Digital Photography   Audio & Video   Computer Accessories   Software Applications | Miscellaneous | Home
....

ไฟแสงสว่าง ไฟฉุกเฉิน LED
LED Emergency Light

  ไฟฟ้าในประเทศไทย แม้ว่าจะมีใช้กันอย่างกว้างขวางและกระจายไปทั่วประเทศ แต่ก็ยังมีปัญหาไฟฟ้าดับบ่อยๆ เช่น เวลาฝนฟ้าคะนอง หรือมีฟ้าผ่าก็อาจจะเกิดไฟฟ้าดับ บางครั้งกิ่งไม้ไปพาดสายไฟฟ้าแรงสูง บางครั้งรถชนเสาไฟฟ้า ฯลฯ ก็เกิดไฟฟ้าดับขึ้นได้ เมื่อเกิดไฟฟ้าดับ เราก็จะแจ้งไปที่การไฟฟ้า ซึ่งจะใช้เวลาในการแก้ไข บางครั้งก็ใช้เวลานานหลายชั่วโมง ในระหว่างนั้นชาวบ้านทั่วไปก็ต้องจุดเทียน ซึ่งดูแล้วไม่สะดวก ล้าสมัย และเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้ แม้ว่าผู้เขียนจะอยู่ในกรุงเทพฯ แต่ก็ต้องผจญกับปัญหาไฟฟ้าดับ ไฟฟ้าตกบ่อยๆ ดังนั้นจึงต้องจัดหาไฟฟ้าแสงสว่างสแตนด์บายหรือไฟฉุกเฉินเอาไว้ใช้ในบ้านโดยติดทั้งชั้นล่างและชั้นบน
 
 


รูปที่ 1  ไฟฟ้าแสงสว่าง ไฟ LED Emergency Lamp

รูปที่ 2  ภายใน LED Emergency Lamp

รูปที่ 3  แผงดวงไฟ LED ด้านละ 12 ดวง

รูปที่ 4  LED Emergency Light

รูปที่
5
  ภายใน LED Emergency Light

   
1. ไฟฟ้าแสงสว่าง LED Emergency Lamp

ไฟฟ้าแสงสว่างสแตนด์บาย หรือโคมไฟฉุกเฉิน
(Emergency Light) ในปัจจุบัน (ปี 2559) นิยมใช้หลอดไฟประเภท LED เพราะกินไฟน้อยและมีอายุการใช้งานยาวนานมาก ซึ่งไฟฉุกเฉิน อาจแบ่งออกได้เป็นประเภทที่ให้แสงสว่างและส่องทางเดินโดยใช้หลอด LED คล้าย Spotlight และแบบที่ให้แสงสว่างโดยทั่วไป ซึ่งมีการใช้แบตเตอรี่ทั้งแบบ Sealed Lead Acid และแบบ Lithium Ion ซึ่งมีขนาดเล็กและเบา

รูปที่ 1  แสดง LED Emergency Lamp ที่ใช้หลอดไฟ LED ข้างละ 12 หลอด ให้ความสว่างมาก โดยภายในมีแบตเตอรี่ 2 ชุดต่ออนุกรมกัน ตามรูปที่ 2


รูปที่ 6  LED Emergency Lamp เมื่อยืดออก

คุณสมบัติ :

1.
สามารถพับหรือให้ยืดออกได้ มีหูให้หิ้ว หรือแขวน หรือติดผนังได้
2.
แบตเตอรี่มีความจุ 2400 mAh
3.
มีโหมดไฟฉุกเฉินเมื่อไฟฟ้าดับ ไฟ LED Emergency Lamp จะติดขึ้นมาเอง
4.
มีระบบป้องกันการชาร์จไฟเกิน
5.
ตาม Spec. แจ้งว่าสามารถชาร์จไฟได้ประมาณ 200 ครั้งขึ้นไป
6.
สามารถชาร์จไฟด้วยไฟบ้าน 220 V AC หรือไฟจาก Solar Cell 12 - 15 V DC
7.
กำลังหลอดไฟ LED 5 วัตต์
8.
เมื่อใช้เป็นไฟฉุกเฉิน หลอดไฟจะติด 12 ดวง ซึ่งจะใช้งานต่อเนื่องได้ประมาณ 9 ชั่วโมงครึ่ง
9.
ถ้าใช้เป็นไฟส่องสว่าง จะเลือกเปิดไฟ 12 ดวง หรือ 24 ดวง ก็ได้ ถ้าเปิดเต็มที่ 24 ดวง จะใช้งานอย่างต่อเนื่องได้ประมาณ 5 ชั่วโมง

การทดสอบ :

