Digital Photography   Audio & Video   Computer Accessories   Software Applications | Miscellaneous | Home
....

หลอดไฟ LED และโคมไฟฉุกเฉิน LED
(LED Light Bulb & LED Emergency Light)

     
 

1. โคมไฟฉุกเฉิน LED (LED Emergency Light แบบPortable)

ไฟฟ้าฉุกเฉินแบบที่ใช้หลอด
LED (Light - Emitting Diode) กำลังเป็นที่นิยม เพราะประหยัดพลังงานและมีอายุการใช้งานยาวนาน ไฟฟ้า LED Emergency ขนาดเล็กๆ ใส่กล่องแล้วมีขนาดเพียง 8.0 x 17.5 x 6.5 ซม. สามารถนำติดตัวไปใช้ได้สะดวก และไฟฟ้าฉุกเฉินนี้มี Rechargeable Battery ขนาด 800 mAh อยู่ภายใน ใช้เวลาในการชาร์จจนเต็มประมาณ 15 ชั่วโมง และใช้งานได้ 8 ชั่วโมง ถ้าเปิดที่สวิทช์ On 1 และใช้ได้ 4 ชั่วโมง เมื่อเปิดสว่างเต็มที่ โดยใช้สวิทช์ On 2

รูปที่ 1  ไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน แบบ LED Portable Emergency Light

รูปที่
2  LED Emergency Light เมื่อยืดออก

รูปที่ 3  LED Emergency Light เมื่อยืดออก

-------------------------------------------------------------------
 

หลอดจำปา LED ขนาด 5 วัตต์ เมื่อนำไปใช้กับไฟ Chandelier


รูปที่ 11  หลอดไฟ LED ขนาด 5 วัตต์ เมื่อใช้กับ Chandelier

รูปที่ 11A หลอดไฟแบบธรรมดา 40 วัตต์ เมื่อใช้กับ Chandelier

สำหรับ Chandelier ขนาดเล็กๆที่มีหลอดไฟ 7 ดวง ตามรูปที่ 11 นั้น เดิมใช้หลอดจำปาขนาด 40 วัตต์ 7 ดวง เท่ากับ 280 วัตต์ เมื่อเปลี่ยนมาใช้หลอดจำปา LED ขนาด 5 วัตต์ 7 ดวง ใช้ไฟเพียง 35 วัตต์ ประหยัดได้ถึง 245 วัตต์ และแสงยังสว่างกว่า (แต่เนื่องจากหลอด LED บบจำปา มีการกระจายแสงขึ้นด้านบนน้อย จึงทำให้ไฟของ Chandelier ทั้งพวง ไม่สวยเท่าที่ควรจะเป็น)

ถ้าเปิดใช้วันละ
2.5 ชั่วโมง ใน 1 ปี จะประหยัดได้ = (245/1000) x 2.5 x 365 = 223.6 หน่วย คิดเป็นเงิน ประมาณปีละ 1,000 บาท ซึ่งจะคุ้มทุนในเวลาประมาณ 2 - 2 ปีครึ่ง


Adapter สำหรับขั้วหลอดแบบ E27 (E27 to E14 Adapter)

ถ้าเรามีโคมไฟฟ้าที่ใช้ขั้วแบบเกลียวขนาดใหญ่ คือ E27 ก็สามารถจะนำหลอด LED ขั้ว E14 มาใช้ได้ โดยซื้อ E27 to E14 Adapter ต่อเข้าด้วยกัน ราคาอันละประมาณ 1.5 เหรียญสหรัฐ Made in China
     
       


References :
1. การประหยัดพลังงานในการใช้หลอด Fluorescent







หมายเหตุ
ผู้เขียนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขายผลิตภัณฑ์ที่นำมาแสดง ทดสอบ และเขียนอธิบายการใช้งานไว้ในเว็บไซต์นี้ ถ้าผู้ใดสนใจจะซื้อไปใช้ กรุณาหาตามศูนย์การค้าชั้นนำ หรือค้นหาจากเว็บไซต์ต่างๆได้

