Digital Photography   Audio & Video   Computer Accessories   Software Applications | Home














ผลงาน และประสบการณ์
การพัฒนางาน นำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ และ First in Many Things

1. การเริ่มต้นใช้ Micro Computer
First Micro Computer ในสมัยนั้น (ประมาณ ปี 2526) มีการใช้คอมพิวเตอร์
แบบ Mainframe ซึ่งการต่อ Terminals ออกไป
การใช้งานค่อนข้างจะยุ่งยาก และไม่มีโปรแกรมสำเร็จ
รูปเช่นทุกวันนี้ ภาษาที่ใช้ก็มักจะเป็นภาษา Cobol และ
Fortran เป็นส่วนใหญ่ จอภาพก็เป็นแบบ Mono-
chrome เป็นสีขาว-ดำ หรือมีตัวหนังสือสีเขียว การนำ
ข้อมูลเข้า ก็ใช้การเจาะการ์ดกระดาษ (Punched Cards)
ที่เรียกว่าการ์ด 80 คอลัมพ์ เวลาจะ Run งาน ก็จะต้อง
เสียเวลานั่งทำข้อมูลโดยเครื่อง Card Punching
Machine
แล้วนำการ์ดเป็นกล่องๆ ไปเข้าเครื่อง
Compile ให้แปลงข้อมูลเป็นภาษาของเครื่องก่อนที่
จะทำการคำนวนต่อไป

ในระยะที่ผมได้เข้ามาดูแลเรื่องคอมพิวเตอร์ของ กฟผ.
นั้น เรื่อง Mainframe ไม่ได้ไปยุ่งมากนักในตอนแรกๆ
เพราะขณะนั้นมีผู้ที่รับผิดชอบอยู่หลายคน และยังปรับปรุงอะไรมากไม่ได้ เนื่องจากเป็นเครื่องเช่า จึงได้เน้นไป
ที่เครื่อง Mini Computer และรวมถึงการเริ่มนำเอาเครื่อง Micro Computer มาใช้เป็นรายแรก เพื่อช่วยทำ
งานคำนวนที่ไม่ยุ่งยากจนถึงขั้นที่จะต้องไปใช้เครื่อง Mainframe

เครื่อง Micro Computer เครื่องแรกที่นำมาใช้ที่กองวางแผนระบบไฟฟ้า กฟผ.นั้น เป็นผลมาจากการที่ผมได้
ไปเห็นเครื่อง Radio Shack ที่สิงคโปร์ และได้ซื้อมาใช้ก่อนที่บ้าน มีความจุเพียง 16 kBytes แต่ได้ผลดี
ต่อมาจึงได้หาวิธีจัดซื้อเข้ามา ได้แก่ CPU, Keyboard, จอ Monitor, Tape, Disks และ Printer นำมา
ประกอบกันเป็น Micro Computer 1 ชุด มีหน่วยความจำ 32 kBytes (ตามรูป) และได้จัดทีมพัฒนาโปรแกรม
ขึ้นมา ได้สร้างโปรแกรมที่ใช้ประโยชน์ได้ดี และสามารถสั่ง Run งานได้อย่างรวดเร็ว เช่น โปรแกรม Economic
Analysis, โปรแกรมคำนวนค่าคงที่ของสายส่งไฟฟ้า (Transmission Line Constants), โปรแกรม
Load Flow แบบง่ายๆ โปรแกรมคำนวน Internal Rate of Return (IRR)  เป็นต้น ซึ่งช่วยให้การทำงาน
เบื้องต้นมีความสะดวก คล่องตัว และรวดเร็วขึ้นมาก
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 

