Digital Photography   Audio & Video   Computer Accessories   Software Applications | Miscellaneous | Home
....

Small Safety Consumer Unit
ตู้ควบคุมและป้องกันอันตรายในการจ่ายไฟฟ้า

 

อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สำคัญ มีราคาแพงหรือมีความเสี่ยงต่อการที่อาจจะมีไฟฟ้ารั่ว เช่น ฉนวนไฟฟ้าเสื่อมสภาพ สายไฟรั่วหรือขาด ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าดูดเมื่อเราไปจับ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของบุคคลควรจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้ารั่วไฟฟ้าดูด (Leakage Protection) และถ้าจะป้องกันเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ครบถ้วน ควรจะต้องป้องกันการใช้ไฟฟ้าเกินกำลัง (Overload Protection) ป้องกันถ้าแรงดันไฟฟ้าของระบบที่อาจจะสูงมากเกินไป (Over Voltage Protection) หรือแรงดันไฟฟ้าอาจจะต่ำเกินไป (Under Voltage Protection) และการป้องกันอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าจาก Surge (Surge Protection) เช่น กรณีมีฝนฟ้าคะนอง ฟ้าผ่าในระยะใกล้ๆ หรือเกิดการเหนี่ยวนำในวงจรไฟฟ้า (ภาษาชาวบ้านเรียกไฟฟ้ากระโชก)

การป้องกันวงจรจ่ายไฟฟ้านั้น ปกติทำโดยการติดตั้งตู้เมนจ่ายไฟตามกฎของการไฟฟ้า โดยมี
Main Circuit Breaker และ Miniature Circuit Breaker หรือเบรกเกอร์ลูกย่อย สำหรับป้องกันการใช้กระแสไฟฟ้าเกินพิกัดและป้องกันการเกิดลัดวงจร แยกเป็น Branch Circuits ต่างๆ ซึ่งมีตู้เมนจ่ายไฟแบบต่างๆให้เลือกใช้เป็นจำนวนมาก สำหรับตัว Main Circuit Breaker นั้น ก็ใช้ขนาดที่สอดคล้องกับการขอใช้มิเตอร์ไฟฟ้า ที่มีขนาด 5(15) A, 15(45) A, 30(100) A, และ 50(150) A ซึ่งอาคารบ้านเรือนทั่วๆไป อาจจะติดตั้งตู้เมนจ่ายไฟฟ้ามานานแล้ว ภายในตู้จะแน่นและมีสายไฟฟ้าเต็มไปหมดหรือเกือบจะไม่มีช่องว่างให้เพิ่มอุปกรณ์ป้องกันได้ นอกจากจะทำการต่อเชื่อมไฟยังตู้ Consumer Unit ที่ติดตั้งเพิ่มขึ้นใหม่

การติดตั้ง
Safety Consumer Unit ขนาดเล็กๆ (แบบ 2 หรือ 4 ช่อง) แยกออกมาเพื่อใช้ควบคุมและป้องกันอันตรายในการใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อาจจะใช้เฉพาะจุดหรือใช้กับกลุ่มของเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งติดตั้งได้ง่ายและมีประโยชน์มาก เช่น ติดตั้งชุด Safety Consumer Unit สำหรับกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัว อาจจะรวมตู้เย็น เตาไมโครเวฟ เตาไฟฟ้า เตาอบ หม้อหุงข้าว เป็นต้น หรืออาจจะติด Satety Consumer Unit สำหรับตู้เย็น เครื่องทำน้ำเย็น เครื่องซักผ้า เครื่องงอบผ้า ปั๊มน้ำ มอเตอร์ชุดเปิด ปิด ประตูเลื่อน เป็นต้น
 

 
 

1. ตู้ควบคุมและป้องกันอันตรายในการจ่ายไฟฟ้า (Safety Consumer Unit)

 
 


