Digital Photography   Audio & Video   Computer Accessories   Software Applications | Home

การซ้อนภาพวิดีโอโดยใช้เทคนิค Blue Screen


รูปที่ 1 ตัวอย่างวิดีโอที่ใช้เทคนิค Blue Screen ในการซ้อนภาพ
(ขออภัยที่ภาพเกิดไม่ขึ้น กำลังค้นหาสาเหตุ)


รูปที่ 2

จาก รูปที่ 2 เลือกฉากหลัง แล้วลากไปวางที่ Timeline (1) จากนั้น เลือกวิดีโอที่ถ่ายโดยมีฉากหลังเป็น Blue Screen ลากไปวางที่ Timeline (2) ปรับขนาดภาพและตำแหน่งที่ต้องการ จากนั้น คลิกที่ Mask & Chroma Key (3) แล้ว Tick ที่ Apply Overlay Options ก็จะได้ภาพวิดีโอซ้อนกัน ตามรูปที่ 3 ซึ่งเราสามารถทำการซ้อนภาพได้ถึง 6 ชั้น (Layers)
เทคนิคการซ้อนภาพ ได้เป็นที่นิยมใช้กันมานานแล้วในการถ่ายทำภาพยนตร์
หรือในรายการโทรทัศน์ และสามารถทำได้แนบเนียนมากจนเราไม่ทราบว่า
ฉากหลังต่างๆนั้น เป็นการถ่ายทำจริง หรือถ่ายทำทีละครั้ง แล้วนำภาพมาซ้อนกัน

เทคนิคนี้ นิยมถ่ายภาพยนตร์หรือวิดีโอ เช่นมีคนยืนพูด หรือขับรถ  เดิน หรือวิ่ง
อยู่ในสตูดิโอ ที่มีฉากด้านหลังเป็นสีพื้น เช่นสีน้ำเงิน (Blue Screen) หรือสีเขียว
(Green Screen) จากนั้น ก็จะถ่ายทำฉากจริง แยกต่างหาก เช่น ฉากภูเขา ชายทะเล
ฯลฯ แล้วนำภาพที่มีฉากหลังเป็น Blue Screen มาซ้อนทับฉากจริง แล้วใช้เทคนิค
เช่น ในระบบวิดีโอ ใช้ Mask & Chroma Key ทำการซ้อนภาพ และทำให้ฉากสี
ีน้ำเงินหายไป (Transparent) และถูกแทนที่ด้วยภาพที่เป็นฉากหลังจริงๆ

ในวงการภาพยนตร์และโทรทัศน์ รวมทั้งการถ่ายภาพ ในปัจจุบัน นิยมใช้ทั้ง Blue
Screen และ Green Screen แต่การแต่งกายของผู้แสดง หรือพิธีกร ควร
หลีกเลี่ยงการใช้สีที่เหมือนกับฉากหลัง เช่น สีฟ้า ถ้าฉากหลังเป็น Blue Screen
จากบทความในต่างประเทศได้เปรียบเทียบการใช้ Blue Screen กับ Green
Screen ไว้ ว่ามีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ถ้าเราสังเกตภาพที่เกิดจากการซ้อนภาพและ
ฉากหลัง หลายๆครั้งจะพบว่า ภาพคนนั้นมีขอบเป็นสีติดมา ทำให้ดูไม่แนบเนียน
หรือรู้เลยว่า นี่เป็นการทำภาพซ้อน Effect ดังกล่าว เรียกว่า Blue Spill หรือ
Green Spill ซึ่งบทความกล่าวว่า Blue Spill จะสังเกตได้ยากกว่า หรืออาจจะ
ไม่สังเกตเห็น เมื่อเทียบกับ Green Spill

ผมหัดทำการซ้อนภาพวิดีโอ โดยใช้โปรแกรม Ulead ง่ายๆ ไม่ได้ลงทุนอะไรนัก
แม้ตัวอย่างที่ทำลงอินเทอร์เน็ต ก็ใช้ฉากหลัง Blue Screen เป็นกระดาษโปสเตอร์
แผ่นเล็กๆ เพราะความอยากรู้ เผื่อจะนำมาใช้ในเว็บไซต์ต่างๆที่ทำอยู่ให้มีสีสรรมากขึ้น
และต่อมาก็ได้เริ่มทำฉาก Blue Screen ติดฝาผนังห้อง มีขนาดใหญ่ขึ้น พอใช้
สำหรับให้คนยืนพูดได้

ท่านที่สนใจลองเข้าไปอ่านบทความ :
The Blue / Green Screen Page

ตัวอย่างการซ้อนภาพ ตัวอย่าง หาดในหาน และการบรรยายnew123a.gif (1369 bytes)
ตัวอย่างการทำ Title ง่ายๆ  |  ตัวอย่าง รถไฟฟ้า BTSnew123a.gif (1369 bytes)
.


รูปที่ 3

Hit Counter
จากวันที่ 12 ต.ค. 2551