 
2. หลอดไฟ LED

หลอดไฟ LED เริ่มมีขายและใช้กันมากขึ้น เช่น หลอดแบบตะเกียบ หลอดแบบฟลูออเรสเซ็นต์ยาว T5 และ T8  หลอดไฟแบบ Down Light  หลอดไฟประดับ เป็นต้น  หลอดไฟ LED มีข้อดีคือ ประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้มาก อาจจะถึง 82% เมื่อเทียบกับหลอดใส้ เช่นหลอด LED ที่มีขนาด 5 วัตต์ จะให้แสงสว่างเท่ากับหลอดใส้ขนาด 40 วัตต์ และหลอด LED มีอายุการใช้งานยาวนานมาก เช่น 35,000 ชั่วโมง และมีความร้อนที่ส่วนปลายหลอดน้อย แต่ที่ด้านถัดไปทางขั้วหลอดจะร้อนพอสมควร ประมาณ 45 - 47 เซลเซียส ซึ่งร้อนน้อยกว่าหลอดแบบอื่นๆ ดังนั้น เมื่อติดตั้งในห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศ ก็จะช่วยประหยัดไฟฟ้าได้อีกส่วนหนึ่งด้วย

2.1 หลอดไฟ LED ขนาด 5 วัตต์  (Tested)


รูปที่ 4  หลอดไฟ LED

รูปที่ 5  การวัดกำลังไฟฟ้าที่ใช้กับหลอดไฟ LED
 

หลอดไฟ LED ขนาด 5 วัตต์ ตามที่แสดงในรูปที่ 4 เป็นหลอดที่ผลิตในประเทศไทย ให้ความสว่างเท่ากับหลอด 40 วัตต์ ราคา ณ เดือน กรกฎาคม 2556 หลอดละ 340 บาท เมื่อคำนวนการใช้งานในระยะยาวก็จะคุ้มค่าในการลงทุนจ่ายค่าหลอดไฟที่แพงกว่าแบบหลอดตะเกียบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งาน วันละกี่ชั่วโมง

2.2 หลอดตะเกียบ LED ขนาด 7 วัตต์
 (Tested)


รูปที่ 6  หลอดตะเกียบ LED ขนาด 7 วัตต์ (คลิกดูภาพใหญ่)

รูปที่ 7  หลอดตะเกียบ LED ขนาด 7 วัตต์ (คลิกดูภาพใหญ่)
 

หลอดตะเกียบ LED ขนาด 7 วัตต์ ตามที่แสดงในรูปที่ 6 ให้ความสว่างเท่ากับหลอด 75 วัตต์ ให้แสงที่สว่างมาก ราคา ณ เดือน กรกฎาคม 2556 หลอดละ 340 บาท (แต่ถ้าเป็นขนาด 5 วัตต์ ราคาหลอดละ 280 บาท) สำหรับรายละเอียดของหลอด LED ขนาด 7 วัตต์ คือ

Specifications :
Color : ไฟแสงสีขาว (Daylight)
Base Type : ขั้วหลอดมาตรฐาน E27
Dimensions : Diameter 4 cm สูง 14.2 cm.
Input Voltage : 220 VAC
Wattage : 7 วัตต์ (+/- 0.5 วัตต์)
LED Type : LED SMD3014 จำนวน 72 ดวง
Luminous Flux : 780 ลูเมนส์
Color Temperature : 6000 - 6500K
อายุการใช้งาน ประมาณ 30,000 ชั่วโมง

เปรียบเทียบความคุ้มค่าในการใช้งาน
Assumptions :
1. ใช้หลอดไฟวันละ 7 ชั่วโมง หรือปีละ 2,555 ชั่วโมง
2. ค่าไฟฟ้าหน่วยละ 4.50 บาท
3. หลอดตะเกียบ LED ขนาด 7 วัตต์ ราคา 340 บาท อายุการใช้งาน 30,000 ชั่วโมง
4. หลอดตะเกียบแบบประหยัดไฟ ขนาด 14 วัตต์  (เท่ากับหลอดใส้ 75 วัตต์) ราคา 145 บาท อายุการใช้งาน 8,000 ชั่วโมง

ผลการเปรียบเทียบ
:
Case 1 : ถ้าใช้หลอดตะเกียบแบบเดิม 14 วัตต์ ค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 12 ปี คือต้องเปลี่ยนหลอด 4 ครั้งเป็นเงิน 580 บาท บวกด้วยค่าพลังงานไฟฟ้าอีก 12 ปีๆละ160 บาท = 1,920 บาท  รวม  = 2,500 บาท