ตู้ Safety Consumer Unit หรืออาจจะเรียกว่าเป็น Distribution Box ที่ประกอบขึ้น ตามรูปที่ 1 มีคุณสมบัติคือ
1) เปิด ปิด การจ่ายไฟฟ้า ป้องกันการใช้กระแสไฟฟ้าเกิน ป้องกันถ้ามีการลัดวงจร 
2) ป้องกันอันตรายจากไฟดูด ถ้ามีไฟฟ้ารั่ว 
3) ป้องกันเครื่องใช้ไฟฟ้าจาก Over Voltage หรือ Under Voltage และ
4) ป้องกันไฟกระโชก หรือ Surge Protection

รูปที่ 1 แสดงอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบตู้ Safety Consumer Unit ได้แก่  กล่องและฝาครอบ ขนาด 9.3 x 13.0 x 8.5 .., เบรกเกอร์ป้องกันไฟดูด RCBO ขนาด 16 A DIN Rail, Over/Onder Voltage Protective Device แบบที่สามารถปรับตั้งค่าแรงดันและกระแสไฟฟ้าได้, Varistor เบอร์ 20D431K หรือ 20D471K
 

 
 
รูปที่ 1 อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการประกอบตู้ Safety Consumer Unit
 
 
 
รูปที่ 2  การประกอบ การเดินสายไฟภายในและการติด Varistor
 
 
 
รูปที่ 3  ตู้ควบคุมและป้องกันอันตรายในการจ่ายไฟฟ้าที่ประกอบอุปกรณ์แล้ว
 
 
   
  รูปที่ 4  การติดตั้งใช้งานตู้ควบคุมและป้องกันอันตรายในการจ่ายไฟฟ้า
(Safety Consumer Unit Installation)
 
 
 

ตัวอย่างการใช้ Small Consumer Unit กับกลุ่มของเครื่องใช้ไฟฟ้า

 
 


เพิ่อเน้นป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าดูด และการใช้ไฟฟ้าเกินกำลังของกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ภายในครัว อาจจะมีเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายอย่างได้แก่ เตาไมโครเวฟ เตาอบไฟฟ้า ตู้เย็น หม้อหุงข้าว เครื่องต้มไข่ เครื่องทำน้ำแข็งขนาดเล็ก เตาแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายอย่างนี้ไม่สามารถเสียบกับ Wall Outlet ที่มีช่องจำกัดได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ปลั๊กพ่วง ซึ่งต้องเป็นปลั๊กแบบ 3 ขา มีสาย L, N และ G ตามมาตรฐาน มอก. และสามารถทนกระแสไฟฟ้าได้ 10 A หรือ 2,300 วัตต์ เป็นอย่างน้อย

รูปที่ 5 แสดงการต่อไฟจาก Wall Outlet โดยใช้ปลั๊ก 3 ขา มีสาย Ground มาเข้าที่ Small Consumer Unit แล้วต่อออกไปยังปลั๊กพ่วงแบบ 3 ขาเพื่อจ่ายไฟไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ได้แก่ ตู้เย็น (80 W) เตาไมโครเวฟ (1,400 W) เตาอบไฟฟ้า (800 W) เครื่องต้มไข่ (400 W) และเครื่องทำน้ำแข็งขนาดเล็ก (120 W) รวมทั้งหมด 2,800 W (เตาไมโครเวฟอีกเครื่องหนึ่งใช้เป็น Spare) ถ้าปิดใช้พร้อมกัน แต่ในการใช้งานจริงจะไม่ใช้งานพร้อมกันทั้งหมดและเครื่องไฟฟ้า เช่นเตาไมโครเวฟก็ใช้ทำงานในระยะสั้นๆ ดังนั้น กำลังไฟฟ้าที่ใช้สูงสุดสามารถควบคุมให้อยู่ในระดับ 2,000 W หรือต่ำกว่าได้ สำหรับเรื่องความปลอดภัยจากไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าดูดนั้น พบว่า เตาไมโครเวฟและเครื่องทำน้ำแข็ง มีปลั๊กแบบ 3 ขามาให้ แต่ตู้เย็น เตาอบ และหม้อต้มไข่ ใช้ปลั๊กแบบ 2 ขา จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนปลั๊กตู้เย็นให้เป็นแบบ 3 ขา พร้อมทั้งต่อสาย Ground ส่วนหม้อต้มไข่และเตาอบ มีปลั๊ก 2 ขาแบบยุโรป (Schuko Plug) มาให้ (แต่สายไฟที่ใช้เป็นสาย 3 เส้น มีสาย L, N และ G อยู่แล้ว) ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนปลั๊กใหม่ให้เป็นแบบ 3 ขา เพื่อที่จะใช้กับเต้ารับของปลั๊กพ่วงได้ (รูปที่ 6)

