Digital Photography  Audio & Video  Computer Accessories  Software Applications  Miscellaneous | Home                    
....

การใช้ UPS (Uninterruptible Power Supply)
UPS 2021 ละ Mini UPS

 

บทความใหม่ ปี 2564

 
  1. UPS ขนาดความจุ 625 VA (325 W)

ในปัจจุบัน (ปี 2564ที่ปรับปรุงบทความ) คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆใช้ไฟฟ้าน้อยลง ดังนั้น การใช้เครื่องสำรองไฟฟ้า หรือ UPS
 ขนาดความจุ 325 วัตต์ ึงเพียงพอสำหรับการใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ PC จำนวน 1 เครื่อง, จอ LCD ขนาด 24 นิ้ว อุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น External Hard Disk, Blu-ray/DVD Burner, USB Hubs, Scanner รวมทั้งไฟแสงสว่างแบบ LCD อีก 2-3 ดวง รวมกำลังไฟฟ้าที่ใช้ 150 - 180 วัตต์ ซึ่งถ้าเกิดไฟฟ้าดับ เครื่ง UPS จะจ่ายไฟฟ้าสำรองให้อุปกรณ์ดังกล่าวใช้งานต่อไปได้ประมาณ 15 นาที พื่อให้มีเวลาพอที่จะทำการสำรองข้อมูล Save ไฟล์ต่างๆเอาไว้ และถ้าต้องการยืดเวลาการใช้ไฟฟ้าสำรองออกไป ก็ควรปิดอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็น้องใช้ด้วย

เครื่อง UPS ที่นำมาใช้ใหม่ (เนื่องจากเครื่องเดิมๆนั้น ได้เสียไปหมดแล้ว) ได้แก่เครื่อง APC รุ่น BX625CI-MS มีความจุ หรือ Output Capacity 625 VA, 325 W ใช้แบตเตอรี่แบบ Sealed Lead Acid 12 V 2.8 A  ตัวเครื่องมีขนาด 27.85 x 16 x 8.85 ซม. และหนัก 4.7 กิโลกรัม าม รูปที่ 101 - 105
 
 
 
รูปที่ 101  การติดตั้งใช้งานเครื่อง UPS นาดเล็ก ณะจ่ายโหลด 173 ัตต์
 
 
 
รูปที่ 102  เครื่อง UPS นาดเล็ก กำลังไฟ 325 W
 
 
 
รูปที่ 103  เครื่อง UPS นาดเล็ก กำลังไฟ 325 W
 
 
 
รูปที่ 104  เครื่อง UPS นาดเล็ก กำลังไฟ 325 W
 
 
 
รูปที่ 105  แสดงแบตเตอรี่ Lead Acid 12 V (7.2 AH) 20 W / Cell
 
 

ทดสอบการใช้งาน UPS APC รุ่น BX625CI-MS


1.  ในกรณีที่จ่ายไฟฟ้าเข้าเครื่อง UPS โดยไม่จ่ายโหลดและปิดสวิตช์ที่เครื่อง จะใช้ไฟฟ้าประมาณ 9 วัตต์ และถ้าเปิดสวิตช์ที่เครื่องจะใช้ไฟฟ้าประมาณ 9 - 10.20 วัตต์
2.  เครื่องทำงานได้ดี ในการจ่ายไฟ 150 - 180 วัตต์ เครื่องจะร้อนน้อยมาก
3.  ถ้าเกิดไฟฟ้าดับ เครื่อง UPS ก็จะจ่ายไฟฟ้าให้กับโหลดต่อไป สำหรับโหลด 150 วัตต์ จะใช้ได้นานประมาณ 12 นาที, ถ้าลดโหลดลงมาเป็น 90 - 100 วัตต์ จะสำรองจ่ายไฟได้นานประมาณ 20 นาที
4.  เมื่อไฟฟ้าดับและ UPS ทำหน้าที่จ่ายไฟฟ้าสำรองออกมาโดยนั้น แรงดันไฟฟ้าที่วัดได้ขณะจ่ายโหลด 150 วัตต์ จะลดลงเล็กน้อย อยู่ในระหว่าง 223 - 225 โวลต์ คือแรงดันไฟฟ้าตกลงไปประมาณ 2 - 3 % เท่านั้น
 

