้าหรือที่การไฟฟ้าจ่ายเข้ามา
(Grid Consumption)
กับจำนวนพลังงานไฟฟ้าที่ไหลย้อนกลับไปเข้าระบบของการไฟฟ้า (Exported
Energy)
สามารถทำได้โดยใช้ Bi - Directional Single Phase Wi Fi Energy
Meter ต่อเข้าที่ตู้ Main
Circuit Breaker Board
ในรูปที่
6
โดยใช้
C.T.2
(150 A)
ซึ่งสามารถดูข้อมูลต่างๆได้จากโทรศัพท์มือถือ
(App. Iammeter) และจากเว็บไซต์
www.iammeter.com
อุปกรณ์นี้ช่วยให้ทราบถึงการใช้ไฟฟ้าโดยละเอียด สำหรับข้อมูลของมิเตอร์ดังกล่าว ดูได้จากเว็บไซต์ของ
Ali Express
ในการใช้งานกับระบบ
On Grid Solar Rooftop
นี้ พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ ดูได้จาก App. Plant
Viewer ของ ABB
สำหรับพลังงานไฟฟ้าที่มาจากระบบของการไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าที่ไหลย้อนกลับ
ดูได้จาก Iammeter
ซึ่งจะวิเคราะห์ได้ดังนี้
1) ให้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจาก
Solar Rooftop = E1 kWh
2) ให้พลังงานไฟฟ้า
ที่ไหลย้อนกลับ = E2
kWh
3) ให้พลังงานไฟฟ้าที่มาจากระบบของการไฟฟ้า =
E3 kWh
ดังนั้น พลังงานไฟฟ้าที่ไหลย้อนกลับ
= (E2 /
E1)100 % และ
การใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในบ้านหรืออาคาร
= (E1 - E2 +
E3)
kWh
|
พลังงานไฟฟ้าที่ |
|

รูปที่ 8 Bi -
Directional Wi-Fi Energy Meter, 150 A, DIN Rail Mounting


รูปที่ 9 Bi -
Directional Wi-Fi Energy Meter, 150 A, DIN Rail Mounting

(ติดตั้งในกล่องพลาสติก
และทำการทดสอบเบื้องต้น)
|
|
|

รูปที่ 10 Bi -
Directional Wi-Fi Energy Meter ที่ติดตั้งใช้งานจริง
(อุปกรณ์ Wi - Fi Energy
Meter นี้ มีไฟแสดงสถานะการทำงาน 3
ดวง คือ Run, Reversr Power และ Wi-Fi ON)
|
|
|

รูปที่ 11
ข้อมูลกำลังไฟฟ้า Grid Consumption
และ Exported Energy (ทดสอบ ณ วันที่
2 เมษายน 2564)
(ข้อมูลที่แสดง
เมื่อเปิดดูจากเว็บไซต์ www.iammeter.com)

รูปที่ 12
ตาราง Excel
แสดงข้อมูลเป็นรายชั่วโมง
(คลิกที่ Export ในรูปที่
11
จะได้ Excel File)
|
|
|
การทดสอบ ณ
วันที่ 2
เมษายน
2564
รูปที่
11
แสดงข้อมูลต่างๆจากการทดสอบในวันที่ 31 มีนาคม
2564 ได้แก่ Grid Consumption, Exported
Energy และกราฟเปรียบเทียบเป็นรายชั่วโมง
ซึ่งในวันนี้มีการใช้ไฟฟ้ามาจากระบบของการไฟฟ้า 56.41 kWh
มีไฟฟ้า Exported 0.98 kWh
ในขณะที่ Solar Rooftop ผลิตไฟฟ้าออกมาได้
24.66 kWh ดังนั้นพลังงานไฟฟ้าที่ส่งกลับไปที่ระบบ เท่ากับ
3.974 % ของไฟฟ้าที่ผลิตได้
และข้อมูล Exported Energy, Grid Consumption
สามารถแสดงในตาราง Excel ได้ตามรูปที่
12
|
|
|
3.5
การเข้าดูและตรวจเช็คพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตโดย Solar
Rooftop
:
ผู้ใช้
(User) สามารถเข้าดูข้อมูลการผลิตไฟฟ้าได้ดังนี้
ก)
ดูด้วยโทรศัพท์มือถือโดยใช้ App.
Plant Viewer
ซึ่งบริษัทที่ทำการติดตั้ง Solar Rooftop
จะให้ User
Name และ Password
มา ข้อมูลที่ดูได้คือการผลิตไฟฟ้า kW
และ kWh
ปัจุบัน สะสม เป็นรายวัน รายเดือน รายปี
และมีกราฟแสดงจำนวนพลังงานไฟฟ้าที่ผลิต (ดูรูปที่
13)
|
|
|

