Digital Photography   Audio & Video   Computer Accessories   Software Applications | Home
 

ประวัติ
ผลงานและประสบการณ์
งานอดิเรก

GreyArrow1.gif (51 bytes)

เครื่องเสียง
GreyArrow1.gif (51 bytes) กล้องถ่ายรูป
GreyArrow1.gif (51 bytes) คอมพิวเตอร์
GreyArrow1.gif (51 bytes) รถยนต์
GreyArrow1.gif (51 bytes) กล้องวิดีโอ
GreyArrow1.gif (51 bytes) เว็บไซต์
งานชิ้นโบว์แดง
การประเมินความสำเร็จ
แกลลอรี่ภาพ
E-Books

  

www.bangkoksite.com

Bkklogosize3B.gif (10721 bytes)

Contact Us
somkiet@cscoms.com

งานอดิเรก (Hobby 1)
ไฟฟ้า Electronics เครื่องเสียง

สมัยเรียนชั้นมัธยม

สมัยเด็กๆนั้น เมื่ออยู่ชั้นมัธยม 1 ที่โรงเรียนไพศาลศิลป์ ยศเส (เลิกกิจการไปนานแล้ว) ในชั้น ม.1ก ได้มีเพื่อนคนหนึ่ง ชื่อสมพงษ์ โสภาวนิชย์ เป็นคนที่ชอบเล่นเครื่องไฟฟ้ามาก สมัยนั้น ทุกอย่างขัดสน ของก็หายาก เงินก็ไม่มี แต่ดูเหมือนว่าร้านแถวคลองถมและบ้านหม้อ มีบางร้านที่ขายพวกอุปกรณ์ไฟฟ้า ส่วนมากจะเป็นอุปกรณ์วิทยุ พวกวิทยุหลอด (Radio Tube) ตัวความต้านทาน แคแปซิเตอร์ ลวดพันคอยล์ ฯลฯ สมพงษ์เป็นเพื่อนสนิทที่เป็นตัวนำให้ผมเริ่มสนใจไฟฟ้าเพราะอยากจะเล่น หาอะไรแปลกๆเล่นไม่ได้ เพราะไม่มีเงินซื้อของเล่น ซึ่งร้านขายของเล่นที่ดังมากสมัยนั้น อยู่ที่บริเวณโรงหนังพัฒนากร ก็ได้แต่ไปยืนดูเท่านั้น ดังนั้น เมื่อสนิทกับสมพงษ์ และของเล่นชิ้นแรกที่สมพงษ์ นำมาเล่นที่โรงเรียนก็คือ อ็อตไฟฟ้า หรือที่เราใช้กดที่หน้าบ้านเวลาบอกให้คนในบ้านทราบว่ามีคนมานั่นเอง เห็นแล้วก็ชอบมาก ดูมันทำง่ายมาก แต่ไม่มีความรู้ จึงได้ขอให้สมพงษ์ช่วยทำให้หนึ่งอัน แต่รอแล้วรออีกสมพงษ์ก็ไม่ทำให้สักที จึงคิดว่าจะต้องทำเองให้ได้ จากนั้นก็ไปซื้อลวดพันคอยล์มาพันกับหลอดด้าย ใช้ตะปูเป็นแกนกลางเพื่อให้เกิดเป็นแม่เหล็กไฟฟ้า ใช้สังกะสีตัดมาเป็นตัวสั่น และติดบนแท่นไม้ฉำฉา พอทำเสร็จก็แอบเสียบเข้าที่ปลั๊กไฟที่บ้าน และก็ได้ผลคือเกิดไฟช็อต ไฟดับหมดทั้งบ้าน ซึ่งผมก็ไม่บอกใครว่าไฟฟ้าดับเพราะอะไร จนพี่ชายต้องออกไฟเปลี่ยนฟิวส์ตะกั่วที่หม้อไฟฟ้า (มิเตอร์) ซึ่งติดตั้งอยู่ที่เสาไฟฟ้า และเพราะเหตุนี้ ต่อมาผมก็เป็นคนที่ไปเปลี่ยนฟิวส์ได้เองเป็นประจำ

ต่อมา เมื่ออยู่ชั้นมัธยม 3 ถึงมัธยม 5 สมพงษ์ก็ได้ทำวิทยุเป็นแล้ว รวมทั้งทำแบบที่มีตั้งแต่ 1 หลอดไปจนถึง 5 หลอด สมัยนั้น เราจะไปคลองถมและบ้านหม้อกันบ่อยๆ เพื่อหาซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ผมเริ่มสร้างวิทยุได้เองแต่เป็นแบบ AM เพราะ FM ยังไม่มีจนกระทั่งประมาณปีที่อยู่มัธยม 6 ก็ได้เริ่มทำวิทยุ FM ใช้เอง มีแค่หลอดเดียวก็ยังใช้ได้ แต่ต่อมาก็เริ่มทำดีขึ้นมีแยกเสียงทุ้ม เสียงแหลมได้ด้วย

