VIDEO
รูปที่
1
Watch Winder แบบ 2
เรือน
รูปที่
2
Watch Winder แบบ 2
เรือน
รูปที่
3 Watch
Winder แบบ 1 เรือน
นาฬิกาแบบ Automatic
ผู้ที่มีนาฬิกาแบบ Automatic
ใช้ Rotor
แกว่งเพื่อขึ้นลานนาฬิกานั้น ถ้าใส่นาฬิกาทุกวันจะไม่มีปัญหานาฬิกาหยุดเดินแต่ถ้าถอดวางไว้สัก 1-2
วัน นาฬิกาก็จะหยุดเดิน เมื่อนำมาใส่ใหม่
ก็จะต้องตั้งเวลาและขึ้นลานใหม่
นักสะสมและนักนิยมนาฬิกา อาจจะมีนาฬิกา Collection
เป็นจำนวนมากเอาไว้ใช้ในโอกาศต่างๆกัน
เช่นใช้ใส่ไปทำงาน ใส่ไปเล่นกิฬา ใส่ไปช้อปปิ้ง ใส่ไปงานต่างๆ
และยังมีนาฬิกาที่เหมาะกับการใส่ขับรถ จับความเร็ว พวก
Chronograph
เป็นต้น
เพื่อหลีกปัญหาการที่นาฬิกาแบบ Automatic
หยุดเดินเมื่อไม่ได้ใส่ จึงมีผู้ที่นิยมใช้ Watch Winder
ทำหน้าที่ขึ้นลานนาฬิกาให้ กล่องหมุนนาฬิกา
มีหลายรูปแบบ ตั้งแต่หมุนเพื่อขึ้นลานนาฬิกา 1
เรือน 2 เรือน 4
เรือน หรือมากกว่า
โดยมีแบบที่ใช้ไฟฟ้า 220 V ผ่านอะแดปเตอร์
หรือแบบที่ใช้ได้ทั้งไฟฟ้า 220 V และแบตเตอรี
ข้อดีของแบบที่ใช้ไฟจากแบตเตอรีได้ก็คือ นำไปตั้งโชว์ที่ใดก็ได้
และยังสามารถเก็บใส่ในตู้เซฟได้ด้วย
ลักษณะการทำงานของกล่องหมุนนาฬิกา
ทำหน้าที่หมุนนาฬิกาแบบ
Automatic เพื่อให้ Rotor
ของนาฬิกาหมุนและขึ้นลานนาฬิกา แต่การหมุนนั้น ไม่ได้หมุนตลอดเวลา
มีโปรแกรมตั้งได้หลายแบบ เช่น
โปรแกรมที่
1
หมุนตามเข็มนาฬิกา 2
นาทีและหยุดพัก 28 นาที และเริ่มต้นใหม่
โปรแกรมที่
2 หมุนทวนเข็มนาฬิกา
2 นาทีและหยุดพัก 28
นาที และเริ่มต้นใหม่
โปรแกรมที่
3
หมุนทวนเข็มนาฬิกา 2
นาทีและหยุดพัก 28 นาที แล้วหมุนตามเข็มนาฬิกา
2 นาทีและหยุดพัก 28
นาที แล้วเริ่มต้นใหม่
โปรแกรมที่
4
หมุนตามเข็มนาฬิกา 10
นาทีแล้วหมุนทวนเข็มนาฬิกา 10 นาที
สลับไปมาแบบนี้จนครบ 1 ชั่วโมง แล้วหยุดพัก
4 ชั่วโมง จากนั้นก็เริ่มต้นใหม่
การขึ้นลานนาฬิกาโดย
Rotor
ทำหน้าที่หมุนนาฬิกาเพื่อให้
Rotor ทำหน้าที่ขึ้นลานนาฬิกา นาฬิกาแบบ
Automatic ที่ดี เมื่อ Rotor
ขึ้นลานนาฬิกาจนเต็มที่แล้ว ก็จะมีคล้ายๆ
Clutch ทำให้ไม่สามารถขึ้นลานเพิ่มได้ มิฉะนั้น
ลานนาฬิกาอาจจะตึงเกินไปและขาดได้
Can an
automatic be wound too much causing damage?
No. Automatics today disengage from winding when the watch is at
full power reserve. After it reaches some point below full power
reserve, it automatically engages and continues winding until full
again.
