Digital Photography   Audio & Video   Computer Accessories   Software Applications | Miscellaneous | Home

เครื่องทำลายเอกสาร
(Paper Shredder)
 

  บ้านหรือสำนักงานที่มีเอกสารจำนวนมาก จำเป็นจะต้องใช้เครื่องทำลายเอกสารที่ไม่ใช้แล้วหรือไม่ต้องการเก็บ เพื่อลดภาระในการหาที่สะสมและเพื่อความปลอดภัยจากการที่ข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ในเอกสาร หรือข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ชื่ออีเมล์ เลขประจำตัว เลขรหัสต่างๆ และอาจมีชื่อ ที่อยู่ ของลูกค้าหรือบุคคลอื่นๆ ฯลฯ ซึ่งหากรั่วไหลออกไป อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาได้

เครื่องทำลายเอกสารที่ใช้สำหรับบ้าน ร้านค้า และสำนักงานขนาดเล็ก ที่น่าสนใจ ในปัจจุบัน (ธันวาคม 2565) มีขายหลายแบบ หลายยี่ห้อ มีขนาดเล็ก ตั้งได้สะดวก และมีราคาไม่แพง สามารถเลือกซื้อได้ในราคาตั้งแต่ 1,000 - 3,500 บาท  โดยมีแบบต่างๆให้เลือก เช่น แบบทำลายเอกสารโดยตัดเป็นเส้นยาวๆ (Strip Cut), แบบตัดละเอียด (Cross Cut) และบางเครื่องก็ใช้ตัดบัตรเครดิต และตัดแผ่น CD ได้ด้วย

เครื่องทำลายเอกสารแบบตัดละเอียด (Cross Cut)


เครื่องทำลายเอกสารที่นำมาทดลองใช้ได้แก่เครื่อง Neocal รุ่น ND-81CC มีคุณสมบัติโดยย่อคือ
1.  สามารถทำลายเอกสารแบบตัดละเอียด เอกสารที่ตัดแล้วมีขนาด 4 x 28 มม.
2.  จำนวนแผ่นในการทำลาย ไม่เกิน 8 แผ่นต่อครั้ง (การดาษ A4  75 แกรม)
3.  ความจุของถังใส่กระดาษที่ถูกทำลาย 15 ลิตร
4.  เครื่องมีขนาด 320 x 195 x 356 มม.

เครื่องทำลายเอกสารแบบตัดละเอียด มีข้อดีคือ เอกสารที่ตัดทำลายแล้วมีขนาดเล็ก เป็นท่อนๆ กว้าง 4 มม. และยาวเพียง 28 มม. ทำให้หล่นลงไปกองในถังเก็บได้ง่ายและถังก็รองรับเศษกระดาษได้มาก ทำให้ไม่ต้องเทเศษกระดาษออกไปบ่อยๆ  แต่ถ้าเป็นเครื่องทำลายเอกสารแบบ Strip Cut จะตัดกระดาษออกมาเป็นเส้นยาวๆ กว้าง 6 มม. และยาวประมาณ 30 ซม. เศษกระดาษนี้จะม้วนงอ โป่ง กินที่ ทำให้กระดาษในถังเต็มเร็ว และอาจไปดันกระดาษที่ตัดใหม่ให้ไหลออกมายากขึ้น ทำให้เกิดกระดาษติดในเครื่องและเครื่องไม่ทำงานได้บ่อยๆ
 
 

 

 

 


รูปที่ 1  เครื่องทำลายเอกสารแบบตัดละเอียด Neocal รุ่น ND-81CC
 

 
 


รูปที่ 2  ด้านบนของเครื่อง
 

 
 


รูปที่ 3  ด้านใต้ของเครื่องทำลายเอกสาร
 

 
  ผลการใช้งาน

เริ่มใช้งานเครื่องทำลายเอกสาร Neocal รุ่น ND-81CC ตั้งแต่วันที่ 30 .. 2565 โดยใน 2 วันแรกได้ทำลายเอกสารที่เป็นกระดาษขนาด A4 75 - 80 แกรม ไปแล้วประมาณ 100 แผ่น ผลคือเครื่องทำงานได้ดี ไม่มีปัญหาติดขัดแต่อย่างใด

แต่จากประสบการณ์การใช้เครื่องทำลายเอกสารที่มีมาก่อนกับเครื่องแบบ Strip Cut ซึ่งเกิดกระดาษติดบ่อยๆ ดังนั้นผู้เขียนจะค่อยๆทำไปเรื่อยๆ โดยใส่เอกสารที่จะทำลายครั้งละ 5 แผ่นเท่านั้น และในการใส่กระดาษขนาด A4 ลงไปนั้น ควรจะต้องจัดกระดาษให้เรียบ ใส่ให้ตรงตั้งฉาก เพราะถ้ากระดาษเอียง ขอบกระดาษจะติด เครื่องอาจจะดึงเข้าไปไม่ได้ ทำให้เครื่องติดและหยุดทำงาน การใช้ปุ่ม Reverse ก็อาจเอากระดาษออกมาได้ไม่หมด จึงจำเป็นต้องแกะหรือแคะหรือค่อยๆคีบเอาเศษกระดาษออกมา เป็นการแก้ไขที่ใช้เวลามากพอควร

สำหรับการใช้งานที่น่าจะปลอดภัยจากกระดาษติด ผู้เขียนจะเอาการดาษ A4 มาตัดเป็น 2 ท่อนก่อน แล้วจึงนำไปทำลาย โดยใส่ครั้งละ 5 แผ่น แม้ว่าวิธีนี้จะใช้เวลามากขึ้น แต่ก็ทำให้เครื่องทำงานได้ดี ไม่มีปัญหา
 
 
 


รูปที่ 4  เศษกระดาษที่ถูกตัดทำลายแบบ Cross Cut
 

 
 


รูปที่ 5  เศษกระดาษแบบตัดละเอียด
 

 
  Compact Shredder

เครื่องทำลายเอกสารขนาดจิ๋ว มีขนาด 175 x 115 x 155  . ามรูปที่ 6 ป็นอุปกรณ์เก่ามาก มีอายุถึง 28 ีแล้ว แต่ยังใช้งานได้ดีสำหรับการทำลายเอกสารขนาดเล็กๆ หรือถ้าเป็นขนาด A4 ็จะต้องตัดให้เล็กลง กว้างไม่เกิน 12.5 . ุปกรณ์นี้มีที่ตัดซองจดหมายอยู่ทางด้านขวาด้วย เหมาะสำหรับวางบนโต๊ะทำงาน เครื่อง Compact Shredder ช้ไฟจากแบตเตอรี่ขนาดกลาง 1.5 V ำนวน 3 ้อน หรือใช้ไฟจาก Adapter 230/4.5 V. ็ได้
 
 
 


รูปที่ 6  Compact Shredder
 

 
 

รูปที่ 7  ด้านใต้ของเครื่อง Compact Shredder


 
 
     
  หมายเหตุ   บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์ในการใช้งานเคื่องทำลายเอกสาร (Paper Shredder) ผู้เขียนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีผลประโยชน์กับการโฆษณาหรือการขายอุปกรณ์ต่างๆที่แสดงไว้  


วันที่ 1..
2565
ปรับปรุงล่าสุด .....