|
|
ผลงาน
และประสบการณ์
การค้นหา พิสูจน์ เพื่อพัฒนา(Proof and
Change)
1.
การพิสูจน์สิ่งที่ทำกันมา
ในการทำงานนั้น
เมื่อเรียนจบมาใหม่ๆ
ยังขาดประสบการณ์
เรามักจะทำอะไรไม่ได้มากนัก
นอกจากทำตามที่รุ่นพี่
หรือหัวหน้าแนะนำ
ดังนั้นจึงต้องทำงานแบบที่เรียกว่า
เป็นลูกมือ
หรือทำงานแบบที่ใช้แรงงานมาก
หรือการออกไปสำรวจ เก็บข้อมูล
ซึ่งบางที เราก็ไม่ทราบ
ว่าเก็บข้อมูลบางตัวเอามาทำอะไร
การศึกษาในสมัยก่อน
พึ่งพาตำราและการสอนจากอาจารย์มาก
ทุกอย่างที่เรียนมักจะเรียน
ตามตำรา หรือ Text Book
ผมยอมรับว่ามีหลายๆอย่าง
ที่เพิ่งมาเข้าใจในตอนหลังจากที่
ได้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท
ที่อเมริกา
เพราะที่นั่นต้องพึ่งตัวเองและห้องสมุดมาก
และ
เป็นช่วงเวลาที่ได้อยู่แบบเรียนจริงๆ
มีโอกาสได้ดูงานด้วย
ทำให้เกิดแนวความคิดที่จะพิสูจน์
หรือค้นคว้ามากขึ้น
หลังจากกลับมาทำงานราชการ
จนใกล้จะครบกำหนดระยะเวลาที่ต้องชดใช้ทุน
ก็ได้มีโอกาส
ร่วมงานกับหน่วยงาน USBR (United States Bureau
of Reclamation) ซึ่ง
ทำการศึกษาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนผามอง
(Pamong Project) อยู่ในกรุงเทพฯ
แม้ว่างานที่ทำจะดูน่าสนใจมาก
แต่ก็มีความเป็นไปได้น้อย
เพราะความต้องการไฟฟ้าขณะ
นั้นยังต่ำ
และโครงการใช้เงินลงทุนมาก
และเกี่ยวข้องกับหลายประเทศ
ความคิดที่ว่า
เมื่อเรียนจบปริญญาโทมาแล้ว
ก็ยังทำอะไรที่เป็นประโยชน์ไม่ได้มาก
เป็นเหตุผลหนึ่ง ดังนั้น
จึงเห็นว่าควรจะต้องย้ายไปที่การไฟฟ้ายันฮี
(ในขณะนั้น)
น่าจะทำประโยชน์ได้สมกับที่เรียนมา
การทำงานที่การไฟฟ้ายันฮี
ซึ่งต่อมาได้เป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
(กฟผ.) เป็น
งานที่ผมยอมรับว่าได้นำเอาความรู้ต่างๆที่ได้เรียนมา
มาประยุกต์ใช้ และทำประโยชน์ให้
กับการไฟฟ้าเป็นอย่างมาก
ซึ่งนับว่า การไฟฟ้าฯ
เป็นองค์กรที่ใหญ่
มีผู้บริหารที่เก่งและมีระบบ
การทำงานที่เอามาจากฝรั่งมากพอควร
ดังนั้น
การทำงานจึงมีประสิทธิภาพสูงและรวดเร็ว
ระเบียบต่างๆก็มีมาก
แต่มีความคล่องตัวดีและรัดกุม
ซึ่งทำให้พวกเราทำงานได้ดี
อย่างไรก็ตาม
เมื่อมีการรวมการไฟฟ้ากันใหม่
มีทั้งคนจากการไฟฟ้ายันฮี
การไฟฟ้าตะวันออก
เฉียงเหนือ และการลิกไนท์
ระบบการทำงานช่วงนั้น
ต้องมีการปรับปรุงเข้าหากัน
แต่ส่วน
ใหญ่ก็ใช้ตามแบบของการไฟฟ้ายันฮี
ได้มีการทบทวนการออกแบบระบบต่างๆ
ทบทวน
การคำนวน
และพิสูจน์หาเหตุผลหลายอย่างว่า
ทำไมเราจึงทำตามแบบที่ฝรั่งที่ปรึกษาได้
ออกแบบไว้ในอดีต และในที่สุด
ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
ซึ่งในส่วนที่ผมเกี่ยวข้อง
ก็จะเป็นเรื่องของระบบไฟฟ้าแรงสูง
ได้พิสูจน์โดยการคำนวนด้วยคอมพิวเตอร์
และในที่สุด
ก็ได้เปลี่ยนแปลง เช่น :
1)
ขนาดสายไฟฟ้าที่ใช้กับระบบสายส่งแรงสูง
230,000 โวลท์ นั้น ได้มีการเลือกขนาด
ที่เป็น Economic Conductor Size
ทำให้ประหยัดค่าลงทุน
และลดการสูญเสียลง
2) การออกแบบระบบไฟฟ้าเดิม
ใช้ช่วงเสา 450 เมตร ตามฝรั่ง
เราได้พิสูจน์ว่าไม่จำเป็น
และช่วงเสาจะมีระยะเท่าไร
ขึ้นอยู่กับ Factors ต่างๆ
ซึ่งเป็นผลให้เกิดการออกแบบใหม่
ที่ประหยัดกว่าแบบที่ทำตามฝรั่ง
3) การสลับเฟสของสายส่ง
ในอดีตสายส่งหลักไม่มีการสลับเฟสที่ถูกต้อง
ได้พิสูจน์และ
ในที่สุดการไฟฟ้าก็ได้ทำตาม
โดยให้สลับเฟสสายส่งใหม่
ทำให้ลด Loss ในระบบ
ลงได้ (แต่งานนี้
ต้องมีการปีนเสาไฟฟ้าแรงสูงเพื่อเปลี่ยนป้ายเฟส
A, B, C ของสายส่ง
หลายร้อยกิโลเมตร
ทำให้มีคนสรรเสริญผม พอสมควร!
แต่ไม่เป็นไร การไฟฟ้าฯก็ได้
ประโยชน์ไป)
ที่เล่ามานี้
เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น
ฟังดูเหมือนกับว่า
ตามมาพิสูจน์หาที่ผิด
แต่ความจริงผมคิดว่า
อะไรที่เราพิสูจน์ได้ว่าถูกต้องและเป็นประโยชน์กับองค์กร
ก็ควร
เสนอแนะไปซึ่งอาจจะมีบางคนไม่ชอบ
เพราะเป็นคนที่เคยทำร่วมกับฝรั่งเอาไว้
แต่โชค
ของผมก็ดีมากๆที่ผู้บริหารมีใจกว้าง
ยอมรับ
และยังสั่งการให้แก้ไขอย่างรวดเร็ว |
.. |