|


.
|

1. เป็นกล้องแบบ Point
& Shoot ที่มีขนาดเล็ก แต่หนาพอควรและมีความแข็งแรง
มีปุ่มต่างๆแบบกล้องรุ่นเก่าที่สามารถใช้งานได้อย่างรวดเร็ว
เช่นการเลือกตั้งค่า ISO การปรับค่า EV
เป็นต้นนอกจากนั้น
การปรับตั้งค่าต่างๆทำได้ง่ายโดยปุ่ม Menu และ Function Set |
2. จอ LCD มีขนาดใหญ่
3" ชัดเจน และมองเอียงๆได้ สามารถให้แสดงเส้นแบ่ง (Grid Line)
ที่เป็นไปตามกฎ Rule of the Thirds ซึ่งช่วยในการวางภาพ
และรักษาระดับภาพได้ดี |
3.
การทดลองถ่ายภาพแบบมาโคร
ได้ผลดี ภาพมีความชัดเจนและมีรายละเอียดดี
สีสวยและหากต้องการให้สีเข้มก็อาจจะใช้ Mode Vivid แทน Normal
ภาพมาโครที่ถ่ายโดยใช้ Mode P ให้ Depth of Field
ที่ดูดี คล้ายกับการถ่ายภาพโดยกล้อง แบบ SLR
(Single Lens Reflect) แต่ก็ควรใช้
Mode AV เทียบกันด้วย |
4.
เนื่องจากเลนส์ของกล้องนี้คือ 35 -
200 มม. (เทียบกับกล้องฟิล์ม 35 มม.)
ดังนั้น การถ่ายภาพ จึงได้มุมไม่กว้างนัก แต่ก็พอใช้ได้
หากต้องการภาพมุมกว้างขึ้นก็มีเลนส์มุมกว้างที่นำมาใช้ต่อกับกล้องนี้ได้โดยต้องมี
Adapter ด้วย ซึ่งใครสนใจ
ก็จะต้องหาซื้อต่างหาก (ในสหรัฐอเมริกา ราคาทั้งชุด 175
เหรียญ) แต่เลนส์มุมกว้าง WC-DC58B มีขนาดใหญ่มาก
เมื่อเทียบกับตัวกล้อง แต่คุณภาพดี
หมายเหตุ
: ต่อมาในรุ่น G10 และ
G11 ได้ใช้เลนส์ 28 - 140 มม.
ถ่ายภาพได้มุมกว้างมากขึ้น แต่ถ้าจะให้ดี
มุมกว้าง ควรจะเป็น 24 มม. |
5.
การทดสอบการถ่ายภาพด้วยเลนส์มุมกว้างของแคนนอน และของโซนี่
รวมทั้งรายละเอียดต่างๆ ได้แสดงไว้แล้ว Click ที่นี่
และ ที่นี่
และ ที่นี่ |
6.
แฟลชที่ติดมากับกล้องนั้น
ใช้งานได้ดีพอควร แต่ถ้าต้องการไฟแฟลชที่แรงขึ้น
หรือถ้าใช้เลนส์มุมกว้าง ก็ควรจะต้องใช้แฟลชติดภายนอก
และรุ่นที่เล็กๆของแคนนอน คือรุ่น 220EX Speedlite (Link ไปที
Bangkoksite.com) |
7.
การใช้กล้องนี้ถ่ายวิดีโอนั้น
ตั้งความละเอียดได้ 3 แบบ คือแบบ Hi-Resolution (1024x768 pixels
ที่ 15 fps) แบบ Standard (640x480 และ