 
 

2. Mini DC UPS แบบต่างๆ

Mini DC UPS เป็นเครื่องจ่ายไฟฟ้าสำรองขนาดเล็กๆที่จ่ายไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ซึ่งใช้สำหรับอุปกรณ์ เช่น Wi-Fi Router, Modem, IP Camera, CCTV Camera สำหรับกรณีที่ไฟฟ้าดับ อุปกรณ์เหล่านี้ก็จะทำงานได้ต่อไปอีกอาจจะ 2 - 5 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับโหลดที่ใช้ Mini UPS บางรุ่นได้ถูกออกแบบให้เลือกใช้แรงดันไฟฟ้า (Output DC Voltage) ได้ 12 หรือ 9 หรือ 5 โวลต์ สำหรับแบตเตอรี่นั้น ใช้ Li-Ion 18650 Battery ความจุที่อ้างมีตั้งแต่ 2000, 4000, 5000 mAh หรือมากกว่า ตามตัวอย่างในรูปที่ 106
 

 
 
รูปที่ 106  Mini DC UPS แบบต่างๆ
 
 
  3. การใช้ไฟฟ้าของอุปกรณ์ IP Camera และ Wi-Fi Router

่อนที่เราจะนำ Mini UPS าใช้ ควรจะต้องทราบว่าอุปกรณ์ที่จะใช้กินไฟเท่าไร ซึ่งก็มีวิธีวัดถ้ามีมิเตอร์ จากตัวอย่าง IP Camera ของ VStarCam (รูปที่ 107) ใช้ไฟ 5 V ประมาณ 0.43 A และ Wi-Fi Router อง NetGear (รูปที่ 108) ช้ไฟ 12 V ประมาณ 0.74 - 0.85 A และ Wi-Fi Router ของ Gigatex รุ่น 6 เสา (รูปที่ 109) ใช้ไฟประมาณ 0.69 - 0.72 A นั่นหมายความว่าสามารถใช้ Mini UPS ี่จ่ายไฟขนาด 1 - 2 A ด้ เราใช้ Mini UPS ำหรับอุปกรณ์เหล่านี้เพื่อให้ทำงานต่อเนื่องได้อีกนานหลายชั่วโมงแม้จะเกิดไฟฟ้าดับ ทำให้ใช้ระบบ Wi-Fi ด้สำหรับโทรศัพท์มือถือ Tablet, IP Camera ฯลด้ รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆที่ใช้ระบบ Wi-Fi (ึ่งต้องมีไฟเลี้ยงอยู่เช่นกัน)

หมายเหตุ : การกินไฟของอุปกรณ์ที่แท้จริง ควรวัดโดย Digital Ammeter หรือดูจากคู่มือ (ถ้ามี) แต่ไม่ใช่ดูที่ตัว Adapter เช่น Router ของ Gigatex รุ่น 6 เสา ใช้ Adapter ขนาด Output 12 V 2.5 A แต่ในการใช้งานจริง ใช้ไฟเพียง 0.7แต่ถ้าจะใช้ Mini UPS ควรใช้ขนาดกระแส 2 A จะปลอดภัยกว่า
 
 
 
รูปที่ 107  ทดสอบการใช้ไฟของ IP Camera (VStarCam)
 
 
 
รูปที่ 108   Wi-Fi Router ของ NetGear
 
 
 
รูปที่ 109   Wi-Fi Router ของ Gigatex
 
 
 

