Digital Photography   Audio & Video   Computer Accessories   Software Applications | Miscellaneous | Home
....

DIY Plug-In Surge Protector
ปลั๊กป้องกัน Surge

 

ารป้องกันหรือลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง โทรทัศน์ ฯลฯ จาก Surge, Transient Over Voltage, Spikes, Switching, Spark รือที่เรียกกันว่าไฟกระโชกนั้น อาจทำได้โดยติดอุปกรณ์ Varistor ข้ากับรางปลั๊กไฟฟ้า ปลั๊กไฟ หรือติดที่วงจรภายในอุปกรณ์ไฟฟ้าเอง Varistor มีขนาดเล็กและราคาถูก นภาวะปกติจะทำตัวเป็นความต้านทานที่มีค่าสูงมาก แต่ถ้ามีไฟกระชากหรือมีแรงดันไฟฟ้าสูงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (Surge) ข้ามาโดยแรงดันไฟฟ้าสูงกว่าค่าที่กำหนดในการออกแบบของ Varistor ต่ละเบอร์ Varistor ะกลายเป็นมีความต้านทานลดลง ซึ่งทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัว Varistor ละอาจไหลลง Ground ถ้ามีระบบต่อลงดินที่ดี ดังนั้นจึงควบคุมไม่ให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหายจาก Over Voltage ด้ อย่างไรก็ตาม Varistor ะเสื่อม (Degrade) งเมื่อมี Over Voltages, Spikes กิดขึ้นบ่อยๆและอาจเสียได้ โดยที่วๆไป Varistor ะป้องกันความเสียหายได้ในระดับหนึ่งเมื่อเกิดมี Surge ะยะสั้นๆ

รูปที่
1 แสดงการต่อวงจร DIY Plug-In Surge Protector ซึ่งใช้งานได้เช่นเดียวกับรางปลั๊กไฟฟ้าที่มีการป้องกันไฟกระโชก แต่มีขนาดเล็กและราคาถูก สามารถทำใช้เองได้ สะดวกในการเสียบเข้ากับรางปลั๊กไฟฟ้าแบบธรรมดาหรือเสียบขั้นระหว่าง Wall Outlet กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่สำคัญ

 


รูปที่ 1 Diagram การต่อ Varistor เข้ากับปลั๊กไฟฟ้า เพื่อทำให้เป็น Plug-In Surge Protector

 


รูปที่ 2 ปลั๊กไฟฟ้าแบบ DIY ป้องกัน Surge

  1. Plug-In Surge Protector แบบที่ 1 : ใช้ปลั๊กแบบที่มีขนาดพอสมควร มีสวิตช์เปิด ปิด และมีที่ว่างภายใน สามารถใส่ Varistor ขนาดใหญ่ เบอร์ 20D431K หรือเบอร์ 20D471K ได้
 


รูปที่ 3  ปลั๊กไฟฟ้าแบบที่ 1 ต่อไฟ 2 ขา L และ N

 


รูปที่ 4 การต่อ Varistor เข้ากับขั้วของปลั๊กไฟ

 


รูปที่ 5 DIY Plug-In Surge Protector เสียบที่รางปลั๊กไฟฟ้า

  2. Plug-In Surge Protector แบบที่ 2 : ใช้ปลั๊กขนาดเล็ก โดยตัดขั้วด้านหนึ่งออกเพื่อให้มีที่ใส่ Varistor ด้ โดยใช้ เบอร์ 14D431K รือเบอร์ 14D471K ก็ได้
 


รูปที่ 6  ปลั๊กไฟฟ้าแบบที่ 2 ขนาดเล็กและมีราคาถูก

  3. การตรวจเช็ค Varistor: โดยที่ในภาวะปกติ Varistor จะทำตัวเสมือนเป็นตัวความต้านทานที่มีค่าสูงมาก ถ้าใช้ Multimeter วัดค่าโอห์มจะอ่านค่าไม่ได้ แต่การตรวจเช็คว่า Varistor ยังดีอยู่หรือไม่อาจจะใช้วิธีสังเกตุว่ามีรอยใหม้หรือไม่ เพราะถ้ามี Surge อย่างรุนแรง ตัว Varistor อาจจะใหม้ปบางส่วน ซึ่งการตรวจวิธีนี้จำเป็นต้องถอดฝาอุปกรณ์ออกมาและอาจไม่สะดวกนัก อย่างไรก็ตามการตรวจเช็ค Varistor ที่น่าจะใช้ได้ดีคือการวัดค่า Capacitance โดยใช้ Multimeter เพราะในภาวะปกติ Varistor ก็ทำตัวเสมือนเป็น Capacitor ด้วย (อ่านบทความใน Reference 1) แต่มีค่า Capacitance น้อย อยู่ในย่าน Nano Farad (nF) เช่น 0.16 - 0.60 nF ซึ่งถ้า Varistor เสื่อมหรือเสีย ค่า nF ก็จะเปลี่ยนไปและการวัดก็ทำได้ง่าย เช่น ตามรูปที่ 7
 

รูปที่ 7  การตรวจเช็ค Varistor โดยใช้ Multimeter
 


 

References :

1. Varister-Symbols, Working, Types & Applications. Circuit Today.

2. SiPAD, HD AC Line Surge Protector

  
..........................................................................................................................


จากวันที่  22 .. 2563
ปรับปรุงล่าสุด :  2.. 2563