Digital Photography Audio & Video Computer Accessories Software Applications | Miscellaneous | Home |
.... |
Drinking Water
Quality Test |
น้ำที่ใช้ดื่มในบ้านเรือน ที่พักอาศัย คอนโดมิเนียม หอพัก
และสำนักงานขนาดเล็กโดยทั่วๆไป จะมาจาก 1)
การนำน้ำประปามากรองผ่านเครื่องกรองน้ำที่ได้มาตรฐานโดยมีหลอด
UV ฆ่าเชื้อโรค
หรือเครื่องกรองน้ำแบบ Reverse Osmosis 2)
การนำน้ำประปามาต้มให้เดือดแล้วปล่อยให้เย็นลงจึงนำมาใช้เป็นน้ำดื่ม
3) น้ำบรรจุขวดขนาดต่างๆ น้ำจากตู้หยอดเหรียญ
หรือน้ำจากเครื่องที่ใช้ระบบกรองน้ำ
Reverse Osmosis
(R.O.) เป็นต้น
น้ำดื่มที่เป็นน้ำสะอาดจะมีแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายโดยมีมาตรฐานกำหนดตัววัดคุณภาพหลายรายการและค่าที่นิยมวัดกันได้ง่ายคือค่า
Total Dissolved Solids (TDS)
ซึ่งมาตรฐานน้ำดิ่มทั่วไปค่า TDS ไม่ควรเกิน 500
สำหรับน้ำดื่ม R.O.
นั้นถือได้ว่าเป็นน้ำบริสุทธ์ที่ถูกคัดกรองเอาแร่ธาตุต่างๆออกไป
ดังนั้นจึงมีค่า TDS ต่ำมาก เช่นประมาณ
3 - 30 (ไม่ควรเกิน 50)
ตัววัดคุณภาพน้ำอีกตัวหนึ่งที่นิยมใช้กันคือการวัดค่าความเป็นกรด
ด่างของน้ำ หรือ
pH ย่อมาจาก
Potential of Hydrogen Ion
โดยใช้ pH Tester ซึ่งน้ำดื่มควรมีค่า
pH ระหว่าง
6.5 - 8.5 (ค่าที่แนะนำ
7.35 - 7.45) |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1. วัตถุประสงค์ของการทดสอบ
:
เป็นการทดสอบง่ายๆแบบชาวบ้าน
ซึ่งผลการทดสอบของแต่ละบ้านต่างสถานที่กันจะแตกต่างกันออกไปตามคุณภาพของน้ำจากโรงผลิตน้ำต่างๆที่ส่งผ่านระบบท่อประปามายังบ้านเรือน
วัตถุประสงค์ของการทดสอบ มีดังนี้ 1) เพื่อตรวจเช็คคุณภาพของน้ำประปาที่ใช้ในบ้านว่ามีค่า TDS และ pH เท่าไร และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรหรือไม่ในช่วงเวลาต่างๆ เพราะแม้ว่าน้ำประปาจะผลิตออกมาได้มาตรฐานมีความปลอดภัย แต่เมื่อไหลผ่านระบบท่อหรือมีการสูบน้ำหรือมีการบำรุงรักษาซ่อมแซม ท่อแตก ท่อรั่ว รวมทั้งระบบท่อน้ำในบ้านที่อาจจะเก่าหรือมีการใช้ปั๊มน้ำ ดังนั้น น้ำที่เปิดออกมาจากก๊อกอาจจะมีสิ่งเจือปนเข้ามาได้ 2) น้ำประปาที่นำมาต้มจนเดือดแล้วปล่อยให้เย็นลงเพื่อนำไปดื่มนั้น มีค่า TDS และ pH แตกต่างไปอย่างไร 3) น้ำที่ผ่านเครื่องกรองมีค่า TDS และ pH เท่าไร และประสิทธิภาพของการกรองเป็นอย่างไร เมื่อไรควรเปลี่ยนใส้กรองน้ำ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2. อุปกรณ์เครื่องวัดที่ใช้
:
ใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า
Multifunction Water Quality Tester ตามรูปที่
1
ซึ่งสามารถวัดค่าต่างๆได้คือ
TDS, EC, pH, Salinity และ
Temperature
เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาไม่แพงนัก วัดค่าได้รวดเร็วและมีความแน่นอนดีพอสมควร
ค่าที่วัดได้เพียงพอกับความต้องการทราบทั่วๆไปที่ไม่ถึงขนาดเป็นห้องทดสอบหรือถ้าต้องการเพียงวัดค่า TDS
ก็อาจใช้เครื่องวัดที่มีราคาถูกเรียกว่า TDS Tester
ได้ ตามรูปที่
2 |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3. ผลการทดสอบ :
ผลการทดสอบดังต่อไปนี้ ได้มาจากการวัดค่าโดยใช้
Multifunction Water Quality Tester
ที่บ้านของผู้เขียน ซึ่งถ้าไปวัดที่อื่นค่าจะแตกต่างกันออกไป ค่าที่แสดงเป็นเพียงค่า
