เครื่องทำน้ำแข็งขนาดเล็ก (Small / Portable Ice Maker)
1. เครื่องทำน้ำแข็งขนาดเล็ก (Small Ice Maker) เครื่องทำน้ำแข็งขนาดเล็กมีหลายแบบให้เลือกใช้ เช่น แบบที่ทำน้ำแข็งเป็นก้อนสี่เหลี่ยม (Cube) แบบที่ทำน้ำแข็งหลอดรูปร่างคล้ายหัวกระสุน (Bullet) โดยสามารถทำน้ำแข็งได้วันละ 10 - 25 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิอากาศแวดล้อม (Ambient Temperature) แต่จะต้องมีการคอยเติมน้ำลงไปเรื่อยๆ หรือเลือกแบบที่สามารถต่อกับเครื่องกรองน้ำได้โดยตรงก็จะทำน้ำแข็งได้มาก เครื่องทำน้ำแข็งขนาดเล็กอาจจำเป็นสำหรับ Life Style / Good to Have ในกรณีดังนี้ 1) ตู้เย็นที่มีอยู่ทำน้ำแข็งได้ช้าและไม่เพียงพอ หรือ ถ้าเป็นตู้เก่าๆ ส่วนที่ทำน้ำแข็งอาจจะเสื่อม 2) มีต้องการใช้น้ำแข็งจำนวนมากขึ้นสำหรับรับแขกหรือใช้ในงานเลี้ยงสังสรรค์ 3) ต้องการน้ำแข็งมากขึ้นสำหรับแช่เครื่องดื่มโดยใช้ Ice Bucket หรือผสมครื่องดื่มประเภทที่ใช้น้ำแข็งปั่น 4) ลดภาระการทำน้ำแข็งของตู้เย็นหรือปิดระบบการทำน้ำแข็งเพื่อประหยัดพลังงาน 5) ทำน้ำแข็งเก็บสำรองไว้พร้อมใช้โดยไม่ต้องทำบ่อยๆ เครื่องทำน้ำแข็งขนาดเล็กที่นำมาใช้ได้แก่เครื่อง Rabbit Ice Maker ตามรูปที่ 1 เริ่มใช้งานตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2560
รูปที่ 5 ภายในเครื่องทำน้ำแข็ง
รูปที่ 6 การใช้ไฟฟ้าขณะทำน้ำแข็ง
ตัวอย่าง Ice Maker ที่ทำน้ำแข็งแบบรูปหัวกระสุน
ตัวอย่าง Ice Maker ที่ทำน้ำแข็งแบบก้อนสี่เหลี่ยม (Cube)
TIPS : การนำน้ำแข็งออกไปจากเครื่องทำน้ำแข็งขนาดเล็ก
เมื่อเครื่องทำน้ำแข็งจนน้ำส่วนที่ใช้ลดระดับลงไปมาก จะมีไฟเตือนให้เติมน้ำเพิ่ม ซึ่งจะต้องยกเอาถาดรองรับน้ำแข็งออกก่อน ดังนั้น จึงควรนำน้ำแข็งที่ได้ไปใช้ หรือไปเก็บสำรองไว้ในช่อง Freezer ของตู้เย็นโดยใส่ในภาชนะพลาสติก (รูปที่ 11) น้ำแข็งที่ทำออกมาจากเครื่อง Ice Maker ขนาดเล็ก จะเป็นน้ำแข็งที่ไม่แห้งมากหรือมีน้ำเยิ้มๆ (เพราะเครื่องทำน้ำแข็งขนาดเล็ก ไม่ใช่ตู้เย็น น้ำแข็งที่ทำออกมาจะแข็งอยู่เพราะตู้มีฉนวนกันความร้อน แบบกระติกน้ำแข็ง) ดังนั้นถ้านำไปเก็บสำรองทันทีโดยแช่ไว้ใน Freezer น้ำแข็งจะติดกันเป็นก้อนใหญ่ วิธีที่ควรทำคือ นำน้ำแข็งออกจากเครื่อง Ice Maker เป็นก้อนเล็กๆ แล้วนำไปแช่ไว้ใน Ice Tray ของตู้เย็นสักพักหนึ่งก่อน เกลี่ยน้ำแข็งให้ไม่ติดกัน เพื่อให้น้ำแข็งแห้ง จากนั้นจึงนำน้ำแข้งที่แห้งไปใส่ในภาชนะที่จะใช้เก็บสำรอง แล้วนำไปแช่ในช่อง Freezer ซึ่งปกติมีอุณหภูมิ -20 C เราก็จะได้ Stock น้ำแข็งที่ไม่ติดกัน สำหรับการนำน้ำแข็งไปใช้ประกอบ Mixer หรือใส่เครื่องดื่มนั้น เพื่อป้องกันน้ำแข็งละลายเร็ว ควรใช้ถังหรือกระติกใส่น้ำแข็ง (Ice Bucket) ที่เก็บความเย็นได้ดี เช่น Ice Bucket แบบ Stainless Steel หรือแบบมีฉนวนกันความร้อน Double Wall และควรมีฝาปิดด้วย
รูปที่ 7 Double Wall Ice Bucket ขนาดความจุ 2 ลิตร (ขนาด 15 x 16.5 ซม.) ฝาปิดมีฉนวนกันความร้อนและยังสามารถใช้เป็นถังแช่ไวน์แช่เบียร์แช่เครื่องดื่มได้ โดยเก็บรักษาความเย็นของน้ำแข็งได้ดีอย่างน้อย 4-5 ชั่วโมง รูปที่ 8 อุปกรณ์ Ice Tapper Breaker
