การต่อสายสัญญาณต่างๆ
: 1. ต่อเข้า TV
แบบ HD 1080p ใช้สาย HDMI
จะได้ภาพที่ชัดที่สุด 2. ต่อเข้า TV แบบธรรมดาที่ไม่มีขั้ว
HDMI แนะนำให้ใช้สาย Component Video (เขียว ฟ้า แดง)แต่ถ้าภาพไม่ออก
หรือแสดงอาการบิดเบี้ยว
ดูไม่ได้ ให้กลับไปตั้งค่า ที่ HD Media Player โดยใช้เมนู ตั้งค่า --> TV --> ตั้งเป็น
720p หรือ ค่าอื่น
ตามแบบของ TV
3. ถ้า TV ไม่มีขั้ว Component Video ก็จำเป็นต้องต่อโดยใช้สาย
Composite (เหลือง ขาว แดง)
4. ต่อสัญญาณเสียงเข้าชุด Home Theatre ควรใช้ขั้วต่อแบบ Optical / Coaxial
รูปที่ 7การต่อ External
HDD เข้ากับ Egreat R 200 - II
รูปที่ 8 การต่อ
External HDD ขนาด 1.5 TB
โดยสาย SATA
รูปที่ 9 การต่อ
External HDD 2.5" SATA 500 GB โดยใช้ USB
Port
รูปที่ 10 หน้าจอ
TV เมื่อเข้าสู๋อินเทอร์เน็ต
รูปที่ 11 หน้าจอเข้าชมวิดีโอที่ YouTubeซึ่งขยายภาพเต็มจอได้
ถ้าคลิกที่ Full Screen
ปัญหาที่พบ ปัญหาที่ผู้เขียนพบก็คือ 1. เมื่อนำ External DVD
Reader/Writer มาต่อเข้าทางช่อง USB
ของเครื่องHD Media Player เล่นหนัง DVD ได้
แต่บางแผ่นก็เล่นไม่ได้
ทั้งๆที่เมื่อต่อกับ PCก็เล่นได้หมด ไปถามที่ร้านมา
ได้คำตอบที่ไม่ชัดเจน
2. ปัญหาการย้ายไฟล์ภาพยนตร์จากแผ่น
DVD มาลงใน HD Media Player พบว่าบางเรื่อง ย้ายไฟล์มาลงไม่ได้
เข้าใจว่า เป็นการป้องกันแบบ Copyright Protectionเอาไว้
แต่ส่วนใหญ่ก็โอนย้ายไฟล์ได้
Firmware
Update
การใช้เครื่อง HD Media Player ของ Egreat นั้น สามารถ Download
Firmware เองได้โดยเข้าไปที่เว็บไซต์
Egreatworld.com สำหรับ R Series คลิกที่นีหรือ ที่เว็บไซต์
ของ MacroCare
ข้อพึงสังเกตในการใช้
Firmware Version ต่างๆ : - ควรเช็คว่า Remote Control ใช้งานได้ทุกปุ่มหรือไม่เช่น ปุ่มปรับ Aspect Ratio ฯลฯ
การปรับ
Aspect Ratio ได้โดยปุ่มที่รีโมทนั้น
สำคัญมาก เพราะทำได้รวดเร็ว
มิฉะนั้น ต้อง เข้าไปปรับที่ การตั้งค่า
ที่ช้า และยุ่งยาก - ใช้ Subtitle ภาษาไทยได้หรือไม่ - เล่นไฟล์ .ISO ได้หรือไม่ - ภาพที่ได้เต็มจอหรือไม่(ถ้าภาพไม่เต็มจอ
ลองปรับที่ "ตั้งค่า"
ปรับ TV ให้เป็น PAL หรือสลับ ไปเป็น NTSC เพื่อลองดู
เครื่องเล่นบางรุ่น
อาจจะออกภาพมาในครั้งแรก
ไม่เต็มจอ ดังนั้น
จึงต้องมีการปรับตั้งค่า TV ก่อน
การ Format Hard Disk ลูกใหม่(27/8/54) เมื่อท่านซื้อ Hard Disk 3.5" ลูกใหม่มา
ก่อนการใช้งาน
จะต้องทำการ Format Hard Disk
ซึ่งทำได้โดยใส่ Hard Disk
เข้าไปในเครื่อง Egreat แล้วเปิด
TV ดูที่ตั้งค่า บนจอ
เลือก ระบบ
จากนั้น Scroll ไปจนพบ
ฟอร์แมท หรือ Format กด ตกลง
และทำตามที่หน้าจอบอก
เครื่องก็จะทำการ Format Hard Disk ให้
จากนั้น ก็ใช้ Hard Disk เพื่อ Download ภาพยนตร์ หรือเพลง ฯลฯ ต่อไปได้ (เมื่อเครื่องทำการ
Format Hard Disk จะใส่ไฟล์ .Theater
และ .partมาให้โดยอัตโนมัติ
แต่ถ้าเราเอา ทำการ Format Hard Disk โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
จะไม่มีไฟล์ดังกล่าว
และจะเล่นในเครื่อง Egreat
ไม่เห็นถาพยนตร์ที่เราใส่เข้าไป) .......................................................................................................................................................
