![]() |
Digital Photography Audio & Video Computer Accessories Software Applications | Miscellaneous | Home |
.... |
Energy Meters
2019 - 2021 |
|||
เครื่องวัดพลังงานไฟฟ้าหรือหน่วยไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านนั้น
เรียกว่า
Kilowatt-hour Meter
วัดได้เพียงจำนวน kWh ที่ใช้
ในปัจจุบันเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์มีตัวเลขดิจิตอล
การวัดทางไฟฟ้าโดยทั่วๆไปจะวัดค่าแรงดันไฟฟ้า
(Volt)
กระแสไฟฟ้า
(Ampere)
กำลังไฟฟ้า
(Watt)
และพลังงานไฟฟ้า
(Kilowatt-Hour)
แต่ในปัจจุบัน
(ปี
2562)
ได้มีการผลิต
Energy Meter
ขนาดเล็กแสดงผลด้วยตัวเลขดิจิตอลและสามารถวัดการใช้ไฟฟ้าได้มากขึ้น
คือวัด
Voltage, Current, Watt, kWh
และเพิ่มวัด
P.F.
หรือ
Power Factor
รวมทั้งวัดความถี่ไฟฟ้า
(Frequency - Hz)
ได้ด้วย โดยแสดงผลสลับกันไป
และมีบางรุ่นที่แสดงผลได้ทั้งการใช้สะสมและการใช้ที่ตั้งค่า
Reset
ค่าเป็น
0
ได้
มีประโยชน์สำหรับวัดการใช้ไฟฟ้าในระยะเวลาที่ต้องการ![]() Energy Meter รุ่นใหม่ มีข้อดี เช่น มีขนาดเล็ก มีให้เลือกหลาย Rating และมีราคาถูก เหมาะสำหรับแยกติดตั้งกับ Panel Board, Branch Circuit หรือกับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆเพื่อวัดการใช้พลังงานไฟฟ้าและเพื่อประโยชน์ในการประหยัดพลังงานทำให้สามารถตรวจเช็คหรือ Monitor การใช้ไฟฟ้าได้โดยค่าที่วัดได้มีความละเอียดดีพอสมควร มีความคลาดเคลื่อนประมาณ 1% หรือน้อยกว่า ![]() |
||||
1.
Digital Energy Meter
แบบ
6 Readings
แบบที่ 1![]() เป็น Digital Energy Meter ขนาดเล็กแบบ 6 Readings มีขนาด 85 x 47 x 28 มม. สามารถวัดค่าทางไฟฟ้าได้ 6 อย่างคือ Voltage, Current, Power, Energy, Power Factor และ Frequency. สำหรับกระแสไฟฟ้านั้น มีแบบที่วัดได้ 10 A, 20 A และ 100 A (โดยใช้ Current Transformer ต่อภายนอก) มิเตอร์นี้ใช้งานง่าย มีปุ่มสำหรับเปิด ปิดไฟ Backlight และ Reset ค่า kWh และแสดงค่าต่างๆทั้ง 6 ชนิดพร้อมกันบนหน้าจอ LCD สามารถมองเห็นได้ชัดเจน (ณ ธันวาคม 2562 ราคารวมค่าส่งอันละ 275 - 315 บาท) รูปที่ 1 แสดงตัวอย่างค่าที่วัดได้จากการต่อเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็ก และรูปที่ 2 แสดงการติดตั้งมิเตอร์ 20 A แบบง่ายๆ และรูปที่ 3 แสดงการใช้มิเตอร์ขนาด 100 A |
||||
|
||||
|
||||
|
||||
การทดสอบความละอียดถูกต้องของการวัด![]() รูปที่ 5 แสดงการเปรียบเทียบค่าที่วัดได้จากการต่อมิเตอร์เข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็กโดยใช้ HOPI Portable Power Meter เป็นตัว Reference ผลที่ได้มี Discrepancies ประมาณ 0.57 ถึง 0.86 % ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีพอสมควรสำหรับการใช้งานทั่วๆไป ![]() |
||||
|
||||
2.
