Digital Photography   Audio & Video   Computer Accessories   Software Applications  Miscellaneous | Home
  เตารีดไอน้ำ.กับความสะดวกและการประหยัดพลังงาน
(Energy Saving - Steam & Steam Generator Iron)
 
 
 

เตารีดไอน้ำ
ได้มีการพัฒนาเตารีดไอน้ำให้ใช้งานได้ดีและประหยัดไฟฟ้า โดยเพิ่มระบบตัดไฟอัตโนมัติ ซึ่งเตารีดไอน้ำที่ใช้ตามบ้าน โดยทั่วๆไป แบ่งออกเป็น

1.  เตารีดไอน้ำแบบ Steam Iron (รูปที่ 1 และ 2)

เป็นเตารีดที่ใช้การใส่น้ำเข้าไปเพื่อทำให้เกิดไอน้ำ พ่นออกมายังผ้าที่จะรีดได้เมื่อต้องการ ซึ่งจะทำให้รีดผ้าที่มีรอยยับได้เรียบอย่างรวดเร็ว เตารีดแบบนี้ มีช่องให้ใส่น้ำได้ประมาณ
300 ml (มิลลิลิตร) ดังนั้น จึงเหมาะสำหรับการรีดผ้าที่มีปริมาณไม่มากนัก เพราะน้ำที่ใช้จะหมด ต้องเติมใหม่อีก แต่ถ้าจะรีดผ้าแบบเดิมๆ โดยไม่ต้องการไอน้ำพ่นออกมา ก็ย่อมทำได้  เตารีดไอน้ำแบบ Steam Iron
เป็นที่นิยมใช้กันมาก เพราะสะดวกในการใช้งาน รีดผ้าได้เร็วขึ้น และมีราคาไม่แพงนัก
 

 
 


 รูปที่ 1  เตารีดไอน้ำในมุมต่างๆ (ใช้ Mouse ทาบที่รูป Thumb Nail
ภาพข้างบนจะเปลี่ยนไป และคลิกที่ภาพข้างบน เพื่อดูภาพขยาย)


รูปที่ 2 แสดงปุ่มควบคุมต่างๆ
 
 
 

2.  เตารีดไอน้ำแบบ Steam Generator Iron (รูปที่ 3 และ 4)

เป็นเตารีดไอน้ำแบบแยกหม้อต้ม ใช้การใส่น้ำที่ภาชนะแยกต่างหากจากตัวเตารีด เพื่อให้ใส่น้ำสำหรับใช้ทำไอน้ำได้มากขึ้น ซึ่งไอน้ำจากหม้อต้มน้ำจะเข้าสู่ตัวเตารีดผ่านทาง
Hose หรือใช้ท่อต่อวบคู่กันกับสายไฟฟ้า ไอน้ำที่พ่นออกมาจากเตารีดในขณะที่รีดผ้าจะมีความดันสูงกว่าแบบ Steam Iron ละทำให้รีดผ้าเป็นจำนวนมากๆได้รวดเร็วขึ้น (าจจะเกือบเท่าตัว) ซึ่งทำให้ประหยัดพลังงานได้ประมาณ 20%  เหมาะสำหรับร้าน ซัก อบ รีด และผู้ที่ต้องการรีดผ้าเป็นจำนวนมากๆ แต่แน่นอนว่า เตารีดไอน้ำแบบแยกหม้อต้ม นี้ มีราคาแพงกว่าแบบ Steam Iron มาก  ดังนั้น การใช้งานจึงเน้นที่ความสะดวก รวดเร็ว เช่น บ้านที่ต้องรีดผ้ามากๆ หรือร้านรับจ้างรีดผ้า เพื่อให้ทันตามกำหนด มากกว่า ความคุ้มค่าที่จะได้จากการประหยัดพลังงาน
    

 
  เตารีดไอน้ำแบบที่มีหม้อต้มน้ำแยก

รูปที่ 3  เตารีดไอน้ำแบบที่มีหม้อต้มน้ำแยกต่างหาก
(Steam Generator Iron)
 
 
 
ภาพด้านหลังของชุดเตารีดไอน้ำแบบ
Steam Generator Iron

รูปที่ 4  เตารีดไอน้ำแบบที่มีหม้อต้มน้ำแยกต่างหาก แสดงสวิทช์ควบคุม
 
 
 

การทดสอบ

การทดลองใช้เตารีดไอน้ำ Steam Iron Electrolux รุ่น ESI 510  บ่งออกเป็น

1.  ปิดเตารีดทิ้งไว้โดยไม่รีดผ้า (Idle / Standby)
    
ปิดเตารีดโดยหมุนปุ่มเลือกชนิดผ้า ไปที่ Cotton / Linen วัดกำลังไฟฟ้าที่ใช้ได้ประมาณ 1,400 วัตต์  เมื่อเตารีดร้อนถึงอุณหภูมิที่ต้องการ ไฟก็จะถูกตัดโดยอัตโนมัติ และเมื่อเตารีดเย็นลง ไฟก็จะเข้าไปทำความร้อนอีก เป็นไปอย่างนี้เรื่อยๆ การทดลองวัดพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไปในเวลา 1 ชั่วโมง เท่ากับ 0.113 น่วย (kWh) หรือเป็นค่าไฟฟ้าประมาณ 0.45 บาท

2. 
เปิดเตารีดและใช้รีดผ้าตามปกติ (Ironing)
     จากการทดลองรีดผ้าตามปกติ พบว่า ถ้ารีดผ้านาน 1 ชั่วโมง จะใช้พลังงานไฟฟ้า ประมาณ 0.60 หน่วย (kWh) ซึ่งคิดเป็นค่าไฟฟ้า ประมาณ 2.40 - 2.50 บาท