รูปที่ 13
Characteristic
ของการผลิตไฟฟ้าจาก Solar Rooftop
ณ วันที่ 20 มี.ค.
2564 และสถิติย้อนหลัง
(การผลิตอยู่ในช่วงทดลองใช้ บางวันเปิดใช้งาน
บางวันไม่ได้เปิดระบบ กราฟจึงไม่ต่อเนื่อง)
|
|
|
ข)
ดูจากคอมพิวเตอร์ โดยเข้าเว็บ
www.auroravision.net
เมื่อใส่ User
I.D. และ Password
ก็จะเข้าดูข้อมูลได้
ตามตัวอย่างในรูปที่
14
ซึ่งจะมีข้อมูลการผลิตปัจจุบัน การผลิตสะสม กราฟแสดงการผลิตใน 1
วัน 7
วัน 1 เดือน 12
เดือนและเป็นรายปี โดยพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตในแต่ละวันจะแสดงตัวเลขขึ้นมาเมื่อนำ
Mouse ไปแตะที่แท่งกราฟ
|
|
|

รูปที่ 14
ข้อมูลการผลิตไฟฟ้าที่แสดงโดย
Auroravision.net
|
|
|
ค)
ดูข้อมูลการผลิตและสถานะการทำงานของระบบ Inverter
โดยตรงจาก Inverter ABB :
การเข้าดูข้อมูลและสถานะการทำงานของระบบ Inverter
นี้ ปกติจะทำโดยผู้ติดตั้ง Solar
Rooftop เท่านั้น เป็นการ Set
Up ให้มีการเพิ่มอุปกรณ์เชื่อมต่อกับ Wi
Fi ของ Inverter ABB
และเชื่อมต่อกับ Wi Fi
ที่ใช้ที่บ้านหรือสำนักงาน ซึ่งจะทำให้ระบบ Data
Logger ทำงาน สามารถส่งข้อมูลต่างๆออกมาได้
ซึ่งผู้ใช้งานทั่วไป ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีนี้
|
|
|
3.6
การเช็คข้อมูลการผลิตไฟฟ้าโดยอ่านตรงจาก Energy
Meter
:
เนื่องจาก
Inverter ของ ABB ขนาด
5 kW ไม่มีหน้าจอแสดงข้อมูลการผลิตไฟฟ้า ดังนั้น
เพื่อความสะดวก จึงได้ติดตั้ง Energy Meter
ขนาดเล็กที่ต่อกับ Split Type C.T. ขนาด 100
A ทำให้อ่านค่าทางไฟฟ้าต่างๆที่ผลิตได้ คือ
Voltage, Current, Power (kW), Energy Generated (kWh), Time (Hours),
Power Factor และอุณหภูมิ ตามรูปที่
15 และ
16 ซึ่งมิเตอร์นี้มีขนาดเล็ก ราคาถูก
และถ้าเกิดเสียก็สามารถถอดเปลี่ยนเองได้โดยง่าย
|
|
|

