Digital Photography   Audio & Video   Computer Accessories   Software Applications | Miscellaneous | Home
....

DIY Power Strip with Energy Meter
(รางปลั๊กไฟฟ้าและเต้ารับติดมิเตอร์)
 

  รางปลั๊กไฟฟ้า (Power Strip) หรือปลั๊กต่อพ่วงเป็นที่นิยมใช้กันมากซึ่งได้มีมาตรฐาน มอก.ออกมาใช้แล้วและในปัจจุบันรางปลั๊กรุ่นใหม่ๆจะมีความทนทานต่อการใช้ไฟฟ้าและมีความปลอดภัยสูงขึ้น ซึ่งโดยทั่วๆไปการต่อรางปลั๊กพ่วงออกมาจากปลั๊กไฟฟ้าของบ้านนั้น ควรจะใช้กระแสไฟฟ้าไม่เกิน 10 - 16 A (2,200 - 3,520 วัตต์) แล้วแต่ขนาดของ Circuit Breaker ที่ใช้ในวงจรไฟฟ้านั้นๆ รางปลั๊กรุ่นเก่าใช้สายไฟฟ้าขนาด 2 x 0.5 ตารางมิลลิเมตร (.มม.) ซึ่งไม่ควรใช้กระแสไฟฟ้าเกิน 7 A หรือ 1,540 วัตต์ นอกจากนั้นจุดอ่อนที่พบบ่อยๆคือสวิตช์เปิด ปิด ที่มีไฟสีแดงนั้นมักจะเสียง่าย อย่างไรก็ตามเราสามารถเปลี่ยนชิ้นส่วนอุปกรณ์ในรางปลั๊กให้มีความปลอดภัยมากขึ้นได้ และบทความนี้แสดงการนำรางปลั๊กมาดัดแปลงติด 6 In 1 Energy Meter โดยการเจาะฝังลงไปเพื่อความสวยงามและใช้ประโยชน์เพื่อวัดพลังงานไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า กำลังไฟฟ้า (วัตต์) แรงดันไฟฟ้า Power Factor และความถี่ไฟฟ้า ซึ่งนำไปสู่การประหยัดพลังงาน
  1. รางปลั๊กไฟติดมิเตอร์ (Model 1) : ใช้อุปกรณ์รางปลั๊กไฟแบบ 4 ช่อง มี Breaker Switch และ 6 In 1 Energy Meter ขนาด 10 A รวมค่าใช้จ่ายประมาณ 600 บาท (ไม่รวมค่าแรง) รางปลั๊กไฟนี้เหมาะสำหรับวัดการใช้ไฟฟ้าขนาดกระแสไม่ควรเกิน 7 - 8 A หรือ 1,540 - 1,760 วัตต์ เนื่องจากสายไฟฟ้าที่ใช้ต่อปลั๊กมีขนาดเพียง 2 x 0.5 .มม. หากจะใช้กระแสให้ถึง 10 A ควรเปลี่ยนสายปลั๊กเป็นขนาด 2 x 1 .มม.
 


รูปที่ 1  DIY รางปลั๊กไฟฟ้าติด 6 In 1 Energy Meter

 



รูปที่ 2  DIY รางปลั๊กไฟฟ้าติด 6 In 1 Energy Meter

 


รูปที่ 3  รางปลั๊กไฟฟ้าติด 6 In 1 Energy Meter ขนาด 10 A

 

  ขั้นตอนการทำ : ตามรูปที่ 4
 
 
 
 

 
 
รูปที่ 4  ขั้นตอนการจัดทำรางปลั๊กติด Energy Meter ขนาด 10 A
 
รูปที่ 5  รางปลั๊กไฟฟ้า ติด 6 In 1 Energy Meter ที่ทำเสร็จแล้ว
 

2.  ปลั๊กไฟติด 6 In 1 Energy Meter 100 A (Model 2) : ถ้าต้องการปลั๊กไฟ (ต้ารับ) ที่ติด Energy Meter และมีขนาดเล็ก (Compact) เราสามารถทำได้โดยติด 6 In 1 Energy Meter ฝังไว้ในกล่องพลาสติกประเภทกล่องต่อสายไฟ (Junction Box) ได้ และใช้เต้ารับ Outlet แบบ 3 (Line, Neutral, Ground) ติดไว้ด้านบน รูปที่ 11 แสดงการประดิษฐ์โดยใช้ 6 In 1 Energy Meter ที่ใช้ Current Transformer จึงวัดกระแสไฟฟ้าได้สูงถึง 100 A (Rating) แต่ในการใช้งานจริงคงจะใช้วัดกระแสประมาณไม่เกิน 16 A (ระมาณ 3,600 W) ังนั้นสายไฟฟ้าที่ใช้ต่อจะต้องมีขนาดเพียงพอรองรับกระแสไฟได้ เช่นใช้สายไฟแบบ 3-Core นาด 1.5 . รือ No.15 Awg