เครื่อง HD Media
Player เป็นที่นิยมใช้กันมาก
ใช้เล่น HD Media
เช่น วิดีโอ ภาพยนตร์ รูปภาพ Slideshow
ฟังเพลง
เข้าชมอินเทอร์เน็ตเป็นต้น
เครื่องดังกล่าวมีขายหลายยี่ห้อ
มีขนาดเล็ก และใช้งานได้สะดวก
รวดเร็ว เช่น นำไฟล์ภาพยนตร์จาก DVD
เข้าไปเก็บไว้ใน Hard
Disk
ขนาด 2TB ได้ 250 - 300 เรื่อง
หรือมากกว่านั้น
จากนั้นเมื่อต้องการดู
ก็สามารถเลือกได้อย่างรวดเร็ว
ไม่เสียเวลาในการค้นหา
ไม่เปลืองที่ในการจัดเก็บแผ่น เพราะเก็บไว้ใน Hard
Disk ในรูปของ Soft Files และมีความคล่องตัว เช่น
นำรูปถ่ายจากการไปท่องเที่ยว
มาเปิดดูเป็นแบบSlideshow ที่จอ
TV ซึ่งควรจะเป็นจอแบบ Full HD 1080p จะได้ภาพที่ชัดมาก
ผู้เขียนได้ทดลองนำมาใช้
เพื่อศึกษาเทคโนโลยีนี้
ที่มีข้อดีหลายอย่าง
ประกอบกับใช้งานคอมพิวเตอร์ และ
External HDD อยู่แล้ว
จึงได้พิจารณาซื้อเครื่อง HD Media Player ยี่ห้อ Egreat รุ่น
R200 - II มาใช้
Egreat R200 - II ราคา 4,290บาท
แถมสาย HDMI มาให้ด้วย 1 เส้น และมีสาย
SATA ต่อ Hard Disk
ภายนอกได้อีกและยังมีรุ่นอื่น
ขนาดเล็ก ราคา 2,690 บาท
แต่คงจะต้องศึกษาถึงประสิทธิภาพในการใช้งานเพราะรุ่นเล็ก มี RAM
ขนาด 128 MB เท่านั้น แต่ รุ่น R200 - II มี RAM ขนาด 256 MB
ที่สะดวกมากๆ ก็คือ
สามารถถอดเปลี่ยน Hard Disk ได้อย่างง่ายดาย
ดังนั้น Load
หนัง DVD วิดีโอ รูปภาพ
เข้าไปได้ไม่อั้น ถ้า Hard Disk เต็ม
ก็เปลี่ยนลูกใหม่ได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที สำหรับ Hard
Disk ขนาด 2TB ประมาณว่าจะบรรจุภาพยนตร์ได้ไม่น้อยกว่า 250เรื่อง (ขึ้นอยู่กับว่าเป็น
DVD 5 กี่เรื่อง และ DVD 9 กี่เรื่อง)
ราคา
Hard Disk 3.5" 7200 RPM SATA Western Digital ณ วันที่ 22 ก.ค. 2554 คือขนาด 1TB
ราคา 1,750 บาทขนาด
2 TB ราคา 2,650 บาท
เรื่องน่าสนใจที่พอจะนำมาเขียนได้ในขณะนี้
คือ 1. วิธีย้ายไฟล์ภาพยนตร์ DVD เข้าในเครื่อง
HD Media Player
โดยผ่านคอมพิวเตอร์
ใส่แผ่นภาพยนตร์ DVD
เข้าใน Tray ของ DVD
Reader/Writer แล้วคลิกที่ My Computer จะปรากฎ DVD Drive ขึ้นมา
(A) คลิกเม้าส์ที่ A
โดยใช้ด้านขวาจะปรากฎ Window ขึ้นมา
คลิก Open (B) เลือกที่ VIDEO_TS คลิกเม้าส์ด้านขวาจะปรากฎ Window ใหม่ขึ้นมา