4. ทดสอบการใช้งาน Mini DC UPS 12 V 2 A


รูปที่ 110  แสดง Mini DC UPS 12 V ขนาดกระแส 2 A ที่นำมาทดลองใช้กับ Wi-Fi Router NetGear  ตัวอุปกรณ์มีขนาดเล็ก ใช้ไฟ Input มาจาก Adapter ของ Wi-Fi Router ส่วนด้าน Output มีสาย DC Jack มาให้ ต่อจากเครื่องไปเสียบเข้าที่ Router ได้โดยตรง จากการทดลองนี้จ่ายไฟฟ้าผ่าน Digital DC Volt - Ampere Meter พบว่ากระแสไฟฟ้าที่จ่ายออก 0.75 A ที่แรงดันไฟฟ้า 11.724 V สำหรับกรณีที่ไฟฟ้าดับ Mini UPS นี้จะจ่ายไฟฟ้าสำรองได้ประมาณ 2 ชั่วโมง

การทดสอบความจุของ Mini DC UPS

การทดสอบความจุเป็น mAh ทำได้โดยต่อ Adapter 12 VDC ขนาด 2 A เข้ากับอุปกรณ์ Mini DC UPS และรอจนมีการชาร์จไฟเข้าไปจนเต็ม สังเกต Pilot Light จะเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีเขียว แต่ในการทดสอบของผู้เขียน ใช้วัดจากมิเตอร์ เมื่อกระแสไฟชาร์จลดลงจนเกือบเป็นศูนย์ก็แสดงว่าชาร์จไฟเข้าไปเต็มแล้ว จากนั้นนำอุปกรณ์ Mini DC UPS มาต่อจ่ายโหลด ตามรูปที่ 111A โดยจ่ายโหลดคงที่ 0.75 A พบว่าสามารถจ่ายไฟออกไปได้ 1714 mAh
 

 
 
รูปที่ 110  Mini DC UPS Output 12 V 2 A
 
 
 
รูปที่ 111  ทดสอบการใช้งาน Mini DC UPS จ่ายกระแสไฟ 0.75 A


รูปที่ 11A  การทดสอบ Output Capacity ของ Mini DC UPS ขนาด 2000 mAh จ่ายไฟได้ 1714 mAh
 
 
 

หมายเหตู :

ในกรณีที่มีอุปกรณ์ เช่น
Wi-Fi Router, IP Cameras, นาฬิกา Digital ที่อยู่ใกล้ๆกันเป็นกลุ่ม การใช้ Mini DC UPS 1 ตัวต่อ 1 อุปกรณ์ จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการใช้ UPS 230 V ขนาดเล็ก เช่น ขนาด 300 วัตต์ เพียงตัวเดียว

 

 
 

5. Experimental UPS ที่ใช้ Li-Ion Battery Pack พร้อมด้วย BMS (Battery Management System)

การทดลองที่ 1 : Li-Ion Battery Pack ป็นชุดแบตเตอรี่ที่ให้แรงดันไฟฟ้า 12 V DC ดยมี Charging Adapter ขนาด 12 V 1 A ห้มาด้วยและด้าน Output ีสายพร้อม DC Jack ำหรับเสียบเข้า Wi-Fi Router ที่ใช้ไฟ 12 V ด้ จากการทดลองนำ Li-Ion Battery Pack ก่าใช้งานมาแล้ว 3 ปี มีความจุเหลืออยู่ประมาณ 3500 mAh าใช้ ปรากฏว่าใช้งานป็น Mini DC UPS ด้ (ูปที่ 112) ต่วิธีนี้มีประเด็นอยู่ที่แรงดันไฟฟ้าขาออกจะลดลงเรื่อยๆเมื่อใช้ไฟไปนานๆ และอุปกรณ์ Battery Management System (BMS) ที่มีอยู่ใน Battery Pack จะตัดการจ่ายไฟเมื่อแรงดันไฟฟ้าของ Battery Pack ลดลงต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เช่น 9.6 V ซึ่งก็ยังสามารถใช้ Wi-Fi Router ได้ รวมเวลาอย่างน้อย
3 ชั่งโมงครึ่ง