นาฬิกาบางเรือน ขึ้นลานนาฬิกาโดย Rotor
หมุนไปได้ทางเดียว (Unidirectionally Winding Watch)
ดังนั้น จึงควรจะทราบว่า
จะให้กล่องหมุนนาฬิกาหมุนนาฬิกาไปทางไหน หรือถ้าไม่แน่ใจ
ก็ตั้งโปรแกรมให้หมุนทั้ง 2 ทาง
คือหมุนตามเข็มนาฬิกา และหมุนทวนเข็มนาฬิกา
แต่ต้องทดลองดูว่า นาฬิกาจะเดินไปได้ตลอดเวลาหรือไม่
การหมุนนาฬิกาเพื่อขึ้นลาน โดยใช้
Watch Winder นั้น นาฬิกา
Automatic ส่วนมาก จะต้องการให้
Rotor หมุนวันละประมาณ
600 รอบ ดังนั้น
Watch Winder
จะต้องมีโปรแกรมให้ทำงานเพื่อให้นาฬิกาเดินได้ตลอดเวลา
จากการจับเวลาของ
Watch Winder ที่แสดงไว้ในรูปที่
1 ตั้งที่โปรแกรม
1 นาฬิกาจะหมุนวันละประมาณ
70 0
รอบ
หมายเหตุ
:
1.
กล่องหมุนขึ้นลานนาฬิกา ตามรูปที่ 1
เมื่อใส่นาฬิกาเข้าไป จะมีมุมเอียงประมาณ 45
องศา ทำให้มองเห็นนาฬิกาได้สวยงาม และใช้ขึ้นลานนาฬิกาส่วนใหญ่ได้
แต่มีนาฬิกาบางรุ่นที่มี Rotor หนัก
และไม่สามารถแกว่งขึ้นลานได้เต็มที่ ดังนั้น ถ้าพบปัญหานี้
ให้หนุนท้ายกล่องให้คว่ำหน้าลงอีกสัก 15 องศา
ก็จะใช้งานได้ สำหรับกล่องหมุนนาฬิกาตาม
รูปที่ 3
หมุนนาฬิกาในแนวตั้ง (90 องศา )
จึงใช้งานได้กับนาฬิกาทุกรุ่นที่เป็นแบบ
Automatic
2. ในการใส่นาฬิกาเข้าเครื่องหมุนขึ้นลานนั้น
แนะนำให้ขึ้นลานนาฬิกาโดยการไขลานหรือใส่แกว่งไปมาเองก่อน
จนลานเกือบเต็มหรือเต็มประมาณ 75% แล้วจึงใส่เข้าเครื่อง
เพราะเครื่องจะขึ้นลานไปส่วนหนึ่งแล้วหยุดหมุนลานก็จะถูกใช้ไป
ต่อจากนั้นเครื่องก็หมุนอีก ตามโปรแกรมที่เราตั้งไว้
จะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ แต่ถ้าการใช้ลาน มากกว่าการขึ้นลาน
นาฬิกาก็จะหยุดเดินในที่สุด
ดังนั้นการใช้งานตอนแรกๆจึงควรทดลองดูก่อนว่าจะตั้งโปรแกรมใดจึงจะเหมาะที่สุด
ทดสอบการใช้ไฟฟ้า
กล่องหมุนขึ้นลานนาฬิกาตามรูปที่
1 เป็นแบบที่มีไฟ LED
ซึ่งมีสวิทช์เปิด - ปิด ได้กล่องนี้ใช้ไฟฟ้าได้ทั้งจาก 220 V AC
ผ่านอะแดปเตอร์ หรือใช้ไฟจากแบตเตอรรี่ ถ่านไฟฉายขนาดใหญ่ 1.5 V
2 ก้อน ผลการทดสอบ การใช้กระแสไฟฟฟ้า เป็นดังนี้
1. เมื่อเครื่องทำงานหมุนนาฬิกา
โดยไม่เปิดไฟ LED ใช้กระแสไฟฟฟ้า
55
มิลลิแอมแปร์ (mA)
2. เมื่อเครื่องทำงานหมุนนาฬิกา และเปิดไฟ
LED ด้วย ใช้กระแสไฟฟ้า
88 mA.
.............................................................
References :
1.
Watches and Winder
2.
Watch Winder Box
ขนาด 2 - 40 เรือน !
3.
Swiss Kubic