Digital Photography   Audio & Video   Computer Accessories   Software Applications | Home
....

เครื่องซักผ้าขนาดเล็ก
(Mini Twin Tub Washing Machine)

  เครื่องซักผ้าขนาดเล็ก เหมาะสำหรับใช้ซักผ้าที่มีปริมาณไม่มากนัก เช่น มีน้ำหนักรวมกันไม่เกิน 2 กิโลกรัมต่อการซักหนึ่งครั้ง  ซึ่งนอกจากเสื้อผ้าแล้ว ส่วนมากก็จะใช้ซักพวกชุดชั้นใน ผ้าอ้อมเด็ก เสื้อ กางเกงเด็ก  ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขนหนู ผ้าเช็ดรถ เป็นต้น และเนื่องจากเครื่องมีขนาดเล็ก ใช้พื้นที่น้อย ใช้ไฟฟ้าน้อย และราคาถูก จึงเป็นที่นิยมใช้กันมาก โดยเฉพาะในห้องที่มีขนาดเล็กรือใช้ในห้องพัก คอนโด ใช้วางที่ระเบียง เป็นต้น  สำหรับบ้านที่มีเครื่องซักผ้าขนาดใหญ่อยู่แล้ว ถ้าต้องการจะซักผ้าเพิ่มเติม แต่ผ้ามีจำนวนน้อย ก็อาจใช้ซักโดยเครื่องซักผ้าขนาดเล็กเสริมได้ จะทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากขึ้น
 
 


รูปที่
1
  เครื่องซักผ้า Imarflex รุ่น WM-201
 


รูปที่ 2  เครื่องซักผ้า

 
 


รูปที่ 3  แสดงถังปั่นแห้ง

 


รูปที่ 4  ปุ่มควบคุมการทำงาน

 

วิธีการใช้งานโดยย่อ
เครื่องซักผ้าขนาดเล็ก อาจจะไม่ทำงานแบบ
Fully Automatic เหมือนเครื่องขนาดใหญ่ แต่ก็ช่วยอำนวยความสะดวกในการซักผ้าและปั่นแห้งได้มาก วิธีใช้โดยย่อคือ

ขั้นตอนการซักผ้า
1. เสียบปลั๊กไฟฟ้า 220 V.
2. ใส่ผ้าลงในถังซักผ้า (5) อย่าให้น้ำหนักเกิน 2 กก.
3. ต่อท่อน้ำเข้ากับท่อน้ำ (1) หรือเทน้ำลงไปในถังซักผ้าจนถึงระดับที่ต้องการ (ไม่เกิน 18 ลิตร)
4. เติมผงซักฟอกลงไปในจำนวนที่กำหนดให้ และรอห้ผ้าเปียกชุ่ม ประมาณ 1 นาที
5. ตั้งปุ่มเลือกโปรแกรมการซัก (3) ไปที่ตำแหน่ง "ธรรมดา" (Normal) หรือ "ซักเบา"
(Gentle) ตามต้องการ
6. ปิดฝาถังซักผ้า และตั้งเวลาการซัก โดยหมุนปุ่ม (2) ตั้งเวลาซักประมาณ 15 นาที จากนั้นการซักผ้า ก็จะเริ่มต้นขึ้น
7. ปลดท่อระบายน้ำและวางปลายท่อระบายน้ำในที่ระบายน้ำทิ้ง หรือ ต่อไปยังท่อน้ำทิ้ง
(อ่านวิธีง่ายๆในการต่อท่อน้ำทิ้ง ข้างล่าง เพื่อความสะดวกในการใช้งาน โดยเพียง เปิด - ปิดวาวล์น้ำเท่านั้น)

8. เมื่อการซักผ้าเสร็จสิ้นลง ให้หมุนปุ่มเลือกการใช้งาน (3) ไปที่ "ระบายน้ำ" (Drain) และรอจนน้ำระบายอออกจากถังซักผ้าจนหมด แล้วเอาผ้าออกจากถัง นำไปใส่ในถังปั่นแห้ง (6)
9. ทำการล้างถังซักผ้า  โดยหมุนปุ่ม (3) จากตำแหน่ง ระบายน้ำ (Drain) ไปที่ตำแหน่งปกติ (Normal) เติมน้ำลงไปพอสมควร แล้วตั้งเวลาที่ปุ่ม (2) เพื่อให้เครื่องปั่น ทำความสะอาดถัง แล้วจึงระบายน้ำออก

ขั้นตอนการปั่นแห้ง
10
. ใส่ผ้าที่ซักแล้วในถังปั่นแห้ง โดยให้กระจายตัวสม่ำเสมอ วางที่ครอบไว้บนผ้า  ปิดฝาดูให้แน่ใจด้วยว่าได้วางท่อระบายน้ำทิ้งในที่ระบายน้ำทิ้งแล้วและหมุนปุ่มเลือกการทำงาน (3) ไปที่ตำแหน่งระบายน้ำ 
ากนั้นหมุนปุ่ม (4) ตั้งเวลา 3 นาที เครื่องก็จะทำงานทันที
 