รูปที่ 15
Energy Meter พร้อม Split Type C.T.
ขนาด 100 A

รูปที่ 15
A
Solar Energy Meter ติดตั้งในกล่องพลาสติก
|
|
|

รูปที่ 16
ระบบ Inverter พร้อม AC
และ DC Board และการติดตั้ง
Energy Meter (Real Time Monitoring)
ขนาดเล็ก
|
|
|
ผลการใช้
Energy Meter :
จากการทดลองวัดค่าพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตเทียบกันระหว่าง ค่าของ
ABB
และค่าที่วัดได้จาก Energy Meter ณ
วันที่ 20 มี.ค.
2564 ได้ผลคือ ค่าพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากเวลา 06.00
- 17.30 น. อ่านจาก Energy
Meter ได้ 23.44 kWh
และค่าพลังงานไฟฟ้าที่ผลิต บันทึกโดย App. Power Viewer
ได้ 23.62 kWh
ซึ่งมีความแตกต่างกันเพียง 0.18 kWh หรือ
0.76 % เท่านั้น ดังนั้น
ถ้าผู้ใช้ต้องการทราบค่าพลังงานฟ้าที่ผลิตจากระบบ Solar Rooftop
ในแต่ละวันหรือสะสมเป็นรายเดือน ก็จะดูได้ทันทีจาก
Energy Meter และใช้เป็นตัว Display
การผลิต เป็นตัว Back Up
หรือสำรองในกรณีที่ เข้าดูการผลิตจาก App.
หรือเว็บไซต์ไม่ได้อันเนื่องมาจากปัญหาทางเทคนิค เช่น Wi Fi
มีปัญหา Data Logger
หลุดจากการเชื่อมต่อ หรือมีการทำ Maintenance Server
เป็นต้น
อนึ่ง การติด
Energy Meter ขนาดเล็กเพิ่มขึ้นนี้
ทำให้ตรวจเช็คได้ว่าเมื่อเปิดใช้งานระบบ
Solar Rooftop แล้ว ทันทีที่
Inverter ทำการ
Synchronize ไฟฟ้าเข้ากับระบบของการไฟฟ้าและมีการจ่ายไฟฟ้าออกมา
มิเตอร์จะแสดงค่ากระแสไฟฟ้าและค่าอื่นๆทันที เป็น
Real Time Display
หมายเหตุ
:
การออกแบบ
Solar Inverter เกรดดี
นอกจากจะมีระบบ Wi Fi และ Data Logger
แล้ว ควรจะต้องมี LCD Display
ติดไว้ หรือสามารถต่อสายหรือเสียบขั้วต่อ เข้ากับ Energy Meter
ได้โดยง่าย จะสะดวกต่อการใช้งานมากกว่าการต่อโดยใช้สาย
Communication หรือ LAN
อย่างไรก็ตาม Inverter 1 - Phase
ขนาด 5 kW บางยี่ห้อก็มี
LCD Display ติดไว้แสดงสถานะการทำงาน เช่น
Growatt Inverter
|
|
|
พิเศษ - การต่อวงจรไฟฟ้าสำหรับเผื่อไว้ชาร์จรถไฟฟ้า
EV ในอนาคต :
|
|
|