สมัยเรียนเตรียมอุดมศึกษา
พอมาเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (ตอ.) ต้องเรียนหนักมากขึ้น เพราะเป็นที่รวมของคนเก่งๆมาจากทั่วประเทศ เพื่อนสนิทที่มาสอบเข้า ตอ.ด้วยกัน ก็มีเพียงคนเดียวคือ ปัญญา เปรมปรีดิ์ ซึ่งตอนสอบมัธยม 6 ที่ไพศาลศิลป์นั้นผมสอบได้ที่ 1 และเข้าใจว่าปัญญาได้ที่ 2 แต่พอมาสอบเข้า ตอ.ผมได้คะแนนน้อยกว่าปัญญา จึงได้ไปอยู่ห้องรองคิงส์ และที่นั่น ผมได้พบเพื่อนใหม่ๆอีกมากมาย เช่น โกศล เพชรสุวรรณ์   เย็นใจ เลาหวณิช  อัครวิทย์   อัคราทร เป็นต้น   เพื่อนที่สนิทมากในขณะนั้น นอกจากปัญญา ซึ่งสนิทกันมาจากไพศาลศิลป์แล้ว ก็มี เย็นใจเลาหวณิช นี่แหละ(ผู้ชาย) เย็นใจ สนใจเรื่องไฟฟ้า ฟิสิกส์ และเคมีมาก เราได้ทดลองทำของเล่นมากมาย และจะคุยกันในเรื่องที่คนอื่นไม่ค่อยจะรู้เรื่องหรือไม่สนใจ

ในระยะที่ผมศึกษาอยู่ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษานั้น ต้องเรียนหนักมากพอควร แต่ไม่เคยนอนหลัง 4 ทุ่ม และเมื่อสอบปลายปีที่ 2 มีความมั่นใจสูงว่าจะต้องได้คะแนนดี ซึ่งผลปรากฏออกมาว่า เย็นใจ ติดบอร์ดอันดับที่ 1 ของประเทศไทย ส่วนผมนั้น ติดบอร์ดอันดับที่ 22 ก็นับว่าดี (ส่วนปัญญานั้น จำไม่ได้แล้ว) จากนั้น พวกเราก็สอบเข้าจุฬาฯ ได้กันหมด ส่วนใหญ่ของพวกเพื่อนๆไปเรียนหมอ มีเข้าวิศว ก็ได้แก่ ผม เย็นใจ ปัญญา สุรพันธ์ เป็นต้น

สมัยเรียนวิศวะ
ในระหว่างที่เรียนวิศวนั้น ทางบ้านให้เงินเบี้ยเลี้ยงมากขึ้น ทำให้พอมีเก็บ เอาไปดูหนัง และหาซื้อของมาเล่นได้อีก เรื่องการถ่ายภาพนั้น ผมเล่นมาตั้งแต่เด็กๆแล้ว เริ่มจากกล้องบอกซ์ ที่ถูกมากๆต่อมาก็ได้กล้องจากพี่สาวที่อยู่ที่โตเกียว ส่งกล้องอย่างดีมาให้ถ่ายรูปลูกสาวคนโต ที่มาฝากเลี้ยงไว้ที่บ้านที่กรุงเทพฯ ไม่อยากจะคุยว่า ตอนนั้น ผมมีกล้อง Leica ซึ่งดีที่สุดใช้แล้ว และต่อมายังมีกล้องถ่ายหนัง (8 มม.)ใช้อีกด้วย นอกจากนั้นก็มีกล้อง Zeiss Ikon ล้วนของดีๆจากเยอรมัน เพราะสมัยนั้น กล้องญี่ปุ่นยังไม่ดังเท่าไร ด้วยแรงบันดาลใจที่มีกล้องดีๆใช้ฟรีก็เลยอยากจะอัดรูปเอง เพราะเห็นที่เขาดิน สมัยก่อนมีร้านถ่ายรูป แบบรอรับรูปไปได้ จึงได้พยายามทำเครื่องอัดขยายรูปขึ้น ก็พอใช้งานได้ แต่ไม่คมชัดนัก จึงเลิกไป ต่อมาสิ่งที่คนทั่วไปไม่เคยทราบก็คือ ผมได้ลงทุนนั่งค่อยๆวาดภาพการ์ตูนส์ทีละภาพๆ แล้วใช้กล้องถ่ายหนัง 8 มม. ติดบนขาตั้งทำด้วยไม้ และกดให้มันถ่ายทีละเฟรม สองเฟรม จนกลายเป็นหนังการ์ตูนส์สำเร็จ สำหรับเรื่องเครื่องเสียงนั้นก็มีเพียงสร้างวิทยุ FM ขึ้นใช้เองเท่านั้น

