ก่อนหน้านี้
ได้เขียนเรื่องราวของความพยายามในการเปลี่ยนระบบเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ของ
กฟผ.
มาแล้ว
นอกจากเรื่องคอมพิวเตอร์
ก็มีเรื่องงานวางแผนระบบไฟฟ้าอีกหลายโครงการที่ต้องใช้ความ
พยายามมากในการจัดทำ
เสนอขออนุมัติ
และในที่สุดก็ได้ก่อสร้าง
โครงการสายส่งเชื่อมโยงภาคกลาง -
ภาคใต้ (230 kV Central - Southern Tie Line)
จากการวางแผนพบว่ากำลังผลิตไฟฟฟ้าในภาคใต้จะไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น
ดังนั้น ทางฝ่ายวางแผน
จึงได้จัดทำโครงการขึ้นมา
คือโครงการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูง
ขนาด
230
กิโลโวลท์เพื่อเชื่อมโยงภาคกลาง
- ภาคใต้
เป็นการนำไฟฟ้าที่มีมากจากภาคกลาง
ส่งลงไปช่วย
ที่ภาคใต้ โครงการนี้
ต้องไปแข่งกับโครงการก่อสร้างเขื่อนปัตตานี
ซึ่งวางแผนโดยฝ่ายวางแผนพลังน้ำ
และมีบริษัทที่ปรึกษาอเมริกัน
ซึ่งทำให้มีความพยายามที่จะชะลอโครงการก่อสร้างสายส่งเอาไว้
เพื่อ
จะได้สร้างโครงการเขื่อนปัตตานีก่อน
การจะสร้างโครงการสายส่ง 230 เควี เชื่อมโยงภาคกลาง
-
ภาตใต้ หรือโครงการเขื่อนปัตตานีนั้น ทั้ง 2
โครงการก็จัดทำโดยฝ่ายโครงการและแผนงานด้วยกัน
หากแต่เป็นคนละกอง ดังนั้น จึงเกิดการแข่งขันที่จะเสนอโครงการขึ้น
(การจัดทำโครงการในแผนเพิ่มกำลังผลิต
หรือ PDP มีใช้แล้ว
โดยจัดทำการวิเคราะห์เพื่อหาแผนทั้งหมด
ที่เป็น Least Cost Solution
ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของธนาคารโลก (IBRD)
และธนาคารพัฒนา
เอเชีย (Asian Development Bank - ADB
ซึ่งในแผนดังกล่าวในตอนนั้น มีการก่อสร้างสายส่ง 230
เควี
เชื่อมโยงภาคกลาง - ภาคใต้
มาก่อนโครงการเขื่อนปัตตานี)
|
ผมได้นำเสนอโครงการก่อสร้างสายส่ง
230
เควี
เชื่อมโยงภาคกลาง -
ภาคใต้ ต่อฝ่ายบริหารหลาย
ครั้ง
แล้วก็ถูกตีกลับ
คือไม่ได้รับอนุมัติอยู่เรื่อย
ต่อมาปรากฎว่า
โครงการเขื่อนปัตตานีต้องเลื่อน
กำหนดการก่อสร้างออกไป (Delayed)
และแม้ว่า
จะได้ทำรายงานการศึกษาความเหมาะสม
(Feasibility
Study) และงานเตรียมการต่างๆเอาไว้แล้ว
ได้เกิด
ปัญหาการหาแหล่งเงินกู้ คือโครงการนี้ เมื่อ กฟผ.
เข้ามารับช่วงต่อจากการพลังงานแห่งชาติ ก็ได้ใช้
บริษัทที่ปรึกษาอเมริกัน
แต่พอจะกู้เงิน ไปขอเงินกู้
จากประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งเขามีกฎว่า จะพิจารณาให้กู้
ถ้าโครงการนั้นใช้บริษัทที่ปรึกษาญี่ปุ่น
ดังนั้น กว่าจะ
ทราบผลการพิจารณาอย่างเป็นทางการว่าทางญี่ปุ่น
ไม่อนุมัติให้กู้เงินสำหรับโครงการนี้
ก็สายไปเสียแล้ว
เวลาที่ผ่านไป ได้เกิดการขาดแคลนไฟฟ้าในภาคใต้
มากยิ่งขึ้น วิธีแก้ที่ทำได้ทางเดียวก็คือขนย้ายเครื่อง
กำเนิดไฟฟ้าแบบแกสเทอร์ไบน์ กำลังผลิตเครื่องละ
15 เมกะวัตต์
จำนวนหลายเครื่อง รีบไปติดตั้งในภาค
ใต้ แต่คนการไฟฟ้าก็รู้ดีว่าการเดินเครื่องแกสเทอร์ไบน์
ที่ใช้น้ำมันดีเซลเพื่อผลิตไฟฟ้านั้น
มีต้นทุนการผลิต
ต่อหน่วยสูงมากและต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนั้นในระยะเวลา
