Digital Photography   Audio & Video   Computer Accessories   Software Applications | Home
....

การเลือกและใช้เครื่องทำน้ำอุ่นให้ทนทานและปลอดภัย
 

  เครื่องทำน้ำอุ่น (Shower Unit)  มีใช้กันเป็นจำนวนมาก ติดตั้งได้ง่าย และใช้งานง่าย และก็อาจก่อให้เกิดปัญหาไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าดูด เป็นอันตรายได้  ดังนั้น การเลือกซื้อจึงต้องคำนึงถึงเครื่องที่ออกแบบมาดีมีระบบป้องกันไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าดูด สำหรับการติดตั้งนั้น ผู้ขายจะมีบริการติดตั้งให้โดยคิดค่าติดตั้งต่างหาก ละจำเป็นที่จะต้องต่อสายดิน (Ground Wire) เพื่อความปลอดภัย ในกรณีที่มีไฟฟ้ารั่ว กระแสไฟฟ้าก็จะไหลลงดิน

ครื่องทำน้ำอุ่น ใช้หลักการง่ายๆ คือเมื่อเปิดน้ำผ่านเข้าไปในหม้อต้มน้ำที่มีขดลวดทำความร้อน น้ำก็จะร้อนขึ้น และเราต้องปล่อยน้ำนั้นออกมาทางฝักบัว ความร้อนจะถูกควบคุมอย่างสม่ำเสมอตามอุณหภูมิที่ปรับให้ร้อนมาก ร้อนน้อยได้ ถ้าอุณหภูมิสูงเกินไป Thermostat ะทำการตัดไฟฟ้าที่เข้าขดลวดทำความร้อนเองโดยอัตโนมัติ  ในการใช้งานนั้น จะต้องมีวาวล์เปิด - ปิด น้ำ ติดตั้งอยู่ก่อนที่น้ำจะไหลเข้าเครื่อง โดยปกติ วาวล์นี้จะปิดอยู่ ดังนั้น จะไม่มีแรงดันน้ำเข้าไปอัดในเครื่อง (ซึ่งจะทำให้เครื่องเสียเร็ว คือเกิดการรั่วซึม ซึ่งเป็นอันตรายมาก) มื่อเปิดวาวล์น้ำก็จะไหลออกฝักบัวในทันที และเมื่อหมุนเปิดปุ่มควบคุมความร้อน น้ำก็จะร้อนขึ้นตามที่ต้องการ

อุปกรณ์ควบคุมความปลอดภัยที่จำเป็นสำหรับเครื่องทำน้ำอุ่น คือ
ELCB รือ Earth Leakage Circuit Breaker ซึ่งจะตัดไฟฟ้าทันทีที่มีการรั่ว และมีอีกแบบหนึ่ง อาจเรียกว่า ELSD รือ Earth Leakage Safety Device ็ได้ แบบหลังนี้ ใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ ในการตัดไฟฟ้าเมื่อมีการรั่ว และน่าจะทำงานได้เร็วกว่า ELCB  แต่ก็อาจจะเป็นจุดอ่อนถ้าออกแบบมาไม่ดีพอ คืออาจเป็นต้นเหตุให้เครื่องเสียโดยไฟฟ้าเข้าขดลวดทำความร้อนไม่ติด  อย่างไรก็ตาม ในการใช้เครื่องทำน้ำอุ่น ควรมีการตรวจการทำงานของอุปกรณ์พวกนี้เป็นระยะๆ โดยที่ตัวเครื่องจะมีปุ่ม Test และ Reset ห้  แต่วิธีธรรมชาติที่ควรใช้ด้วยก็คือ ก่อน และระหว่างเปิดเครื่องใช้งาน ควรใช้ปลายนิ้วแตะที่ส่วนต่างๆ เช่น ท่อ ฝักบัว น้ำที้ไหล อย่างรวดเร็ว ถ้ามีไฟดูด ก็ยังพอรู้ตัวล่วงหน้า
 

 

-------
รูปที่ 1  วิดีโอเครื่องทำน้ำอุ่น Sharp TVC 2009


รูปที่
2
  Sharp WD-T37DP

ครื่องทำน้ำอุ่นในปัจจุบัน ก็มีอุปกรณ์ต่างๆ คล้ายๆกันทั้งนั้น นอกจากนั้นบางยี่ห้อ มีหน้าจอ LCDสดงการทำงาน และอุณหภูมิของน้ำเป็นตัวเลขดิจิตอลได้ด้วย เช่น Panasonic รุ่น DH - 3HD1T , Stiebel IL Series และ Sharp เป็นต้น


รูปที่ 3  ตัวอย่างเครื่องทำน้ำอุ่นแบบที่มีตัวเลขแสดงอุณหภูมิน้ำ


รูปที่ 4  เครื่องทำน้ำอุ่นแบบที่ใช้ Earth Leakage Safety Device

 
รูปที่ 5 วาวล์และฟิลเตอร์


 
รูปที่ 5 แสดงวาวล์เปิด - ปิด น้ำ และช่องใส่ฟิลเตอร์สำหรับเครื่องทำน้ำอุ่นบางยี่ห้อ ซึ่งสามารถถอดฟิลเตอร์ออกมาล้างได้   แต่ผู้ใช้จะต้องระวังด้วย เพราะถ้าถอดออกและใส่เข้าบ่อยๆอาจปัญหาน้ำรั่วออกมาตามเกลียวได้ซึ่งวิธีก็คือใช้เทปสีขาว ที่ใช้พันท่อประปาพันที่เกลียวแล้วใส่เข้าไปใหม่ ก็จะหยุดการรั่วซึมได้  


 

..............................................................................................

