Digital Photography   Audio & Video   Computer Accessories   Software Applications | Miscellaneous | Home

เครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ
Automatic Watering System

 
  บ้านที่มีต้นไม้มากๆหรือปลูกอยู่หลายแห่ง เช่นชั้นล่าง ตามระเบียงชั้นบน หรือบนดาดฟ้าชั้น ชั้น และมีการปลูกหญ้าที่สนามหรือขอบทางเดิน  แบบที่เราเห็นกันนั้น การรดน้ำต้นไม้และสนามหญ้า สำหรับบ้านไทยๆ ส่วนมากใช้คน แต่ก็มีบางบ้านที่ใช้ระบบ Sprinkler และระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติแทนคน เพราะแรงงานมีราคาแพงขึ้นและบางครั้งเจ้าของบ้านไม่อยู่บ้านหลายๆวัน ต้นไม้อาจจะตายได้ ดังนั้นการรดน้ำต้นไม้โดยใช้ระบบอัตโนมัติจะช่วยได้มาก
 
 
  1. เครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติแบบ Digital

เป็นเครื่องแบบตั้งเวลาควบคุมด้วยระบบ Digital  หรือนาฬิกาตัวเลข ใช้แบตเตอรี่ Alkaline AAA จำนวน 2 ก้อน การรดน้ำจะถูกควบคุมโดยการตั้งเวลาเปิดให้น้ำไหล (Time Switch) และเวลาที่ต้องการให้น้ำไหลนานเท่าไร (Run Time) โดยน้ำจะใหลผ่านตัวเครื่องไปยังท่อหรือหัวจ่ายน้ำเพื่อรดต้นไม้ หรือสนามหญ้า หรือเพื่อเติมน้ำให้กับบ่อ การติดตั้งทำได้ง่าย โดยเฉพาะออกแบบให้ติดกับก๊อกน้ำได้โดยตรง หรือจะติดที่อื่นโดยต่อเข้ากับสายยางก็ได้
 
 
 


รูปที่ 1  อุปกรณ์เครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ แบบ Digital
 

 
  รูปที่ 1 แสดงอุปกรณ์รดน้ำต้นไม้อัตโนมัติแบบ Digital ซึ่งมีฝาปิดกันน้ำ กันฝุ่น กันมดและแมลงต่างๆ ถ้าติดตั้งในที่ที่มีแดดส่องเข้ามา แสงแดดอาจจะทำให้ตัวเลขที่จอ LCD เสื่อมลงและมองไม่ชัดถ้าใช้ไปนานๆ ดังนั้นควรหากระดาษหรือเทปปิดเอาไว้

วิดีโอแสดงการทำงาน (การทดลองใช้แบบง่ายๆ ณ วันที่ 22 มิ.. 2555)
 
 


รูปที่ 2  ปุ่มควบคุมสำหรับตั้งค่าต่างๆและที่ใส่แบตเตอรี่
 

 
  รูปที่ 2 แสดงปุ่มควบคุมต่างๆ สามารถตั้งเวลา และโปรแกรมในการเปิดน้ำ ระยะเวลาน้ำไหล และตั้งการทำงานในวันต่างๆ หรือทำงานทุกวันได้ เช่น
     โปรแกรมที่
เวลาเปิดน้ำ    6.00 . น้ำไหลนาน 5 นาที  ทำงานทุกวัน
     โปรแกรมที่
เวลาเปิดน้ำ  12.00 . น้ำไหลนาน 10 นาที ทำงานทุกวัน
     โปรแกรมที่
เวลาเปิดน้ำ  16.30 . น้ำไหลนาน 8 นาที ทำงานทุกวัน
 
 


รูปที่ Automatic Watering System ขณะทำการทดสอบ
 

 
  รูปที่ 3  แสดงการติดตั้งแบบชั่วคราวเพื่อทดสอบการทำงานของเครื่อง ซึ่งจะต้องติดตั้งในแนวดิ่ง ตามรูปใช้ต่อท่อน้ำเข้าด้านบนที่ Adapter ส่วนด้านล่างต่อสายยางเข้ากับเครื่องได้โดยตรง แล้วใช้เหล็กรัดท่อ
 