Digital Energy Meter
แบบ
6 Readings
แบบที่ 2![]() เป็น Digital Energy Meter ขนาดเล็กแบบ 6 Readings ที่มีขนาด 79 x 43 x 27 มม. หน้าจอมีตัวเลขที่โตแสดงผลครั้งละ 4 ชนิด เช่น Volt, Watt, Ampere, kWh และวัด Power Factor, Frequency ได้ (รูปที่ 6) โดยแสดงค่า kWh, P.F, และ Hz สลับกันไปตลอดเวลาหรือเลือกตั้งได้ มิเตอร์นี้ไม่มีปุ่มตั้งค่าภายนอกซึ่งถ้าจะตั้งค่าจะต้องกดปุ่มที่อยู่ด้านในเครื่อง มีปุ่ม MODE และปุ่ม SET (ณ ธันวาคม 2562 ราคารวมค่าส่งอันละประมาณ 380 - 480 บาท) ![]() |
||||
|
||||
|
||||
|
||||
การใช้
MODE Key และ SET
Key :![]() MODE Key : กดแสดง Display ค่าที่วัดได้บนจอ LCD แบบต่างๆและถ้ากดนานๆแช่ไว้จะเป็นการเข้าสู่ Setting Mode (ตารางที่ 1) และการ Confirm ค่าที่ตั้ง SET Key : 1) ใช้แบบ SET Key อย่างเดียว กดตั้ง Backlight สว่างมาก, สว่างปานกลาง และปิดไฟ 2) ใช้ควบคู่กับ MODE Key คือถ้ามีตัวเลขหรือตัวหนังสือกะพริบจากการตั้งค่าที่ MODE Key ก็กลับมากดที่ SET Key เพื่อเปลี่ยน Options จนได้ตามที่ต้องการแล้ว กลับไปกดที่ MODE Key แช่ไว้เพื่อ Confirm ตัวอย่างการตั้งให้แสดงค่า kWh Accumulated : กดที่ MODE Key แช่ไว้จนปรากฎ 1-CU จากนั้นกด MODE Key ไปเรื่อยๆจนพบ 4-EN rEA กะพริบอยู่ จากนั้นไปที่ SET Key กดไปเรื่อยๆจนปรากฎ Acc กะพริบอยู่ กลับไปที่ MODE Key กดแช่ไว้จน Acc หยุดกะพริบ เป็นการ Comfirm ถอดปลั๊กออกและเสียบใหม่ก็จะใช้งานได้ หมายเหตุ : 1. มิเตอร์นี้มี Feature อันหนึ่งคือสามารถเลือกให้วัดค่าพลังงานสะสมได้โดยทุกครั้งที่เริ่มต้นหรือต่อไฟฟ้าเข้าไปใหม่ เครื่องจะ Set ค่าพลังงาน (kWh) เป็น 0.000 โดยอัตโนมัติ 2. ถ้าออกแบบให้มีปุ่ม MODE และปุ่ม SET ทางด้านหน้าของมิเตอร์จะใช้งานได้สะดวกกว่านี้ เพราะถ้านำไปติดเป็น Panel Meter แบบเจาะกล่องฝังลงไป จะถอดออกมาตั้งค่าไม่สะดวก ![]() |
||||
ตารางที่ 1
การตั้งค่าต่างๆ โดย MODE Key - Main Menu
และ Setting Options |
||||
การทดสอบความละอียดถูกต้องของการวัด![]() 2.1 Energy Meter 20 A ทดสอบโดยการเปรียบเทียบค่าที่วัดได้จากการต่อมิเตอร์เข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้า ใช้ HOPI Portable Power Meter เป็นตัว Reference ผลที่ได้มีความละเอียดถูกต้องดี มี Discrepancies น้อยกว่า 0.5 % (รูปที่ 9) ![]() |
||||
|
||||
2.2 Energy Meter 100 A
ทำการติดตั้งโดยใช้ Current Transformer (C.T.)
คล้องเข้าที่สายไฟไปจ่ายโหลดให้กับเครื่องปรับอากาศขนาด 18500 Btuและต่อไฟ
220 V เข้าที่ขั้วของมิเตอร์ทางด้านโหลด
ผลการทดสอบพบว่าสามารถใช้
6 In 1 Energy Meter
เพื่อวัดค่าพลังงานและอื่นๆได้ดี มี Discrepancies
เฉลี่ย
ประมาณ 0.5 %
ซึ่งนับว่าดีเพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วๆไปและการ Monitoring
ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการวัดเพื่อซื้อ ขาย พลังงานไฟฟ้า
|
||||
|
||||
3.