Indicative เท่านั้น 3.1 น้ำประปาจากก๊อกในบ้าน : การทดสอบวัดค่า TDS และ pH ของน้ำประปา ณ เวลาต่างๆ แสดงได้ตามตารางที่ 1
3.2
น้ำประปาหรือน้ำที่กรองแล้วนำมาต้มจนเดือดแล้วทิ้งไว้ให้เย็น
:
น้ำประปาที่นำมาต้มจนเดือดเพื่อฆ่าเชื้อโรคแล้วทิ้งไว้ให้เย็นจึงนำมาดื่มนั้น
พบว่าจะมีค่า TDS สูงขึ้น การทดลองใช้น้ำ
1
ถ้วย
(250 cc.) ค่า TDS เพิ่มขึ้นประมาณ
8.5 - 9.0 % แต่ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด
ทำนองเดียวกัน
ถ้านำน้ำที่กรองแล้วมาต้มจนเดือดแล้วทิ้งไว้ให้เย็น พบว่าค่า TDS
เพิ่มขึ้นประมาณ
13 - 15 %
ในการทดลองยังพบว่า น้ำประปาจะมีค่า pH
7.36 - 7.56
แต่เมื่อนำมาต้มจนเดือดแล้ว ค่า pH จะสูงขึ้นเป็น
8.8 - 8.9
คือมีความเป็นด่างมากขึ้น |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4.
เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของน้ำดื่ม :
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5.
ข้อสรุปเบื้องต้น :
1) ถ้าไม่มีหรือไม่ต้องการใช้เครื่องกรองน้ำสามารถนำน้ำประปามาต้มและเมื่อทิ้งไว้ให้เย็นบรรจุใส่ขวดหรือภาชนะนำไปดื่มได้ แต่ในการนำน้ำมาต้มนั้น ควรจะเช็คค่า TDS ว่าสูงเท่าไร แม้มาตรฐานจะกำหนดไว้ที่ 500 แต่ก็ไม่ควรให้เกินกว่า 380 - 400 อนึ่งการดื่มน้ำต้มไปนานๆนั้น ควรจะต้องระวังเรื่องสารตกค้างและตะกรันในน้ำด้วย และยังต้องระวังเรื่องความปลอดภัยจากความร้อน จากน้ำร้อนลวก เป็นภาระในการจัดทำถ้าต้องใช้น้ำจำนวนมากทุกๆวัน 2) การใช้เครื่องกรองน้ำแบบที่มีใส้กรองหลายอันและมีหลอดไฟ UV ฆ่าเชื้อโรคนั้นจะสะดวกและปลอดภัย น้ำที่ผ่านการกรองควรจะมีค่า TDS น้อยลงถ้าใส้กรองยังใช้ได้ดีอยู่ และควรต้องเปลี่ยนใส้กรองตามกำหนด 3) สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกในการต้มน้ำหรือติดตั้งเครื่องกรองน้ำ ก็สามารถใช้น้ำดื่มบรรจุขวดหรือน้ำจากตู้หยอดเหรียญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำ R.O. ได้ โดยน้ำประเภทนี้จะมีค่า TDS ต่ำมาก ถือเป็นน้ำบริสุทธิ์ที่ได้กรองเอาแร่ธาตุ สารต่างๆและจุลินทรีย์ออกจนหมด (ถ้าตู้น้ำหยอดเหรียญได้รับการดูแลอย่างดีและเปลี่ยนใส้กรองตามกำหนด) 4) การวัดคุณภาพของน้ำดื่ม โดยการวัดค่า TDS อย่างเดียวนั้นพอจะเช็คคุณภาพน้ำได้ ซึ่งน้ำประปา น้ำดื่มโดยทั่วๆไปจะมีค่า TDS ต่ำกว่า 500 แต่การวัดค่า pH ด้วย จะช่วยให้ทราบความเป็นกรด ด่าง ของน้ำ ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากขึ้นในการพิจารณาน้ำที่ใช้ดื่ม |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
References :
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หมายเหตุ : บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูล เผยแพร่ความรู้และประสบการณ์สำหรับผู้ที่สนใจ ผู้เขียนไม่ได้ขายหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขายอุปกรณ์ต่างๆที่นำมาแสดง |
....................................................................................................................................................................................................................................................
>
XXX
จากวันที่ 21 มี.ค. 2563
ปรับปรุงล่าสุด : 25
มี.ค.2563