จะเห็นได้ว่า ถ้าเรารีดผ้าตามปกติ เสร็จแล้วดึงปลั๊กเตารีดออก ก็จะประหยัดไฟฟ้าได้ เมื่อเทียบกับการที่เสียบปลั๊กเตารีดทิ้งไว้อีกเป็นเวลานานๆ และการรีดผ้าครั้งละมากๆ ก็จะเป็นการประหยัดไฟฟ้ามากกว่าการรีดผ้าครั้งละน้อยชิ้น แต่รีดหลายๆครั้ง

เตารีดบางยี่ห้อ บางรุ่น ออกแบบมาให้ตัดไฟฟ้าเองได้ ถ้าตั้งไว้บนฐานของมันนานเกิน 8 นาที หรือถ้าล้ม / เอียง เช่น  Black & Decker D2030  เป็นต้น


การทดลองใช้เตารีดไอน้ำแบบแยกหม้อต้ม Steam Generator Iron Philips รุ่น GC 6440

ผลการทดสอบ

1.  เปิดสวิทช์เครื่องเพื่อทำการต้มน้ำในหม้อต้ม พร้อมกับเปิดไฟฟ้าเข้าเตารีด ในช่วงแรกจะใช้เวลาต้มน้ำจนเดือดเป็นไอพร้อมใช้งานนานประมาณ 4 นาที (ขึ้นกับปริมาณน้ำที่ใส่เข้าไป) และในช่วงนี้ก็จะใช้ไฟฟ้าส่วนหนึ่งประมาณ 0.11 kWh

2.  เมื่อหม้อต้มน้ำทำงาน จะใช้ไฟฟ้าประมาณ 1,265 วัตต์ และเมื่อเตารีดทำงาน จะใช้ไฟฟ้ารวมกันประมาณ 1,980 วัตต์ แต่ในการใช้งาน หม้อต้มน้ำและเตารีด มีอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิของตัวเอง ทำงานอยู่ตลอดเวลา

3.  จากการทดลองรีดผ้าชนิดต่างๆรวมกันนาน 20 นาที ปรากฎว่า ใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น 0.338 หน่วย

การใช้เตารีดแบบ
Steam Generator Iron นั้นจึงเหมาะสำหรับการรีดผ้าครั้งละมากๆสำหรับบ้านที่มีคนหลายๆคน หรือใช้ตามร้านซัก อบ รีด แต่ประเด็นอยู่ที่ราคาของเครื่อง ซึ่งยังแพงมาก (Over Priced) และแพงกว่าเตารีดไอน้ำแบบ Steam Iron
หลายเท่า ซึ่งก็รีดผ้าได้เร็วเช่นกัน และการใช้ไอน้ำพ่นไปยังผ้า ก็ไม่จำเป็นจะต้องทำสำหรับผ้าทุกชิ้น  แน่นอนว่า เตารีดแบบมีหม้อต้มน้ำแยก จะใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงกว่า แต่ก็มีข้อเสียอยู่บ้าง คือเกะกะ ถ้าวางบนไม้รีดผ้า ก็ทำให้เปลืองที่สำหรับการรีดผ้าด้วย

วิธีรีดผ้าให้ประหยัดไฟฟ้า

1.  ทำให้เสื้อผ้ายับน้อยที่สุด ในการซักและตากผ้า สลัดผ้าให้คลายตัวและดึงผ้าทุกชิ้นให้ตึงแล้วจึงตาก  และเมื่อผ้าแห้ง ก็พับเก็บให้ยับน้อยที่สุด การที่ผ้ายับมากๆ เวลารีดก็จะต้องใช้น้ำพรมหรือพ่นไอน้ำมาก ทำให้เสียเวลาและสิ้นเปลืองพลังงานเพิ่มขึ้น

2.  ก่อนรีดผ้าทุกครั้ง ให้แยกผ้าออกตามชนิดผ้าและตามความหนา ความบาง เพื่อสะดวกในการเลือกว่าจะรีดผ้าใดก่อน หลัง และสามารถตั้งควบคุมอุณหภูมิที่เตารีดได้

3.  วบรวมผ้าที่จะรีดแต่ละครั้งให้มากพอ แล้วจึงทำการรีด ไม่ควรรีดผ้าครั้งละตัวสองตัว เพราะการเสียบปลั๊กแต่ละครั้งจะสิ้นเปลืองไฟฟ้าในช่วงอุ่นเตารีดให้ร้อนจนได้อุณหภูมิที่ต้องการ

4.  ารพรมน้ำมากเกินไปจะทำให้เสียหลังงานในการรีดผ้าให้แห้ง ดังนั้น เตารีดไอน้ำ ที่สามารถพ่นไอน้ำออกมายังผ้า จึงช่วยให้รีดผ้าได้เร็วขึ้นและประหยัดพลังงาน

5.  อดปลั๊กก่อนรีดผ้าเสร็จประมาณ 2-3
าที แล้วใช้ความร้อนที่เหลืออยู่ในเตารีด รีดผ้าชนิดที่ไม่ต้องการความร้อนมาก เช่น ผ้าเช็ดหน้า
 

 
  วิดีโอแสดงวิธีรีดเสื้อและกางเกง

วิดีโอแสดงวิธีรีดเสื้อเชิร์ต
(How to iron your shirt)
 
 
 
 
  วิดีโอแสดงวิธีรีดกางเกง
(How to press your trousers)
 
   
     



จากวันที่ 1 เม.. 2555
ปรับปรุงล่าสุด : 17 ... 2565