Digital Photography   Audio & Video   Computer Accessories   Software Applications  Miscellaneous | Home
  Wi-Fi Home Security
(ระบบสัญญาณกันขโมยแบบ Wi-Fi ติดตั้งได้เอง)
 
 
 

ะบบสัญญาณกันขโมยแบบ W--Fi ี่นำมาใช้งานทดแทนระบบเก่านี้เป็นระบบที่อุปกรณ์มีขนาดเล็ก มีข้อดีคือ ราคาถูก ติดตั้งได้เองโดยไม่ต้องมีการเดินสายไฟ ใช้สัญญาณ Wi-Fi 2.4 GHz ร่วมกับอินเทอร์เน็ต และคลื่นความถี่ 433 MHz นการทำงานและเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องโทรศัพท์มือถือได้โดยง่าย นอกจากนั้นยังสามารถปรับความดังของเสียงไซเรนได้ และสามารถตั้งเวลาเปิด (Armed) ละเวลาปิด (Disarmed ด้ด้วย Application ละมีการแจ้งเตือนเข้าโทรศัพท์มือถือพร้อมทั้งมี Records ารทำงานของระบบให้ตรวจเช็คได้

ในด้านราคานั้น ระบบขนาดเล็ก ตามรูปที่
1 ีราคา (2565) ระมาณ 720 าท และถ้าเพิ่มอุปกรณ์ PIR Sensor ีก 3 ัว ราคา 810 าท รวมเป็นเงินประมาณ 1,530 าทเท่านั้น

1.  อุปกรณ์ Wi - Fi Home Security

อุปกรณ์
(ูปที่ 1) ประกอบด้วย

1)  Alarm Host ช้เสียบเข้ากับ Socket Outlet 230 V ัวอุปกรณ์มีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 .. ีลำโพงสำหรับส่งเสียงไซเรนออกมาเมื่อมีการตรวจพบความเคลื่อนไหวหรือเมื่อมีการเปิดประตูหรือหน้าต่าง โดยความดังของเสียงสามารถปรับได้โดยใช้ App.ี่ติดตั้งในโทรศัพท์มือถือไว้แล้ว นอกจากนั้นลำโพงนี้ยังใช้แจ้งสถานะต่างๆเป็นคำพูดด้วย

2)  PIR Sensor (PIR = Passive Infrared) ืออุปกรณ์ตรวจจับความเคลื่อนไหว (Motion Sensor) ดยตรวจจับรังสี Infrared ี่แพร่จากมนุษย์หรือสัตว์ที่มีความเคลื่อนไหว แล้วส่งสัญญาณคลื่นวิทยุความถี่ 433 MHz ปยังตัว Alarm Host ตัว PIR Sensor นี้ใช้ไฟจากแบตเตอรี่ขนาด AAA จำนวน 2 ก้อน ซึ่งเมื่อใช้ไปจนแบตเตอรี่ใกล้จะหมด จะมีไฟกะพริบเตือน

3)  Door / Window Sensor
ป็นอุปกรณ์ที่จะส่งสัญญาณความถี่ 433 MHz ปยังตัว Alarm Host มื่อมีการเปิดประตูหรือหน้าต่างที่ติดอุปกรณ์นี้ไว้

4)  Remote Control ป็นตัวรีโมทที่ใช้ควบคุมการทำงานของ Alarm Host

หมายเหตุ : Accessories ทั้ง 3 ชนิด คือ PIR Sensor, Door / Window Sensor และ Remote Control นั้น สามารถตั้งชื่อเองได้ เรียกว่า Sub Device Name ดังนั้น เมื่อมี Alarm เกิดขึ้น จะทราบได้ว่าตรวจจับความเคลื่อนไหวได้จากบริเวณใด

 

 
 
 รูปที่ 1  อุปกรณ์ Wi-Fi Home Security
 
 
 
รูปที่ 2  PIR Motion Sensor ละแบตเตอรี่ 2 x AA (ีขาติดตั้งด้วย)
Working Current = 25 mA

 
 
 

2.  Application ที่ใช้ :   App. ที่ใช้ Download ลงในเครื่องโทรศัพท์มือถือ ได้แก่ Tuya หรือ Smart Life - Smart Living ซึ่งผู้เขียนได้ใช้ App. Smart Life
 

 
 
รูปที่ 3  App. ี่ใช้งานกับโทรศัพท์มือถือ
 
 
 

3 การเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ

อุปกรณ์ที่ใช้คือ
Alarm Host และ Accessories 3 อย่าง ได้แก่ PIR Sensor, Door / Window Sensor และ Remote Control นั้น เราสามารถทำการเชื่อมต่อให้ใช้งานร่วมกันได้ ตามขั้นตอนดังนี้

3.1)  เชื่อมต่อ Alarm Host เข้ากับระบบ Wi - Fi  อินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ ทำได้ดังนี้