หลายปีสะสมกันเป็นเงินกว่าพันล้านบาท! ซึ่งผมใน
ฐานะผู้วางแผนโครงการสายส่ง จำเป็นต้องทำตัวเป็น
หน่วยกล้าตาย
เอาตัวเลขค่าน้ำมันดีเซลที่เพิ่มขึ้น ไป
ให้ผู้ว่าการดู (ซึ่งคิดว่า ผู้ว่าการคงจะทราบอยู่แล้ว)
ทันใดที่ผมเอาตัวเลขให้ท่านดู ก็โดนสวนกลับทันที
(ถูกด่ากลับมาอาจเป็นเพราะไปตอกย้ำ) แต่ก็ยังไม่
หมดความพยายาม
จากนั้นไม่นานก็เสนอโครงการ
สายส่งกลับไปใหม่ |
ต่อมาโครงการสายส่งเชื่อมโยงภาคกลาง
- ภาคใต้ ระบบ 230 กิโลโวลท์
ก็ได้รับอนุมัติจากฝ่าย
บริหาร
เพราะตอนนั้นไม่มีทางเลือกแล้ว
จึงได้มีการนำโครงการเสนอขออนุมัติต่อสภาพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ (NESDB)
แต่เนื่องจากรัฐบาลในสมัยนั้น
ต้องการผันเงินไปสู่ชนบท
จึงได้ตัด
งบประมาณโครงการสายส่ง 230 เควี
ลง และให้สร้างได้แค่ระบบ 115 เควี ซึ่งต่อมาไม่นาน
ก็ไม่
่สามารถส่งกำลังไฟฟ้าลงไฟภาคใต้ได้เพียงพอ
ทำให้ต้องสร้างระบบ 230
เควีขึ้นมาเสริมอีก นี่แหละ
ทำให้ต้องลงทุนซ้ำๆ เหมือนสร้างถนนแล้วก็ขุด หรือทุบทิ้งแล้วก็สร้างอีก
ตลอดชีวิตที่เราเห็นมา
บทเรียนจากโครงการดังกล่าว
แสดงให้เห็นว่า อาจจะไม่สามารถดำเนินโครงการตามที่ควร
หรือ
ตามที่เป็น Least Cost Solution ได้
เนื่องจากมีการแข่งขันกันระหว่างฝ่ายวางแผนด้านไฟฟ้า
กับด้านพลังน้ำ
และยังมีนโยบายผันเงินสู่ชนบทเข้ามาเป็นตัวตัดงบประมาณอีก
ซึ่งถ้ามองใน View
Point ของแต่ละฝ่าย ก็มีเหตุผลของตน
ไม่มีการมองในภาพรวมเพื่อประเทศ แต่แล้วต่อมา
เวลา
ได้เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า
การวางแผนโครงการเดิมที่ทำไว้นั้นถูกต้องแล้ว
การจะ Implement ให้ได้
นั้น
อาจจะถูกนโยบาย รวมทั้งปัจจัยต่างๆเข้ามาเปลี่ยนแปลงแผนได้
(แค่ Risk & Uncertainty
ยังไม่พอ ต้องบวก Politics
เข้าไปด้วย)
และกว่าที่โครงการสายส่งเชื่อมโยงภาคกลาง
-
ภาคใต้
จะได้รับอนุมัติให้ทำการก่อสร้างก็ใช้เวลาไปแล้วถึง 4 ปี!
และยังจะต้องสร้างอีกประมาณ 2 ปีกว่า
และที่สำคัญก็คือ
ผู้ที่วางแผน อาจต้องมีความกล้าที่จะเสนอโครงการที่ดีให้กับองค์กร และอดทน
ที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง
โดยใช้ความรู้ความสามารถและในทำนองเดียวกัน ก็จะต้องเสี่ยงที่จะถูก
นายและเพื่อนร่วมงานบางคนไม่ชอบ
ซึ่งอาจมีผลต่ออนาคตการทำงานด้วย
ฝ่ายวางแผนกำลังผลิตและระบบไฟฟ้า ได้แยกเป็นอิสระ ขึ้นตรงต่อผู้ว่าการ
โดยที่ผมได้ทำงานที่การไฟฟฟ้าฯ
นานถึง 22 ปี ประสบการณ์ในระยะนั้น
มีมากพอที่จะมั่นใจ
ในการวางแผน
แต่แน่นอนว่าทุกหน่วยงาน
ก็ต้องมีเรื่องของการแข่งขัน
และมี Internal Politics
เป็นธรรมดา ฝ่ายวางแผน
จึงไม่สามารถทำหน้าที่โดยอิสระได้ในบางกรณี จนต่อมาจึงถึงวันที่
ได้เป็นอิสระ (โดยไม่ได้ไปวิ่งเต้นอะไรเลย
และไม่เคยรู้เรื่องมาก่อน)
โดยมีรองผู้ว่าการท่านหนึ่ง
มากระซิบว่า
ฝ่ายของผมจะได้เป็นอิสระแล้ว โดยคณะกรรมการแผนวิสาหกิจได้เสนอคณะกรรมการ
กฟผ. จัด Organization
Chart ใหม่ โดยมีฝ่ายวางแผนกำลังผลิตและระบบไฟฟ้า
ไปขึ้นตรงต่อ
ผู้ว่าการ เพื่อให้ทำงานได้คล่องตัวดียิ่งขึ้น |