Case 2 : ถ้าใช้หลอดตะเกียบ LED ขนาด 7 วัตต์ (ให้แสงสว่างเท่าๆกันกับหลอดตะเกียบใน Case 1) ในเวลา 12 ปี จะใช้เพียงหลอดเดียว เป็นค่าหลอด 340 บาท บวกด้วยค่าพลังงานไฟฟ้า 12 ปีๆละ 80 บาท = 960 บาท รวม = 1,300 บาท

ดังนั้นสรุปได้ว่า ใช้หลอดตะเกียบ
LED จะถูกกว่าเกือบเท่าตัวในระยะยาว และไม่ต้องเปลี่ยนหลอดบ่อย แต่การลงทุนครั้งแรกจะแพงหน่อย แต่ใช้ไปสัก 3 ปีก็จะเริ่มคุ้มค่า การคำนวนนี้ใช้หลักง่ายๆ และยังไม่รวมการประหยัดไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศ ที่เป็นผลมาจากความร้อนที่แผ่ออกมาจากหลอด LED น้อยกว่าหลอดแบบเก่า ดังนั้น ถ้าหลอดตะเกียบที่ท่านใช้อยู่เสีย ก็ควรเปลี่ยนใหม่ทดแทนด้วยหลอดแบบ LED

2.3 หลอดจำปา LED ขนาด 3 และ 5 วัตต์  (Tested)


รูปที่ 8  หลอดจำปา LED ขนาด 3 วัตต์ แสงสีขาว ใช้กับ Dimmer ได้


รูปที่ 9  เปรียบเทียบหลอดจำปา LED ขนาด 3 วัตต์ กับหลอดจำปาทั่วไปขนาด 40 วัตต์
 

หลอดจำปา LED ขั้ว E27 และขั้วเล็กคือ E14 มีขายแล้ว แต่ราคายังแพงมาก ขนาดวัตต์ที่มีคือ 2, 3, 4 ,5 และ 9 วัตต์ มีแบบที่ใช้กับเครื่องหรี่ไฟ (Dimmer)ไม่ได้ และแบบที่ใช้กับเครื่องหรี่ไฟได้ หลอดจำปา LED ขั้ว E14 ชนิดที่ใช้กับ Dimmer ได้ ราคา ณ ส.. 2556 หลอดละ 280 บาท หลอด LED E14 มีขนาดใหญ่ ขนาด 3 วัตต์ ให้แสงสว่างมาก แต่เนื่องจากการกระจายแสงของหลอด ออกไปทางปลายและล่าง ดังนั้น เมื่อใส่เข้ากับพวงไฟระย้า (Chandelier) แสงที่ Chandelier จึงไม่สวยเหมือนหลอดแบบธรรมดา

2.4 หลอด LED T5 ชนิดรางสำเร็จ 60 ซม.ขนาด 9 วัตต์  (Tested)


รูปที่ 10  หลอดไฟ LED T5 ขนาด 9 วัตต์
 

หลอด LED T5 ขนาด 9 วัตต์ เมื่อมองภายนอกแล้ว ก็เหมือนกับหลอดไฟ T5 ทั่วไป มีขนาดเล็ก และกินไฟน้อย เมื่อเทียบกับหลอดผอม T5 ที่กินไฟ 28 วัตต์
 
2.5 หลอด LED ประเภท Downlight   (Tested)


รูปที่ 11  หลอดไฟ LED แบบ Down Light ละ Electronic Transformer
 

หลอด LED แบบ Downlight 12 V. เป็นที่นิยมใช้กันแทนหลอด Halogen เนื่องจากประหยัดไฟฟ้าได้มาก เช่น หลอด LED ขนาด 4 วัตต์ อาจจะใช้แทนหลอดเดิม ขนาด 50 วัตต์ได้ ตามตัวอย่างในรูปที่ 11 เมื่อต่อหลอดไฟ LED ขนาด 4 วัตต์ เข้ากับ Transformer จะกินไฟรวมเพียง 6 วัตต์เท่านั้น เมื่อเทียบกับหลอด Halogen ที่จะกินไฟถึง 50 วัตต์ และความร้อนก็น้อยกว่ามาก

 

 


จากวันที่ 1 .. 2556
ปรับปรุงล่าสุด : 5 .. 2556