Digital Photography   Audio & Video   Computer Accessories   Software Applications | Home
....

การใช้ปั้มน้ำในบ้านอย่างประหยัดพลังงาน
(The Economic & Energy Saving Use of Water Pump)

  มีบ้านจำนวนมาก ที่ประสบปัญหาเรื่องน้ำประปาไหลไม่แรงหรือไหลแต่ชั้นล่าง และแรงดันน้ำไม่มากพอสำหรับการใช้น้ำชั้นที่ 2  ดังนั้น จึงต้องติดตั้งปั้มน้ำอัตโนมัติแบบที่ใช้ไฟฟ้า ซึ่งใช้งานได้สะดวกและเครื่องก็เดินเงียบ ปั้มน้ำที่นิยมใช้กันมีหลายยี่ห้อ ใช้งานได้ทนทาน และสามารถเลือกกำลังของมอเตอร์ (วัตต์) เช่น 150, 200, 250, 300, .. ตามลักษณะการใช้งาน เช่น บ้าน 2 ชั้น ส่วนใหญ่ ใช้ปั้มน้ำที่มีกำลังมอเตอร์ 200 - 250 วัตต์ และถ้าเป็นบ้าน หรือ Town House 3 - 4 ชั้น ก็จะต้องใช้ปั้มที่มีกำลังมอเตอร์สูงขึ้น ถึง 400 วัตต์

ผู้เขียนได้ออกแบบระบบน้ำประปาที่ใช้ในบ้าน
2 ชั้น โดยชั้นบนมีห้องน้ำ 2 ห้อง มีเครื่องทำน้ำอุ่นทั้ง 2 ห้อง และมีก๊อกสำหรับใช้น้ำรดต้นไม้  ส่วนชั้นล่างนั้น มีการใช้น้ำมาก หลายจุดเช่น ห้องน้ำ ครัว Pantry บริเวณซักล้าง เครื่องซักผ้า ก๊อกสนามสำหรับรดน้ำต้นไม้ และล้างรถ  ลักษณะการใช้น้ำนั้น ชั้นล่างจะใช้น้ำค่อนข้างมาก  ดังนั้น การออกแบบระบบประปาจึงคำนึงถึงความสะดวกในการใช้ และการประหยัดพลังงาน  โดยชั้นล่างให้ใช้น้ำจากท่อเมนของการประปา ซึ่งมีแรงดันมากพอควร ไม่ต้องผ่านการปั้ม ส่วนชั้นบน เมื่อเปิดใช้น้ำ ปั้มก็จะเดินโดยอัตโนมัติ  วิธีนี้ใช้ได้ผลดีเป็นการประหยัดพลังงาน ประหยัดทั้งค่าไฟฟ้า และค่าปั้ม ดังจะเห็นได้ว่า ปั้มที่ติดตั้งไว้นั้น ขนาด 250 วัตต์ ใช้งานได้นานถึง 16 ปี
 


รูปที่ 1  ระบบประปาสำหรับบ้าน แบบท่อจ่ายน้ำเข้าบ้าน 2 วงจร

  รายละเอียดระบบประปา (ดูรูปที่ 1)

1. น้ำจากท่อเมน เมื่อผ่านมาตรวัดน้ำแล้ว จะมีท่อภายในบ้าน ต่อให้น้ำไหลลงบ่อเก็บน้ำใต้ดิน
***
มีการติดตั้งวาวล์
(
1) เพื่อให้สามารถปิดน้ำได้ และมีท่อต่อตรงไปที่ปั้มน้ำ โดยมีวาวล์ หมายเลข 3
2. น้ำจากบ่อเก็บน้ำ จะถูกดูดเข้าปั้มน้ำ โดยผ่านวาวล์ หมายเลข
2
3. น้ำที่ใช้ชั้นล่าง จะไหลออกไปจากท่อเมน ผ่านวาวล์หมายเลข
1 และมีเช็ควาวล์ กันน้ำไหลย้อนกลับ  วงจรสำหรับน้ำที่ใช้ชั้นล่าง คือ วงจรสีน้ำเงิน
4. น้ำที่ใช้ชั้นบน (วงจรสีแดง) จะผ่านปั้มน้ำ โดยผ่านวาวล์หมายเลข
4 ซึ่งทำให้มีแรงดันสูงได้ เนื่องจากใช้คนละท่อ กับน้ำที่ใช้ชั้นล่าง (Fluid Loss / Head Loss จะน้อย)
5. วาวล์หมายเลข
5 ปกติจะปิดอยู่ แต่ถ้าเปิดวาวล์นี้ ระบบน้ำชั้นบนและชั้นล่าง ก็จะถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน และแรงดันของน้ำที่ชั้นล่างก็จะสูงขึ้น ถ้าต้องการใช้แบบนี้ เช่น ฉีดน้ำล้างรถ
 
    *** ในปัจจุบัน น้ำประปามีแรงดันน้ำสูงพอที่จะไหลเข้าไปยังถังเก็บน้ำที่ติดตั้งบนพื้นชั้นล่างได้ ดังนั้น อาจไม่จำเป็นต้องทำบ่อเก็บน้ำใต้ดินให้ยุ่งยากอีกต่อไปแต่ถ้าจำเป็น จะใช้ถังเก็บน้ำใต้ดินก็ได้ (ไม่ต้องทำบ่อซิเมนต์) และถังเก็บน้ำ มีให้เลือกใช้หลายแบบ หลายขนาด เช่น ถังสเตนเลส ถัง Poly Ethelyn ถังไฟเบอร์กลาส เป็นต้น  ความจุของถังอาจคำนวนจากคนที่ใช้น้ำในบ้าน ในอัตราเฉลี่ยคนละ 200 ลิตรต่อวัน และเผื่อกรณีน้ำประปาหยุดไหลอีกสัก 0.5 ถึง 1 วัน เช่น กรณีซ่อมท่อหรือซ่อมระบบ ดังนั้น บ้านที่มีคนอยู่ 5 คน ควรใช้ถังน้ำที่มีความจุ 1,500 ถึง 2,000 ลิตร    

Reference :  การต่อปั้มน้ำแบบต่างๆ

อ่านเรื่อง ปั๊มน้ำแบบจุ่ม / แช่ (Submersible Pump) ที่นี


 

 
การใช้งาน
1. เปิดวาวล์ หมายเลข 1 ไว้ตลอด
2. สูบน้ำจากบ่อ เปิดวาวล์หมายเลข
2 และ 4  ปิดวาวล์หมายเลข 3
3. สูบน้ำตรงจากท่อเมน : เปิดวาวล์หมายเลข
3 และ 4  ปิดวาวล์หมายเลข 2
4. ในการใช้งานปกติ ปิดวาวล์หมายเลข
5
สรุปว่า เมื่อเปิด ปิด วาวล์ตามที่ต้องการแล้ว ใช้งานได้ตลอดไป ไม่ต้องคอยเปิด ปิด อีก

Tips
ทำระบบน้ำประปาเสร็จแล้ว แต่มีก็อกบางอัน น้ำยังไหลน้อยอยู่ ไม่ต้องตามช่าง ให้ใช้คีมจับที่ปลายก๊อกน้ำ หมุนส่วนปลายออกมา จะพบว่ามีเศษหินเล็กๆ หรือ ตะกรัน อุดอยู่ตรงบริเวณตะแกรงที่เป็นตัวกรอง ให้นำไปล้างให้สะอาด แล้วติดเข้าไปใหม่ คราวนี้ น้ำไหลแรงแน่นอน  และควรล้างทำความสะอาดอย่างน้อยปีละครั้ง
 




 



จากวันที่ 27 .. 2553