2. การนำเครื่อง Word Processor มาใช้

First Word Processor ี่โดยที่งานที่ทำอยู่ในความรับผิดชอบนั้น จะต้อง
มีการจัดทำรายงานโครงการ และแผนงานต่างๆ
เป็นจำนวนมาก เพื่อใช้เป็นเอกสารเสนอขออนุมัติ
ตามขั้นตอน เช่น ขออนุมัติต่อคณะกรรมการ กฟผ.
ขออนุมัติต่อรัฐบาล และหากมีการกู้เงินมาดำเนิน
การ ก็จะต้องเสนอเอกสารโครงการให้ธนาคาร
ต่างประเทศพิจารณา เช่น ธนาคารโลก ธนาคาร
ADB เป็นต้น นอกจากนั้น เอกสารโครงการ ยัง
จะต้องแจกจ่ายให้กับฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องใช้ใน
การดำเนินงานไปด้วยกัน ดังนั้น เอกสารโครงการ
จึงต้องจัดทำเป็นภาษาอังกฤษ และจะต้องมีมาตร
ฐานที่สูง ยิ่งกว่านั้นงานทุกงานดูเหมือนจะเร่งด่วน
จะไปรอคิวบริการจากหน่วยงานอื่นไม่ได้ ยกตัวอย่าง มีการจัดทำโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ที่จะต้องทำรายงาน
เสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการและรายงานนี้ต้องทำปกสวยๆ มีรูปโรงไฟฟ้าเราก็ได้ขอให้ช่างเขียน เขียนรูป
โรงไฟฟ้าให้แต่ยังเขียนไม่ทันเสร็จดี ก็ต้องไปดึงเอามาจากมือช่างเขียนเพื่อส่งเข้าโรงพิมพ์ มิฉะนั้น จะทำรายงาน
เสนอไม่ทันการประชุมคณะกรรมการ ซึ่งเป็นเรื่องที่ Serious มาก   งานอย่างนี้ ผมได้ประสบมาและต้องทำงาน
แข่งกับเวลามาโดยตลอด ยิ่งถ้าเรามีนายบางคนที่ใจร้อน เปลี่ยนใจง่ายๆ และไม่คิดให้ครบถ้วนเสียก่อนจะสั่งงาน
เราก็จะต้องทำงานหนักยิ่งขึ้น (เรียกว่าต้องคอยกระดิกตามให้ทัน) และลูกน้องเราเองก็จะเหนื่อยตามไปด้วย และ
บางคนก็เริ่มมี Attitude ที่ไม่ดี (พูดตรงๆคือแอบนินทาลับหลัง) ซึ่งหากมีเหตุการณ์แบบนี้บ่อยๆ ฝ่ายที่คอยจ้อง
จะแข่งหรืออิจฉาริษยา ก็จะได้เปรียบขึ้นมา คือคนที่ทำงานน้อย มักจะได้ดี เนื่องจากไม่ค่อยมีคนว่า แต่องค์กร
ก็คงจะต้องมีคนหลายประเภท ดังนั้น ผู้บริหารระดับสูง จะต้องเก่ง จึงจะนำองค์กรไปได้

ในสมัย ปี 2526-2527 ได้มีการใช้เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าของ IBM กันแล้ว แต่การพิมพ์ก็ยังได้ไม่เหมือนกับการใช้
เครื่อง Word Processor เวลาพิมพ์ผิด การแก้ก็ลำบากและเสียเวลา ดังนั้น เพื่อทำงานด้านเอกสารโครงการและ
อื่นๆ เช่น เอกสารการประชุมกับกลุ่มประเทศอาเซียน ฯลฯ เพื่อยกระดับมาตรฐานและเพิ่มภาพพจน์ขององค์กร
ผมจึงได้เสนอขอซื้อเครื่อง Word Processor เป็นเครื่องแรกของ กฟผ.มาใช้ในฝ่ายวางแผนและระบบไฟฟ้า
ซึ่งกว่าจะได้มา ก็พบอุปสรรคมากพอควร กล่าวคือ ผู้บังคับบัญชาที่สูงกว่า 2 ระดับ 2 คน ไม่ค่อยมีความเข้าใจใน
ประโยชน์ของเครื่อง ดังนั้นจึงบอกว่า ซื้อมาก็ใช้ไม่คุ้ม ให้เอาเครื่องไปไว้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์จะดีกว่า ซึ่งฝ่าย
ประชาสัมพันธ์ในขณะนั้นไม่ได้มีความต้องการเครื่อง Word Processor เพราะมีเครื่องมือต่างที่ใช้ในงาน
รวมทั้งมีโรงพิมพ์อยู่ทั้งโรง สามารถเรียงพิมพ์ก็ได้ ทำพิมพ์ Offset สี ก็ได้ และเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าก็มีมากหลาย
เครื่อง นอกจากนั้น งานบริการฝ่ายอื่นๆ ยังทำได้ช้ามาก งานส่วนใหญ่ ก็คืองานจัดทำรายงานประจำปี และทำรายงาน
ให้กับฝ่ายที่เป็นเจ้านายตน กับบางฝ่ายที่เกรงใจกันเป็นพิเศษก็จะได้งานก่อน