เพิ่มเติม
: เครื่องทำน้ำอุ่น Hitachi 
(รูปที่ 8 และ 9)

มีการออกแบบที่สวยงาม และภายในเครื่องก็ดูเรียบร้อยดี รายละเอียด ดูได้ที่เว็บไซต์ของฮิตาชิ

                       
 
                              
รูปที่ 8 เครื่องทำน้ำอุ่น Hitachi - Digital 
 


รูปที่ 9
ภายในเครื่องทำน้ำอุ่น
Hitachi  รุ่น Digital

 

          
                        
 

 
เครื่องทำน้ำอุ่นยี่ห้อต่างๆ
 เครื่องทำน้ำอุ่น ควรมีขนาดกำลังไฟฟ้า 3,500 วัตต์ (16 อมป์) ถึง 4,500 วัตต์ (21 อมป์)  ก็น่าจะเพียงพอต่อการใช้งาน และควรมี Circuit Breaker ติดตั้งไว้ในวงจรไฟฟ้าและต้องเลือกขนาดให้เหมาะกับการใช้กระแสไฟฟ้าด้วย  เครื่องทำน้ำอุ่นมีขายกันมากมายหลายยี่ห้อ เช่น Panasonic, Sharp, Hitachi, Mitsubishi, Toshiba, Sanyo, Stiebel, Faco, Siemens, Turbora, ลฯ  และมีราคาตั้งแต่ 2 พันกว่าบาทขึ้นไป ส่วนค่าติดตั้งนั้น ถ้ามีระบบท่อทำไว้แล้ว หรือติดตั้งแทนเครื่องเดิม คิดค่าติดตั้งประมาณ 500 - 600 าท  เวลาท่านไปหาซื้อตามห้าง คนขายมักจะพยายามแนะนำให้ไปใช้ยี่ห้อโน้น ยี่ห้อนี้ ท่านอย่าไปเชื่อมากนัก ควรศึกษาข้อมูลและข้อวิจารณ์การใช้งานและการบริการในอินเทอร์เน็ตก่อนแล้วเลือกแบบที่ต้องการ

ตัวอย่างเครื่องทำน้ำอุ่น ขนาด 3,500 วัตต์
ตัวอย่างเครื่องทำน้ำอุ่น  โดยทั่วๆไป ก็มีวาวล์เปิด - ปิดน้ำ ก่อนเข้าเครื่อง และมีแผ่น Filter รองน้ำที่ถอดออกมาล้างได้ (ต่ถ้าออกแบบมาไม่ดี เวลาถอดใส้กรองออกมาล้างแล้วใส่เข้าไปใหม่ น้ำอาจรั่วออกมาจากเกลียวได้), มี Electronic Sensor Flow Switch ที่เช็คว่ามีน้ำไหลเข้าไปในเครื่องหรือไม่ ถ้าไม่มีน้ำ ก็จะตัดไฟ, มีวงจร หรืออุปกรณ์ ELCB ีปุ่ม Testารทำงานของ ELCB ป็นต้น
 

 
    
                              รูปที่ 6  เครื่องทำน้ำอุ่นแบบที่ใช้ Earth Leakage Breaker (ELB)
                                                                   และมีตัวเลขแสดงอุณหภูมิของน้ำ


รูปที่ 7 ฝาครอบและแผงวงจร


ตัวอย่างที่แสดงในรูปที่ 6 เป็นเครื่องทำน้ำร้อน Sharp รุ่น WD-T37 DP ขนาด 3,500 วัตต์  น้ำที่จะไหลเข้าไปสู่เครื่องทำน้ำอุ่นจะผ่านวาวล์ เปิด - ปิด ที่ติดเข้ากับ Inlet จากนั้นมี Reed Switch ทำหน้าที่เป็นตัว Sensor เช็ค ว่ามีน้ำไหลเข้ามาหรือไม่  ถ้าไม่มีน้ำไหลออกจากฝักบัว จะตัดไฟฟ้าทันทีทางด้านบนเป็นหม้อน้ำร้อนและมี Thermostat คอยควบคุมอุณหภูมิไม่ให้สูงจนเกินไป  สำหรับ ELB นั้นใช้แบบ Earth Leakage Circuit Breaker มีปุ่มกดสำหรับทดสอบ และก้านที่กดเพื่อ Reset