1)  เปิด App. Smart Life ขึ้นมา กดที่ + (Add Device) เลือก Sensor แล้วกดที่ Alarm (Wi-Fi) จะปรากฎหน้าจอขึ้น ให้ใส่ชื่อระบบ Wi-Fi ( 2.4 GHz) ที่ใช้ ใส่ Password จากนั้นกด Next
2) 
กดปุ่ม Setting ที่ตัว Alarm Host นานประมาณ 5 วินาที แล้วกดที่ Blink Quickly ึ่ง App. ะทำการ Scan ละทำ Pairing ับตัวอุปกรณ์จนเสร็จ ็สามารถใช้งานได้
 

 
 

3.2 เชื่อมต่อ PIR Sensor เข้ากับ Alarm Host :  กลับไปที่หน้าจอ Multifunction Alarm (รูปที่ 8) กดที่ Multifunction Alarm เลือก Accessories (รูปที่ 9) กดที่ Detector แล้วกด + (Add Device) จากนั้น App. จะทำการเชื่อมต่อ PIR Sensor เข้ากับตัว Alarm Host (ในขั้นตอนนี้ ให้ Disarmed ตัว Alarm Host)
 

 
 

3.3)  เชื่อมต่อ Door / Window Sensor เข้ากับ Alarm Host : ทำเช่นเดียวกับข้อ 3.2
 

 
 

3.4)  เชื่อมต่อ Remote Control เข้ากับ Alarm Host :  ทำเช่นเดียวกับข้อ 3.2 แต่เมื่อเลือก Accessories แล้ว ให้กดที่ Remote แล้วจึงกด + (Add Device)

หมายเหตุ :  การเชื่อมต่ออุปกรณ์ Detector และ Remote Control สามารถทำทีละตัวๆได้ และในขั้นตอนนี้ควรวางอุปกรณ์ให้ใกล้ Wi-Fi Router
 

 
     
 

4.  ตัวอย่างการติดตั้ง

Alarm Host ควรติดตั้งเข้ากับ Socket Outlet ที่ลับตาและสามารถได้ยินเสียงไซเรนเตือน เพราะเสียงไซเรนแม้จะดัง แต่ก็ยังดังน้อยกว่าระบบกันขโมยที่ใช้ไซเรนแยกต่างหาก สำหรับอุปกรณ์ PIR Sensor นั้น ควรทดลองติดตั้งในตำแหน่งที่ตรวจจับความเคลื่อนไหวได้ดี และไม่สูงมากนัก ซึ่งจะทำให้การเปลี่ยนแบตเตอรี่ทำได้สะดวก จากการติดตั้งของผู้เขียน ใช้ Alarm Host 2 ตัว PIR Sensor 5 ตัว และ Window Detector อีก 1 ตัว

หมายเหตู :
1) 
การที่ผู้เขียนใช้ Alarm Host 2 ตัวนั้น เพราะต้องการติด Alarm Host ตัวที่ 1 ไว้ที่ชั้นล่าง และตัวที่ 2 ติดไว้ที่ชั้นบนในห้องนอน เนื่องจากเสียงไซเรนจาก Alarm Host ตัวที่ 1 นั้น อาจไม่ได้ยินถ้าอยู่ในห้องนอนชั้นบน
2)  การเชื่อมต่อระหว่าง Accessories (PIR Sensor, Door / Window Sensor, Remote Control) นั้น สามารถทำได้กับ Alarm Host ทั้ง 2 ตัว และเมื่อมีความเคลื่อนไหว ไซเรนจะดังขึ้นพร้อมกันทั้ง 2 ตัว

รูปที่ 4 แสดงการติดตั้ง Alarm Host  รูปที่ 5 แสดงการติดตั้ง PIR Sensor และรูปที่ 6 แสดงการติดตั้ง Window Sensor

 

 
 
 


รูปที่ 4  Alarm Host
 

 

 
รูปที่ 5  PIR Motion Sensor
 

 

รูปที่ 6  Window Sensor


รูปที่ 7  เปรียบเทียบ PIR Sensors
 
 
 

5.  การใช้งาน

เมื่อทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์ทั้งหมดแล้ว เริ่มใช้งานได้ทันที โดยมีวิธีการดังนี้

เปิด
App. Smart Life ึ้นมา จะปรากฎหน้าจอตามรูปที่ 8 ดที่ Multifunction Alarm (
1) ะได้หน้าจอตามรูปที่ 9 ดที่ Setting (2) ะได้หน้าจอตามรูปที่ 10 ึ่งจะทำการตั้งค่าต่างๆได้ตามที่ต้องการ เช่น ความดังของเสียง การตั้งเวลาให้ Alarm ำงาน เป็นต้น เมื่อตั้งค่าต่างๆเสร็จแล้วก็สามารถใช้งานระบบ Wi-Fi Home Security ด้