คลิก Copy จากนั้น ไปที่ Hard Disk ของคอมพิวเตอร์ เช่น Local Disk (D) สร้าง Folder ขึ้นมาก่อน
และตั้งชื่อ เช่น Movie 001 เปิด
Folder ขึ้นมา แล้ว Paste ไฟล์
VIDEO_TS ลงไป
รอจนเครื่องทำงานเสร็จ ก็จะได้ไฟล์ภาพยนตร์ อยู่ใน Hard
Disk ของเครื่องคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนต่อไปก็คือ Copy
ไฟล์ VIDEO_TS จาก Hard
Disk ของคอมพิวเตอร์ ไปลงที่ Hard Disk ของเครื่อง HD Media Player(ในที่นี้คือ
Egreat)
แต่ก็มีวิธีที่ทำขั้นเดียวได้
คือ ลอง Copy ไฟล์ VIDEO_TS
แล้วนำไป Paste ลงที่ Hard Disk ของเครื่อง HD Media Player ซึ่งอาจจะใช้เวลามากก็ได้สำหรับผู้เขียน มี External HDD ที่สามารถถอดเปลี่ยน
Hard Disk ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น จึงนำเอา Hard Disk ของเครื่อง
HD Media Player มาใส่ในเครื่อง External
HDD ที่ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์
โดยใช้พอร์ต USB 3.0 จึงสามารถ
Copy (ย้าย) ไฟล์VIDEO_TS ได้โดยตรง และเมื่อมีไฟล์ภาพยนตร์หลายๆเรื่องแล้ว
ก็ถอดเอา Hard Disk
ไปใส่คืนในเครื่อง HD Media
Player ก็จะชมภาพยนตร์
ได้เป็นจำนวนมาก
รูปที่ 12
2. ปัญหาไม่สามารถย้ายไฟล์จากแผ่น
DVD เข้า HD ได้
การโอนย้ายไฟล์วิดีโอ ตามวิธีที่กล่าวถึงในข้อ
1 นั้น แผ่นดีวีดีภาพยนตร์บางเรื่องมี Copyright Protection
ออกแบบมาอย่างดี อาจไม่สามารถโอนย้ายไฟล์ไปเข้า HD Media Player
ได้ ซึ่งถ้าทำไม่ได้จริงๆ
ก็ต้องเปิดดูภาพยนตร์นั้น โดยใช้เครื่องเล่นดีวีดี หรือ
เครื่องเล่น Blu-ray แทน ซึ่งหมายความว่า เครื่องเล่น HD
Media Player อาจจะไม่สามารถนำไฟล์ DVD เข้าไปใส่ไว้
และเล่นได้ทุกเรื่องดังนั้น สำหรับคนทั่วไปที่ไม่เก่งเรื่องคอมพิวเตอร์
ก็อาจยังจำเป็นต้องมีเครื่องเล่น DVD / Blu-ray เอาไว้ด้วย
สำหรับผู้ที่มีเครื่องเล่นหลายเครื่อง และต้องการต่อเสียงเข้าเครื่อง
AVR Amplifier ท่านอาจจะสนใจ อ่านบทความตาม Link นี้
Note : 1. ผู้ที่มีโปรแกรม DVD Decrypter ลองใช้ทำการ
Decrypt ไฟล์ดีวีดีก่อน โดยระบุ Destination
ไปที่ Hard Disk ของ HD Media Player
ได้ซึ่งก็น่าจะทำให้เล่นดีวีดีนั้นได้
(12 ธ.ค.
