1. ไฟฉาย LED
แรงสูง
ไฟฉายรุ่นใหม่ส่วนใหญ่จะใช้ LED
แทนหลอดใส้แบบเก่า เนื่องจากกินไฟน้อย ให้แสงสว่างมาก
ใช้งานได้ยาวนานและแบตเตอรี่ก็มีขนาดเล็ก ทำให้ไฟฉาย LED
แรงสูง มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา เหมาะแก่การนำไปใช้ในการเดินทาง
การทำงานซ่อมบำรุง ฯลฯ ซึ่งบางรุ่นก็ใช้ติดรถจักรยานได้
นอกจากนั้น ไฟฉาย LED
แรงสูงรุ่นใหม่สามารถฉายแสงไปได้ไกลและบางรุ่นก็ซูมได้
สำหรับการควบคุมนั้น มี Functions
ให้แสงสว่างมากที่สุด แสงสว่างปานกลาง และแสงสว่างน้อย
และยังมีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทำสัญญาณ SOS
และทำไฟ Emergency ด้วย
VDO
ที่ลงใน Youtube
|
2.
ผลการทดสอบการใช้งาน
การทดสอบทำโดยใช้
Rechargeable Battery 3.7 V ความจุตาม
Rating 2600 mAh (แต่วัดค่าความจุได้จริง
2,150 mAh) ได้ผลดังนี้
1. เปิดไฟฉายที่ความสว่างสูงสุด
ซึ่งสว่างจ้ามาก โดยเปิดครั้งละประมาณ
20 นาที
เพราะจะเกิดความร้อนสูงมากจนแทบจะจับไฟฉายไม่ได้ จึงต้องพักเป็นช่วงๆ ผลคือ
เวลาที่ใช้งานได้ หรือ
Run Time ประมาณ
1 ชั่วโมง 40
นาที
(วัดกระแสไฟฟ้าได้
1.28 - 1.30 A)
2. เปิดไฟฉายที่ความสว่างปานกลาง
ซึ่งสว่างมาก โดยเปิดไว้ตลอดเวลา
สามารถจับไฟฉายได้โดยร้อนเพียงอุ่นๆ ผลคือใช้งานได้ประมาณ
3 ชั่วโมง
25 นาที (วัดกระแสไฟฟ้าได้
0.63 A)
3. เปิดไฟฉายที่ความสว่างต่ำ
(ซึ่งก็สว่างมากพอและอาจจะสว่างกว่าไฟฉายทั่วๆไป)
โดยเปิดไว้ตลอดเวลา ผลคือ
ใช้งานได้ประมาณ 15
ชั่วโมง
(วัดกระแสไฟฟ้าได้
0.14 A)
จะเห็นได้ว่า การเปิดไฟฉายที่ความสว่างสูงสุด
จะกินไฟมากกว่าการเปิดที่ความสว่างต่ำถึง 9
เท่า
สำหรับแบตเตอรี่ที่ใช้นั้น วัดความจุได้ 2,150 mAh
ดังนั้นถ้าคำนวนคร่าวๆ
ในการเปิดไฟฉายที่ความสว่างต่ำ กินไฟ 0.14A = 140 mA
ดังนั้นควรจะใช้ได้นาน = 2,150/140 = 15.36
ชั่วโมง
4.
เกี่ยวกับแบตเตอรี่
3.7 โวลท์
Rechargeable
แบตเตอรี่ 3.7 V
Rechargeable รุ่น 18650
(เส้นผ่านศูนย์กลาง
18 มม.และยาว
65 มม.) เป็นที่นิยมใช้กันมาก
เช่น ใช้ใน Power Bank แบตเตอรี่
Notebook
สว่านไฟฟ้า ไฟฉาย
LED แรงสูง เป็นต้น แบตเตอรี่ชนิดนี้มีทั้งแบบธรรมดา
(ไม่มีวงจรป้องกัน)
และแบบที่มีวงจรป้องกันขนาดเล็กอยู่ในตัวแบตเตอรี่
ทำหน้าที่ตัดการชาร์จถ้าแรงดันของแบตเตอรี่สูงเกินไป
(>4.2V)
และตัดการจ่ายไฟเมื่อแรงดันต่ำเกินไป (<2.5V)
หรือ ป้องกันการชาร์จที่กระแสสูงเกินไป
ป้องกันการจ่ายไฟที่กระแสสูงเกินไป และป้องกันการลัดวงจร |