 
  2. ผลการทดลองใช้งาน

ผู้เขียนได้เริ่มทดลองใช้งานเครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2555 โดยตั้งเวลาเปิดน้ำวันละ 4 ครั้ง เฉลี่ยครั้งละ 8 นาที ผลการใช้งานเป็นไปด้วยดี  มีประเด็นที่มือใหม่ ที่ไม่ใช่ช่างประปาควรระมัดระวังก็คือเมื่อต่อสายยางเข้ากับ Adapter ควรขันให้แน่น เพราะน้ำอาจรั่วซึมได้ ควรใช้เทปพันท่อประปา พันที่เกลียวของท่อก่อน จะช่วยไม่ให้เกิดน้ำรั่วซึมได้  ถ้าต้องการตั้งให้เครื่องทำงานตามเวลาที่กำหนดทุกๆวัน ก็ควรศึกษาวิธีการตั้งเวลาจากคู่มือให้เข้าใจและทดลองดูก่อน เมื่อตั้งเป็นแล้วก็ไม่ยากอะไร
 
 
  3. เครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติแบบต่างๆ

เครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติสำหรับตั้งเวลารดน้ำต้นไม้ สวน สนามหญ้า แปลงเพาะปลูกต่างๆ มีให้เลือกใช้หลายแบบ เช่น

1)  แบบตั้งเวลาควบคุมด้วยระบบ Digital  ใช้แบตเตอรี่ AAA จำนวน 2 ก้อน รายละเอียดตามที่แสดงไว้ในบทความนี้

2) 
แบบตั้งเวลาควบคุมด้วยสวิทช์ ตั้งเวลารดน้ำทุกๆกี่ชั่วโมง เช่น ทุกๆ 4, 6, 8 , 12, 24 ชั่วโมง และเวลาที่ใช้ในการรรดน้ำ เช่นครั้งละ 2, 5, 10, 15, 20 นาที ใช้แบตเตอรี่ Alkaline AAA จำนวน 2 ก้อน จะใช้งานได้ประมาณ 3 - 4 เดือน ก็จะต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ อุปกรณ์นี้มีขายหลายยี่ห้อ

3) 
แบบที่ใช้ Digital Timer และ Solenoid Valve ใช้ไฟฟ้า 220 V. โดยสามารถตั้งเวลาเปิด-ปิดโดยตั้งที่ตัว Timer ซึ่งอาจจะอยู่ในกล่องกันน้ำหรืออยู่ในบ้าน ซึ่งตั้งเวลาได้สะดวก เพื่อให้ Solenoid Valve ทำงานเพื่อควบคุมการไหลของน้ำได้ตามต้องการ ระบบนี้เป็นที่นิยมใช้กันมาก เพราะมีความคงทนและติดตั้ง Solenoid Valve ติดไว้ที่ใดก็ได้ แต่ต้องมีการเดินสายไฟฟ้าจากตัว Timer ไปยัง Solenoid Valve

หมายเหตุ :  นอกจาก Digital Timer แล้ว ยังสามารถใช้ Wi-Fi Smart Plug เพื่อควบคุมตั้งเวลาการเปิดปิดน้ำได้จากเครื่องโทรศัพท์มือถือ

4) 
แบบที่ใช้ Digital Timer และ Magnetic Switch (Contactor) ใช้ไฟฟ้า 220 V. โดยสามารถตั้งเวลาเปิด-ปิด ให้ Magnetic Switch ทำงานเพื่อควบคุมปั้มน้ำ
 
 
  4. ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติที่ใช้ Solenoid Valve (Do It Yourself)    Updated : ชุด Solenoid Valve สำหรับรดน้ำต้นไม้ที่ปรับปรุงใหม่ (17 เมษายน 2565)