 
รูปที่ 6  Compact 6 In 1 Energy Meter ต่อปลั๊ก 3 ช่อง แบบมีสาย Ground (Recommended)
 
รูปที่ 7  Compact 6 In 1 Energy Meter Set แบบที่ประกอบได้ง่าย
 
รูปที่ 8  Wiring Diagram สำหรับการต่อเต้ารับแบบ 3 ขา
 
รูปที่ 9  ตัวอย่างการใช้งาน
 
 

3.  ปลั๊กไฟติด 6 In 1 Energy Meter 20 A (Model 3) :  เต้ารับที่ติด Energy Meter หรือจะเรียกว่า 6 In 1 Energy Meter ขนาด 20 A พร้อมเต้ารับ อีกแบบหนึ่งซึ่งประกอบได้ไม่ยากนัก แสดงไว้ในรูปที่ 10 มีอุปกรณ์ประกอบด้วย กล่องต่อสายไฟฟ้า, Energy Meter 20 A, เต้ารับ Toshino, ปลั๊กหัวหล่อ 3 ขา (มีขา Ground) พร้อมสายยาว 2 เมตร อุปกรณ์นี้มีขนาดเล็กและ Compact เต้ารับเสียบได้ช่องเดียว ถ้าต้องการวัดการใช้ไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆเครื่องพร้อมกันก็ทำได้โดยนำปลั๊กรางพ่วงมาต่อเข้าที่ Socket Outlet
 

 
รูปที่ 10  Compact 6 In 1 Energy Meter พร้อมเต้ารับ


รูปที่ 11  Compact 6 In 1 Energy Meter พร้อมเต้ารับ ปรับปรุงใหม่โดยใช้ Cable Gland PG 7

รูปที่ 12  Compact 6 In 1 Energy Meter พร้อมเต้ารับ แสดงการต่อสายภายใน
 
 
รูปที่ 13  เปรียนเทียบความถูกต้องของการวัดกับมิเตอร์ HOPI ได้ผลใกล้กันมาก
 
 

4.  ปลั๊กไฟติด 6 In 1 Energy Meter 10 - 20 A (Model 4) :  ปลั๊กไฟหรือเต้ารับที่ติด Energy Meter แบบ 6 in 1 ตามที่แสดงในรูปที่ 14 นี้ ได้ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ มีคุณสมบัติดังนี้
1)  มีความเรียบง่ายใช้งานสะดวก ใช้เป็นชุด Portable และถือแบบ Hand Held ได้
2)  ใช้สายไฟแบบ VCT 3-Core มีสาย Ground ต่อออกไปถึงเต้ารับเพื่อความปลอดภัย
3)  ใช้ Energy Meter แบบ 6 in 1 ที่มีพื้นสีน้ำเงิน ตัวเลขสีขาว ทำให้อ่านได้ง่ายขึ้น สามารถวัด Volt, Ampere, Watt, Kilowatt-hour (kWh), Frequency (Hz) และ Power Factor (P.F.) มิเตอร์แบบนี้ มีขนาด 10 A, 20 A, และ 100 A (ใช้ Current Transformer ภายนอกตัวมิเตอร์) ให้เลือกใช้ ตัวมิเตอร์จะถูกฝังลงในกล่องพลาสติกแบบแบน ขนาด 12.3 x 7.7 x 3 .. และต่อสายด้านซ้ายออกไปยังปลั๊กไฟแบบ 3 ขา (Line, Neutral และ Ground) โดยใช้สายไฟ VCT 3 x 0.75 .มม. และจากมิเตอร์จะต่อไปยังเต้ารับแบบแบนขนาด 8.6 x 8.8 x 2.4 .. (ยี่ห้อ HaCo) ซึ่งเป็นแบบ 3 ช่อง จำนวน 2 ชุด โดยอุปกรณ์นี้ติดบนแผ่นไม้มีความแข็งแรงทนทาน
4)  มีอุปกรณ์ป้องกันการใช้ไฟเกินกำลัง โดยติด Miniature Circuit Breaker ขนาด 10 A ไว้ภายใน เพราะพื้นที่กล่องจำกัด
5)  สามารถ Reset Miniature Circuit Breaker ได้ทาง Reset Hole ้านข้าง สามารถเปลี่ยนมิเตอร์ได้โดยไขสกรู 4 ัวที่ด้านใต้อุปกรณ์เพื่อเปิดฝากล่องมิเตอร์ออก
 

 

รูปที่ 14  Power Outlet ติด 6 in 1 Energy Meter (Model 4)
 
 
รูปที่ 15  Power Outlet ติด 6 in 1 Energy Meter (Model 4)
 
 

รูปที่ 16  Power Outlet ติด 6 in 1 Energy Meter (Model 4) แสดงการต่อสายภายใน


รูปที่ 17  Power Outlet ติด 6 in 1 Energy Meter (Model 4) ปรับปรุงโดยติด Rubber Grommets Protective Sleeves
 