หลังจากที่ผมรู้สึกผิดหวังเป็นอย่างมากจากการที่นายเราเอง ก็ยังไม่เข้าใจในประโยชน์และประสิทธิภาพของการนำ
Word Processor มาใช้
ซึ่งผลงานก็จะเกิดกับหน่วยงานที่ตนคุมอยู่โดยตรง และก็จะเป็นสิ่งที่เชิดหน้าชูตาให้กับ
กฟผ.ด้วย ผมจึงตัดสินใจทำนัดไปพบผู้ว่าการ กฟผ.ในขณนั้น และเล่าเรื่องทั้งหมดให้ท่านฟัง ซึ่งผู้ว่าการได้เรียก
ต้นเรื่องมาดูในทันที และได้อนุมัติให้ซื้อเครื่อง Word Processor ตามที่ผมเสนอได้ โดยกล่าวมาด้วยว่า ถ้าฝ่าย
ประชาสัมพันธ์มีความต้องการเครื่อง Word Processor ก็ให้ขออนุมัติขึ้นมาใหม่ (ไม่ใช่เอาของที่ผมต้องการ
นำมาใช้งาน ไปให้คนที่เขายังไม่ต้องการ) บทเรียนนี้ แสดงให้เห็นว่าถ้าเรามีนายที่ไม่เข้าใจและไม่รู้เรื่องก็ทำงานยาก
EGAT Board ดูการทำงานของ Word Processor เป็นที่น่ายินดี ที่ภายหลังจากได้เครื่อง Word
Processor มาใช้งานระยะหนึ่งแล้ว ผู้ว่าการ
กฟผ.ในสมัยนั้น ได้ให้ผมนำเครื่อง ไปตั้งโชว์
ที่ห้องประชุมคณะกรรมการ กฟผ. และได้ให้
สาธิตการใช้งานให้คณะกรรมการดู ตามรูปนี้
แสดงให้เห็นว่า ผู้ว่าการ เข้าใจและเห็นถึง
ประโยชน์จากการนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามา
ใช้งาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ


สำหรับเครื่อง Word Processor ชุดนี้
ปรากฎว่า ในฝ่ายวางแผนและระบบไฟฟ้า
เราได้ใช้กันอย่างมาก เรียกว่า แทบจะต้อง
จองคิวการใช้งานกันระหว่างกองต่างๆ ซึ่งมี 5 กอง และในระยะนั้นก็ได้มีงานที่เกี่ยวกับ Asean Power
Utilities / Authorities ซึ่งมีการจัดทำรายงานทางวิชาการ รายงานการประชุม ฯลฯ เราได้ใช้เครื่อง
Word Processor อย่างคุ้มค่ายิ่ง (ต้องบอกด้วยว่า ในสมัยนั้น ยังไม่มี PC และโปรแกรม Windows
และ Software เช่น Words, Excel ก็ยังไม่มี)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