2554) 2. ใช้โปรแกรม DVDFab หรือโปรแกรม
AiseeSoftทำการ Copy หรือแปลงไฟล์ภาพยนตร์
Blu-ray, DVD ก่อน แล้วนำไปใส่ใน
Hard Disk ของเครื่อง HD Media
Player
3. วิธีนำไฟล์
HD (AVCHD / m2ts) จากกล้องวิดีโอ เข้าเครื่อง
และปัญหาการเล่นไฟล์ที่ไม่ต่อเนื่อง
ไฟล์วิดีโอแบบ
HD เช่นที่ใช้กับกล้อง Sony Handycam
เป็นไฟล์ AVCHD หรือ m2ts
ในการถ่ายวิดีโอนั้น เราอาจจะถ่ายครั้งละสั้นๆ เพียงไม่กี่วินาที
ดังนั้นเมื่อนำไฟล์มาลงใน Hard Disk ของเครื่อง
HD Media Player
แล้วเปิดเล่นเครื่องจะเล่นไฟล์เหล่านี้ทีละไฟล์
แต่จะมีการหยุดและเล่นไฟล์ต่อไป ทำให้เป็นที่น่ารำคาญ ดังนั้น
จึงควรหาวิธี Merge ไฟล์เล็กๆเหล่านี้ เข้าด้วยกันก่อนที่จะโอนย้ายไปเข้าเครื่อง
HD Media Player ซึ่งการ
Merge ไฟล์ m2ts
อาจทำได้โดยใช้โปรแกรม Video Editing เช่น
Corel VideoStudio เป็นต้น
5. ปัญหาเครื่องบางรุ่น และ Hard Disk
บางตัว ติดอยู่ในเครื่อง
ผู้เขียนได้ไปพบเครื่อง
HD Media Player บางรุ่น ที่สามารถถอดเปลี่ยน
Hard Disk ได้ แต่เมื่อใส่ Hard Disk บางรุ่น เข้าไปแล้ว เวลาเปิดฝาเครื่อง Hard Disk
ไม่ขยับออกมา คือยังติดแน่นอยู่ และสปริงดันตัว
Hard Disk ก็มีแรงไม่พอ ผู้ขายแนะนำวิธีแก้
คือให้ใช้เชือกเส้นเล็กๆ คล้อง Hard Disk
เอาไว้ก่อนใส่เข้าไปในเครื่องและเวลาถอด ก็ใช้การดึงเชือกช่วย
เป็นวิธีแก้ปัญหา แต่ถ้าจะซื้อ
ก็ควรทดลองดูก่อนเพราะถ้าต้องทำแบบที่กล่าวถึง คงจะไม่ค่อยสะดวก
6. การต่อ
External Hard Disk เครื่อง Egreat R200 - II สามารถต่อพ่วง External Hard Disk ได้โดยต่อเข้าที่ช่องต่อ External SATA Port
ทางด้านหลัง ใช้สาย SATA ที่ให้มาด้วย
และเมื่อต่อแล้ว ก็ใช้งานได้ทันที ไม่ต้องใช้ Power Supply
เพิ่ม ตามที่แสดงไว้ในรูปที่
7ในการหาข้อมูลนั้นเมื่อเข้าไปที่เมนูหลัก เลือก
File Manager จากนั้นเลือก HDD
จะปรากฎหน้าจอที่แสดงส่วน USB ให้คลิกที่ USB เพื่อดูภาพยนตร์ หรือรูปภาพในHard
Disk ที่นำมาต่อพ่วง ซึ่งจะแยกออกเป็น Drive
ย่อยๆ ถ้าเราได้ทำการ Partition ไว้แต่แรก
เช่น แบ่งเป็น 2 Drives
เครื่องก็จะมองเห็นได้แบบเดียวกับการใช้งานของคอมพิวเตอร์
7.
การเล่นไฟล์ต่างๆจาก
Thumb Drive และ SD Card ได้ทดลอง Copy
ไฟล์แบบต่างๆ ลงใน Thumb Drive
แล้วเสียบเข้าที่ช่อง
USB หรือถ้าเป็น SD Card
ก็เสียบเข้าที่ช่อง
SD Card ทางด้านหลังของเครื่อง
ก็สามารถเล่นไฟล์เหล่านั้นได้ตามปกติ โดยภาพไม่สะดุด
8.