320x240) และแบบ Compact (160x120) จากการทดลองถ่ายโดยใช้ 640x480 pixels และ 30 fps ได้ผลดีพอสมควรและซูมภาพได้ด้วย
โดยการซูมนั้นเป็นแบบ Digital Zoom
ซึ่งถ้าซูมมากๆภาพจะมีคุณภาพด้อยลง
และที่ 1024x768 pixels นั้น ซูมภาพเข้า - ออก
ไม่ได้
หมายเหตุ
: ในปี 2553
กล้องถ่ายภาพดิจิตอล แบบคอมแพค
หลายๆยี่ห้อ สามารถถ่ายวิดีโอแบบ HD ที่
1080 x 720 พิกเซล ได้
หมายเหตุ : ตัวอย่างวิดีโอ
640 x 480 พิกเซล ที่ถ่ายใหม่เมื่อวันที่ 22 พ.ย.
2552
ดูได้ที่นี่
28 ก.พ.
2553
8.
หลังจากที่ไม่ค่อยได้ใช้กล้อง Canon G9
มานาน อันเนื่องมาจาก สาเหตุที่ถ่ายภาพมุมกว้างไม่ได้กว้าง ทำให้ต้องแบก Wide Angle Lens อันใหญ่มากๆ และAdapter
ทำให้ไม่สะดวก และจากการถ่ายภาพ Landscape
ก็ไม่ประทับใจนัก ถ้าแป็นแบบนี้ ก็ใช้ Nikon SLR
D200 เสียเลย จะมั่นใจมาก แม้จะใหญ่ ละหนัก แต่ก็ได้ภาพที่ดี และอีกประการหนึ่ง ผมไม่ชอบกล้องที่มี Aspect Ratio 4
: 3 แต่อย่างเดียว ควรจะต้องมี 3 : 2
ให้เลือกด้วย ต่อมาก็ลองกลับมาใช้กล้อง G9 ใหม่ โดยคราวนี้
เน้นการถ่ายภาพสินค้าและภาพแบบมาโคร ดูเหมือนว่า จะได้ผลดี เพราะถ่ายได้ง่าย
ปรับตั้งค่า White Balance, EV, ISO
ได้ง่ายและรวดเร็ว จึงได้ใช้เวลา 2 - 3
วัน ทดสอบกล้อง G9 ใหม่
โดยเน้นการถ่ายภาพมาโคร และใช้การซูมประกอบซึ่ง
ตัวอย่างภาพถ่าย
ดูได้ที่นี่ |
Note :
บทความนี้ไม่ใช่การโฆษณาสินค้า
แต่เป็นการ Share
ประสบการณ์ให้ทราบจากการใช้งาน |
|
|
|
กล้องดิจิตอล
Canon PowerShot G9 ความละเอียด 12.1
ล้านพิกเซลได้มีการเปิดตัวเมื่อวันที่
20 สิงหาคม 2550 และในต่างประเทศ เช่นอเมริกา
ยุโรป และ ออสเตรเลีย
ก็เริ่มมีขายตั้งแต่เดือนกันยายน
2550 เป็นต้นมา แม้ว่าในระยะเวลาใกล้ๆกัน
จะมีการเปิดตัวกล้องขนาดเล็ก
แบบที่เรียกว่า Point & Shoot
หลายยี่ห้อแล้วก็ตาม แต่กล้อง Canon
G9นี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้ที่เป็นทั้งมือกล้องอาชีพและสมัครเล่น |
|