สมัยเรียนจบปริญญาตรีแล้วและเริ่มทำงาน
เมื่อเรียนจบปริญญาตรีวิศวไฟฟ้าแล้ว ก็เริ่มเข้าทำงานรับราชการ ตอนนั้น เพราะต้องการจะได้ทุนไปเรียนต่อที่เมืองนอกและเมื่อได้ไปจริงๆ ขาไปก็แวะที่ฮ่องกง ซื้อกล้องถ่ายรูปที่แพงมากคือ Zeiss Ikon (ราคา 150 US $ ในปี 2506) ซึ่งนับจนถึงวันนี้กล้องดังกล่าวมีอายุ 61 ปีแล้ว และผมก็ยังเก็บรักษามันไว้

ก่อนไปเรียนต่อที่อเมริกา ได้เริ่มเล่นเครื่องบันทึกเทปแบบ Open Reel ซึ่งสมัยนี้หายากมากและถ้าไปถามหา คนจะหาว่ามาจากช่วงเวลาในอดีตข้ามเวลามา แต่ความจริง ยังคงจะมีใช้กันบ้างในห้องบันทึกเสียง เพราะสมัยก่อน ต้นฉบับเพลงทีจะไปทำแผ่นเสียง (Record) เขาจะบันทึกลงเทปแบบนี้ก่อน มันให้คุณภาพเสียงที่ดีมาก

สมัยเรียนที่อเมริกาและระหว่างการดูงาน
ในระหว่างเรียนอยู่ที่ OSU ไม่มีเวลาจะมาสนใจเรื่องเครื่องเสียงใดๆทั้งนั้น มีแค่วิทยุ Transistor ขนาดเล็กๆเพียง 1 เครื่อง จนกระทั่งใกล้จะเรียนจบก็เริ่มสะสมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยหาจาก Catalog และสั่งซื้อโดยวิธี Mail Order ใช้เวลานานและไม่ค่อยสะดวก ได้สะสมอุปกรณ์ Electronic Components ไว้เพื่อที่กลับมาเมืองไทยจะได้ประกอบสร้าง Amplifier ดีๆขึ้นมาใช้ และระหว่างการดูงานที่ San Francisco ก็ได้รวบรวมซื้ออุปกรณ์ต่างๆจากร้าน Radio Shack มาเพิ่ม รวมทั้งเทป Reel คุณภาพดีซึ่งหาซื้อได้ง่ายในเมืองนี้

สมัยกลับจากอเมริกาใหม่
เมื่อผมกลับมาจากอเมริกา ก็ได้ซื้อเครื่องบันทึกเทปแบบ Open Reel ที่เรียกว่า Tape Deck ของ Sony แบบ 3 หัวเทป โดยซื้อที่ร้านแถววังบูรพา และใช้ได้ดีมาก ใช้มานานหลายสิบปีทีเดียว

SonyTapeDeck_200.jpg (13463 bytes)


ภาพ Tape Deck ของ Sony แบบ 3 หัวเทปถ่ายเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2548 ตอนที่อายุ 40 ปี ยังใช้งานได้ (เคยเปลี่ยนสายพานยางมาแล้ว 2-3 ครั้ง)

คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพใหญ่
HomeTheater.jpg (16736 bytes)  

เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปจนถึงปัจจุบัน

เครื่องเสียงได้ถูกพัฒนาเปลี่ยนจากระบบ Analog มาเป็นระบบดิจิตอล เครื่องเล่นเทปแบบเทปแม่เหล็ก Open Reel, VHS, Cassette เทป หมดไปจากตลาดนานแล้ว การอัดเทปกลายมาเป็นการบันทึก CD บันทึก DVD หรือแผ่นบลูเรย์แทน หรือบันทึกลงในหน่วยความจำหรือลง Hard Disk โดยตรง หรือเก็บไว้ในระบบ Clouds ความบันเทิงในบ้านเปลี่ยนมาเป็นการเล่น DVD หรือบลูเรย์ หรือถ้าไม่ต้องการเก็บแผ่นให้รกเต็มไปหมด ก็ใช้วิธี Streaming และชุดโฮมเธียเตอร์ก็เริ่มถูกแทนด้วยระบบ Sound Bar และการเชื่อมโยงแบบไร้สายที่เหมาะกับชีวิตความเป็นอยู่สมัยใหม่ โดยเฉพาะการอยู่ในห้องพักหรือคอนโดที่มีพื้นที่ไม่มากนักหรืออาจจะมีการเคลื่อนย้ายก็ทำได้โดยง่าย สำหรับทีวีจอแบน จอกว้าง ก็มีราคาถูกลงและมี Features ต่างๆมากมาย
 


Sound Bar ใหม่มาแทนชุด Home Theater ที่ Obsolete แล้ว

เครื่องเสียง Nakamichi 3 เครื่องที่เสียแล้ว อีก 2 เครื่อง Obsolete และอีก 5 เครื่องที่ยังใช้ได้
เป็นระบบฟังเพลงเสียงดี และการสะสมมานานกว่า
25 ปีแล้ว
 


ตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ.2548
ปรับปรุงล่าสุด  6 .. 2567