1.
การต่อสาย
TV Extension
ไปยังโทรทัศน์
ในการสร้างบ้านสมัยใหม่จะมีการออกแบบและเดินสายสำหรับระบบโทรทัศน์แบบธรรมดา
(Free to Air)
และแบบเคเบิ้ลทีวี หรือ Pay TV เอาไว้ และมี TV Wall
Outlet ไว้ ณ จุดต่างๆ
แต่ก็มีบ้านจำนวนมาก ที่ไม่ได้เตรียมการเอาไว้ ดังนั้น
เมื่อจะติดตั้งโทรทัศน์
ก็จะเรียกช่างมาติดตั้งเสาอากาศและเดินสายสัญญาณมาเข้าโทรทัศน์
มีหลายกรณีที่เราซื้อโทรทัศน์มาใหม่
หรือต้องการย้ายโทรทัศน์ไปยังจุดอื่นที่ไม่มี TV
Outlet หรือสายสัญญาณไปไม่ถึง
ซึ่งมีวิธีที่จะขยายสายสัญญาณไปยังโทรทัศน์ได้
โดยไม่ต้องเรียกช่างมาทำให้ เพราะเป็นงานเล็กๆ เช่น
1. ถ้ามี
TV Wall Outlet
อยู่แล้ว ก็ซื้อสาย Coaxial สำเร็จรูป แบบที่แสดงในรูปที่
3ซึ่งมีความยาว 5, 10 และ 20 เมตร โดยขนาด 5เมตร จะมีขั้วแบบรูปที่ 1หรือรูปที่ 2ทำสำเร็จมาให้ ถ้าเป็นแบบ 10 เมตร อาจจะมีขั้ว (Male
Type) ทำมาให้ด้านเดียว ส่วนอีกด้านหนึ่ง
ก็ซื้อขั้วแบบ Male Type F Connector มาทำเอง หรือให้ร้านที่ขายทำให้ก็ได้
เมื่อได้สายดังกล่าวมาแล้ว ก็ต่อกับ TV
Wall Outlet และต่อกับโทรทัศน์ ก็ใช้ได้
(อย่าลืมว่า โทรทัศน์ทุกเครื่องมี RF
Socket สำหรับต่อสายอากาศให้เสมอ ดังนั้น
ถ้ายังไม่ได้จูนเพื่อรับสัญญาณ ท่านก็จะต้องทำการจูน
ซึ่งสามารถศึกษาได้จากคู่มือของเครื่องโทรทัศน์ และทำได้ง่ายมาก
เพราะเมื่อสั่งโดยรีโมทให้ทำการจูนเครื่องก็จะทำให้โดยอัตโนมัติ)
2. ถ้าไม่มี TV
Wall Outlet แต่มีสายสัญญาณและขั้วแบบ
Male Type ท่านจะต้องจัดหาสาย Coaxial ตามความยาวที่ต้องการ
และประกอบขั้วด้านหนึ่งให้เป็นแบบ Female
Type เพื่อนำไปเสียบเข้ากับขั้วสายสัญญาณ
และขั้วอีกด้านหนึ่งเป็นแบบ Male Type เพื่อนำไปเสียบเข้าที่โทรทัศน์
รูปที่
1 Plug สาย
Coaxial
รูปที่
2 Plug สาย
Coaxial แบบตรง
รูปที่ 3สาย Coaxial
75 Ohms
รูปที่
4สาย
Coaxial ต่อเข้าโทรทัศน์
2.
การใช้
F Type Connector
F Type Connector
เป็นขั้วที่ใช้ต่อกับสาย Coaxial มีแบบ
Male และ Female
และแบบที่ใช้ต่อเข้ากับ Splitter
มีขายตามร้านจำหน่ายอุปกรณ์เกี่ยวกับโทรทัศน์ และอิเล็กทรอนิกส์
เช่น ร้าน อมร อิเล็กทรอนิกส์ และร้านจำหน่ายอุปกรณ์ประเภท
Accessories
รูปที่ 5วิดีโอจาก YouTube แสดงการต่อขั้ว F Type Connector
เข้ากับสาย Coaxial
รูปที่
6
F Type Connector มีทั้งแบบ Male Type และแบบ Female Type สำหรับต่อสาย Coaxial
รูปที่
7 F Type
Connector ชิ้นส่วนต่างๆของ F Type Connector
แบบ Female สำหรับต่อสาย
Coaxial
ซึ่งเมื่อต่อสายแล้วจะได้ตามรูปข้างล่างนี้
3.
การแยกสัญญาณเพื่อต่อไปโทรทัศน์
2 เครื่อง
การแยกสัญญาณโทรทัศน์เพื่อต่อสายออกไปยังเครื่องรับโทรทัศน์
2 เครื่อง ที่อาจจะอยู่คนละห้องนั้น ทำได้โดยใช้
2 Way Splitter ตามตัวอย่างในรูปที่ 8โดยต่อสายที่รับสัญญาณโทรทัศน์ เข้าที่ขั้ว
In และต่อสาย Coaxial
ที่ขั้ว Out
แยกไปยังโทรทัศน์ได้ 2 เครื่อง สำหรับสาย
Coaxial นั้นแสดงไว้ในรูปที่ 9การแยกสัญญาณโดยใช้ Splitter
ควรจะต้องเลือกแบบที่มีคุณภาพดี
และการต่อขั้วสายโดยใช้ F Type Connector
ก็จะต้องทำให้เรียบร้อย เพราะมิฉะนั้น สัญญาณภาพจะด้อยคุณภาพลง
คือไม่ค่อยชัดและมี Snow มาก
4.
การส่งสัญญาณโทรทัศน์แบบไร้สายภายในบ้าน
(Wireless TV Signal Transmitter)
เนื่องจากการเดินสายทีวีเพิ่มภายในบ้าน
หรือเดินสายจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่งอาจจะยุ่งยากและทำให้ดูไม่สวยงาม
ดังนั้นจึงได้มีผู้ผลิตอุปกรณ์ส่งสัญญาณโทรทัศน์แบบไร้สาย หรือ
Wireless TV Link
เพิ่อใช้ภายในบ้านหรือสำนักงานขึ้น
อุปกรณ์ดังกล่าวประกอบด้วยตัวส่งสัญญาณ
(Transmitter)
ซึ่งมีแบบที่ต่อสัญญาณโทรทัศน์ RF เข้า
และมีขั้วต่อ Composite Video / AV เข้าด้วย
ทำให้สามารถส่งสัญญาณภาพและเสียงได้จากแหล่งต่างๆ เช่น วิดีโอ
เคเบิ้ลทีวี และตัว Transmitter
บางแบบก็มีเฉพาะ AV In ส่วนตัวรับสัญญาณ (Reveiver) นั้น มี AV Out สามารถต่อตรงเข้าโทรทัศน์ได้
และบางแบบก็ต่อเข้ากับจอ PC ได้
การส่งสัญญาณ ใช้ความถี่ในย่าน
2.4 GHz
RF Signal
ซึ่งอาจจะมีสัญญาณรบกวนถ้าบ้านหรือบ้านใกล้เคียงมีระบบ
Wireless LAN
รวมทั้งสัญญาณรบกวนจาก Wireless CCTV System,
Bluetooth, Cordless Phone
และแม้กระทั่งเตาไมโครเวฟ
ซึ่งต่างก็ใช้ความถี่ในย่าน 2.4 GHz ทั้งนั้น