Digital Photography Audio & Video Computer Accessories Software Applications | Home |
.... |
การบันทึกรายการโทรทัศน์ แบบ Timer Recording |
ใ |
|
แม้ว่า เครื่อง DVD Recorder Panasonic รุ่น
DMR-E100H ได้ออกมาขาย นานมาแล้ว และในปัจจุบันได้มีรุ่นใหม่ๆ ที่ HDD มีความจุถึง 320 GB ออกมาแทนก็ตาม แต่หลักการใช้งาน ก็คล้ายๆกัน ดังนั้น บทความนี้ จะเป็นการอธิบายให้ทราบถึงวิธีการ ใช้งานบางอย่างที่เป็นประโยชน์ สำหรับผู้ที่สนใจ การบันทึกรายการโทรทัศน์ แบบ Timer Recording เป็นการตั้งวัน เวลา ที่จะให้เครื่อง Panasonic DMR-E100H ทำการบันทึกรายการ โทรทัศน์ ลงใน Hard Disk Drive (HDD) หรือแผ่น DVD ได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งทำ ให้สะดวก เมื่อไม่อยู่บ้าน หรือให้บันทึกรายการในช่วงดึกๆ แล้วมาเปิดดูในภายหลังได้ รูปที่ 8 การต่อสายสัญญาณเข้า DVD Recorder และ TV ตัวอย่างการต่อสายสัญญาณ ตามรูปที่ 8 เป็นการใช้ประโยชน์โดยนำสัญญาณจาก S-Video มาใช้เพื่อการบันทึกเข้าเครื่อง DVD Recorder และมีการต่อสัญญาณ ไปเข้า TV โดยใช้สาย Component Video ทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนดี ในกรณีที่ แสดงนี้ เครื่อง DMR-E100H สามารถส่งผ่านสัญญาณภาพและเสียงจากรายการที่ รับชมโดย Satellite Receiver ไปยัง TV ได้ แม้ว่าจะไม่ทำการบันทึกรายการก็ตาม แต่ถ้าผู้ใช้ไม่ต้องการเปิดเครื่อง DVD Recorder ก็ต้องต่อสาย AV (RCA) โดย ตรงจาก Satellite Receiver ไปเข้าที่ TV แต่ภาพจะมีคุณภาพด้อยลงไป (ในการรับชมรายการ ที่ TV จะต้องเลือก Input ให้ถูกต้องด้วย ว่ามาจากแหล่งไหน เช่น ถ้าจะรับชมรายการที่ผ่านมาทางเครื่อง DVD Recorder ก็ต้องเลือก Input เป็น Component) หมายเหตุ : เครื่อง DVD Recorder DMR-E100H ขณะทำงาน ใช้ไฟฟ้าประมาณ 37 วัตต์ แต่ถ้าอยู่ใน Standby / Sleep Mode ใช้ไฟฟ้าเพียง 5 วัตต์ ขั้นตอนการบันทึกรายการแบบ Timer Recording มีดังนี้ : 1. กดปุ่ม Functions ที่ตัว Remote Control จะปรากฎเมนู ตาม รูปที่ 2 2. เลือก Timer Recorder กด Enter จะได้ New Timer Programme ตามรูปที่ 3 3. กด Enter เพื่อกำหนดค่าการตั้งบันทึกรายการ ตามรูปที่ 4 โดยเริ่มจากการเลือกแหล่ง สัญญาณเข้า (Input หรือ Name , A) เช่น AV1 ถ้าเป็นแหล่งสัญญาณวิดีโอที่มาจาก เครื่องรับดาวเทียม (Satellite Receiver) ซึ่งมีข้อแนะนำคือ ให้ทดลองเร่งเสียงให้ดัง มากพอ ทดลองบันทึกรายการตามปกติ แล้วเปิดฟังเสียงก่อนว่าดังพอหรือไม่ เมื่อรู้ระดับ เสียง Input ที่จะนำมาบันทึกรายการแบบ Timer Recording แล้ว ก็จะใช้เป็นหลักต่อไป จากนั้นเลื่อน Cursor ไปที่ B วันที่ เดือน และวัน จะปรากฎขึ้นเองโดยอัตโนมัติ จากนั้น เลื่อนไปตั้งเวลาที่จะเริ่มต้นการบันทึกคือ Start