1.
เมื่อแกะฝาออก จะพบแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และแบตเตอรี่อยู่ภายใน ตามรูปที่ 2 แบตเตอรี่ที่ใช้หุ้มมิดชิด ไม่ระบุว่าเป็นแบบอะไร มี 2 ชุด ต่อเป็นอนุกรมกัน วัดแรงดันไฟฟ้ารวมได้ประมาณ 12 V
หมายเหตุ :
ากต่อไปแบตเตอรี่เสียและหาเปลี่ยนไม่ได้ ก็ยังมีทางดัดแปลงโดยต่อสายจากขั้ว +12 V และขั้ว -12 V ออกมาแล้วต่อกับแบตเตอรี่แบบ Seal Lead Acid ขนาด 12 V 1200 หรือ 5000 mAh ได้ หรือจะลองต่อกับแบตเตอรี่ Li-Ion เบอร์ 18650 ขนาด 3.7 V ต่ออนุกรมกัน 3 ก้อน ก็จะใช้ได้

2.
ในการชาร์จไฟเข้า วัดกำลังไฟฟ้าหรือกินไฟประมาณ 2.5 วัตต์ และจะลดลงเมื่อชาร์จไฟเต็ม

3. เมื่อชาร์จไฟเต็ม ทดลองเปิดเป็นไฟแสงสว่างโดยเปิด LED ทั้ง 24 ดวง ปรากฎว่าใช้งานอย่างต่อเนื่องได้ 5 ชั่วโมงครึ่ง

2. ไฟฟ้าฉุกเฉิน LED Emergency Light

ไฟฟ้าฉุกเฉิน (Emergency Light) ที่นิยมใช้กันมากตามโรงงาน โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า สถานที่ทำงาน ร้านอาหาร ฯลฯ มักจะเป็นแบบที่มีไฟ Spot Light ส่องสว่างให้กับบริเวณทางเดิน ทางออก ทางหนีไฟ โดยติดไว้กับฝาผนัง และในปัจจุบัน ใช้หลอดไฟฟ้าแบบ LED เป็นส่วนใหญ่

รูปที่ 4 แสดง LED Emergency Light แบบราคาประหยัด ใช้แบตเตอรี่ขนาด 5 AH ทำหน้าที่เป็นไฟฟ้าฉุกเฉินและไฟส่องสว่าง เหมาะสำหรับพื้นที่ขนาดเล็ก จากการทดลองชาร์จไฟจนเต็ม แล้วเปิดไฟส่องสว่างในโหมด Emergency Light ไฟจะส่องสว่างต่อเนื่องได้ประมาณ 4 ชั่วโมงครึ่ง

3. สรุป

1. ไฟฉุกเฉินและไฟส่องสว่างแบบ LED นั้น ในด้านการใช้งาน หลอดไฟ LED มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ยิ่งหลอดไฟจะติดเมื่อกรณีไฟฟ้าดับ ดังนั้นจึงไม่มีปัญหาด้านหลอดไฟ แต่Emergency Light จะทนแค่ไหน ขึ้นอยู่กับแผงวงจรอิเล็คทรอนิกส์ ซึ่งจะต้องเสียบกับไฟฟ้า 220 V อยู่ตลอดเวลา อาจจะเสียก่อนก็ได้ และถัดไปคือแบตเตอรี่ ซึ่งอาจจะใช้ได้ 2-3 ปี ก็ต้องเปลี่ยนใหม่ ดังนั้น การเลือกใช้ Emergency Light จึงต้องคำนึงถึงแบตเตอรี่ด้วย เช่นใช้แบตเตอรี่ที่หาซื้อได้ง่าย จะเป็นบนาด 6 V หรือ 12 V ก็ได้

2. เพื่อให้แน่ใจว่าไฟฉุกเฉินจะทำงาน เมื่อมีไฟฟ้าดับ จึงจะต้องมีการตรวจ ทดสอบการทำงานเป็นระยะๆ ซึ่งการตรวจโดยกดปุ่ม Test นั้น ถ้าติดตั้ง Emergency Light ไว้สูง ก็จะทำลำบาก แต่ก็มีไฟประเภทนี้ ที่มีรีโมทคอนโทรล ออกมาขายแล้ว และบางรุ่นก็มีระบบเตือน ในกรณีที่แบตเตอรี่เสื่อมสภาพ

3. สำหรับบ้านอยู่อาศัยโดยทั่วไป การใช้ไฟฉุกเฉิน คงจะเน้นที่การส่องสว่างในกรณีที่ไฟฟ้าดับมากกว่า ดังนั้น ไฟแบบ LED Emergency Lamp (รูปที่ 1) น่าจะเหมาสม เนื่องจากให้ความสว่างมาก ใช้ได้นานถึง 9 ชั่วโมงต่อการชาร์จจนเต็มและยังมีราคาถูก (599 บาท ณ  มิ.. 2559)

.........................................................................................................
หมายเหตุ :

1. อ่านบทความเก่า ไฟแสงสว่าง ไฟสแตนด์บายและโคมไฟฉุกเฉิน (14 มิ.. 2554)

2. ผู้ที่สนใจ กรุณาหาซื้อได้ตามห้างหรือศูนย์การค้าชั้นนำหรือจากเว็บไซต์ต่างๆ















 

 


 

 
จากวันที่ 29 มิ.. 2559
ปรับปรุงล่าสุด :1 .. 2559