Digital Photography Audio & Video Computer Accessories Software Applications Miscellaneous | Home |
.... |
Pulse Oximeter -
Bluetooth |
เมื่อเราไปโรงพยาบาล ก่อนพบแพทย์จะมีการตรวจเช็คขั้นพื้นฐานโดยทั่วๆไป
ได้แก่การวัดความดันโลหิต วัดอุณหภูมิร่างกาย และชั่งน้ำหนัก
ซึ่งบางแห่งก็มีการตรวจเช็คมากกว่านี้โดยมีการวัดอัตราการเต้นของหัวใจและความอิ่มตัวของ
Oxygen ในโลหิตด้วย มีโรงพยาบาลหลายแห่ง
จัดเป็นห้องตรวจเบื้องต้น เรียกว่า ห้องตรวจสัญญาณชีพ
(Vital Sign Room) |
||
รูปที่ 1 การใช้ Pulse Oximeter หนีบที่ปลายนิ้วมือ |
||
รูปที่ 2 ค่าที่วัดได้จาก Pulse Oximeter แสดงผลในหน้าจอโทรศัพท์มือถือ ผ่านระบบ Bluetooth |
||
คำอธิบายเพิ่มเติม |
||
ชีพจร
หมายถึง
แรงดันที่เกิดจากการขยายตัวและหดตัวของหลอดโลหิตในจังหวะเดียวกับ
การหดและขยายตัวของหัวใจ ดังนั้น อัตราชีพจร (Pulse
Rate) คือ คลื่นการไหลของโลหิตในหลอด
เลือดโลหิตท าให้เกิดการโป่งพองขึ้นเป็นจังหวะ
สามารถจับแล้วรู้สึกได้ว่าเสมือนมีการเต้นตุบ ๆ ของ
หลอดเลือดตามจังหวะการเต้นของหัวใจ
วิธีการวัดดั้งเดิมนั้นทำโดยใช้นิ้วกลางและนิ้วชี้คลำการเต้นของหลอดเลือดแดงตรงด้านหน้าของข้อมือ
(ด้านหัวแม่มือ) ที่อยู่ต่ำกว่าฐานของนิ้วหัวแม่มือ ซึ่งชีพจร จะประมาณ
60 – 100 ครั้งต่อนาที |
||
อัตราการหายใจ
วัดโดยดูจากการขยายตัวของช่องอก จะประมาณ
12 - 18 ครั้งต่อนาทีสำหรับบุคคลที่มีอายุตั้งแต่
12 ปีขึ้นไป |
||
อุณหภูมิร่างกาย
ค่าปกติจะประมาณ
37+/- 0.5
องศาเซลเซียส/Celsius |
||
ความดันโลหิต ใช้ตรวจวัดจากเครื่องวัด จะประมาณ 90/60-120/80 มิลลิเมตรปรอท |
||
ความอิ่มตัวของ Oxygen ในโลหิต (SpO2) ของคนที่ร่างกายปกติ จะอยู่ระหว่าง 95 - 100 |
||
Perfusion Index (PI) บน Pulse Oximeter
คือค่าการไหลเวียนของโลหิตในบริเวณนั้น โดยทั่วไป
PI อาจจะมีค่าได้ตั้งแต่
0.02 - 20 %
ค่า PI > 4%
ก็ถือว่าบริเวณดังกล่าวมีการไหลเวียนของโลหิตเพียงพอ |
||
Heart Rate Variability คืออะไร | ||
Note : เครื่อง Oximeter ที่มีการแสดงคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้นเป็นเพียงแสดงคร่าวๆเท่านั้น หากต้องการทราบละเอียดมากขึ้น ควรจะต้องใช้เครื่องบันทึกคลื่นหัวใจที่ออกแบบมาโดยเฉพาะแบบพกพา ซึ่งมีชนิดที่บันทึกข้อมูลส่งไปเก็บไว้ในโทรศัพท์มือถือได้ด้วยระบบ Bluetooth เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่อาจะใช้ประกอบการวินิจฉัย เช่น ถ้าเกิดภาวะหัวใจเต้นช้าหรือมีอาการหน้ามืด หรือเจ็บหน้าอก ใจสั่น ก็รีบบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจไว้ และหากมีข้อสงสัยว่าจะมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการเต้นของหัวใจ จะต้องรีบไปพบแพทย์ |
||
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
(Other Interesting Articles) 1. หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia), หัวใจเต้นเร็วไป (Tachycardia) 2. คลื่นไฟฟ้าหัวใจ Electrocardiogram (ECG / EKG) 3. เครื่อง Holter การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบกติดตัว 4. การใช้เครื่องวัดความดันโลหิต บทความในเว็บไซต์ www.somkiet.com |
||
จากวันที่ 6 พ.ค.
2564
ปรับปรุงล่าสุด : 8 ส.ค.
2564