และเวลาที่จะยุติการบันทึก (Stop) แล้วเลือก โหมดการบันทึก เช่น ให้บันทีกแบบ SP (Standard Play) แล้วเลือกว่าจะให้บันทึกลง HDD หรือ DVD (C) จากนั้นเมื่อกด Cursor ไปทางขวา ก็จะเป็นการตั้งชื่อรายการ (Title, D) 4. การตั้งชื่อ หรือ Title นั้น ทำได้โดยใช้ Cursor ที่ Remote Control เลื่อนไปเลือก ตัวอักษรและตัวเลข แล้วกด Enter ไปเรื่อยๆ เมื่อเสร็จแล้ว ตามรูปที่ 5 และเมื่อกด Set จะได้ ตามรูปที่ 6 ซึ่งเมื่อกด Enter ค่าต่างๆก็จะถูก Store ไว้ในเครื่อง 5. กด Return ที่ Remote Control จะมีข้อความปรากฎขึ้นที่จอโทรทัศน์ ให้กดที่ปุ่ม Timer ที่ตัว Remote Control ก็เป็นอันเสร็จวิธีการ และถ้าปรากฎ ก็ไม่เป็นไร เพราะได้ทำถูกต้องแล้ว จากนั้น จะปิดเครื่อง DVD Recorder ก็ได้ (แต่ห้ามถอดปลั๊ก) เครื่องจะทำงานต่อไปเอง เมื่อถึงเวลาที่ตั้งไว้ ก็จะทำการบันทึก และหยุด บันทึก ที่เวลาที่ตั้งไว้ ในระหว่างการบันทึก จะมีไฟแดงติดขึ้นที่บริเวณที่เขียนว่า HDD การ Edit ตัดวิดีโอ ส่วนที่ไม่ต้องการออก การบันทึกรายการโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์ นั้น ในรายการอาจจะมีบางส่วนที่เราไม่ต้องการ เช่น โฆษณาสินค้า หรือไตเติ้ลตอนท้ายรายการที่ยาวๆ หรือเราอาจจะต้องการตัดวิดีโอให้มี ความยาวไม่เกิน 2 ชั่วโมง เพื่อความสะดวกในการบันทึกลงแผ่น DVD แม้ว่ารายการที่ยาว กว่า 2 ชั่วโมง ก็สามารถบันทึกลงแผ่น DVD ได้โดยใช้วิธี Flexible Recording ซึ่งจะ มีการปรับลดความละเอียดของภาพลง แต่ Flexible Recording ไม่สามารถ Dub ลง แผ่น ด้วยความเร็วสูงได้ (การบันทึกหรือ Dub ที่ความเร็วสูง สำหรับวิดีโอต้นฉบับยาว 2 ชั่งโมง จะใช้เวลา Dub เพียง 15 นาที) วิธีการ Edit วิดีโอ ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก ทำได้ดังนี้ : 1. เข้าไปที่เมนูหลัก (รูปที่ 2) เลือก Direct Navigator กด Enter จะปรากฎรายการวิดีโอที่บันทึกไว้แล้วใน HDD 2. เลือกรายการที่ต้องการ Edit (เช่น 1) คลิกที่ลูกศร (2) จะปรากฎ Window Pop up ขึ้นมา คลิกที่ Partial Erase (3) 3. เลือกส่วนที่ต้องการลบ โดยกำหนดจุดเริ่มต้น (Start 4) กด Enter และจุดที่ End (5) กด Enter จากนั้น กด Exit (6) และเลือกให้ Erase ก็จะได้วิดีโอที่มีบางส่วน จากช่วงเวลา 00.15 ถึง 12.25 ถูกตัด หรือถูกลบออกไป และวิดีโอที่ถูก Edit แล้วนี้ จะแสดงอยู่ที่แถบ (1) แทนวิดีโออันเดิม รูปที่ 9 รูปที่ 10 รูปที่ 11 ยังมีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับการบันทึก หรือ Dub วิดีโอ จากเครื่อง ลงแผ่น DVD เอาไว้ไป เปิดดูที่เครื่อง DVD Player อื่นๆ และการบันทึกแบบ Flexible Recording ที่บันทึก รายการที่ยาวกว่า 2 ชั่วโมง ลงแผ่น DVD-R (4.7 GB) มาอธิบายง่ายๆให้ทราบกัน ต่อไป ในเร็วๆนี้ |
0ากวันที่ 22
พ.ย.
2553