ระบบนี้ใช้ Digital Timer ควบคุมการเปิด- ปิด Solenoid Valve เพื่อจ่ายน้ำไปยังจุดที่ต้องการรดน้ำต้นไม้ซึ่งอยู่ชั้นบนของบ้าน 2 แห่งด้วยกัน และเนื่องจากน้ำมาจากปั๊มน้ำของบ้าน จึงมีแรงดันสูงพอควร ทำให้น้ำอาจจะพุ่งออกมาจากรูที่เจาะไว้ที่ท่อ PVC แรงมากไป จึงต้องติดวาวล์ ประตูน้ำ เพื่อปรับให้น้ำไหลแรงมากหรือน้อยตามต้องการ นอกจากนั้น ระบบนี้ยังมีการแยกสายยางไปยังหัวฉีด อีกอันหนึ่งเพื่อให้ใช้งานได้โดยอิสระ
 
 
 

รูปที่ 4  ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติที่ใช้ Timer และ Solenoid Valve
ดูวิดีโอการทำงานใน YouTube (จากนาทีที่ 1.02)
 
 

รูปที่ 5  แสดงการทดลองวางอุปกรณ์ท่อและข้อต่อต่างๆ ก่อนการประกอบจริง
 

รูปที่ Solenoid Valve ติดตั้งในกล่องมีฝาปิดกันน้ำ
 
 
  5. ผลการทดลองใช้งาน

การต่อระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติแบบที่ใช้ Digital Timer และ Solenoid Valve ควบคุมเวลาเปิดและปิดน้ำ เพื่อรดน้ำต้นไม้ ตามรูปที่ 4 ได้เริ่มใช้งานตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2555 ปรากฎว่าใช้งานได้ดี  ช่วยให้ลดภาระในการรดน้ำต้นไม้ชั้นบนลงได้

ในระหว่างการทำงานโดยใช้ Solenoid Valve เปิดน้ำนั้น จะมีไฟฟ้า 220 V จ่ายเข้าไปยังขดลวด และใช้ไฟฟ้าประมาณ 14 วัตต์

ค่าใช้จ่าย
1.  Solenoid Valve ช้ไฟฟ้า 220 V. นาดท่อ 6 หุน (3/4") าคา 1,200 าท (ราคาในปี 2555 แต่ในปี 2565 ราคาอับละประมาณ 350 บาท)
*** Updated @ 22/3/2022
2.  Digital Timer าคา 290 าท  หรือใช้แบบอื่นๆก็ได้
3.  กล่องใส่ Solenoid Valve ขนาดเล็ก มีฝาปิดกันน้ำ  ราคา 150 าท    
4.  อุปกรณ์ท่อ PVC  ข้อต่อต่างๆ วาวล์น้ำ ฯลฯ  
ตามจำนวนที่ต้องการ

สรุปผลการใช้งานในระยะเวลา
10 คือ ระบบใช้งานได้ดี สำหรับ Solenoid Valve ั้น จะใช้งานได้อันละประมาณ 3 ี ก็เสีย เนื่องจากเกิดความร้อนในขดลวดขณะเปิดวาวล์น้ำ ดังนั้น เพื่อยืดอายุารใช้งานของ Solenoid Valve ึงควรตั้งเวลาเปิดให้สั้นๆ แต่แบ่งเป็นช่วงๆวันละหลายเวลา เช่น เปิด 7.00. . ปิด 7.05 . ปิด 8.00 . ิด 8.05 .  เปิด 16.30 . ปิด 16.35 . เป็นต้น
 
 
 

ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นใหม่  (มีนาคม - เมษายน 2565)
 

 
  6. Digital Irrigation timer

เครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติที่ใช้งานง่ายอีกแบบหนึ่งได้แก่เครื่อง Digital Irrigation Timer ตามรูปที่ 7 ทำงานโดยใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ขนาด AA จำนวน 2 ก้อน เปลี่ยนแบตเตอรี่ได้ง่ายจากทางด้านหลังชองเครื่อง สามารถตั้งโปรแกรมการรดน้ำได้ง่าย มีหน้าจอ LCD ขนาดใหญ่ ติดตั้งกับก๊อกสนามได้สะดวก (รูปที่ 9)
 
 
 
รูปที่ Digital Irrigation Timer
 
 
 
รูปที่ 8  หน้าจอของเครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ
 
 
 
รูปที่ 9  การติดตั้งกับก๊อกสนาม
 
 
 

