|
|
ผลงาน
และประสบการณ์
การพัฒนาระบบสารสนเทศ
(MIS Drive, Failure and Success)
1.
ข้อมูลเพื่อการบริหาร
โดยปกติการทำงานระดับผู้บริหาร
จะต้องใช้ข้อมูลต่างๆเพื่อดำเนินการ
กำหนดแนวนโยบาย วิธีปฎิบัติ
การตัดสินใจ ฯลฯ
ซึ่งในแต่ละระดับงาน
จะมีข้อมูลมากมาย
โดยเฉพาะด้านการเงิน การลงทุน
ด้าน
ปฎิบัติการ ด้านการวางแผนงาน
เป็นต้น ข้อมูลต่างๆเหล่านี้
มีการสรุปเสนอตามลำดับชั้น
เพื่อรายงาน
ผลการดำเนินงานประจำเดือนในระดับกอง
ระดับฝ่าย
ระดับรองผู้ว่าการสายงานต่างๆ
และในที่สุด
ก็คือการรายงานต่อผู้ว่าการ
และเสนอต่อคณะกรรมการในการประชุมประจำเดือน
ซึ่งจะเห็นได้ว่า
มีข้อมูลที่จะต้องจัดทำอยู่มาก
และในอดีตนั้นใช้การพิมพ์ลงบนกระดาษ
แนวความคิดที่จะพัฒนาระบบ MIS
(Management Information System) เพื่อผู้บริหารระดับ
สูงใช้นั้น
ได้เริ่มขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนระบบคอมพิวเตอร์เมนเฟรมมาเป็นเครื่อง
Univac
2.
ความพยายามครั้งที่ 1
ในขณะนั้น
ผมยังไม่ได้มีส่วนในความรับผิดชอบทางด้านศูนย์คอมพิวเตอร์
โดยผมเป็นผู้ช่วยหัวหน้ากอง
และหัวหน้ากองวางแผนระบบไฟฟ้า
ได้บอกให้ผมทำงานด้านวางแผนระบบไฟฟ้า
ไม่ต้องมายุ่งเรื่อง
เมนเฟรม ดังนั้น การพัฒนาระบบ
MIS ครั้งแรกนั้น
จึงทำโดยทางศูนย์คอมพิวเตอร์
ซึ่งมีฐานะเป็น
แผนกหนึ่งในกองวางแผนระบบไฟฟ้า
ทางศูนย์คอมพิวเตอร์ได้พัฒนาระบบ
MIS ขึ้นคร่าวๆ และได้นำ
เครื่องคอมพิวเตอร์เทอร์มินัล
หนึ่งเครื่องไปติดตั้งในห้องผู้ว่าการ
(สมัยคุณ เกษมฯ)
และสอนให้เลขาณุการ
ผู้ว่าการใช้ก่อน
และก็มีเอกสารอธิบายวิธีใช้ติดไว้ด้วย
แต่ความผิดพลาดอันหนึ่งก็คือ
การใช้คอมพิวเตอร์
เทอร์มินัลเพื่อเรียกดูข้อมูลในสมัยนั้น
ทำได้ยากมาก
จะต้องพิมพ์คำสั่งยาว
และยังไม่มี Web Base จึง
ไม่สะดวกในการใช้งาน
และก็ไม่มีใครใช้
ซึ่งต่อมาวันหนึ่ง
ผมได้รับโทรศัพท์จากเลขาณุการผู้ว่าการ
บอกว่าผู้ว่าการ
ให้ไปยกเครื่องคอมพิวเตอร์เทอร์มินัลนั้นออกไปจากห้องผู้ว่าการ
เพราะไม่ต้องการใช้
และนี่คือความล้มเหลวของการทำ
MIS ครั้งที่ 1
ซึ่งเกิดจากความยากในการใช้งาน
การออกแบบระบบ
ไม่ดีพอ ขาดประสบการณ์
และยิ่งกว่านั้น
ข้อมูลไม่ทันสมัย เช่นในตอนเช้า