การทดลองที่ 2
: ใช้ Li-Ion Battery Pack ตัวเก่าซึ่งมีความจุเหลือ 3500 mAh มาทำเป็น Mini UPS ใช้กับ Gigatex Wi-Fi Router โดยใช้ Li-Ion Battery Charger ขนาด 230 V / 12 V 2A จ่ายไฟให้กับ Battery Pack และต่อสายจาก Battery Pack ไปเข้า Router ตามรูปที่ 113 ซึ่งผลการทดลองเป็นดังนี้ :

1) 
เมื่อต่อวงจรครบแล้ว เริ่มใช้งาน อุปกรณ์ Li-Ion Battery Charger จะชาร์จไฟเข้า Battery Pack ทีละน้อย ในขณะที Router ทำงานตามปกติ โดยใช้กระแสไฟฟ้าประมาณ 0.7 A และเมื่อใช้ไปนานๆ แรงดันไฟฟ้าที่ Battery Pack จะอยู่ที่ประมาณ 12.28 V และค่อนข้างคงที่

2) 
ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ Battery Pack จะจ่ายไฟให้กับ Router ทำงานต่อไปได้ โดยแรงดันไฟฟ้าจะค่อยๆลดลงปเรื่อยๆ คือ ใช้งานไป 1 ชั่วโมง แรงดันไฟฟ้าลดลงเป็น 11.5 V, ใช้งานไป 1.5 ชั่วโมง แรงดันไฟฟ้าลดลงเป็น 11.08 V, ใช้งานไป 3 ชั่วโมง แรงดันไฟฟ้าลดลงเป็น 10.46 V, ใช้งานไป
4 ชั่วโมง แรงดันไฟฟ้าลดลงเป็น 9.68 V และ Router ยังทำงานได้ตามปกติ แต่ถ้ายังใช้งานต่อไปจนอุปกรณ์ BMS ใน Battery Pack จะตัดไฟเมื่อแรงดันไฟฟ้าตกลงเป็น 9.60 V   สรุปว่าใช้งานได้นาน 4 ชั่วโมง

3การใช้งานจริง : เริ่มใช้งานโดยติดตั้ง Digital Voltmeter ขนาดเล็กเอาไว้ด้วยเพื่อเช็คแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายเข้า Gigatex Router ตามรูปที่ 114 ซึ่งคงจะต้องรอดูผลว่าจะใช้ได้ทนนานเท่าไร ต่อย่างไรก็ตาม การทำ UPS โดยใช้ Li-Ion Battery Pack นี้ เราสามารถเลือกขนาดความจุของแบตเตอรี่ได้จาก 2000 mAh ขึ้นไป ทำให้ใช้กับอุปกรณ์ที่สำคัญได้เป็นเวลานาน
 

 
 
รูปที่ 112  การทดลองใช้ Li-Ion Battery Pack เป็น Mini DC UPS จ่ายไฟให้ NetGear Router
 
 
 
รูปที่ 113  การทดลองใช้ Li-Ion Battery Pack เป็น Mini DC UPS จ่ายไฟให้ Gigatex Router


รูปที่ 114  การช้งาน Gigatex Wi-Fi Router ดยรับไฟจาก Li-Ion Battery Pack ที่ทำหน้าที่เป็น UPS
และติด DC Voltmeter วัดแรงดันไฟฟ้า
 
 
 

6. การใช้ UPS ขนาดเล็กกับกลุ่มของอุปกรณ์ที่ใช้ Wi-Fi

ตัวอย่างการใช้ UPS ขนาดความจุ 600 VA หรือ 360 W เพื่อจ่ายไฟฟ้าสำรองกรณีเกิดไฟฟ้าดับ ให้กับกลุ่ม (Cluster) ของอุปกรณ์ที่ใช้ Wi-Fi ได้แก่ Router, IP Camera 1, IP Camera 2 และยังใช้กับนาฬิกา Digital Clock ด้วย แสดงไว้ในรูปที่ 115  UPS ที่นำมาใช้เป็นของ CyberPower รุ่น BU600E ซึ่งมีขนาด 158 x 91.5 x 240 มม. และหนัก 3.2 กก. เป็น UPS ที่มีราคาถูก มีช่องเสียบปลั๊ก 3 ช่องจึงต้องใช้รางปลั๊กต่อพ่วงอีก 1 อัน เพราะต่อกับอุปกรณ์ 4 รายการและเผื่อสำหรับอุปกรณ์อื่นด้วย

