Digital Photography   Audio & Video   Computer Accessories   Software Applications | Home



































ผลงาน และประสบการณ์
ความพยายาม 4 ปี ในการเปลี่ยนเมนเฟรม
ในปี พ.ศ. 2511 เมื่อผมเข้าไปทำงานที่ กฟผ.ในกองวางระบบไฟฟ้านั้น กฟผ.ยังไม่มีคอม
พิวเตอร์ใช้ และการวิเคราะห์ระบบไฟฟ้า และการจ่ายไฟฟ้า ก็มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใช้อยู่บ้างแล้ว
เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเอง และไปขอใช้คอมพิวเตอร์ที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ และที่กรมชลประทาน

ต่อมา กฟผ.ได้สร้างศูนย์คอมพิวเตอร์ขึ้นและเช่าเครื่องเมนเฟรม IBM มาใช้ โดยเป็นเครื่องขนาด
เล็ก ใช้งานได้ระยะหนึ่ง มีความจำเป็นจะต้องขยาย หาเครื่องที่ใหญ่กว่ามาแทน จึงได้ทำการเปิด
ประมูล ตามระเบียบของทางราชการ และก็ได้เครื่องยี่ห้อ Univac มา เป็นผลให้ต้องทำการ
Convert โปรแกรมต่างๆมากมาย จากระบบของเครื่อง IBM มาเป็นระบบของเครื่อง Univac  และ
การใช้เครื่องเมนเฟรมดังกล่าว ได้ผลในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่สามารถรองรับงานที่ขยายมากขึ้นได้

เมื่อผมได้เข้าไปรับผิดชอบในด้านคอมพิวเตอร์ กฟผ.ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการคอมพิวเตอร์ กฟผ.
และต่อมา จึงได้จัดทำข้อเสนอขอความช่วยเหลือจาก USTDP (US.Trade and Development
Program) ได้รับการสนับสนุน ส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยจัดทำ Specifications สำหรับเครื่อง
เมนเฟรมใหม่ หลังจากทำ Spec. เสร็จแล้ว จึงได้ขออนุมัติทำการเปิดประมูลไปยังคณะกรรมการ
คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NCC) ในขณะนั้น แต่การอนุมัติต้องรอเวลานานมาก อาจเป็นเพราะมีเรื่อง
ขออนุมัติไปมาก การพิจารณาจึงล่าช้า แต่กฟผ.มีความต้องการใช้งานเร่งรัดเข้ามา จึงได้ขออนุมัติ
คณะกรรมการ กฟผ.ทำการเปิดประมูลล่วงหน้าไปก่อน แต่ผลการอนุมัติจาก NCC ก็ยังไม่ออกมา
จนในที่สุดต้องขอต่อเวลา และล้มประมูลไปในที่สุด โดย NCC อ้างว่า Spec. ที่ USTDP ให้
ที่ปรึกษามาช่วยจัดทำนั้น ไม่ได้เปิดกว้างให้มีการแข่งขันกันอย่างทั่วถึง

เมื่อโครงการที่ใช้เวลาศึกษาความต้องการและจัดทำรายละเอียดมาเป็นเวลากว่า 2 ปี ต้องถูกพับไป
จึงได้หาทางออกในส่วนการวิเคราะห์ระบบไฟฟ้า โดยการนำ Mini Computer VAX 11/750
เข้ามาใช้ก่อน โครงการนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสายส่ง 500 เควี ซึ่งผมได้เคยไปดูงานที่สหรัฐ
อเมริกาและแคนาดามา และได้เห็นบริษัทที่ปรึกษาที่เก่งมาก คือ Power Technologies Inc. เขา
ใช้อยู่ พร้อมทั้งมีโปรแกรมการวิคราะห์ระบบไฟฟ้าที่ทันสมัยมาก การได้ไปเห็นและศึกษาเทคโนโลยี
ที่ทันสมัยทำให้เกิดความคิดที่จะต้องนำมาใช้กับ กฟผ.ให้ได้ และในที่สุดก็ทำได้สำเร็จ

กลับมาเรื่องเมนเฟรมใหม่ ภายหลังจากโครงการเปลี่ยนเมนเฟรม ได้ถูกพับไปแล้ว ก็ต้องตั้งต้นทำ
การศึกษาและจัดทำ Spec. กันใหม่ แต่คราวนี้ ไม่มีที่ปรึกษาแล้ว เพราะหมดสัญญา
ดังนั้น ผม
จึงได้เริ่มจัดทีมงานเข้ามาศึกษาเรื่องเมนเฟรม ทีละส่วนๆอย่างละเอียด และโดยอาศัยการสอบถาม
จากผู้ที่รู้เรื่องต่างๆ มาบรรยายให้ฟังบ้าง ไปดูงานที่สิงค์โปร์ ฮ่องกง จนในที่สุด ผมและทีมงาน ก็
สามารถเขียน Spec. ของคอมพิวเตอร์เมนเฟรม และระบบเชื่อมโยงกับ Mini Computer ได้ และ
ได้ขออนุมติคณะกรรมการ กฟผ. และ NCC ตามลำดับ และเมื่อได้รับอนุมัติแล้ว จึงได้เปิดประมูล
จัดซื้อคอมพิวเตอร์เมนเฟรม โดยกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณา การให้คะแนนเพื่อ Evaluate
ผล รวมทั้งการทดสอบ ฯลฯ ไว้อย่างชัดเจน การพิจารณาทำอย่างตรงไปตรงมา ตามวิธีการที่ได้รับ
อนุมัติไว้ และเก็บไว้อย่างปลอดภัยโดยฝ่ายบริหาระดับสูงสุด ไม่สามารถมาบิดเบือนได้ อุปกรณ์
ประกอบ ก็ได้มีการทดสอบอย่างจริงจัง ทำให้การจัดซื้อผ่านพ้นไปอย่างราบรื่น และได้ระบบเมนเฟรม
ที่ทันสมัยมากในขณะนั้น จากบริษัท IBM  มาติดตั้งที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นใหม่  รวมระยะเวลา
แห่งการดำเนินการประมาณ 4 ปี! ซึ่งนับว่านาน แต่ก็ได้ระบบที่ดีมาใช้

การเปลี่ยนระบบเมนเฟรมและการทำระบบสื่อสารคอมพิวเตอร์ไปยังโรงไฟฟ้า สถานีไฟฟ้าย่อย และ
สำนักงานต่างจังหวัดของ กฟผ. ในสมัยนั้น สามารถดำเนินการได้โดยอาศัยเครือข่ายการสื่อสารของ
กฟผ. เอง  เพราะยังไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้กัน แต่ในที่สุด ก็ทำได้สำเร็จ

..

Hit Counter
ตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ.2545