ความละเอียด 12.1
ล้านพิกเซล
ใช้เซนเซอร์ขนาด 1/1.7"
ถ่ายภาพใน RAW mode ได้
เลนส์ 35-200 มม.(35 mm equivalent)
F 2.8-4.8 ซูมได้ 6X
ISO : Auto, 80,100,200,400,800,1600
Shutter Speed : 15-1/2500 sec
Macro Focus : ต่ำสุด 1 ซ.ม.
จอ LCD ขนาด 3" ความละเอียด 230,000
พิกเซล
ขนาดภาพ : 4000x3000, 3264x2448, 2592x1944
1600x1200, 640x480, และ 4000x2248
การถ่าย Movies / Video สามารถทำได้
ขนาด 106.4 x 71.9 x 42.5 มม.
น้ำหนัก 320 กรัม

คลิกที่รูปเพื่อดูภาพขยาย
Sample pictures
จะมีมาเพิ่มอีก


หมายเหตุ : (3
ก.ค.
2551)
กล้อง Canon G9
เป็นกล้องที่มีความละเอียด 12
ล้านพิกเซล ที่มีขนาดเล็ก
ถ้าใช้งานทั่วไป
แค่ตัวกล้องก็เพียงพอ พกไปได้สะดวก
แต่ถ้าอยากจะลองเล่นให้ลึกลงไปอีก
ก็ควรจะต้องมีเลนส์มุมกว้างพร้อมอะแดปเตอร์
และเพิ่มแฟลชให้ครบไปเลย มองดูเหมือนกล้อง
SLR
สมัยก่อนที่มีขนาดเล็กแต่มองดูน่าเลื่อมใสดี
สำหรับการซูมภาพนั้น G9 ซูมได้ 6X ซึ่งเทียบเท่า 200 มม.
เมื่อเทียบกับกล้องฟิล์ม 35 มม.สมัยก่อน
ซึ่งโดยทั่วๆไปก็นับว่าเพียงพอ แต่ถ้าต้องการซูมมากเข้ามาอีก
ก็ทำได้โดยเป็นการซูมภาพแบบ Digital
Zoom ซึ่งได้ทดลองดู
โดยเทียบกับเลนส์ซูม 12X (จากกล้องอื่น
เป็นของเก่าๆ) ผลก็คือ Digital Zoom
ก็พอใช้ได้
ถ้าไม่เอาคุณภาพสูงมากนัก
หมายเหตุ
: (24 ก.พ.
2553)
ตั้งแต่ปลายปี 2552 ที่มีกล้องระบบ
Micro Four-Thirds ออกมาจำหน่าย ได้แก่
Olympus E-P1, E-P2
และ Panasonic GF1 และในต้นปี
2553 ก็มี Olympus E-PL1
ซึ่งมีราคาถูกลง ออกมา ซึ่งกล้องที่กล่าวนี้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ถ่ายภาพมุมกว้างได้ที่ 24
มม. สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้
และใช้เซนเซอร์ขนาดใหญ่ ภาพมีความชัดเจนดีมาก จึงทำให้ผู้ที่ประสงค์จะใช้กล้องเล็กๆ ที่มีคุณภาพดี
จะต้องเปรียบเทียบทั้งด้านการใช้งาน และ
ราคา และในอนาคตอันใกล้ ก็จะมีกล้องระบบนี้ หรือเรียกชื่อระบบอื่น
แต่ก็คล้ายคลึงกัน ออกมาขายอีกหลายยี่ห้อ เช่น Sony, Samsung, Sigma
เป็นต้น ทำนองเดียวกัน กล้องคอมแพค
ก็อาจจะปรับใช้เซนเซอร์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับว่า เราจะใช้กล้องถ่ายอะไร
สำหรับการถ่ายภาพเฉพาะ เช่น ถ่ายภาพสินค้า ซึ่งต้องใช้การถ่ายแบบมาโคร บ่อยมากนั้น กล้อง Canon G9
ก็ยังใช้ประโยชน์ได้ดี เพราะสามารถถ่ายภาพมาโคร ที่ระยะโฟกัส ใกล้ที่สุด 1 ซม.
ได้ และโฟกัสได้เร็ว เมื่อเทียบกับกล้อง Micro Four-Thirds
ที่ระยะโฟกัสใกล้ที่สุด 20 ซม.
ทำให้การภ่ายภาพมาโคร เป็นไปได้อย่างค่อนข้างจะลำบากหน่อย (ในที่นี้
เราจะไม่พูดถึงการใช้กล้องแบบ SLR ซึ่งเลือกใช้เลนส์ถ่ายภาพแบบต่างๆได้หมด) |
|
|