Digital Photography   Audio & Video   Computer Accessories   Software Applications | Miscellaneous | Home
....

การใช้ USB Load Tester / Electronic Load
(การทดสอบค่าความจุ กระแส แรงดันไฟฟ้า กำลังไฟฟ้า การจ่ายโหลดของแบตเตอรี่)

   
 
1.  การใช้ USB Load Tester/Electronic Load

ใช้เป็น Load เพื่อทดสอบ Power Bank หรือแบตเตอรี่ Li-Ion 18650 (3.7 V) เพื่อหาค่าความจุ (mAh) และประสิทธิภาพของอุปกรณ์ ซึ่งโดยทั่วไป Power Bank จะระบุความจุเป็น mAh หมายถึงความจุของแบตเตอรี่ที่ใช้ซึ่งอาจจะตรงหรือต่ำกว่าก็ได้ สำหรับความจุที่นำออกมาใช้ได้นั้นจะประมาณ 60 - 70% เท่านั้น เนื่องจากมีความสูญเสียในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับแบตเตอรี่ Li-Ion 18650 เราก็สามารถทดสอบหาความจุได้โดยชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็มแล้วทำการจ่ายโหลดผ่านเครื่องวัดหรือ USB Load Tester จนแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ลดลงเหลือ 3 V ก็อ่านค่า mAh ถือเป็นค่าโดยประมาณของตวามจุได้ (ถ้าจ่ายไฟต่อไปจนแรงดันไฟฟ้าที่ขั้วของแบตเตอรี่ตกลงมาก เช่นต่ำกว่า 2.8 V จะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็วและอาจเสียได้)

แบตเตอรี่ Li-Ion 18650 นิยมใช้กันมาก เช่นใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า ใช้ทำเป็น Power Bank หรือ Power Pack ใช้ในไฟฉาย ฯลฯ สำหรับการใช้ในปริมาณมาก เช่นการประกอบเป็น Power Pack สำหรับระบบ Solar Cells การเลือกแบตเตอรี่ที่ดีเป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้นจึงควรมีการทดสอบก่อน และการทดสอบควรทำเป็นระยะๆเมื่อได้ใช้งานไปนานพอสมควรเพื่อตรวจว่าแบตเตอรี่ยังสามารถเก็บและจ่ายไฟฟ้าได้เท่าไร
 
 
2 USB Load Tester แบบต่างๆ

รูปที่ 1 แสดง USB Load Tester ขนาดเล็กแบบต่างๆ มี 35 W, 15 W และแบบใช้ตัวต้านทานซึ่งมีขนาด 1, 2 และ 3 A USB Load Tester ใช้ทดสอบการจ่ายไฟฟ้าจาก 3.7, 5 และ 12 V ได้สะดวก (ในกรณีที่ไม่มี USB Load Tester อาจใช้ LED Light เป็นโหลดแทนไปก่อนก็ได้) การทดสอบโดยทั่วๆไปจะใช้กระแสไฟฟ้า 0.5 ถึง 2 A หรืออย่าให้เกิน Rating ของ USB Ports ซึ่งส่วนมากจะกำหนดที่ 1 และ 2 A
 

รูปที่ 1  USB Load Tester / Electronic Load สำหรับใช้ทดสอบความจุของ Power Bank และแบตเตอรี่
 
 


รูปที่ 2  USB Load Tester แบบที่มีมิเตอร์ติดในตัว

  รูปที่ 3 แสดงการทดสอบง่ายๆเพื่อเช็คว่ามิเตอร์ที่ติดมากับอุปกรณ์ USB Load Tester 35 W นั้นจะวัดค่าได้ตรงหรือไม่ ทำได้โดยการใช้มิเตอร์อีกอันหนึ่งต่อเป็นอนุกรมกันแล้วจ่ายโหลดออกไปประมาณ 1000 mAh จากนั้นอ่านค่า mAh ของทั้ง 2 มิเตอร์ พบว่าผลที่ได้ใกล้เคียงกันมาก คือต่างกันประมาณ 1.5% ซึ่งอาจเป็นเพราะ Losses ในการต่อหรือในส่วนของตัวมิเตอร์ ดังนั้นจึงถือว่ามิเตอร์วัดค่าได้ถูกต้องดีสำหรับการใช้งานทั่วๆไป
 



รูปที่ 3  การทดสอบความละเอียดของมิเตอร์

 
 


รูปที่ 4  การทดสอบความจุของ Power Bank

 
 

รูปที่ 5A และ 5B แสดงการ USB Load Tester ขนาดเล็กที่ปรับค่ากระแสไฟฟ้าได้จาก 0.15 ถึง 3 A (ไม่มีมิเตอร์ในตัวอุปกรณ์) ซึ่งใช้งานได้ดีโดยต่อร่วมกับมิเตอร์ USB เช่น ตัวอย่างที่แสดงในรูปที่ 6 การต่อ USB โดยตรงมีข้อดีที่ลดความสูญเสียหรือ Losses ในการต่อเชื่อมอุปกรณ์ลงได้ เมื่อเทียบกับการต่อโดยใช้สาย USB Cable ซึ่งถ้าใช้สายยาว 1 เมตร อาจมีแรงดันไฟฟ้าตกไปถึง 0.5 % ทำให้ค่าที่วัดได้น้อยลงไป

 
     
 


รูปที่ 5A  USB Load Tester ขนาดเล็ก ปรับค่ากระแส (Constant Current) ได้ถึง 3 A


รูปที่ 5B  USB Load Tester ขนาดเล็ก ทดสอบจ่ายโหลดกระแสไฟฟ้า 3 A


รูปที่ 5C  การทดสอบจ่ายโหลดดยใช้ DC Power Supply ขนาดเล็ก

 
 


รูปที่ 6  การทดสอบความจุของ Power Bank โดยใช้ USB Color Display Tester ต่อกับ Load Tester



 
  รูปที่ 7 แสดง Electronic Load ขนาด 150 W 20 A ซึ่งมีมิเตอร์ในตัวและต้องต่อ Power Supply แยกต่างหากผ่าน Adapter เข้ามาที่ตัวอุปกรณ์ แต่สามารถใช้งานได้ดี ทดสอบความจุของแบตเตอรี่ แบบและขนาดแรงดันไฟฟ้าต่างๆได้ รายละเอียด อ่านได้จากบทความตาม Link นี้ http://www.somkiet.com/Miscellaneous/BatteryCapacityChecking.htm
 
 


รูปที่ 7 Electronic Load ขนาด 150 W 20 A

 
     

....................................................................................................................................................................................................................................................

จากวันที่  26 มิ.ย 2562
ปรับปรุงล่าสุด : 5 .. 2562