 
     
 
รูปที่ 5  การใช้ Small Consumer Unit กับกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัว
 
 
 
รูปที่ 6  ปลั๊กพ่วงแบบ 3 ขา 5 Outlets มาตรฐาน มอก. 2432-2555
 
 
 

ารเปลี่ยนปลั๊กแบบยุโรปให้เป็นปลั๊ก 3 ขามี Ground ที่ใช้กับเต้ารับตามมาตรฐาน มอก.

 
 


เครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิด จะมีปลั๊กไฟแบบยุโรป หรือแบบเยอรมัน
(Schuko Plug) มาให้ ตามรูปที่ 7 ซึ่งเป็นปลั๊กขากลม ความจริงมีสาย Ground อยู่แล้ว แต่ไม่มีขา Ground ยื่นออกมา เพราะเต้ารับแบบยุโรปออกแบบต่างออกไป ดังนั้น เมื่อเสียบปลั๊กแบบนี้เข้ากับเต้ารับมาตรฐาน มอก. จึงไม่มีการเชื่อมสาย Ground ซึ่งอาจทำให้เกิดไฟรั่วไฟดูดได้
 

 
 
รูปที่ 7  ปลั๊กไฟแบบยุโรป หรือแบบเยอรมัน (Schuko Plug)
 
 
 

วิธีดัดแปลงทำปลั๊กแบบยุโรปให้เป็นปลั๊ก 3 ขา มี Ground ใช้ได้อย่างปลอดภัยกับเต้ารับหรือปลั๊กพ่วงตามมาตรฐาน มอก. นั้น ทำได้ดังนี้

1)  ใช้ปลั๊กไฟแบบ 3 ขา (รูปที่ 8) : เป็นวิธีที่ถูกที่สุดคือใช้ปลั๊กไฟตัวผู้แบบ 3 ขา ซึ่งมีให้เลือกหลายแบบ ต่อเข้ากับสายไฟเดิมของเครื่องใช้ไฟฟ้า (โดยตัดหัวปลั๊กแบบยุโรป ออกก่อน) วิธีนี้สามารถต่อสายไฟเข้ากับหัวปลั๊กตัวผู้ได้แน่น แต่ควรเลือกปลั๊กถ้าต้องการความสวยงาม หัวปลั๊ก 3 ขา มีราคาตั้งแต่อันละ 15 บาท ถึง 50 บาท และในการต่อสายไฟต้องต่อสาย L,N,G ให้ถูกขั้ว เมื่อเสียบปลั๊กแล้วจะต้องตรงกับขั้ว L,N,G ของ Wall Outlet หรือของปลั๊กพ่วง
 

 
 
รูปที่ 8  ัวอย่างปลั๊กไฟตัวผู้แบบ 3 ขา


รูปที่ 9  ัวอย่างการต่อสายเข้ากับปลั๊กไฟตัวผู้แบบ 3 ขา



รูปที่ 10  ปลั๊ก 3 ขา และเต้ารับตามมาตรฐาน ซึ่งเมื่อติดตั้งในแนวนอนขั้ว LINE จะอยู่ด้านบน

 
 
 

2)  ใช้ปลั๊กหัวหล่อขากลม 3 ขา พร้อมสายไฟ ก่อนอื่นต้องตัดหัวปลั๊กไฟแบบยุโรปออกและปอกสายไฟ จะพบว่ามีสาย 3 เส้น สี น้ำตาล (L) สีน้ำเงิน (N) และสีเขียว-เหลือง (G) จากนั้นต่อสายไฟแต่ละเส้นเข้ากับสายไฟของปลั๊ก 3 ขาหัวหล่อ แล้วพันเทปให้เรียบร้อย วิธีนี้ หัวปลั๊กจะสวยงามเพราะหล่อมาเรียบร้อย มีขนาดพอดี แต่ช่วงที่ต่อสายไฟเข้าด้วยกันอาจจะดูไม่ค่อยสวย