การเล่นไฟล์ต่างๆจาก External HDD 2.5" สำหรับผู้ที่มี External HDD
2.5" SATA อยู่แล้ว เมื่อ Copy ไฟล์ต่างๆเข้าไว้แล้วนำ HDD มาต่อเข้าที่ช่อง
USB Host ก็จะเล่นไฟล์ต่างๆได้ทันที โดยไม่ต้องต่อ
Power Supply เพิ่ม (ดูรูปที่ 9) และสามารถเล่น HDD 2.5" ได้ แม้ว่าจะถอดเอา
Hard Disk 3.5" ที่ใส่ไว้ในตัวเครื่อง
HD Media Player ออกมา (การถอด และใส่Hard Disk ควรปิดเครื่องก่อนเสมอ) 9. การต่อเข้าอินเทอร์เน็ต
สามารถต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต
เพื่อดูรายการ และวิดีโอ
จากผู้ให้บริการ โดยต่อเข้าที่ขั้วต่อ
LAN จากนั้นไปที่เมนูหลัก
เลือก IMS(
IP Multimedia Subsystem)จะได้หน้าจอตามรูปที่ 10ตัวอย่าง
การเข้าชมวิดีโอที่ YouTube สามารเลือกชมได้
หรือทำการค้นหาวิดีโอ เช่น
ค้นวิดีโอของผู้เขียน ไปที่ Video
Search จะปรากฎรูป Keyboard ขึ้นมาบนจอ
เราสามารถเลือกชื่อที่ต้องการ
เช่น somkietphแล้วค้นหา
จะปรากฎวิดีโอ
ทั้งหมดที่ผู้เขียนได้นำลงใน YouTube
กว่า 126 ตอน
ขึ้นมาให้เลือกชม
10. การเล่นเพลง ก่อนอื่นจะต้องแปลงไฟล์เพลงจากแผ่น
CD ให้เป็นไฟล์ นามสกุล .WAV
หรือ .MP3 ก่อนแต่เนื่องจากเราต้องการคุณภาพเสียงที่ดี
และเรามีความจุของ Hard Disk มาก
จึงควรใช้ไฟล์ .WAVเท่านั้น
ซึ่งวิธีการแปลงไฟล์เพลง อ่านได้ที่นี่(เมื่อแปลงไฟล์แล้ว สั่ง Save
ลงใน Folder เพลง ในเครื่อง HD
Media Player และทำรูป Thumbnail ได้ด้วย)
การเล่นเพลงทำได้ง่าย
โดยเลือกเมนูเพลงที่ได้นำเข้าไปไว้ใน
HD Media Player แล้วจะปรากฎรายชื่อเพลงขึ้นมา (ดูรูปที่ 13)
การเล่นเพลงนั้น
จะเล่นต่อเนื่องไปได้จาก Folder หนึ่ง
จนหมดเพลงสุดท้ายแล้ว
ก็จะขึ้นเพลงแรกของ Folder ต่อไป
เรื่อยๆ นั่นคือ เราจะเล่นเพลงได้ต่อเนื่องมากมายโดยไม่ต้องคอยมาเปลี่ยนแผ่น
เหมือนเครื่องเล่น CD เพลง
13. การเล่นไฟล์วิดีโอผ่าน
External DVD Reader/Writer เมื่อต่อสาย USB จาก
External DVD ROM Drive เข้าที่เครื่อง HD
MediaPlayer แล้วเล่นดีวีดี
ก็จะสามารถชมภาพยนตร์จากแผ่นดีวีดี
ได้บนจอ TV แต่ถ้าภาพยนตร์บางเรื่อง
มีระบบป้องกัน
สามารถเปิดดูจากเครื่องเล่นดีวีดีได้
แต่พอมาเปิดที่ External DVD ROM ที่ต่อเข้า HD
Media Player ก็อาจจะไม่เล่นก็ได้
14. การจัด Folder และ
Sub-folder โดยทั่วไป ใน Hard Disk ของเครื่อง
เราจะแบ่งหมวด Media ออกเป็น
Movie,Music และ Image เมื่อมีภาพยนตร์
เพลง และรูปภาพ เป็นจำนวนมาก
ควรแบ่งเป็นหมวดย่อย หรือ Sub-folder เพื่อความสะดวกในการค้นหา
ดังตัวอย่าง
เช่น :