ผู้ว่าการมักจะต้องการทราบว่า
วันนี้ระดับน้ำในเขื่อนต่างๆเป็นอย่างๆไร
การผลิตไฟฟ้าเป็นอย่างไร
มีน้ำมันเตาในคลังสำรองเท่าไร
มีเงิน
สด กระแสเงินหมุนเวียนเท่าไร
ซึ่งข้อมูลส่วนใหญ่มาจากฝ่ายปฎิบัติการ
และฝ่ายการเงิน หากข้อมูลไม่
เข้าในระบบ MIS ให้ทัน
หรือเปิดดูไม่ได้ง่ายๆ
หรือดูแล้วก็ต้องพิมพ์ออกมา
ดังนั้นทางฝ่ายปฎิบัติการ
จึงได้ใช้วิธีทำข้อมูลพิมพ์เสนอผู้ว่าการทุกๆเช้า
เรียกว่าเสนอแข่งกับระบบ MIS
ก็เลยทำให้ระบบ MIS
ไม่มีความหมาย และต้องเลิกไป
3. การพัฒนาระบบ XMIS (Executive &
Management Information System)
|
ต่อมา
ผมได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นมาเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวางแผน
ระบบไฟฟ้า
ได้มีการนำเครื่องมินิคอมพิวเตอร์
VAX 11/750 พร้อม
ทั้ง Software ต่างๆเข้ามาใช้
รวมทั้งระบบ Graphic ต่างๆ ในตอน
นั้น ผมได้ดูแลงานอยู่ 5 กอง
จึงได้ใช้กองวิจัยและพัฒนา
เป็นหน่วย
งานพัฒนาระบบ MIS
และการใช้งานต่างๆขึ้นมารองรับหลายระบบ
งาน โดยที่เครื่อง VAX นั้น
ใช้งานง่าย ต่อ PC
เป็นเทอร์มินัลก็ได้
จึงทำให้สามารถแสดงข้อมูล
และรูปภาพเหมาะสำหรับระบบ MIS
มาก ความคิดที่จะทำระบบ MIS
ให้ผู้ว่าการและรองผู้ว่าการใช้ก่อน
จึงเกิดขึ้น
ระบบที่พัฒนาขึ้นมีมาก
และให้ชื่อว่า XMIS
ซึ่งก็ได้ติดตั้ง
เทอร์มินัลให้ที่ห้องผู้ว่าการ
(สมัยคุณ กำธนฯ)
และที่ห้องรองผู้ว่าการ
ทุกท่าน
รวมทั้งติดตั้งในห้องประชุมคณะกรรมการ
กฟผ. ด้วย ระบบ
ดังกล่าวใช้งานได้ดี
ผมเองเป็นผู้ตรวจเช็คข้อมูลทุกเช้า
ก่อนที่ผู้ว่าการ
จะมาถึง
และทางเลขานุการผู้ว่าการจะเปิดเครื่องเทอร์มินัลและพิมพ์
ข้อมูลที่จำเป็นวางไว้ให้ผู้ว่าการทุกวัน
ระบบ XMIS ในห้องผู้ว่าการนี้ |
ทำให้มองดูดีขึ้น
และสร้างภาพพจน์ใหม่
ให้เห็นว่าระดับผู้ว่าการก็ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกดูข้อมูลเพื่อการ
บริหาร
ส่วนตัวผมเองนั้นใช้ระบบดังกล่าวมาก
โดยเฉพาะในสมัยนั้น มี Visitors
มาพบมาก หากต้องการ
ข้อมูลที่เปิดเผยได้
ผมก็สามารถสั่งพิมพ์ออกมาได้ทันที
สร้างความประทับใจให้กับทางธนาคารต่างๆ
และ
Visitors ที่มาพบมาก |
|
|