รูปที่ 17
การเตรียมสำหรับ EV Wall Charger (ภาพจำลอง)
 |
|
|
4.
การคำนวณพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้และความคุ้มทุน
4.1
พลังงานไฟฟ้าที่จะผลิตได้ :
Solar Rooftop ขนาด 5.28 kW
สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าตามทฤษฏีได้เฉลี่ยปีละประมาณ
6,938 kWh
ซึ่งตัวเลขได้มาจากการคำนวณดังนี้
พลังงานไฟฟ้าต่อปี
= kW x
จำนวนชั่วโมงใน 1
ปี x Performance Ratio x
Plant Factor = 5.28 x 8,760 x 0.75 x 0.20 =
6,938
kWh/ปี
(@3/1/2022)
Assumptions
: Plant Factor
คือการที่
Solar Panels ผลิตไฟฟ้าได้ในช่วงเวลาที่มีแสงแดดสว่างมากพอคิดเฉลี่ยทั้งปี
= 20%, Performance Ratio (PR) 75%
ซึ่งขึ้นอยู่กับ
Factors ต่างๆมากมาย เช่น
อุณหภูมิ, การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ,
ความเข้มของแสง,
มุมแสง และระนาบเอียงของการวางแผ่น
Solar Panels, ประสิทธิภาพของแผ่น,
ฝุ่นละอองที่จับบนผิวหน้าของแผ่น เป็นต้น
4.2
ระยะเวลาที่จะคุ้มการลงทุน :
ถ้าพลังงานฟ้าที่ผลิตได้ ใช้ประโยชน์ได้ 95%
(ยืนยันจากการใช้งานประมาณ
4 เดือนโดยวัดด้วย
Bi-directional Wi Fi Energy Meter)
ดังนั้นจะประหยัดค่าไฟฟ้าได้ปีละ 0.95 x
6,938 x
4.60 = 30,319 บาท ถ้าการลงทุนโดยใช้ อุปกรณ์ระดับ
Premium คิดเป็นเงิน 230,000 บาท
ก็จะคุ้มทุนได้ในเวลาประมาณ 7.6 ปี แต่จะมีค่าล้างแผง
Solar Cells และอาจมีค่า
Maintenance ดังนั้นอาจจะคุ้มทุนในเวลา 8
- 8.5
ปี ซึ่งถ้าอายุการใช้งานยาวนานถึง
25 ปี ก็นับว่าคุ้มค่า ยิ่งกว่านั้น
ค่าไฟฟ้าอาจจะสูงขึ้นในอนาคตเนื่องจากราคาเชื้อเพลิง อาจมีการปรับค่า
FT ด้วย
 |
|
|
6.
การทำ
Schedule
การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า
เนื่องจากระบบ Solar Rooftop ขนาด
5.28 kW
นี้ถือได้ว่าเป็นขนาดกลางๆที่เป็นค่าเฉลี่ยของการติดตั้งสำหรับบ้านเรือนทั่วๆไปในต่างประเทศและไม่เป็นขนาดที่ใหญ่
จึงไม่มีการขายไฟฟ้าส่วนที่อาจจะเหลือใช้คืนเข้าสู่ระบบของการไฟฟ้า ดังนั้น
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการลงทุน
จึงต้องพิจารณากำหนดการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆสำหรับช่วงเวลา
8.00 - 17.00 น.
ให้พอเหมาะกับขีดความสามารถในการผลิตไฟฟ้าที่ได้จาก
Solar Rooftop
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟมากๆในช่วงเวลา 8.00 -
17.00 น. ได้แก่
เครื่องปรับอากาศห้องทำงาน (18,500 Btu)
เครื่องปรับอากาศห้องอาหาร (24,000 Btu)
เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า เตารีด หม้อหุงข้าว เครื่องต้มน้ำร้อน และเตาไมโครเวฟ
ดังนั้นหากมีพลังงานไฟฟ้าเหลือก็อาจนำไปใช้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบสะสมไฟเข้าแบตเตอรี่ได้
|
|
|
7.
สถิติการผลิตไฟฟ้า

