Digital Photography   Audio & Video   Computer Accessories   Software Applications | Home







เทคโนโลยีกล้องดิจิตอลกับการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ ฯลฯ
หน้า 1 | หน้า 2 | หน้า 3 | หน้า 4 | หน้า 5 | หน้า 6 | หน้า 7 | หน้า 8 | หน้า 9 | หน้า 10 | ...
การถ่ายภาพดิจิตอล | เทคโนโลยีการบันทึกภาพ | เทคโนโลยีการพิมพ์ภาพ | เทคนิคการถ่ายภาพและการชดเชยแสง
การบันทึกภาพถ่ายลงในแผ่น CD-R | เทคนิคการเก็บภาพลงในอุปกรณ์แบบพกพา | เทคนิคการถ่ายภาพระยะใกล้
การตั้ง White Balance | ทดสอบการใช้งาน Super Digibin | การถ่ายภาพแบบ RAW File | ...

การปรับระยะชัด ลึก
(Depth of Field - DOF Adjustment)
การถ่ายภาพ ในระยะใกล้ๆ รวมถึงการถ่ายภาพแบบโคลสอัพ และ มาโคร (Macro) นั้นกล้องดิจิตอลส่วนใหญ่ จะมีปุ่มรูปดอกไม้ให้กดเพื่อถ่ายแบบ Macro ซึ่งบางกล้องก็ถ่ายได้ใกล้มากขนาด 1 ซ.ม. แต่บางกล้องก็ถ่ายระยะใกล้ที่สุดได้แค่ 10 ซ.ม. (ซึ่งไม่ค่อยจะได้ดังใจนัก) ดังนั้น เมื่อจะเลือกซื้อกล้อง ก็ควรศึกษาระยะถ่ายใกล้เอาไว้ด้วยเพราะจะมีประโยชน์มาก เช่น การถ่ายภาพดอกไม้ แมลง หรือแม้แต่สินค้าต่างๆ ป้าย (Label) เป็นต้น

การถ่ายภาพแบบ Macro นั้น จะต้องระวังเรื่องความชัด ลึก ของภาพ (Depth of Field) ดังจะเห็นได้ว่า ภาพส่วนที่อยู่ใกล้เลนส์ที่สุดที่เรามักจะโฟกัส จะชัด แต่ส่วนของภาพที่อยู่ห่างออกไปจะไม่ค่อยชัด ดังนั้น จึงต้องใช้เทคนิคการถ่ายภาพระยะใกล้
(อ่านบทความที่นี่)

การปรับความชัดลึกนั้น ควรถ่ายภาพโดยใช้ A (Aperture Priority Mode) ซึ่งเราจะเลือกรูรับแสงให้แคบที่สุดที่จะทำได้ (F สูงๆ) และก็ต้องเช็คว่า ที่ F Number สูงนั้นกล้องปรับความเร็ว Shutter Speed ได้เท่าไร  ในกรณีที่ไม่มี หรือไม่ได้ใช้ขาตั้งกล้องShutter Speed ไม่ควรต่ำกว่า 1/30 Sec. แต่ในปัจจุบัน กล้องดิจิตอลมีระบบป้องกันการสั่นไหว (Anti Vibration หรือ Steady Shot) ซึ่งถ้าเราเปิดให้ทำงานไว้ ก็จะช่วยให้ลด Shutter Speed ลงได้อีก 2 - 3 Stop   ดังนั้น จึงมีโอกาสที่จะเลือก F Number ที่สูงขั้นไปอีกได้ และผลก็คือ จะได้ภาพที่มีความชัด ลึก มากยิ่งขึ้น นั่นหมายความว่าในปัจจุบัน เทคโนโลยีกล้องดิจิตอล ช่วยให้เราถ่ายภาพได้ดีขึ้น และก็ง่ายขึ้น แม้ว่าจะไม่มีอุปกรณ์มาช่วย และแม้ว่าจะไม่ใช่มืออาชีพก็ตาม
 
รูปที่ 1 ถ่ายภาพมาโคร โดยใช้
P (Programmed Auto) Mode
กล้อง Sony DSC-H5
ใช้ขาตั้งกล้อง
Focal Length = 6 mm
Metering Mode = Multi-Pattern
Shutter Speed =
1/60 sec
เปิดรูรับแสง
F/2.8
Exposure Compensation +1.0 EV

จะเห็นได้ว่าภาพช้างนั่ง ด้านหลัง จะ
ไม่ชัด

หมายเหตุ : ระยะจากหน้าเลนส์ไปยัง
ภาพที่ใกล้ที่สุด = 12 ซ.ม. และไปยัง
ภาพใกล = 32 ซ.ม.
รูปที่ 2 ถ่ายภาพมาโคร โดยใช้
A (Aperture Priority) Mode
กล้อง Sony DSC-H5
ใช้ขาตั้งกล้อง
Focal Length = 6 mm
Metering Mode = Multi-Pattern
Shutter Speed =
1/8 sec
เปิดรูรับแสง
F/8
Exposure Compensation +1.0 EV

จะเห็นได้ว่าภาพช้างนั่ง ด้านหลัง จะมี
ความคมชัด แสดงให้เห็นถึง Depth
of Field ดีขี้นมาก
การถ่ายภาพระยะใกล้ ที่อยู่นิ่งๆ นั้น ถ้าต้องการปรับปรุงเรื่อง Depth of Field อย่างง่ายๆก็คือพยายามถ่ายภาพในมุมสูงขึ้น เพื่อให้ระยะโฟกัสไปยังส่วนต่างๆของภาพ ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ภาพจะสวยหรือไม่ ต้องดูด้วย

ในปัจจุบัน กล้องดิจิตอล ได้ออกแบบให้ปรับค่าที่ต้องการดังกล่าวข้างต้นได้โดยง่าย และมักจะแสดงตัวเลขให้เห็นในจอ LCD ด้านหลังของกล้อง โดยไม่จำเป็นจะต้องพลิกกล้องไปมา หรือต้องเข้าไปหาในเมนูหลักกล้อง Sony Cyber-shot DSC-H9 ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของการออกแบบที่ใช้งานง่าย ดังรูปที่ 3
 
รูปที่ 3 การตั้งค่าต่างๆ
1 = ตั้งค่าความไวแสง ISO
2 = Shutter Speed
3 = F Number
4 = Exposure Compensation
5 = Wheel ที่ใช้หมุนเพื่อปรับค่า
6 = ปุ่ม Enter

จะเห็นได้ว่า การปรับตั้งค่าต่างๆ จะ
ทำได้อย่างรวดเร็ว จากข้อมูลที่แสดง
ไว้ทางด้านล่างของจอ LCD

Hit Counter
จากวันที่ 16 มิ.ย. 2550