3. การทำน้ำแข็งในตู้เย็น ตู้เย็นทุกตู้จะมีช่องทำน้ำแข็งและช่องใส่เครื่องดื่มที่ทำให้เย็นจัด ซึ่งตู้เย็นทั่วๆไปจะมีถาดสำหรับใส่น้ำเพื่อทำน้ำแข็งอย่างน้อย 2 ถาด หรือสามารถบิดเอาน้ำแข็งออกมาเก็บในภาชนะพลาสติกที่อยู่ข้างใต้ได้ สำหรับตู้เย็นขนาดใหญ่ขึ้น อาจจะมีการทำน้ำแข็งโดยอัตโนมัติ โดยการใส่น้ำเข้าไปที่ภาชนะของตู้เย็นที่มีความจุประมาณ 1 ลิตร (รูปที่ 9) และบางแบบก็สามารถกดหรือสั่งให้บดเอาน้ำแข็งเป็นเกร็ดออกมาได้
รูปที่ 10 การทำน้ำแข็งในแบบพิมพ์พลาสติกและเก็บลงใน Ice Tray
รูปที่ 11 การเก็บสำรองน้ำแข็งโดยใส่ในภาชนะพลาสติก แล้วเก็บไว้ในช่อง Freezer (ถ้าน้ำแข็งแห้งมาก่อนจะไม่ติดกัน) ด้านซ้ายเป็นน้ำแข็งจาก Ice Maker ที่ใสกว่าด้านขวาที่เป็นน้ำแข็งจากตู้เย็น
การทำน้ำแข็งโดยตู้เย็นนับว่าเพียงพอสำหรับการใช้ทั่วๆไป และสามารถเก็บน้ำแข็งใส่ภาชนะพลาสติกไว้ในช่องทำความเย็นจัด หรือช่อง Freezer ได้ แต่เนื่องจากการใช้ตู้เย็นประจำวันมีการเปิด ปิดบานประตูตู้บ่อยๆ ทำให้การทำน้ำแข็งอาจจะช้าไม่ทันกับความต้องการ ดังนั้น เครื่องทำน้ำแข็งขนาดเล็กจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการทำน้ำแข็งแยกต่างหากจากตู้เย็น หากมีความต้องการใช้น้ำแข็งมากขึ้น เพราะสามารถผลิตน้ำแข็งได้รวดเร็ว เหมาะสำหรับบ้านที่มีหลายคนและสำนักงานขนาดเล็ก หรือใช้ตามร้านอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม ขายกาแฟ เป็นต้น
4. เครื่องทำน้ำแข็ง Rabbit Ice Maker รุ่น HZB-15/SA เครื่องทำน้ำแข็งขนาดเล็กเครื่องนี้มีขนาด 29.7 x 39.6 x 37.8 ซม. ผลิตน้ำแข็งได้วันละประมาณ 15 กก. โดยมีถังพักน้ำแข็งจุ 0.7 กก. และถังใส่น้ำมีความจุ 1.5 ลิตร น้ำแข็งเป็นแบบหัวกระสุน มีขนาด 20 x 30 มม. ทำน้ำแข็งได้รอบละ 9 ก้อน ตาม Spec. ระบุว่าใช้เวลา 6 - 9 นาที
ผลการใช้งานเครื่องทำน้ำแข็ง Rabbit Ice Maker รุ่น HZB-15/SA การทดสอบทำโดยใส่น้ำที่นำมาจากตู้เย็นให้เต็มถังแล้วเปิดสวิตช์เครื่องให้ทำน้ำแข็ง Size L และ M จับเวลาการทำน้ำแข็ง ชั่งน้ำหนักน้ำแข็งที่ได้ วัดกำลังไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ ได้ผลดังนี้ การทดลองที่ 1 : เลือกให้ทำน้ำแข็งขนาด L ในแต่ละรอบที่ผลิตน้ำแข็งครั้งละ 9 ก้อน จะใช้เวลาประมาณ 14 - 15 นาที ใช้ไฟฟ้าประมาณ 156 - 162 วัตต์ หรือ 0.96 - 0.98 A เมื่อเวลาผ่านไป 2 ชั่วโมง 20 นาที ผลิตน้ำแข็งได้ 500 กรัม ใช้ไฟฟ้า 340 Wh ดังนั้น ถ้าผลิตน้ำแข็ง 1 กิโลกรัม จะใช้ไฟประมาณ 680 Wh หรือ 0.68 kWh คิดเป็นค่าไฟฟ้าประมาณ 3 บาท การทดลองที่ 2 : เลือกให้ทำน้ำแข็งขนาด M ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่ง ในการผลิตน้ำแข็ง 815 กรัม โดยใช้ไฟฟ้า 500 Wh ดังนั้น ถ้าผลิตน้ำแข็ง 1 กิโลกรัม จะใช้ไฟฟ้าประมาณ 0.614 kWh คิดเป็นเงิน 2.76 บาท
รูปที่ 15 เครื่องทำน้ำแข็ง SmartTek
รูปที่ 16 ส่วนทำน้ำแข็ง
รูปที่ 17 ส่วนหนึ่งของน้ำแข็งที่ผลิตออกมา
รูปที่ 18 วัดการใช้ไฟฟ้าด้วย Energy Meter
หมายเหตุ : ผู้เขียนไม่ได้เป็นผู้ขายและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาหรือขายผลิตภัณฑ์ที่นำมาแสดงหรือทดสอบและเขียนอธิบายการใช้งานไว้ในเว็บไซต์นี้ ถ้าผู้ใดสนใจจะซื้อไปใช้ กรุณาค้นหาจากเว็บไซต์ต่างๆได้
Truehits.net จากวันที่ 8 พ.ย. 2560 ปรับปรุงล่าสุด : 12 ก.ค. 2567