3)  ใช้ Adapter เพื่อเพิ่มขา Ground (รูปที่ 11) :  เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดคือเสียบปลั๊กแบบยุโรปเข้ากับ Adapter เพื่อเพิ่มขา Ground เป็นเสมือนการต่อขั้ว Ground แบบง่าย สะดวก แต่ขนาดอาจจะใหญ่ดูไม่ค่อยสวยงามนัก และตัว Adapter ยังมีราคาที่ค่อนข้างแพง

Note :   ควรเช็คขั้ว L, N เวลาเสียบเข้าเต้ารับให้ตรงกันด้วยตามมาตรฐาน หากขั้ว L และ N สลับข้างกัน ควรแก้ไข ยกเว้นถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นใช้ฉนวนแบบ Double Insulated
 

 
 
รูปที่ 11  Adapter สำหรับแปลงปลั๊กยุโรปแบบ 2 ขา ให้เป็น 3 ขา มี Ground
 
 
 

Note :   ผู้ที่ประสงค์จะติดตั้งอุปกรณ์และปลั๊กพ่วงตามตัวอย่างที่แสดงในรูปที่ 5 และ 6 ควรจะต้องมีความรู้เรื่องไฟฟ้าพอสมควร อย่างน้อยก็ต้องทราบว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชิ้นใช้ไฟเท่าไร ซึ่งจะดูได้จาก Name Plate หรือป้ายที่ติด และสายไฟฟ้าที่ใช้มีขนาดรองรับกระแสได้เท่าไร หรือมอบให้ช่างไฟฟ้าดำเนินการ และเพื่อความปลอดภัยไม่ควรใช้กระแสหรือกำลังไฟฟ้าเต็มพิกัด ควรมี Safety Margin เผื่อไว้ 10 - 20 %
 

 
 

2. ตูจ่ายไฟขนาดเล็ก (Small Consumer Unit)

 
 


ตู้จ่ายไฟฟ้าขนาดเล็ก อาจเรียกว่า
Small Consumer Unit หรือ Distribution Box หรือกล่องใส่เบรกเกอร์แบบ DIN Rail ซึ่งนิยมใส่เบรกเกอร์กันไฟดูด หรือเบรกเกอร์เมน ซึ่งความจริงใช้ใส่อุปกรณ์อื่นๆได้ด้วย เช่น Over / Under Voltage Protective Device, Energy Meter และ Wi-Fi Energy Meter ตัวกล่องทำด้วยพลาสติกมีฝาครอบ ขนาด 7 x 13 x 8.5 .. ดังนั้นจึงใส่เบรกเกอร์แบบ 2-P ได้ 1 ตัว หรือใส่เบรกเกอร์แบบ Miniature C.B. ได้ 2 ตัว

 

 
 
รูปที่ 12  ตู้จ่ายไฟขนาดเล็กและเบรกเกอร์กันไฟดูดแบบ RCBO
 
 
 
รูปที่ 13  ตู้จ่ายไฟขนาดเล็ก
 
 
 
รูปที่ 14   ตู้จ่ายไฟขนาดเล็ก ติดตั้ง Over / Under Voltage Protection และติดตั้งเบรกเกอร์กันไฟรั่วไฟดูด

 
 

 

 
 

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ (Other Interesting Articles) :

1
2
3
4
5
6
 

ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต คืออะไร
ตู้ Nano Plug On
เต้ารับ Surge Protection (บทความจาก www.somkiet.com
ปลั๊กพ่วงตามมาตรฐาน มอก. 2432-2555
มอก. ปลั๊กพ่วง

Europe AC Power Cords,Plugs and Sockets
 

 
     
 

หมายเหตุ :   บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์ในการใช้งานอุปกรณ์ Safety Consumer Unit  ผู้เขียนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีผลประโยชน์กับการโฆษณาหรือการขายอุปกรณ์ต่างๆที่แสดงไว้

 


จากวันที่  8 .. 2564
ปรับปรุงล่าสุด 3 ..2564