หมายเหตุ
:

1) 
นการใช้งานจริงๆ บางบ้านอาจจะเปิดให้ Alarm Host ำงาน (Armed - Disarmed) พียงบางเวลา เช่นในเวลากลางคืนที่อาจมีผู้บุกรุกเข้ามา เช่นระหว่าง 00.30 - 05.30 . ือเปิดใช้วันละ 5 ั่วโมงเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเปิดไฟเข้าตัว Alarm Host ลอด 24 ั่งโมง และเป็นการยืดอายุการใช้งานของ Alarm Host ปด้วย วิธีก็คือใช้อุปกรณ์ Wi - Fi Smart Plug ำหน้าที่เปิด ปิด ไฟที่จ่ายให้ตัว Alarm Host

2)  PIR Sensor
ใช้แบตเตอรี่ขนาด AAA จำนวน 2 ก้อน ความจุประมาณ 600 mAh จากการคำนวณโดยตั้งสมมติฐานว่า ถ้า PIR Sensor ทำงานวันละ 100 ครั้ง เมื่อมีคนเดินผ่านไปมา โดยการทำงานแต่ละครั้งใช้เวลา 2 วินาที และกระแสไฟที่ใช้ตาม Spec. เท่ากับ 25 mA ดังนั้นใน 1 วัน จะใช้ไฟ = 100 x 2 x 25 / 60 x 60 = 1.3888 mAh หรือแบตเตอรี่จะใช้งานได้นาน = 600 / 1.3888 = 432 วัน หรือ 1 ปี 2 เดือน  อย่างไรก็ตาม จะต้องรอดูผลการใช้งานกันต่อไป
 

 
 
 
รูปที่ 8  หน้าจอแสดงอุปกรณ์
 

รูปที่ 9  หน้าจอ Multifunction Alarm
 
 
 
     
 
 
รูปที่ 10  หน้าจอการตั้งค่า
 

รูปที่ 11  หน้าจอเมื่อเปิดการทำงาน
 
 
 
 

ในการใช้งานที่มีการติดตั้ง PIR Sensors และ Door / Window Sensor หลายตัว เมื่อมี Alarm เกิดขึ้น เราควรจะต้องทราบว่ามีการดักจับความเคลื่อนไหวหรือมีประตู หน้าต่างถูกเปิดออกที่ใด ดังนั้นจึงต้องตั้งชื่อกำกับอุปกรณ์ Accessories เหล่านั้น ถ้าไม่ตั้ง ระบบจะระบุให้เป็น Zone เช่น Zone 001, Zone 002 การตั้งชื่อกำกับ ทำได้โดยเข้าไปที่ Sub Device Name ตามตัวอย่างเมื่อตั้งชื่อครบแล้ว จะปรากฎตามรูปที่ 12 และเมื่อมีการแจ้งเตือน จะปรากฎหน้าจอตามรูปที่ 13

 
 

รูปที่ 12  การตั้งชื่อระบุตำแหน่งของ Detectors
 
 
 
รูปที่ 13  การแจ้งเตือนบนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ
 
 
 

การดู Historical Records

 
     
 

เราสามารถตรวจเช็คการทำงานของระบบได้ จากการเข้าไปดูโดยกดที่ Historical Records (รูปที่ 11) เช่นถ้ามีการแจ้งเตือนเกิดมีเสียงไซเรนดังขึ้น จะทราบได้ว่ามีความเคลื่อนไหวหรือมีการบุกรุกเข้ามาที่บริเวณใด ตัวอย่าง การทดสอบในรูปที่ 14 แสดง System Alarm ที่บริเวณห้องครัว และที่บริเวณห้องรับแขก
 

 
 
รูปที่ 14  Historical Records และการแจ้งเตือน
 
 
     
 

บทความอื่นๆที่เป็นประโยชน์ และอ้างอิง

1)  PIR Motion Sensor คืออะไร,  PIR Motion Sensor Getting Started.
2)  Wi-Fi
คืออะไร,  คำอธิบาย Wi-Fi

3)  Router คืออะไร
4)  Router, Access Point
และ Exrender ต่างกันอย่างไร

5)  What is the difference between Armed Stay (Home) and Armed Away (Away)
 

 
 

หมายเหตุ :  บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่และแบ่งปันประสบการณ์ในการติดตั้งและใช้งานระบบสัญญาณกันขโมยแบบ Wi-Fi  ผู้เขียนไม่ได้ขายหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาสินค้าและการขายอุปกรณ์ต่างๆที่นำมาแสดงไว้ ผู้ที่สนใจ สามารถค้นหาอุปกรณ์ได้จากเว็บไซต์ e-Commerce

 




จากวันที่ 5 .. 2565
ปรับปรุงล่าสุด : 19 .. 2565