|
|
|
หน่วยความจำสำหรับบันทึกภาพ
/ วิดีโอ
Storage Devices for Digital Picture & Video
1.
หน่วยความจำแบบ SD Card
(Updated
: 17/1/2555)

SD Card
เป็นหน่วยความจำที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ใช้งานสะดวก
มีราคาถูก และมีความจุให้เลือกใช้ได้ เช่น
2, 4, 8, 16 และ 32 GB
ซึ่งหาซื้อได้ง่าย SD ย่อมาจาก Secure
Digital และ SD Card มีหลายแบบ เช่น
SD,
SDHC และ SDXC ซึ่งมีรายละเอียด
ดังนี้

1. SD Card เป็นการ์ดที่มีความจุไม่เกิน
4 GB ใช้ฟอร์แมทแบบ FAT16
หรือ FAT32
2. SDHC (Secure Digital High Capacity)
เป็นการ์ดที่มีความจุ 4 - 32 GB ใช้ฟอร์แมท
FAT32
3. SDXC (Secure Digital Extended
Capacity) เป็นการ์ดที่ออกมาในปี 2553
เพื่อสนองความต้องการใช้
สำหรับการบันทึก HD Video โดยมีความจุตั้งแต่ 64
GB ขึ้นไป และในอนาคต จะมีความจุถึง
2 TB และความเร็ว
จะขึ้นไปถึง 300 MB/s

SD Card ยังแบ่งความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูล
เรียกเป็น Class เช่น Class 2, Class 4
และ Class 10
ตามที่แสดงไว้ในรูปข้างบน Class
ยิ่งสูง ความเร็วก็จะยิ่งสูง และราคาก็แพงตามไปด้วย
ผลการทดสอบความเร็ว ของ Memory Cards
แบบต่างๆ

การทดสอบทำโดยการ Transfer
ไฟล์ .MPEG จำนวนรวมกัน 1.48 GB
จากเครื่อง PC HP p6285l ไปยัง
Memory Card เป็นการ Record
และจาก Memory Card ไปยัง Hard
Disk ของ PC เป็นการ Read
ได้ผลตามที่แสดงไว้ในตารางดังต่อไปนี้
สำหรับการบันทึกวิดีโอ ผู้เขียนได้ใช้ SD Card ขนาด
8 และ 32 GB
สำหรับ
กล้องดิจิตอลที่ถ่ายวิดีโอแบบ Full HD
ได้

Card |
Class |
Record Time |
Speed
(MB/s) |
Read Time
(s) |
Speed
(MB/s) |
SD 8 GB
Kingston |
4 |
238 |
6.72 |
84 |
17.62 |
SD 32 GB
Kingston |
10 |
110 |
13.45 |
80 |
18.50 |
MS 2 GB
Sony |
Pro Duo |
213 |
6.95 |
156 |
9.49 |
CF 4 GB
SanDisk |
Extreme III |
71 |
20.85 |
65 |
22.77 |
2. หน่วยความจำแบบ Memory Stick
(Updated
: 17/1/2555)

เมมโมรี่สติ๊ก
เป็นหน่วยความจำขนาดเล็กมาก
เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท โซนี่ ในสมัยแรกๆ มีขนาดตั้งแต่ 8, 16, 32, 64 และ
128
เมกะไบท์ และราคาก็แพงมาก ต่อมาได้มีการพัฒนา Memory Stick
ออกมาอีกหลายแบบ
เช่นแบบดั้งเดิม มีขนาด
256 MB
(ใช้สวิทช์) และยังมี Memory Stick Pro, Memory Stick Duo, Memory Stick Pro
Duo และ
Memory Stick Pro - HG Duo ในปัจจุบัน
Memory Stick มีความจุสูงขึ้น ถึง 32 GB
แล้ว

และในการอ่านข้อมูล
สามารถนำไปใส่อแด็ปเตอร์เพื่อใช้งานได้ในลักษณะต่างๆกันหลายแบบ
คือ
1)
อ่านข้อมูลจากเมมโมรี่สติ๊ก
จากกล้องดิจิตอล
เข้าสู่คอมพิวเตอร์โดยต่อเข้า
USB Port |
|
2)
ใช้อุปกรณ์อ่าน /
เขียนเมมโมรี่สติ๊กแยกต่าง
หากจากตัวกล้องดิจิตอล
ทำให้ไม่ต้องนำกล้อง
มาต่อสาย USB หรือเสียบเข้า
เสียบออก |
 
Sony
Non-Sony |
3)
ใช้เสียบเมมโมรี่สติ๊กเข้าที่ Mouse
ซึ่ง
ออกแบบพิเศษมาทำหน้าที่ทั้ง
อ่าน / เขียน
เมมโมรี่สติ๊ก และใช้เป็น Mouse
ด้วย |
 |
4)
ใช้เมมโมรี่สติ๊กเสียบเข้ากับ PC
Card Adapter
สำหรับใช้งานกับโน้ตบุ้ค |
 |
5)
ใช้เมมโมรี่สติ๊กกับฟล็อปปี้ดิสก์
อแด็ปเตอร์
ใช้กับไดรฟ์ A ของคอมพิวเตอร์ |
 |
3.
หน่วยความจำแบบ CompactFlash
(Updated
: 17/1/2555)

Compact Flash หรือ CF Card
เป็นหน่วยความจำที่นิยมใช้กันมากสำหรับกล้องดิจิตอลโดยทั่วไป
ในปัจจุบันมีขนาด
ตั้งแต่ 256, 512 MB และขนาด 1, 2,
4, 8, 16 และ 32 GB

CF Card แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. CF Card Type I มีขนาดหนา 3.3 มม.
2. CF Card Type II มีขนาดหนา 5 มม. เช่น IBM
Microdrive
4.
หน่วยความจำแบบ Microdrive

บริษัท ไอบีเอ็ม
เป็นผู้เริ่มผลิต Microdrive Storage Device ขนาด
340 MB จัดเป็น CompactFlash Type II
และต่อมาได้เพิ่มความจุเป็น 512 MB
และ 1 GB
ในปลายปี พ.ศ. 2545 Hitachi
ได้ซื้อกิจการผลิต Disk Drive
ของไอบีเอ็ม และตั้ง
บริษัท Hitachi
Global Storage Technologies ขึ้น
การใช้งาน
Microdrive ขนาด 512 MB, 1 GB และ 2 GB
สามารถใช้กับกล้องดิจิตอล
ที่มีช่องสำหรับเสียบ CompactFlash
Type II ได้

Microdrive ขนาด 4 GB และ 6 GB นั้น
การใช้กับกล้องดิจิตอล
จะต้องเป็นกล้องที่ Compatible กับ FAT-32 File
System
เพื่อที่จะสามารถใช้ความจุที่เกิน
2 GB ได้
นอกจากการใช้ Microdrive
ในกล้องถ่ายรูปแบบดิจิตอลแล้ว
ยังใช้ในอุปกรณ์อื่นๆอีก เช่น
เครื่องเล่น MP3
และกล้องถ่ายวิดีโอ
|
|