ทางฝาด้านหน้าของเครื่อง เมื่อเปิดออก จะพบแผงวงจรไฟฟ้าและมีสาย Pair สำหรับต่อเข้ากับขั้วที่ตัวเครื่อง ฝาครอบด้านหน้านี้ ออกแบบให้กันน้ำกระเด็นเข้าไปในตัวเครื่องด้วย

สำหรับอุณหภูมิน้ำนั้น จะตั้งมาจากโรงงาน
(Default) ที่ 34องศาเซลเซียส และเราสามารถปรับอุณหภูมิที่ต้องการได้ เช่น38 องศา แล้วกดปุ่มค้างไว้ 3 วินาที เครื่องก็จะจำอุณหภูมินั้นเอาไว้ เมื่อเปิดใช้งาน ก็จะได้อุณหภูมิ 38 องศา แต่ระหว่างใช้สามารถปรับอุณหภูมิ ขึ้น หรือ ลง ได้ตามที่ต้องการ และเมื่อเลิกใช้ และกลับมาใช้ใหม่ อุณหภูมิก็จะเป็นอุณหภูมิที่หน่วยความจำบันทึกไว้
การออกแบบที่ดี
การออกแบบเครื่องทำน้ำอุ่นจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ เพราะอาจเกิดกรณีน้ำรั่วที่ตรงวาวล์เปิด ปิดน้ำ หริอเรียกว่าสวิทช์เปิด ปิด ซึ่งน้ำจะไหลลงมาด้านล่าง ดังนั้น หากเกิดน้ำรั่ว ก็ไม่ควรจะไหลผ่านขั้วไฟฟ้าหรือแผงวงจร  สำหรับแผงวงจรหลักนั้น  ควรติดตั้งไว้ด้านบน หรือขนานกับหม้อน้ำร้อนหลีกเลี่ยงในกรณีมีน้ำรั่วซึมด้วย 

ในการใช้งาน อาจเกิดมีน้ำกระเซ็นสาดไปที่ตัวเครื่องทำน้ำอุ่น ดังนั้น ฝาครอบ จะต้องออกแบบให้กันน้ำรั่วซึมเข้าไปในตัวเครื่องได้ แต่ทางที่ดี ในการใช้ ควรจะต้องติดตั้งเครื่องให้สูงพอสมควร และระมัดระวังในการใช้ฝักบัวด้วย

ติดตั้ง Earth Leakage Circuit Breaker เพิ่มความปลอดภัย
หากท่านต้องการเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน ควรติดตั้งอุปกรณ์ Earth Leakage Circuit Breaker (ELCB) เพิ่มขึ้นในวงจรไฟฟ้าที่จ่ายไฟให้กับเครื่องทำน้ำอุ่น หรือเปลี่ยน Circuit Breaker ตัวเดิม เป็น ELCB ก็จะยิ่งมั่นใจได้มากขึ้น (ในความเห็นของผู้เขียน ถ้า ELCB ในตัวเครื่อง ทำงานได้ดี ไม่เสีย และการติดตั้งมีการต่อสายดินที่ดี ก็น่าจะเพียงพอแล้ว)

การต่อสายดิน (Ground Wire)
การเดินสายไฟฟ้าที่ดีจะต้องเดินสาย Ground Wire ควบคู่กันไปด้วย และต่อเข้ากับทุกปลั๊ก  แต่บ้านสมัยก่อน หรือบ้านไม้ อาจจะไม่ได้เดินสายดินเอาไว้ ดังนั้นถ้าติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น ก็อาจให้ช่างเดินสายดินเพิ่มให้ได้ ช่างติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่นส่วนมาก จะต่อสายดินที่ตัวเครื่องให้ แต่เป็นการต่อที่อ้างว่า ต่อกับโครงเหล็กของอาคาร ซึ่งความจริงไม่มีการต่อถึงโครงเหล็ก เพราะผนังเป็นอิฐ เจาะเข้าไปนิดเดียว ดังนั้น Grounding จึงจะไม่ Effective นัก (การเดินสายดิน ควรทำตามกฎการเดินสายไฟฟ้า และทำตั้งแต่สร้างบ้าน หรือเดินสายดินเพิ่มขึ้นในภายหลัง 
 

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
 
เพิ่มเติม : เครื่องทำน้ำร้อน Turbora DZ 6000 EM    (รูปที่ 10 และ 11)
 


รูปที่ 10 Turbora DZ 6000 EM

เป็นเครื่องทำน้ำร้อนที่มีรูปแบบเรียบๆ ทางด้านหน้ามีสวิทช์หมุนเพื่อปรับระดับอุณหภูมิ (Temperature Control) และมีปุ่มเพียง 2 ปุ่ม คือ Reset และ Test ภายในเครื่อง มีการออกแบบที่ดี ใช้หม้อต้มน้ำขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากจะทำความร้อนที่สูง ดังนั้น Heater จึงแบ่งออกเป็น Heater A ขนาด 2,500 วัตต์ และ Heater B ขนาด 3,500 วัตต์

 
 


รูปที่ 11 ภายในเครื่องทำน้ำร้อน Turbora DZ 6000 EM

 



จากวันที่ 4 ธ.ค. 2553
Latest Update : 21 ม.. 2557