ในระยะแรกของการติดตั้ง Solar Rooftop
ผู้เขียนได้ทำการทดลอง วิเคราะห์
วัดค่าต่างๆและติดตั้งมิเตอร์วัดพลังงานรวมทั้ง Wi Fi
Bi-directional Energy Meter เพิ่มขึ้น เพื่อศึกษาการผลิตไฟฟ้า
การใช้ไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าที่เหลือใช้ ฯลฯ
สำหรับการเปิดใช้งานเต็มเวลานั้นคือจากเดือน พฤษภาคม 2564
ซึ่งเข้าสู่ฤดูฝน แต่การผลิตไฟฟ้าก็ทำได้ดีคือผลิตได้
574 kWh คิดเป็น Monthly Plant Factor =
574/(720x5.28) = 0.1509 หรือ 15.09 %
และในช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม
มีฝนตกมาก แดดไม่เต็มที่ การผลิตไฟฟ้าจาก Solar Rooftop
จึงลดลง แต่ก็ยังผลิตได้เดือนละกว่า 500 kWh
และเมื่อหมดฤดูฝนแล้ว การผลิตไฟฟ้าจะสูงขึ้นเนื่องจากแดดดี
การผลิตสูงสุดในเดือนธันวาคม 2564 จำนวน 654
kWh รวมพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ในปี 2564 (4
เดือนแรก ไม่ได้เปิดเต็มที่) รวม
5,421 kWh คิดเป็นค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้ประมาณ
25,000 บาท
ในปี 2565
คาดว่าจะผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ
6,700 kWh
หรือคิดเป็นค่าไฟฟ้าที่จะประหยัดได้ประมาณ
30,000 บาท
หมายเหตุ
: ผลการผลิตพลังงานไฟฟ้าจริง ในปี
2565 เท่ากับ
6,727.49
kWh
ช่วยให้ประหยัดค่าไฟฟ้าไปได้ประมาณ
33,000 บาท เนื่องจากค่าไฟฟ้ามีราคาสูงขึ้น
|
|
|

รูปที่ 18
สถิติการผลิตไฟฟ้าจาก Solar Rooftop
ในปี 2564 และ 4
เดือนแรกของปี 2565

รูปที่ 18A
สถิติการผลิตไฟฟ้าจาก Solar Rooftop
ในปี 2565
|
|
|
8.
MEA Digital kWh Meter

ในการติดตั้ง Solar Rooftop แบบ On-Grid
หรือมีการขนานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเข้ากับระบบของการไฟฟ้านั้น ทาง กฟน.
ได้เปลี่ยนจากเครื่องวัดแบบเก่ามาเป็นแบบดิจิตอล ตามตัวอย่างรูปที่
19
เป็นมิเตอร์ขนาด 30 (100) A มีหน้าจอ
LCD ตัวเลขสีดำ แสดงค่าต่างๆสลับกันไปตลอดเวลา
ได้แก่จำนวนหน่วย (kWh) ที่ใช้ จำนวนกำลังไฟฟ้า
(kW) โดยเป็นมิเตอร์แบบ 2
ทาง เข้าใจว่าวัดจำนวนหน่วยที่ใช้ (Import)
และจำนวนหน่วยที่ส่งเข้าระบบ (Export) ได้ด้วย
แต่ในกรณีที่ผู้ใช้ไฟไม่ประสงค์จะขายไฟคืนเข้าระบบ
ก็จะคิดค่าไฟจากจำนวนหน่วยที่ใช้ ส่วนไฟที่ไหลย้อนกลับเข้าระบบนั้น
ไม่มีการหักลบกัน
|
|
|

รูปที่ 19
Digital kWh Meter 30(100) A
|
|
|
References
 |
|
1.
Solar
PV Rooftop
คืออะไร
2. Performance Ratio : Performance Ratio (PR) of a plant for a
period of time is energy measured (kWh) / (Irradiance(kWh/m2) on the
panel x Active area of PV module (m2) x PV module efficiency). PR is a
measure for the performance of a PV system taking into account
environmental factors (temperature, irradiation, climate changes etc.)
PR will take into account the availability of the grid, minimum level of
irradiation needed to generate electrical energy, irradiation levels at
a given period of time.
3. Gunkul GRoof System
________________ |
|
|
หมายเหตุ
:
บทความนี้จัดทำขึ้นเพิ่อเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ในการติดตั้งและใช้งานระบบ
Solar Rooftop
โดยผู้เขียนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีผลประโยชน์ใดๆกับการขายผลิตภัณฑ์ที่นำมาแสดงไว้ |
|