 
รูปที่ 18  แสดงทดสอบการจ่ายไฟ
 
 
รูปที่ 19  แสดงการทดสอบความถูกต้องของการต่อสาย Line, Neutral และ Ground
 
 
รูปที่ 20  Power Outlet with Energy Meter - Portable & Hand Held พกพาสะดวก
 
 

5.  รางปลั๊กไฟติด 6 In 1 Energy Meter 10 A (Model 5) :  ปลั๊กไฟหรือเต้ารับที่ติด Energy Meter แบบ 6 in 1 ตามที่แสดงในรูปที่ 21 นี้ ก็เป็นอีกแนวความคิดหนึ่งที่สามารถประดิษฐ์ขึ้นใช้ได้ แต่การเจาะกล่องพลาสติกเพื่อติดมิเตอร์จะทำได้ค่อนข้างยากและต้องเจาะทั้งฝาครอบและแผ่นรองรับใต้ฝา
 

 
รูปที่ 21  Power Outlet with Energy Meter - Hand Held พกพาสะดวก
 
 

6.  ปลั๊กไฟติด 6 In 1 Energy Meter 10 - 20 A (Model 6) :  ปลั๊กไฟหรือเต้ารับที่ติด Energy Meter แบบ 6 in 1 ตามที่แสดงในรูปที่ 22 นี้ ได้ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ มีคุณสมบัติเหมือนกับรุ่น Model 4 แต่มีขนาดเล็กกว่าและใช้อุปกรณ์ที่มีราคาถูกกว่า คือกล่องที่ติดมิเตอร์ใช้กล่องสำหรับใส่ Circuit Breaker ที่มีฝาครอบบางลง ทำให้เจาะช่องใส่มิเตอร์ได้ง่าย แต่ความแข็งแรงน้อยกว่ากล่องของ Model 4  สำหรับ Power Outlet ใช้แบบมี Ground 2 ช่องและมีขนาดเล็กลง :ซึ่งทำให้อุปกรณ์ชุดนี้มีขนาด 6.5 x 21 x 5 ..
 

 
รูปที่ 22  Power Outlet with Energy Meter - พกพาสะดวก
 
 
รูปที่ 23  Power Outlet with Energy Meter - พกพาสะดวก
 
 
  รูปที่ 24  เปรียบเทียบขนาด ระหว่าง Model 4 กับ Model 6
 
   
 

Note   อุปกรณ์ที่แสดงในบทความนี้ ผู้เขียนได้ประดิษฐ์ขึ้นใช้เอง และเพื่อเป็น Idea สำหรับผู้ที่สนใจจะเอาไปทำได้ อุปกรณ์เหล่านี้ไม่มีขายสำเร็จรูปแต่สามารถซื้อชิ้นส่วนต่างๆมาประกอบเองได้

สำหรับผู้ที่ต้องการใช้วัดกำลังหรือพลังงานไฟฟ้า กับอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน
10 A รือ 2,300 ัตต์ นั้น อาจใช้
Energy Meter With Outlet ตามที่แสดงในรูปที่ 25 ็ได้ เพราะเป็นมิเตอร์ที่มีช่องเสียบปลั๊ก 1 ่อง เป็นแบบ 3 (L, N, G) ละมีที่หนีบสายไฟสำหรับวัดการใช้ไฟฟ้าให้อีกด้วย มิเตอร์นี้มีคุณภาพดีและวัดได้ละเอียด อนึ่ง มิเตอร์แบบนี้รุ่นใหม่วัดกระแสได้ถึง 20 A
 


รูปที่ 25  Energy Meter With Outlet

อุปกรณ์เต้ารับหรือรางปลั๊กที่ติด Energy Meter แบบคล้ายๆกัน สามารถเลือกดูได้ ดังต่อไปนี้

1.  แสงอรุณ อุปกรณ์ไฟฟ้า กล้องวงจรปิด


2
สร้างเต้ารับปลั๊กไฟแบบมีมิเตอร์วัด วัตต์ มิเตอร์หน้าจอแบบ LCD วัดได้ถึง 100 A สูงสุด (YouTube)

3.  Hand Held Power Meter with Outlet, Ali Express

4.  ปลั๊กรางวัดวัตต์ ZoLKoRn, Youtube

 

 

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
1.  DIY Measuring Set 220 VAC,
บทความใน www.somkiet.com ปี 2559
2.  Portable Power Monitoring Set, บทความใน www.somkiet.com ปี 2560
3.  อุปกรณ์ยึดสายไฟ Cable Glandบทความใน www.somkiet.com ปี 2564

 

 

หมายเหตุ   บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์ในการใช้งานอุปกรณ์ Power Strip with Energy Meter  ผู้เขียนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีผลประโยชน์กับการโฆษณาหรือการขายอุปกรณ์ต่างๆที่แสดงไว้แต่อย่างใด

 
....................................................................................................................................................................................................................................................


จากวันที่  10 .. 2563
ปรับปรุงล่าสุด :  20... 2564