ทดสอบการใช้งาน

1.
ระยะเวลาที่จ่ายไฟฟ้าสำรองได้ : อุปกรณ์ที่ใช้ต่อกับ UPS ทั้ง 4 รายการ มีการใช้ไฟฟ้ารวมกันประมาณ 16 วัตต์ ซึ่งถือว่าน้อย (Router = 9.60 W, IP Camera 1= 2.30 W, IP Camera 2 = 2.60 W, Digital Clock = 1.50 W) ดังนั้นเมื่อทดลองดับไฟ 230 V ที่จ่ายเข้า เครื่อง UPS ก็จะจ่ายไฟฟ้าสำรองได้นานประมาณ 1.5 ชั่วโมง

2. เสียงเตือน : UPS ทุกเครื่องจะออกแบบให้มีเสียงเตือนเมื่อมีไฟฟ้าดับเพื่อให้ผู้ใช้เตรียมทำการ Save ไฟล์งานต่างๆให้เรียบร้อยก่อนที่ไฟจาก UPS จะตัด เครื่องรุ่นเก่าๆจะมีเสียงเตือนค่อนข้างดังและมีเสียงปี๊บๆตลอดเวลา สำหรับเครื่องรุ่นใหม่ เสียงเตือนจะดังน้อยลงและมีหลายรูปแบบ เช่น เครื่อง UPS APC (ตามรูปที่ 102) มีเสียงเตือนทุกๆ 30 วินาทีไปจนไฟใกล้หมดจึงจะมีเสียงเตือนตลอด สำหรับ UPS CyberPower นั้นเมื่อไฟฟ้าดับ จะมีเสียงเตือนทุกๆ 30 วินาที และเมื่อไฟใกล้หมดจะมีเสียงเตือนตลอดเช่นกัน แต่มีข้อดีคือในช่วงแรกนั้น เราสามารถปิดเสียงเตือนได้โดยกดปุ่ม Power ซ้ำกัน 2 ครั้ง ดังนั้นในการใช้งานตามกรณีที่ใช้กับอุปกรณ์ที่ไม่ใช่คอมพิวเตอร์นี้ก็สามารถใช้ไฟสำรองไปได้นานโดยไม่มีเสียงเตือนมารบกวน
 

 
 
รูปที่
115
  การใช้ UPS ขนาด 600 VA / 360 W กับกลุ่มของอุปกรณ์ที่ใช้ระบบ Wi-Fi
 
 
 

หมายเหตู :

ในกรณีที่ไฟฟ้าดับและใช้ไฟฟ้าสำรองที่จ่ายออกมาจาก
UPS นั้น อาจมีผลกระทบต่อนาฬิกาดิจิตอลและ Digital Voltmeter ได้ กล่าวคือ นาฬิกาดิจิตอลอาจเดินไม่ตรงหรือเดินเร็วขึ้นและถ้าใช้ Digital Voltmeter ด้วย อาจแสดงค่าต่ำเกินไป ทั้งนี้เป็นเพราะคลื่นไฟฟ้าที่ผลิตออกมาจากเครื่อง UPS นั้น เป็น Simulated Sine Wave ไม่ใช่ Pure Sine Wave ซึ่งคุณภาพของคลื่นไฟฟ้าจาก UPS แต่ละยี่ห้อจะแตกต่างกัน

 
 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

 
 

