|
|
ผลงาน
และประสบการณ์
การวางแผนคือหัวใจของการทำงาน
(Planning is the Heart of Successful Project)
1.
ความสำคัญของการวางแผน
ทุกอย่างในการทำงาน
การทำโครงการ
และในการดำรงชีวิตของคนเรา
ควรจะต้องมีการวาง
แผนที่ดี ในด้านระบบไฟฟ้า
ประชาชน อุตสาหกรรม จะมีไฟฟ้าใช้
โดยมีปริมาณเพียงพอ มี
ความมั่นคง
ไม่เกิดไฟฟ้าตกมากๆ
หรือดับบ่อยๆ
และมีไฟฟ้าใช้ในราคาที่เหมาะสม
ฯลฯ
เหล่านี้ต้นกำเนิดต้องมาจากการวางแผนงานที่ดี
เริ่มต้นด้วย
การพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้า
ซึ่งมีวิธีการ หรือเทคนิคมาก
ไม่ใช่ เอาความต้องการไฟฟ้า 5-10
ปีที่แล้วมาเขียนกราฟและ
ต่อเส้นกราฟออกไป
การพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า
จะต้องทำทั้งระยะสั้นและระยะยาว
เพราะโรงไฟฟ้าบางประเภทใช้เวลาก่อสร้างโครงการนานกว่า
5 ปี เมื่อทำการพยากรณ์ความ
ต้องการใช้ไฟฟ้าแล้ว
ก็ต้องทำการวางแผนด้านการเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้า
และระบบส่งไฟฟ้า
รวมถึงสถานีไฟฟ้าย่อย
และระบบจำหน่ายไฟฟ้า
ลงไปจนถึงการจ่ายไฟฟ้าให้ประชาชน
สิ่งเหล่านี้
ทำกันมาจนเกิดความเชี่ยวชาญแล้ว
ในระยะกว่า 40 ปีที่ผ่านมา
2.
การทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ
จากการวางแผนโครงการ
เรามักจะทำเป็นแผนของแต่ละโครงการออกมา
ซึ่งจะมีข้อมูล
มากมาย
รวมทั้งประมาณการค่าก่อสร้าง
และระยะเวลาดำเนินการ จากนั้น
จึงนำข้อมูล
ต่างๆไปเข้าโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อคำนวนแผนการเพิ่มกำลังผลิตและระบบไฟฟ้าที่เป็น
แผนที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด
หรือ Least Cost Solution
จากนั้นจึงจัดทำแผนรวมเป็น
Package เช่นแผนการลงทุนระยะ 5 ปี
ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ
ซึ่งจะต้องมีการวิเคราะห์ฐานะทางการเงิน
คือ Financial Analysis
แล้ว
ขออนุมัติดำเนินการ
เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว
ก็เป็นการดำเนินการต่อทางด้านวิศวกรรม
ด้าน
ก่อสร้าง จนถึงด้านปฎิบัติการ
และบำรุงรักษา
งานด้านการวางแผนจึงเป็นงานที่เริ่มต้นให้กับงานอื่นๆที่จะติดตามมา
การทำงานอย่างเป็น
ระบบและมีประสิทธิภาพ
จะทำให้การบริหารโครงการเป็นไปตามกำหนด
บรรลุเป้าหมาย
หรือ Meet Objective และไม่เกิดค่าสูญเปล่า
หรือ Cost Overrun
เราเคยคิดกันว่า
ถ้าทำโครงการเสร็จช้าไป 1
เดือน ผลกระทบจะทำให้องค์กร
และประเทศชาติ ต้องสูญเสีย
เงินเพิ่มขึ้นเท่าไร
เช่นต้องจ่ายเป็นค่าน้ำมันดีเซล
หรือนำเข้าน้ำมันเตา เพิ่มขึ้น
หรือระบบ
ไฟฟ้ามีความสูญเสียในระบบโดยรวมมากขึ้น
ดังนั้น
เมื่อมีจิตสำนึกในความรับผิดชอบแล้ว
เราก็ต้องหาทางทำงานให้ดีที่สุด
ซึ่งแน่นอนว่า การไปเร่งงานนั้น
มีคนไม่ชอบ เพราะทำให้
ต้องทำงานหนักมากขึ้น หรือ
ขัดกับธรรมชาติและไฟในตัวของแต่ละบุคคล
3.
การวางแผนที่ดีต้องมีพื้นฐาน
และประสบการณ์
การวางแผนที่ดีต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง
เป็นต้นว่า ต้องมีประสบการณ์
และข้อมูลสนับสนุน
มากพอ ในอดีต
เราต้องจ้างฝรั่งมาช่วยวางแผนและออกแบบระบบไฟฟ้าให้
เพราะเขาเคยทำ
มาก่อน
เขามีประสบการณ์และรู้วิธีทำ
ต่อมาเราได้เรียนรู้ และทำตาม
หรือทำซ้ำๆกับที่เคยทำ
ก็ทำได้
แต่ถ้าไม่มีการไฝ่หาความรู้และประสบการณ์มาเพิ่ม
เราก็จะทำได้เท่าเดิม
คือมีแต่ที่
เขาเรียกว่า Repeated Experience
ซึ่งไม่ค่อยช่วยในการพัฒนา
และต่อมาก็จะไม่มีคน
ต้องการ ดังนั้น จึงเกิดคำว่า
"ต่อยอด" หรือผมจะใช้คำว่า Enhancement in Capability
การมีพื้นความรู้ที่ดี
มีระบบและเครื่องมือที่ดี
ก็มีส่วนช่วยให้ทำการวางแผนได้ดี
ในการวาง
แผนบางเรื่องต้องการการคำนวนที่สลับซับซ้อน
ซึ่งหากไม่มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ดี
ก็ไม่
สามารถจะทำได้
ทำให้ต้องหวนกลับไปจ้างฝรั่งอีก
ผู้บริหารที่เก่ง มีวิสัยทัศน์ (Vision)
จะให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้
และยอมลงทุนในการพัฒนาทั้งบุคลากร
และเครื่องมือ
|
.. |