3. การนำเครื่อง Mini Computer VAX 11/750 เข้ามาใช้
DEC VAX 11/750 at EGAT

ภาพระบบมินิคอมพิวเตอร์ DEC VAX 11/750 ณ ฝ่ายวางแผนและระบบไฟฟ้า ในปี พ.ศ. 2527
(ภาพ Simulate จากการนำ 2 ภาพมาต่อกัน)

เนื่องจากการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องมีการเพิ่มกำลังผลิตและ
ขยายระบบไฟฟ้าให้ทันกับความต้องการ และระบบไฟฟ้ายังต้องขยายออกไปยังจังหวัดและอำเภอต่างๆ
ทั่วประเทศ   การวางแผนขยายระบบไฟฟ้านั้นต้องใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวน โดยใช้โปรแกรมที่
เรียกว่า Power Flow หรือ Load Flow และโปรแกรมอื่นๆอีกหลายโปรแกรม ในสมัยนั้น กฟผ.ได้
เริ่มต้นโดยใช้โปรแกรม Load Flow ง่ายๆ และประเภทที่หามาได้ฟรี ซึ่งก็ไม่ดีนัก ต่อมาก็พยายามที่
จะพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาเอง โดยได้จ้างคนมาทำเรื่องนี้โดยเฉพาะ ก็ยังไม่ได้ผลดี ต่อมาถึงขนาดจ้าง
วิศวกรคนหนึ่งจบปริญญาขั้นดอกเตอร์มาพัฒนาโปรแกรม Load Flow อยู่หลายปี ก็ได้โปรแกรมที่
พอใช้ได้ในระดับหนึ่งเท่านั้นแต่ไม่สามารถใช้กับระบบไฟฟ้าที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วของ กฟผ.ได้

เมื่อผมได้เข้ามารับตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้า และมีความเป็นอิสระในการ
พัฒนาระบบงานมากขึ้น ในขณะนั้น มีโครงการจะก่อสร้างระบบไฟฟ้า 500 เควี แม่เมาะ - กรุงเทพฯ
ผมจึงได้พยายามที่จะหา Software ใหม่ที่มีประสิทธิภาพดี มาใช้ในการวางแผนระบบไฟฟ้า และจาก
การศึกษา ฟังการบรรยายและการนำเสนอของบริษัทต่างๆ ในที่สุดก็เริ่มสนใจ Software ชื่อ PSS/E
(Power System Simulator / Engineering) ของบริษัท PTI (Power Technologies Inc.)
และต่อมาเมื่อมีโอกาสไปดูงานที่สหรัฐอเมริกา จึงได้แวะไปศึกษารายละเอียดของ Software ที่บริษัท
ดังกล่าว ที่เมือง Schenectady, New York ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจมาก และทางผู้พัฒนาก็ได้
แนะนำให้ใช้ Software นี้กับเครื่อง Super-Mini Computer VAX 11/750

นี่คือที่มาของการจัดหาทั้ง Software และ Hardware มาใช้ปรับปรุงและพัฒนางานวางแผนระบบ
ไฟฟ้า
ซึ่งได้อาศัยบริษัทที่ปรึกษาโครงการสายส่ง 500 เควี แม่เมาะ-กรุงเทพฯ ช่วยประสานงานต่างๆ
ทางด้านสหรัฐอเมริกา และต่อมาก็ได้ทำเรื่องขออนุมัติซื้อ มาติดตั้งใช้งานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527

Software PSS/E และเครื่อง DEC VAX 11/750 ได้ใช้งานวางแผนระบบไฟฟ้าและงานอื่นๆที่
พัฒนาขึ้นมาอีกเป็นจำนวนมาก รวมทั้งระบบ XMIS (Executive/Management Information
System) ซึ่งผมเป็นผู้ให้ความคิดและนำการพัฒนา สามารถใช้เป็นระบบ MIS สำหรับผู้บริหาร
ระดับสูง และระดับรองๆลงมาได้ การใช้งานก็ง่าย และมีระบบแสดงผลสรุปเป็น Graphic สีด้วย
ซึ่งก็ได้ติดตั้งเทอร์มินัลไว้ให้ในห้องผู้ว่าการ และรองผู้ว่าการ ใช้ประโยชน์