บทความเดิม ปี 2555

 
  ระบบไฟฟ้าในประเทศไทย แม้ว่าจะได้รับการพัฒนามาอย่างมาก มีไฟฟ้าใช้เกือบทุกพื้นที่แล้วก็ตาม แต่ในบางแห่ง ก็ยังมีปัญหาแรงดันไฟฟ้าตก แรงดันไฟฟ้าสูงเกินไปและที่พบมากก็คือไฟฟ้าดับบ่อยๆ เช่น เมื่อมีฝนตก ฟ้าคะนอง หรือมีลมพายุพัดแรง ต้นไม้ล้ม กิ่งไม้ไปกระทบสายไฟฟ้า เป็นต้น การปลูกต้นไม้ริมถนน เพื่อความสวยงามและลดภาวะโลกร้อน อาจทำให้มีกิ่งไม้ไปพาดสายไฟฟ้าแรงสูง บางแห่งเปลี่ยนจากสายไฟฟ้าเปลือย มาเป็น Aerial Cable ก็ช่วยลดปัญหาไปได้บ้าง แต่ไฟฟ้าก็ยังดับบ่อยๆ อยู่ดี ซึ่งมีผลกระทบต่อการใช้คอมพิวเตอร์ประเภท PC Desk Top และอุปกรณ์อื่นๆ เช่นตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์รับสัญญาณโทรทัศน์ดาวเทียม ที่มักจะเกิดอาการ รับสัญญาณไม่ได้เมื่อไฟฟ้ามาตามปกติแล้ว ต้องรออีกเป็นเวลานานพอควร บางระบบ ต้องรอให้มีการ Download Software มาจากผู้ให้บริการโดยอัตโนมัติ ดังนั้น อุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าไม่มากนัก เช่นคอมพิวเตอร์ โมเดม Hub เครื่องเล่นเกม นาฬิกาไฟฟ้า เครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ดาวเทียม (Satellite Receiver) จึงควรต่อผ่านเครื่อง UPS

UPS (Uninterruptible Power Supply) หมายถึง แหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าต่อเนื่อง หรือ UPS คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่สามารถทำการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือคอมพิวเตอร์ได้อย่างต่อเนื่องแม้ในเวลาที่ไฟฟ้าดับหรือเกิดปัญหาทางไฟฟ้า โดยสามารถรับพลังงานไฟฟ้าได้ทุกสภาพ แล้วจ่ายพลังงานไฟฟ้าออกมาเป็นปกติในระยะเวลาสั้นๆ ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่อพ่วง
 
ส่วนประกอบสำคัญของ UPS

1.  แหล่งพลังงานสำรอง  ได้แก่แบตเตอรี่ เพื่อเก็บสำรองพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ในกรณีที่เกิดฟฟ้าดับ หรือไฟฟ้าตกชั่วขณะหนึ่ง โดย UPS จะจ่ายไฟฟ้าสำรองจากแบตเตอรี่  แต่มีการแปลงให้เป้นไฟฟ้ากรแสสลับ 220 โวลท์ ก่อน จ่ายไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่อพ่วงอยู่ ในระยะเวลาสั้นๆ เช่น 10 - 30 นาที

2. 
เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า จากไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC)โดยวงจร Rectifier แล้วทำการประจุ (Charge) แบตเตอรี่

3. 
วงจรเครื่องแปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ที่เรียกว่า Inverter เพื่อนำพลังงานไฟฟ้าจากแบเตอรี่ จ่ายออกมาใช้เป้นไฟฟ้า AC 220V.

4. 
นอกจากนั้น ยังมีวงจรสำหรับทำหน้าที่ปรับแรงดันไฟฟ้าให้คงที่สม่ำเสมอห้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือ Stabilizer และวงจรป้องกันเมื่อมีกระแสไฟฟ้ากระตุกหรือกระชากที่เรียกว่า Surge Current ซึ่งจะช่วยทำให้อุปกรณืที่ต่อพ่วง มีอายุการใช้งานนานขึ้น