 
 

ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่อง

1. การใช้ไฟฟ้า :  220 โวลท์ 
2. ขนาดเครื่อง กว้าง 58 ซม. สูง 55 ซม. ลึก 34 ซม.
3.
น้ำหนัก : 10 กิโลกรัม
4. ราคา (5 มิ.. 2554)  2,490 บาท

การต่อท่อน้ำทิ้ง (Do It Yourself)

เสียบปลายท่อน้ำทิ้งที่ออกมาจากเครื่องซักผ้า เข้าที่ท่อ
PVC แล้วติดวาวล์ เปิด - ปิด ทากาวประสานการต่อท่อ กันน้ำรั่ว และยึดวาวล์ติดกับพื้นหรือแผ่นไม้ที่มีความหนาพอสมควรให้มั่นคงเพราะวาวล์นี้จะค่อนข้างแข็ง  ในการซักผ้า ปิดวาวล์น้ำออกเอาไว้  แล
ะเมื่อซักผ้าเสร็จแล้วต้องการระบายน้ำออก หรือเวลาปั่นหมาดก็ระบายน้ำออก โดยเปิดวาวล์ให้น้ำไหลออกไปได้  วิธีง่ายๆดังกล่าวนี้ ท่านก็สามารถทำเองได้ โดยอุปกรณ์ต่างๆหาซื้อได้ที่
HomePro, HomeWorks หรือร้านจำหน่ายอุปกรณ์การประปาทั่วไป

 

 
                                          
รูปที่ 5  การต่อท่อน้ำทิ้ง
 

ลการทดลองใช้งาน

1. ขณะทำการซักผ้า การใช้ไฟฟ้า จะ Swing ไปมา เพราะถังซักผ้ามีการหมุนไปแล้วระยะหนึ่งจะหยุดและหมุนกลับ ดังนั้น กำลังไฟฟ้าที่ใช้ จึง Swing ไปมาระหว่าง 124 ถึง 180 วัตต์

2. ขณะทำการปั่นแห้ง ถังปั่นจะหมุนตลอดเวลา ดังนั้น กำลังไฟฟ้าที่ใช้จึงค่อนข้างจะคงที่อยู่ที่ 97 - 98 วัตต์

3. พบว่า เครื่องทำงานได้ดี ผ้าที่ซักและปั่นหมาดแล้ว มีความสะอาดและนุ่มดีกว่าการซักด้วยมือแม้ว่าจะเป็นผ้าเช็ดรถ ที่เปลื้อนมาก ก็ซักออกมาได้สะอาดดีพอสมควร

4. ทดลองซักผ้าเช็ดตัวขนาดมาตรฐาน จำนวน 2 ผืน พบว่าพอซักได้ แต่ผ้าที่ชุ่มน้ำ จะค่อนข้างหนักไป ถ้าซักเพียง 1 ผืน บวกผ้าอื่นๆ ก็น่าจะดีกว่า  สำหรับการปั่นหมาดนั้น ถ้าเป็นผ้าเช็ดตัวควรปั่นทีละผืน ผลที่ได้นับว่าดีทีเดียว

5. ในการปั่นแห้ง ถังปั่นที่มีขนาดเล็กจะหมุนด้วยความเร็วสูง ดังนั้น การจัดวางผ้าจึงควรใส่ผ้าหลายๆชิ้นให้น้ำหนักเฉลี่ยกัน การหมุนก็จะราบเรียบ แต่ถ้าเป็นผ้าหนัก ชิ้นเดียว อาจเกิดการสั่นขึ้นได้ ให้หยุดเครื่อง โดยเปิดฝาถังปั่นหมาดออก แล้วจัดผ้าใหม่

ค่าใช้จ่ายในการซักผ้าแต่ละครั้ง

คำนวนจากการซัก ที่ใช้เวลา 15 นาที และการปั่นหมาด ใช้เวลา 5 นาที โดยใช้กำลังไฟฟ้าที่วัดได้ข้างต้น และค่าไฟฟ้า หน่วยละ 4.50 บาท  เป็นค่าไฟฟ้าประมาณ 19.52 สตางค์ ต่อการซัก 1 ครั้ง

Reference

www.imarflex.co.th  ในเว็บไซต์ของอีมาร์เฟลกซ์ 
 

   

Hit Counter
จากวันที่ 5 มิ.ย. 2554
ปรับปรุงล่าสุด : 8 มิ.. 16 .. 2554, 21 .. 2557
, 30 .. 2558