ความสามารถในการวิเคราะห์และวางแผนระบบไฟฟ้า (รวมทั้งการวางแผนด้านกำลังผลิตไฟฟ้า)
ของฝ่ายวางแผนฯ กฟผ.นั้น เป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะ ธนาคาร ADB (Asian
Development Bank), ธนาคารโลก (World Bank) และการไฟฟ้าต่างๆในกลุ่มประเทศอาเซียน
ได้สร้างชื่อเสียงให้กับ กฟผ.เป็นอย่างมาก โดยเราเป็นผู้นำที่ก้าวหน้าไปมากกว่า และธนาคาร ADB
ได้เห็นความสามารถอันนี้ จึงได้เริ่มเข้ามาขอให้ กฟผ.ให้ความร่วมมือในด้านระบบไฟฟ้า แก่ประเทศ
บังคลาเทศ และเนปาล ซึ่งสำหรับประเทศเนปาลนั้น ADB ได้ออกเงินให้วิศวกรไฟฟ้าของการไฟฟ้า
เนปาล มาศึกษาและเรียนรู้การวิเคราะห์ระบบไฟฟ้ากับเรา หลายครั้ง สำหรับบังคลาเทศนั้น ADB
ได้ขอให้ผมไปช่วยทำงานในโครงการเงินกู้ของ ADB ร่วมกับ ADB Mission ในฐานะ Staff
Consultant ถึง 8 Missions ซึ่งในระยะแรกๆนั้น การไฟฟ้าบังคลาเทศยังไม่มีคอมพิวเตอร์
ใช้เลยแม้แต่เครื่องเดียว ผมจึงได้เสนอ ADB ให้ความช่วยเหลือ ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
และจัดโปรแกรม Load Flow ให้ใช้ด้วย

ส่วนทางด้านธนาคารโลก ก็ได้เริ่มเข้ามาขอให้ไปช่วยวิเคราะห์และทำงานในฐานะ Staff Consultant
ร่วมกับ Mission ของธนาคาร 2 ครั้ง ที่ประเทศ มาเลเซีย รวมซาบา ซาราวัค ที่ประเทศอินโดนีเซีย
ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งประเทศเหล่านี้มีขีดความสามารถในการวิเคราะห์ระบบไฟฟ้าอยู่แล้ว การทำงาน
จึงเป็นไปในรูปแบบของเพื่อนๆ เพราะสนิทกันมาก่อนแล้ว
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

4. การพัฒนาด้าน Graphics โดยนำ Plotter และ Digitizer ขนาดใหญ่มาใช้
CalComp Plotter & Digitizer

พร้อมๆกับการติดตั้งเครื่อง Super-Mini VAX 11/750 ก็ได้จัดซื้อเครื่อง CalComp Flatbed Plotter
และเครื่อง Digitizer ขนาดใหญ่เข้ามาใช้ เป็นเครื่องแรก
อีกเช่นกัน ในการ Implement เพื่อใช้เครื่อง
Plotter ร่วมกับเครื่อง Digitizer นั้นมีปัญหามากในตอนแรก และต้องใช้ช่างบินมาจากสิงค์โปร์เพื่อแก
้ปัญหา หลายครั้งจนในที่สุดก็ใช้งานได้ดี   เครื่องทั้งสองใช้ประโยชน์ในการทำแผนที่และระบบไฟฟ้า
ขนาดใหญ่ ที่ลงรายละเอียด แยกสีต่างๆได้ และใช้กันมาจนทุกวันนี
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Hit Counter
ตั้งแต่วันที่ 28 ก.ย. 2550