5.  UPS
รุ่นดีๆ มักจะมีซอฟท์แวร์ให้ Download เพื่อใช้ควบคุมการทำงาน บันทึกและแสดงผล การเกิดเหตุการณ์ต่างๆได้

ตัวอย่าง UPS ขนาดเล็ก


UPS ที่นำมาแสดงเป็นตัวอย่าง ในบทความนี้ คือ UPS ของ PowerMatic  Cleanline รุ่น D-850G ซึ่งเป็นรุ่นเล็ก 325 W และมีราคาค่อนข้างถูก เป็น UPS ชนิด Line Interactive with Stabilizer Design ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ สามารถทำงานได้ ถ้าแรงดันไฟฟ้าเข้าเป็น 220 VAC +/- 25% หรือ 165 - 276 โวลท์  ส่วนแรงดันไฟฟ้าขาออก เป็น 220 VAC +/- 10% (โหมดปรับแรงดันไฟฟ้า) และ  220 VAC +/- 5% (โหมดจ่ายไฟฟ้าสำรอง) แบตเตอรี่ที่ใช้ระบุ 12 V และมีความจุ 7 AH (Ampere-Hour)
 
 
 
 


รูปที่ 1  เครื่อง UPS นาดเล็ก ความจุ 325 W
 

 
 


รูปที่ 2  ภายในเครื่องและแบตเตอรี่
 

 
     
  การทดลองใช้

ตามคู่มือการใช้งาน การชาร์จแบตเตอรี่ควรจะต้องอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เมื่อชาร์จไฟเต็มแล้วทดลองนำอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย เครื่อง PC HP รุ่ย p6385l และจอ Acer ขนาด 21" มาต่อพ่วง และเปิดใช้งาน เข้าอินเทอร์เน็ต พบว่าถ้าไฟฟ้าดับ เครื่อง UPS จะจ่ายไฟฟ้าสำรองให้กับอุปกรณ์ดังกล่าวได้ประมาณ 20 นาที  ซึ่งแน่นอนว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จะต้องรีบทำการ Save File ที่ทำค้างอยู่ หรือ Backup ข้อมูลบางรายการที่สำคัญเอาไว้แล้วเตรียม Shutdown เครื่อง

ผู้เขียนได้ใช้เครื่อง UPS หลายยี่ห้อ และหลายขนาด ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์หลักในการใช้งานเช่น UPS เครื่องที่ 1 มีขนาดความจุมาก ใช้สำหรับเครื่อง PC  จอ และอุปกรณ์ต่อพ่วง ที่ใช้ไฟฟ้าน้อย รวม PC 2 ชุด ก็ใช้งานได้ดี เมื่อใช้ไปประมาณ 2 ปี แบตเตอรี่เริ่มเสื่อม ก็สามารถซื้อแบตเตอรี่มาเปลี่ยนใหม่ แล้วก็ใช้งานได้ดีเหมือนเดิม

UPS เครื่องที่ 2 ผู้เขียน ใช้สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม(Satellite Receiver) นาฬิกาดิจิตอล และอุปกรณ์แปลงสัญญาณ Audio/Video ซึ่งUPS เครื่องนี้ ใช้ขนาดความจุ เล็กลงได้ และทำให้อุปกรณ์ต่อพ่วง มีอายุการใช้งานยาวขึ้นลดความเสี่ยงต่อการเกิดกระแสไฟฟ้ากระชาก หรือ Surge Current ในกรณีต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อมีฝนตก ฟ้าผ่า ในระยะใกล้ๆ
 
 
  บทความและข้อมูลอื่นๆที่น่าสนใจ (Other Interesting Articles)

1. การต่อพ่วงแบตเตอรี่ภายนอกเข้ากับ UPS



2. DIY เครื่องสำรองไฟสำหรับเร้าเตอร์ไวไฟ


3. Small Safety Consumer Unit, บทความใน www.somkiet.com

4
. แบตเตอรี่ CSB รุ่น GP 1272 F2 ขนาด 7.2 AH ราคาก้อนละ 700 - 1,000 บาท
 
 

..................................................................................................................
หมายเหตุ :   บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์ในการใช้งานอุปกรณ์ UPS และ Mini UPS  ผู้เขียนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีผลประโยชน์กับการโฆษณาหรือการขายอุปกรณ์ต่างๆที่แสดงไว้

 


จากวันที่ 19 .. 2555
ปรับปรุงลาสสุด : 22 .. 2564