Digital Energy Meter
แบบ
6 Readings
แบบที่ 3![]() เป็น Digital Energy Meter ขนาดเล็กแบบ 6 Readings ขนาด 79 x 43 x 48 มม. มีหนาจอ LCD ตัวเลขเป็นสีแสดงผลค่าต่างๆทางไฟฟ้าได้พร้อมกัน 6 ค่า คือ Voltage, Current, Power, Frequency, Energy และ Power Factor (รูปที่ 11 และ 12) วัดค่ากระแสไฟฟ้าสูงสุดได้ 100 A (ราคารวมค่าส่ง ณ ธ.ค. 2562 อันละประมาณ 422 บาท) |
||||
|
||||
|
||||
3.
Digital Energy Meter
แบบ
6 Readings
แบบที่ 4![]() เป็น Digital Energy Meter ขนาดเล็กแบบ 6 Readings ขนาด 89.6 x 49.6 x 25 มม. มีหน้าจอ LCD ตัวเลขเป็นสีขาวพื้นเป็นสีฟ้าแสดงผลค่าต่างๆทางไฟฟ้าได้พร้อมกัน 6 ค่า คือ Voltage, Current, Power, Frequency, Energy และ Power Factor (รูปที่ 13) มิเตอร์นี้มีข้อดีคืออ่านตัวเลขบนหน้าจอได้ชัดแม้ในระยะห่างออกมาและมองมุมเอียงก็อ่านได้ชัด ตัวเลขแสดงค่ากระแสไฟฟ้ามีได้มากถึงทศนิยม 3 ตำแหน่งและตัวเลข kWh แสดงทศนิยมได้มากที่สุด 2 ตำแหน่ง ความละเอียดถูกต้องดีพอสมควร มิเตอร์มีขนาด 10 A และ 100 A ราคา ณ ธ.ค. 2562 ประมาณ 250 - 270 บาท (ใช้เวลาส่ง 20 วัน) ![]() |
||||
|
||||
4.
Digital Energy Meter -
DIN
Rail Type![]() เป็น Digital Energy Meter ขนาดเล็กที่ติดตั้งได้บนรางตามมาตรฐาน DIN ตัวมิเตอร์มีขนาด 78.5 x 36.3 x 68.5 มม.มี Rating กระแสไฟฟ้า 5 A และ Maximum Current = 80 A การแสดงผลแบ่งออกเป็น 2 แถว แถวบนเป็นพลังงานไฟฟ้าชั่วคราว เช่นวัดการใช้ใน 1 วัน หรือ 1 เดือน ฯลฯ โดยตั้งค่า Set 0 ไว้ก่อนในตอนเริ่มต้นได้ ส่วนแถวที่ 2 แสดงค่าพลังงานฟ้าสะสม มิเตอร์นี้วัดค่าทางไฟฟ้าได้ 6 ชนิด คือ แรงดันไฟฟ้า (V), กระแสไฟฟ้า (A), กำลังไฟฟ้า (W), พลังงานไฟฟ้า (kWh), Power Factor (PF), และความถี่ไฟฟ้า (Hz) ในการเรียกดูค่าต่างๆนั้น ทำได้โดยกดปุ่ม Control Button สำหรับตัวเลขที่แสดงนั้นมีขนาดเล็ก อาจจะมองเห็นได้ยากและแสดงค่า kWh มีทศนิยมเพียงหนึ่งตำแหน่ง ![]() |
||||
|
||||
|
||||
5.
