|
|
ผลงาน
และประสบการณ์
การนำเอาความรู้ที่ได้เรียนมาจากอเมริกามาใช้ประโยชน์
1.
การพัฒนาระบบไฟฟ้าแรงสูงมาก (Extra High
Voltage 500 kV)
ระบบไฟฟ้าที่ประเทศไทยใช้อยู่ในขณะที่ผมได้เข้ามาทำงานที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯในขณะนั้นคือ
ระบบที่มีแรงดันไฟฟ้า 69, 115, และ 230
เควี ขึ้นอยู่กับปริมาณไฟฟ้า
และระยะทางที่จะต้อง
ส่งไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าไปยังศูนย์กลางการจ่ายไฟฟ้า
หรือ Load Center ระบบส่งไฟฟ้าจาก
เขื่อนภูมิพล
มานครสวรรค์จนถึงกรุงเทพฯ
เป็นระบบ 230 เควี
ซึ่งก็นับว่าเพียงพอในขณะนั้น
ต่อมาได้มีโครงการเขื่อนสิริกิติ์
โครงการเขื่อนศรีนครินทร์ (เขื่อนแควใหญ่เดิม)
ซึ่งมีกำลังผลิต
ไฟฟ้ามาก จึงใช้ระบบส่ง 230 เควี
เช่นกัน
และด้วยการพัฒนาแหล่งลิกไนท์ที่แม่เมาะพบว่า
สามารถจะมำเหมืองลิกไนท์
ขุดได้ถ่านลิกไนท์เป็นจำนวนมาก
นำมาผลิตไฟฟ้าได้เป็นเวลานาน
ดังนั้นจึงมีโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าลิกไนท์แม่เมาะขึ้น
ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายวางแผนระบบ
ไฟฟ้าที่จะเสนอว่าควรจะใช้ระบบอะไร
การตัดสินใจเลือกระบบ
500 เควี เป็นระบบ EHV
แห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ต้องเล่าเรื่องราวความเป็นมาย้อนหลังไปถึงสมัยที่เรียนปริญญาโทอยู่ที่
Oregon State โดย
มีวิชา Major คือ Power Systems และ High Voltage System
ซึ่งได้เรียนจากการ
ที่อาจารย์ให้คิดว่า
ถ้าจะส่งไฟฟ้า 1,000 เมกะวัตต์
ระยะทาง 500 ไมล์ หรือ 800 กิโลเมตร
จะต้องออกแบบระบบอย่างไร
นี่คือ Assignment แรก
ที่พวกเราต้องทำทุกอย่างโดยการเขียน
โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์เอาเอง
สำหรับผม ได้เรียน IBM Programming ภาษา
Fortran, SPS, และ Machine Language
ไปบ้างจากหลักสูตรปริญญาโท
ที่บัณฑิต
วิทยาลัย ในตอนนั้น
จึงพอจะมีพื้นฐานบ้าง
แต่ยังไม่เคยเห็นคอมพิวเตอร์เลย
เราได้เริ่มทำ
โปรแกรมคำนวนค่า Parameters
ของสายส่งไฟฟ้าก่อน
ทำผิดๆกันอยู่หลายครั้ง เพราะ
ไม่เคย Run โปรแกรมเลย
ทุกอย่างเป็นของใหม่
คอมพิวเตอร์ IBM 1620 ที่ใช้ มีหน่วย
ความจำ 32 kbytes ขนาดโตมาก
ติดตั้งในห้องใหญ่
แต่สมัยนั้นนับว่าทันสมัยแล้ว
เราได้
ใช้เวลาศึกษาต่อไปจนถึงขั้นเขียนโปรแกรม
Load Flow และอื่นๆอีก จนในที่สุด
ก็สามารถ
วิเคราะห์การส่งไฟฟ้าที่อาจารย์ตั้งให้ได้
ผลจาก Assignment ง่ายๆแค่นั้น
อาจารย์แทบ
จะไม่ต้องเหนื่อยอะไรกับการสอน
เพราะพวกเราต้องทำเองหมด
หาหนังสืออ่านเอง คือเรียน
เอง แต่ที่น่าประทับใจก็คือ
อาจารย์ได้คอยแนะนำตลอดเวลา
และพาไปดูงานระบบไฟฟ้าที่
Bonneville Power Administration, Portland ซึ่งมีระบบ 500
เควี ส่งไฟฟ้าลง
ไป California
และยังมีศูนย์ทดสอบระบบ
และอุปกรณ์ระบบส่งไฟฟ้ากระแสตรง
หรือ
High Voltage Direct Current Transmission
ซึ่งได้ทำให้พวกเราได้เห็นของจริง
ว่าเขาทำกันแล้ว
และยิ่งสนใจในการเรียนมากขึ้น
นอกจากประสบการณ์ในการเรียนแล้ว
หลังจากเรียนจบ
ได้ไปฝึกงานอยู่กับ
บริษัทไฟฟ้าขนาด
ใหญ่มากของ California สองแห่งคือ ที่
Pacific Gas and Electric (PG&E) ที่
San Francisco และที่ Southern California Edison (SC&E) ที่
Los Angeles
ซึ่งทำให้ได้เห็นพัฒนาการระบบไฟฟ้า
500 เควี และอื่นๆอีกมาก
ทำให้มีความมั่นใจยิ่งขึ้น
ประกอบกับภายหลังได้ไปปฎิบัติงานที่คานาดา
และได้เห็นระบบ 500 และ 765 เควี มี
ใช้กันมาก
ก็ยิ่งเกิดความเชื่อว่าน่าจะนำระบบดังกล่าวมาใช้ในประเทศไทยได้
กลับมาที่โครงการโรงไฟฟ้าลิกไนท์แม่เมาะ
เราได้ทำการวิเคราะห์และเปรียบเทียบระบบ
230 เควี 400 เควี และ 500 เควี
โดยทำเอง ไม่ได้ใช้ที่ปรึกษา
หลังจากนั้น ได้ทำรายงาน
เสนอแนะระบบไฟฟ้า เป็น 500 เควี
สำหรับโครงการนี้
ซึ่งต่อมาก็ได้เป็นความจริงไปตาม
นั้น และระบบดังกล่าวนี้
ได้นำมาใช้อีกมาก แม้ในปัจจุบัน (ปี
2545) มีระบบ 500 เควี
ผ่านเข้ามาในกรุงเทพฯ
ให้เราเห็นแล้ว
ผมจึงมีความภูมิใจที่ได้เป็นผู้ที่ริเริ่มนำระบบนี้เข้ามา
เสนอจนเป็นผลดีกับระบบไฟฟ้าของประเทศ
..... ยีงมีเรื่องอื่นๆอีก .......
|
.. |