7. การใช้ Solenoid Valve ขนาดเล็กสำหรับเปิด ปิด การรดน้ำต้นไม้

Solenoid Valve ขนาดเล็กมีราคาถูกและมีขายทั้งแบบที่ใช้ไฟฟ้า 12 V และแบบ 230 V ในกรณีที่ติดตั้งบนพื้นและไม่มีกล่องครอบ ควรใช้แบบ 12 V เพื่อความปลอดภัยจากการที่อาจจะเกิดไฟฟ้าดูด ผลการทดสอบพบว่า เมื่อ Solenoid Valve12 V ทำงาน จะใช้กระแสไฟฟ้าประมาณ 0.38 - 0.40 A ถ้าเปิดใช้ไปนานๆ อุณหภูมิของขดขวดไฟฟ้าจะร้อนมากขึ้น เช่น 60 C ซึ่งน่าจะไม่มีปัญหา แต่ถ้าจะให้ใช้ได้ทน ควรเปิดใช้งานสั้นๆเป็นช่วงๆเพื่อไม่ให้ขดลวดร้อนมากนัก สำหรับการเปิด ปิด ใช้งานนั้น ควบคุมโดย Timer เช่นใช้ Wi-Fi Smart Plug และต้องมี Adapter แปลงไฟ 230/12 V อีกหนึ่งตัว

รูปที่
10 แสดงอุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อสายยางจากก๊อกสนามมายัง Solenoid Valve ซึ่งข้อต่อทางน้ำเข้าอาจใช้ตามรูปที่ 10 และ 11 หรือใช้ข้อต่อสายยางแบบสวมเร็ว ตามรูปที่ 12 และรูปที่ 13 ก็ได้

 

 
   
  รูปที่ 10  อุปกรณ์ประกอบการต่อกับ Solenoid Valve ขนาดเล็ก
 
 
 
รูปที่ 11  การต่อสายยางและท่อ PVC กับ Solenoid Valve
 
 
 
รูปที่ 12  อุปกรณ์ประกอบการต่อกับ Solenoid Valve ขนาดเล็ก โดยใช้ข้อต่อสายยางแบบสวมเร็ว
 
 
 
รูปที่ 13  การต่อสายยางน้ำเข้าและท่อ PVC น้ำออก (ภาพจากการใช้งานจริง)
 
 
 
รูปที่
14 
การรดน้ำต้นไม้แบบง่ายๆโดยใช้สว่านเจาะรูที่ท่อ PVC

 
 
 

สำหรับการรดน้ำต้นไม้ที่ปลูกลงดินหรือปลูกในกระถางตามที่ต่างๆนั้นก็นิยมใช้สายอ่อนขนาดเล็กมีเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกประมาณ 10 มม. วมทั้งสายแยกและหัวพ่นละอองน้ำแบบที่ปรับให้น้ำเป็นหมอก เป็นละอองหรือพ่นน้ำได้ ซึ่งมีข้อดีคือช่วยให้มีการกระจายแรงดันน้ำออกไป โดยความยาวของสายแต่ละเส้นไม่ควรจะเกิน 10 เมตร สำหรับแรงดันน้ำประปาตามปกติ  รูปที่ 15 สดงการใช้ Solenoid Valve 12 V นาดเล็ก เปิด ปิด การจ่ายน้ำไปยังสายขนาด 10 .
 

 
 
รูปที่ 15  การรดน้ำต้นไม้โดยใช้สายขนาดเล็กและหัวพ่นน้ำทองเหลือง
 
 
 
รูปที่ 16  การรดน้ำต้นไม้โดยใช้ท่อขนาดเล็กและหัวพ่นทองเหลือง...
 
 
 
รูปที่ 17  ชิ้นส่วน Water Tap และอุปกรณ์การประกอบต่างๆ
 
 
  8. วิดิโอแสดงการทำงานของ Solenoid Valve (เพื่อเป็นความรู้)
 
 
 



 

 
 


 

 
  หมายเหตุ   บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์ในการใช้งานอุปกรณ์รดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ  ผู้เขียนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีผลประโยชน์กับการโฆษณาหรือการขายอุปกรณ์ต่างๆที่แสดงไว้


วันที่ 22 มิ.. 2555
ปรับปรุงล่าสุด : 23 เม..2565