Digital Energy Meter
แบบ
4 Readings![]() Digital Meter ขนาดเล็ก (89.6 x 49.6 x 24.4 มม.) แบบ 4 Readings ตามรูปที่ 16 มีจำหน่ายมาก่อนปี 2562 แล้ว มีทั้งแบบไฟฟ้ากระแสสลับ หรือแบบกระแสตรง สามารถวัด Voltage, Current (20 A หรือ 100 A โดยใช้ Current Transformer), Power (W) และ Energy (kWh) มีไฟ Back Light ที่เปิด ปิดได้ สามารถ Reset ค่า kWh เป็น 0 ได้ ซึ่งการแสดงค่านั้น เป็นดังนี้ ![]()
|
||||
|
||||
|
||||
การทดสอบความละเอียด
/ ความถูกต้องของค่า kWh
ที่วัดได้จาก Energy Meter แบบ
4 Readings![]() การทดสอบจำนวน kWh ที่ใช้ของ Digital Energy Meter แบบ 4 Readings นั้นใช้การวัดเทียบกับ HOPI Meter ตามรูปที่ 18 วัด kWh ที่ใช้สำหรับตู้เย็นขนาด 21.1 คิวในเวลา 20 ชั่วโมงพบว่า Digital Energy Meter อ่านค่าได้ 3.150 kWh และ HOPI Portable Power Meter อ่านค่าได้ 3.1496 kWh มีความแตกต่างกัน 0.0004 kWh หรือถือว่าอ่านค่าได้ตรงกัน และอัตราการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยเท่ากับ 157.5 วัตต์ |
||||
|
||||
วิธีวัดการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดของบ้าน
(Measurement of Total House Energy Consumption) |
||||
|
||||
|
||||
6.
Digital Energy Meter
แบบ
7 Readings (ปี
2021)![]() Digital Energy Meter ตามรูปที่ 21, 22 และ 23 มีขนาดเล็กและแบน ผลิตออกมาให้เลือกใช้ 3 แบบคือ ขนาด 10 A, ขนาด 100 A ใช้ Closed C.T. และขนาด 100 A ใช้ Split Type C.T. ดังนั้นจึงสะดวกในการเลือกใช้งานมาก มิเตอร์แสดงค่าต่างๆได้แก่ Volt, Ampere, Watt, kWh, Power Factor, เวลาที่ใช้ และ Temperature ซึ่งต้องต่อสาย Sensor วัดอุณหภูมิ มิเตอร์รุ่นนี้วัดค่าพลังงานไฟฟ้าได้ถึง 19,999 kWh ก่อนจะเริ่มต้นใหม่ที่ 00.00 และมีปุ่มใช้เป็น Menu ที่กดได้ง่าย |
||||
![]() รูปที่ 21 Energy Meter ขนาดเล็ก |
||||
![]() รูปที่ 22 การติดตั้ง Energy Meter ขนาดเล็กบนแป้นไม้ |
||||
![]() รูปที่ 23 การติดตั้ง Energy Meter ขนาดเล็กโดยฝังในกล่องพลาสติกขนาด 122 x 78 x 30 มม. |
||||
หมายเหตุ
: การตรวจเช็คการใช้ไฟฟ้าเป็นประจำโดยติดตั้ง Energy Meter ทำให้เกิดการระมัดระวังในการใช้และประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ ถ้ามีวินัยในการใช้ไฟฟ้าเท่าที่จำเป็นจะประหยัดค่าไฟฟ้าได้เดือนละประมาณ 10% เช่น ใช้ไฟฟ้าเดือนละ 10,000 บาท ก็ประหยัดได้เดือนละ 1,000 บาท เท่ากับติดตั้ง Solar Rooftop ขนาด 2 กิโลวัตต์ แต่ไม่ต้องลงทุน และไม่ต้องยุ่งยากกับกฎระเบียบต่างๆของการไฟฟ้า |
||||
References :![]() 1. บทความ : DIY Measuring Set 220 VAC (ชุดสำหรับการวัดไฟฟ้า 220 โวล์ต), www.somkiet.com, 5 มี.ค. 2559 2. บทความ : Portable Power Monitoring Set (ชุดวัดการใช้ไฟฟ้า 220 โวล์ตแบบพกพา). www.somkiet.com, 24 พ.ค. 2560 3. บทความ : การใช้ Energy Meter ช่วยประหยัดพลังงาน, www.somkiet.com, 1 ม.ค. 2554 ![]() |
||||
หมายเหตุ 1. บทความนี้เป็นการเผยแพร่และแบ่งปันประสบการณ์ในการใช้งาน ผู้เขียนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขายอุปกรณ์ต่างๆที่นำมาแสดง 2. ผู้ที่สนใจ สามารถค้นหาอุปกรณ์ได้จากเว็บไซต์ AliExpress.com |
จากวันที่ 15 พ.ย. 2562
ปรับปรุงล่าสุด 15 เม.ย.2564